วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

“พานทองแท้” FB "รัฐประหาร - Double Standard" ปัญหาประเทศแท้จริง


“พานทองแท้” FB "รัฐประหาร - Double Standard" ปัญหาประเทศแท้จริง

           วันที่ 10 พฤศจิกายน 2556 (go6TV) – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัวhttps://www.facebook.com/oakpanthongtae โดยมีเนื้อหาดังนี้





"รัฐประหาร โกงกิน สิ้นล้านหมื่น ธรรมศาสตร์ ไม่เห็นตื่น มาต่อต้าน"

          ในขณะที่อธิการบดี และอาจารย์ส่วนหนึ่งของม.ธรรมศาสตร์ ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้าน พรบ.นิรโทษกรรม ก็ได้ปรากฏข้อความ ซึ่งนักศึกษาธรรมศาสตร์ขึ้นป้ายไว้ ที่บริเวณอาคารเรียนภายในมหา'ลัย อย่างที่เห็นนี้ครับ..!!

          ป้ายนี้เสมือนคำถาม?? จากนักศึกษาธรรมศาสตร์ในปัจจุบันว่า "แล้วทำไมธรรมศาสตร์ จึงไม่ออกมาต่อต้าน ยามที่เกิดการรัฐประหาร ขึ้นในบ้านเมืองของเราบ้าง"

         "แล้วทำไมธรรมศาสตร์ จึงไม่ออกมาต่อต้าน เมื่อคณะรัฐประหาร หรือรัฐบาลที่แต่งตั้งจากคณะรัฐประหาร มีการทุจริตโกงกินกันบ้าง"

          ผมมองว่านี่คือตัวอย่าง ของการเมืองแบบเลือกข้าง ซึ่งได้แทรกซึมเข้าไปในทุกสถาบันของไทยเรา ไม่เว้นแม้กระทั่งสถาบันการศึกษา ซึ่งหมายถึงมุมมองในการสอนศิษย์ ของคนเป็นครูบาอาจารย์ด้วยครับ คิดง่ายๆว่าสถาบันที่เล็กที่สุดอย่างสถาบันครอบครัว ซึ่งมีความสนิทสนมกันมากกว่าสถาบันอื่นๆยิ่งนัก บางที ผัว-เมีย//พ่อ-แม่-ลูก ยังต้องห้ามคุยเรื่องการเมืองกันในบ้าน นับประสาอะไรกับสถาบันใหญ่ๆ ที่มีความหลากหลายมากกว่า

       การปฏิบัติกับคนสองคน ในกรณีที่คล้ายกันแต่ "เลือกปฏิบัติ" แตกต่างกันไปนี่แหละครับ คือสิ่งที่พวกเราได้เคยรับสัญญาณเตือนกันมาว่า ให้ระวังกระบวนการ Double Standard ให้ดี อย่าให้เกิดขึ้นในสังคมไทยเป็นอันขาด ตอนแรกงุนงงและตีความกันยกใหญ่ ว่าหมายถึงอะไรเพราะเป็นสิ่งที่ยังไม่แพร่หลายในเมืองไทย แต่ในปัจจุบันกระบวนการสองมาตรฐานนี้ เกิดขึ้นทุกเมื่อเชื่อวัน ในแทบจะทุกองค์กรของไทยครับ

        เปรียบเทียบเหตุการณ์ 2เหตุการณ์ ที่ Double Standard ให้เห็นกันชัดๆแรงๆก็ได้ครับ เชื่อผมมั๊ยครับว่า ถ้าเปลี่ยนสลับกัน

