วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554


รวบรวมชื่อออนไลน์ ‘ยกลิก ม.112’ ปล่อยนักโทษการเมือง

รวบรวมชื่อออนไลน์ ‘ยกลิก ม.112’ ปล่อยนักโทษการเมือง



กลุ่มแอคชั่นเพื่อประชาธิปไตย (ACT4DEM) นำโดยจรรยา ยิ้มประเสริฐ นักกิจกรรมด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชน ได้เปิดรณรงค์ทางเฟซบุ๊คให้ประชาชนร่วมลงชื่อในข้อเรียกร้อง "ให้รัฐบาลยกกเลิกมาตรา 112 ปล่อยตัวนักโทษการเมือง และนักโทษการเมืองทุกคน” โดยเริ่มรณรงค์ตั้งแต่วันที่ 25 พ.ย.ที่ผ่านมา อันเป็นวันยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี และเป็นวันครบรอบ 3 ปี การยึดสนามบินสุวรรณภูมิ
ความคืบหน้าล่าสุด มียอดผู้ลงชื่อมีกว่า 900 ราย รวมถึง 40 องค์กรจากนานาชาติ  และขณะนี้ได้เปิดให้การลงชื่อทำได้ง่ายขึ้นด้วยการจัดทำให้ลงชื่อออนไลน์  http://www.ipetitions.com/petition/petition-on-abolition-of-the-thai-law-of-lese/ โดยตั้งเป้าไว้ที่ 11,135 รายชื่อ เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งตัวเลขผู้เสียชีวิตเพราะการเมืองไทยตลอด 60 ปี ภายในวันที่  9 ธ.ค.นี้ เพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลในวันรัฐธรรมนูญ วันที่ 10 ธ.ค.54

000000
 

Petition in German and Spanish ready soon! 
ข้อเสนอถึง
รัฐบาลของประเทศไทย และองค์กรอาเซียน
เรียกร้องให้
ยกกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (มาตรา 112 ของประมวลกฏหมายอาญา)
และเรียกร้องให้
ปล่อยตัวนักโทษการเมือง และนักโทษคดีหมิ่นฯ ทุกคน
ข้อ เสนอแนะฉบับนี้ จัดทำโดยประชาชนและองค์กรที่รู้สึกวิตกกังวลมากขึ้นเรื่อยๆ เกี่ยวกับอนาคตแห่งประชาธิปไตยของประเทศไทยและของกลุ่มประเทศอาเซียน
ใน ปี พ.ศ. 2554 ประเทศถูกองค์กรสากลหลายสำนักจัดระดับเป็น “ไม่มีสิทธิและเสรีภาพด้านสื่อและเน็ต” นักข่าวไร้พรมแดนได้ลดอันดับความมีสิทธิ เสรีภาพในการรับข่าวสารของประเทศไทย จากลำดับที่ 59 ไปอยู่ที่ลำดับ 153
หลังจากการรัฐประหารปี พ.ศ. 2549 มีผู้คนที่ถูกดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัว จากไม่เกิน 10 คนต่อปีเป็น 100 คนต่อปี และในปี 2553 จำนวนผู้ต้องหาคดีหมิ่นฯ ได้เพิ่มสูงขึ้นกว่า 500 คน
ทุกวันนี้ ไม่มีใครรู้ว่ามีคนที่ต้องติดคุกด้วยคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกี่ร้อยคน หรือถูกดำเนินคดีกี่คนขนาดนักกฏหมายก็ไม่รู้ข้อมูลเหล่านี้ แต่ที่แน่ๆ นักโทษคดีหมิ่นฯ ถูกละเมิดสิทธิ คุกคามทำร้ายและบีบคั้นทางจิตใจในทุกด้านทั้งในและนอกห้องขัง
หลังจากเหตุการณ์การที่กองกำลังของกองทัพไทยเคลื่อนเข้าปราบปรามและสังหารหมู่ ประชาชนเมื่อเดือนเมษายน และพฤษภาคม พ.ศ.2553 ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 93 คน และ บาดเจ็บ 2,000 คน กฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ได้ถูกนำมาใช้รุนแรงมากขึ้น เพื่อทำให้ผู้คนที่รู้สึกสุดทนมากขึ้นเรื่อยๆ กับความไม่มียุติธรรมใน ประเทศไทยเกิดความกลัวและไม่กล้าแสดงความคิดเห็นใดๆ
ข้อเรียกร้องฉบับนี้ พุ่งเป้าถึงต้นตอของวิกฤติการเมืองไทยในปัจจุบัน นั่นก็คือผลกระทบที่เกิดจากความน่าสะพรึงกลัวของกฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่มีต่อพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตย
ข้อเรียกร้องฉบับนี้ เปิดให้ทั้งองค์กรและประชาชนทั่วไปร่วมลงชื่อ และจะเปิดให้มีการลงชื่อต่อไปจนกว่านักโทษและผู้ต้องหาในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทุกคน จะได้รับการปล่อยตัวและมีการยกเลิกกฏหมายมาตรา 112 นี้
เพื่อทันกิจกรรมยื่นข้อเรียกร้องนี้เป็นครั้งแรกต่อรัฐบาลไทยในวันที่ 10 ธันวาคม 2554 คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าภายในวันที่ 9 ธันวาคม จะมีผู้ร่วมลงชื่อ จำนวน 11,135 รายชื่อ เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งตัวเลขผู้เสียชีวิตเพราะการเมืองไทยตลอด60 ปี แห่งการกดขี่และคุกคามสิทธิและเสรีภาพในประเทศไทย
นับตั้งแต่เปิดให้ลงชื่อในเฟสบุ๊คเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2554 จนถึงขณะนี้ มีผู้ร่วมลงชื่อในนามองค์กร 40 กลุ่ม และในนามส่วนบุคคลมากกว่า 900 คน
อำนาจอธิปไตยของประเทศไทยนั้นอยู่ในอุ้มมือของประชาชน การต่อสู้ของภาคประชาชน เพื่อขจัดพลังอำนาจที่ฉ้อฉล ที่จำกัดศักยภาพของพวกเขาในการตระหนักถึงสิทธิตามครรลองประชาธิปไตยใน ประเทศไทย จำต้องได้รับพลังสมานฉันท์จากคนไทยและจากนานาชาติ
ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมลงชื่อในข้อเรียกร้องฉบับนี้
ขอขอบพระคุณอย่างสูง
กลุ่มแอ็คชั่นเพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย
(ACT4DEM)
* * * * * * * * * *

นักโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาตรา 112
-คุณ ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ผู้สื่อข่าวที่ออกมาร่วมประท้วงหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 เธอถูกจับขังคุกตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 และกำลังมีปัญหาด้านสุชภาพ แต่เธอไม่ได้รับอนุญาตให้ได้รับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แต่กระนั้นเธอก็ยืนหยัดต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม
- ธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล พ่อม่ายและนักออกแบบเว็บไซด์เสื้อแดง ถูกตำรวจกลุ่มหนึ่งบุกจับที่บ้านและถูกขังคุกทันที ตำรวจกล่าวหาว่าเว็บไซด์ นปช.ยูเอสเอ เป็นภัยต่อสถาบันกษัตริย์ เขาเขียนจดหมายจากคุกถึงลูกชายวัย 10 ขวบของเขาว่า … สิ่งเดียวในตอนนี้ที่ป๊าหวังมากที่สุดนั่นคือการได้ออกไปอยู่กับน้องเว็บอีก ครั้งโดยเร็ว“น้องเว็บต้องรู้ไว้เสมอนะว่าป๊าไม่ได้ฆ่าคนตาย ป๊าไม่ได้คดโกงใคร ไม่ได้ขายยาเสพติด หรือหลอกลวงใคร ป๊าก็แค่ทำงานช่วยเหลือเพื่อนๆในสิ่งที่ป๊าสามารถทำได้เท่านั้น แล้วก็ถูกจับ”
-คุณสุรชัย แซ่ด่าน แกนนำเสื้อแดงวัย 68 ปี ป่วยเป็นโรคต่างๆ มากมาย และกำลังอดอาหารประท้วงในคุก เขาถูกจับเข้าคุกเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เขาเขียนข้อความส่งออกมาจากคุกถึงคนเสื้อแดงว่า อย่ายอมแพ้ จงสู้ต่อไป
- คุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการนิตยสาร เรดพาวเวอร์ และนักสิทธิแรงงาน ถูกจับที่ชายแดนไทย-กัมพูชาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2554 เขาส่งจดหมายจากคุกในชื่อหัวจัดหมาย "เหยี่ออธรรม" โดยระบุว่า "ผมจะสู้ให้ได้รับเสรีภาพตราบจนลมหายใจสุดท้าย ผมยอมเสียอิสระภาพ แต่จะไม่ยอมเสียความเป็นคนอย่างแน่นอน" คุณสมยศถูกกลั่นแกล้งและบีบบังคับมากมายเพื่อให้สารภาพผิด รวมทั้งถูกบังคับให้ยืนในรถผู้ต้องขังย้ายไปขึ้นศาลยังเรือนจำจังหวัดต่างๆ ทั้งสระแก้ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์และสงขลา
-คุณเลอพงศ์ วิชัยคำมาศ (โจ กอร์ดอน) ชาวอเมริกาเชื้อชาติไทย กลับเมืองไทยเพื่อรับการรักษาโรค เขาถูกล้อมจับด้วยตำรวจดีเอสไอร่วม 20 คน ด้วยข้อหาโพสลิ้งค์ของหนังสือ "กษัตริย์ไม่เคยยิ้ม" ในเว็บบอร์ดในปี พ.ศ. 2551-2552 และถูกโยนเข้าห้องขังทันทีเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม
- อำพล ตั้งนพคุณ อากงอายุ 61 ปี ถูกตัดสินจำคุก 20 ปี เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2554 สำหรับข้อกล่าวหาว่าส่ง SMS ที่มาดร้ายต่อองค์สมเด็จพระนางเจ้า ไปยังมือถือของสมเกียรติ คล่องวัฒนาสุข เลขานุการส่วนตัวของอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อำพล ที่ทุกข์ทรมานจากโรงมะเร็งที่ลิ้น และไม่สามารถเข้าถึงการรักษาที่ถูกต้องได้ในระหว่างที่อยู่ในคุก ปฏิเสธอย่างจริงจังว่าไม่ได้เป็นคนส่งข้อความเหล่านี้
และอีกหลายร้อยชีวิตที่ไม่ทราบชะตากรรม

http://redusala.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น