        ให้คนที่เมียไปซื้อที่ดินรัชดาชื่อ สุรยุทธ์ฯ  ส่วนคนที่ไปปลูกบ้านบนเขายายเที่ยงชื่อ ทักษิณฯ หากให้ คตส.ชุดเดิม เป็นผู้สรุปสำนวนส่งฟ้องฯ คนที่จะโดนโทษติดคุกก็ชื่อทักษิณฯ ในข้อหาบุกรุกป่าสงวนต้นน้ำอยู่ดีครับ ส่วนคดีที่ดินรัชดา คนชื่อสุรยุทธ์ฯ คตส.ย่อมไม่ส่งฟ้องเนื่องจากขาดเจตนาฯ

         ปัญหาแท้จริงที่ครอบคลุม ความวุ่นวายทั้งหมดของประเทศไทย ชัดเจนอยู่ที่คำๆนี้คำเดียวแหละครับ  "สองมาตรฐาน"


หมายเหตุ: เครดิตภาพจาก
http://pantip.com/topic/31214533

เชิญเข้าไปแวะชมได้ครับ

ไต่สวนการตาย ‘ชายนิรนาม’ เหยื่อกระสุน 19 พ.ค.53

ไต่สวนการตาย ‘ชายนิรนาม’ เหยื่อกระสุน 19 พ.ค.53

          พนักงานสอบสวนเบิกความสรุปผู้ตายเสียชีวิตจากการกระทำของทหารบริเวณถนนราชดำริ วันที่ 19 พ.ย. 53 นัดต่อไป 22 พ.ย.นี้ ขณะที่ไต่สวนการตาย ‘สมชาย’ เยื่อกระสุน 16 พ.ค พระราม 4 พยานเชื่อกระสุนสังหารมาจากทหาร
          เมื่อวันที่ 7 – 8 พ.ย. ที่ศาลอาญา ศาลไต่สวนคดีที่พนักงานอัยการสำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีอาญา 3 ยื่นคำร้องขอให้ไต่สวนชันสูตรพลิกศพชายไทยไม่ทราบชื่อและนามสกุล ที่ถูกยิงเสียชีวิตบริเวณแยกสารสิน ถนนราชดำริ ในเหตุการณ์สลายชุมนุมม็อบเสื้อแดงเมื่อวันที่ 19 พ.ค.2553

ภาพ 1 ใบหน้าชายนิรนามที่เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุม 19 พ.ค. 53 บริเวณแยกศาลาแดง

ใครรับผิดชอบ ชีวิตของบุคคลทั้งสองนี้
ใครจะรับผิดชอบ หากสอบสวนหาตัวคนกระทำผิดไม่ได้





          นายภัสพล ไชยพงษ์ เบิกความโดยสรุปว่า ระหว่างที่มีการชุมนุมพยานเข้าไปขายขนมบริเวณหน้าห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ในวันเกิดเหตุ เวลา 07.00 น. ขับขี่รถจักรยานยนต์เข้าไปเพื่อเก็บของออกจากพื้นที่ สักพักได้ยินเสียงประกาศจากบนเวทีว่าให้เก็บข้าวของไปรวมกันที่วัดปทุมวนาราม ต่อมาพยานขับรถ จยย.ไปตามถนนราชดำริ เพื่อไปดูเหตุการณ์ที่แยกศาลาแดง เมื่อไปถึงแยกสารสินเห็นผู้ชุมนุมหลบอยู่ตามเต็นท์ ต้นไม้ และตอม่อ สักพักได้ยินเสียงดังคล้ายเสียงปืนและระเบิดดังขึ้น เห็นผู้ชุมนุมวิ่งมาจากทางร.พ.จุฬาลงกรณ์ แล้วขอให้ไปช่วยผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตบริเวณบังเกอร์หน้าร.พ.จุฬาฯ ระหว่างนั้นเห็นว่ามีการนำผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตออกมา แล้วขอให้พยานขับรถ จยย.นำไปที่ร.พ.ตำรวจ
เห็น ‘นรินทร์ ศรีชมภู’ เหยื่อกระสุน 19 พ.ค.ถูกยิงเสียชีวิต
         ภัสพล เบิกความต่อว่า จากนั้นพยานได้กลับไปที่แยกสารสินอีกครั้ง สักพักได้ยินเสียงปืนดังมาจากหน้าร.พ.จุฬาฯ ต่อมาเวลา 09.00 น. พยานเข้าไปหลบอยู่หลังต้นไม้บริเวณหน้าอาคารบ้านราชดำริจนสิ้นเสียงปืน พยานจึงชะโงกหน้าออกไปดู แล้วก็ถูกยิงที่ลำคอและล้มลง เพื่อนจึงดึงพยานเข้าไปหลบ สักพักเห็นชายที่ถือโทรโข่งที่อยู่ใกล้พยานก็ถูกยิงเช่นกัน ผ่านไปประมาณ 10 นาที กลุ่มผู้ชุมนุมได้นำพยานและผู้เสียชีวิตขึ้นรถกระบะไปส่งที่ร.พ.ตำรวจ โดยทราบภายหลังว่าคือนายนรินทร์ ศรีชมภู ส่วนผู้ตายในคดีนี้พยานไม่ทราบว่าถูกยิงที่ใด
พนง.สอบสวน ชี้ ชายนิรนาม ถูกยิงใกล้ ‘ถวิล-นรินทร์-ธนโชติ’
          พ.ต.ท.วัฒนา ศิริสูงเนิน พนักงานสอบสวน ชำนาญการพิเศษ ดีเอสไอ เบิกความสรุปว่า จากการสอบสวนทราบว่า ผู้ตายเสียชีวิตในเวลาประมาณ 07.00 น. บริเวณตรงข้ามตึก สก ร.พ.จุฬาลงกรณ์ นอกจากนี้ ยังมีอีก 3 ศพ เสียชีวิตในเวลาและบริเวณใกล้เคียงกัน คือ นายถวิล คำมูล นายนรินทร์ ศรีชมภู และนายธนโชติ ชุ่มเย็น โดยนายถวิลอยู่บริเวณแนวบังเกอร์ยางรถยนต์หน้าตึก สก. ก่อนหลบไปที่ป้ายจอดรถแท็กซี่อัจฉริยะและถูกยิงล้มลง มีผู้ชุมนุม 2 คน จะเข้าไปช่วย แต่ก็ถูกยิงบาดเจ็บเช่นกัน โดยทหารพบศพชายไทยไม่ทราบชื่อ ขณะเข้ามาเคลียร์พื้นที่ ทหารที่ปฏิบัติการในวันเกิดเหตุมาจากกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ รับผิดชอบบริเวณสวนลุมพินี ถนนพระราม 4 แยกศาลาแดง และถนนราชดำริ

แผนที่ 1: จุดที่นายถวิล คำมูล และชายไม่ทราบชื่อนอนเสียชีวิตอยู่ (ภาพจาก ทีมข้อมูล ศปช.)

จนท.คุมทั่วพื้นที่ มีชุดระวังป้องกันบนที่สูง
พยาน เบิกความต่อว่า ในการสอบสวนยังทราบว่า มีการจัดชุดระวังป้องกันบนที่สูง เช่น อาคารไทยประกันชีวิต อาคารอื้อจื้อเหลียง โดยขึ้นตรงกับศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค.2553 มีการสั่งให้ทหารเคลื่อนกำลังเข้ากระชับพื้นที่ เข้าคุมพื้นที่ทั้งภายในและภายนอกสวนลุมพินี อีกทั้งยังคุมพื้นที่อยู่ที่สนามมวยลุมพินี และบนสะพานข้ามแยกศาลาแดง พร้อมกับประกาศห้ามเข้าพื้นที่ พยานคิดว่าไม่น่าจะมีใครสามารถเข้าไปภายในสวนลุมพินีได้
พ.ต.ท. วัฒนาเบิกความอีกว่า จากการสอบสวนนายปรีชา สุกใส ผู้ชุมนุมที่นั่งอยู่บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์ ในวันที่ 14 พ.ค.2553 ให้การว่าได้ยินเสียงปืนมาจากตึก สก แล้วชี้นิ้วให้เพื่อนดู ปรากฏว่าถูกยิงที่นิ้วชี้ และจากการสอบสวนยังทราบว่า มีการสั่งการให้หน่วยปฏิบัติการพิเศษจากทหารทั้ง 4 เหล่า มาร่วมปฏิบัติการด้วย โดยในวันที่ 19 พ.ค.2553 ศอฉ.สั่งการให้เจ้าหน้าที่เริ่มปฏิบัติการตั้งแต่เวลา 03.00 น. จากการชันสูตรพลิกศพพบว่า ผู้ตายถูกกระสุนปืนความเร็วสูง หลังสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานทั้งหมด จึงสรุปความเห็นว่า ผู้ตายในคดีนี้เสียชีวิตจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ทหาร
พันโทจาก ราบ 11 เบิก ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในบริเวณที่ชายนิรนามเสียชีวิต
ด้าน นายทหารยศพันโท สังกัดกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ เบิกความโดยสรุปว่าช่วงที่มีการชุมนุม พยานเป็นรองผบ. กองพันทหารราบที่ 2 ร.11 รอ. เมื่อวันที่ 18 พ.ค.2553 ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับกองพันให้จัดกำลังพล 150 นาย แบ่งเป็น 5 ชุด ชุดที่ 1-4 มีชุดละ 10 นาย ถือปืนลูกซองบรรจุกระสุนยาง 30 นัด และสะพายปืนเล็กยาวไว้ด้านหลังแต่ไม่มีกระสุน ส่วนกระสุนจริงอยู่ในขบวนสัมภาระด้านหลังที่เคลื่อนที่ตาม สำหรับทหารอีก 110 นาย มีเพียงโล่และกระบองเท่านั้น
พยานเบิกความต่อว่า พยานเป็นผู้ควบคุมกำลังพล 1 ชุด รวมพยานเป็น 10 นาย ส่วนอีก 4 ชุด ขึ้นตรงกับผู้บังคับกองพัน ในวันที่ 19 พ.ค.2553 เวลา 05.30 น. ได้รับคำสั่งให้เคลื่อนไปตามถนนวิทยุ และเข้าควบคุม อาคารเคี่ยนหงวน บริเวณแยกสารสิน เมื่อไปถึงพบว่ามีผู้ชุมนุมอยู่ประมาณ 10 กว่าคน พยานจึงให้ สน.ลุมพินี มารับตัวไป แต่หน่วยของพยานควบคุมพื้นที่บริเวณด้านล่างเท่านั้น เนื่องจากมีกำแพงล้อมไว้ไม่สามารถเข้าไปในตึกได้ จึงไม่ทราบว่าจะมีใครอยู่หรือไม่ พยานประจำอยู่จนถึงวันที่ 20 พ.ค.2553 เวลา 14.00 น. ระหว่างนั้นไม่มีการยิงปืน หรือปะทะกับผู้ชุมนุมแต่อย่างใด
จาก นั้นทนายความถามว่า ขณะประจำการได้ยินเสียงปืนในบริเวณใกล้เคียงหรือไม่ พยานเบิกความว่า พยานจดจ่อกับการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับคำสั่ง จึงไม่ทราบว่าจะมีเสียงดังมาจากที่อื่นหรือไม่ ทนายความถามต่อว่าการเข้าควบคุมพื้นที่นั้น ตรวจพบอาวุธหรือไม่ พยานเบิกความว่าเวลา 18.30 น. เห็นว่าชุดที่มี 110 นาย ตรวจยึดอาวุธในพื้นที่ได้หลายรายการ ประกอบด้วย มีด ประทัด ถังดับเพลิงที่ดัดแปลงเป็นระเบิด ปืนเอ็ม 16 จำนวน 1 กระบอก และปืนอาก้า 2 กระบอก แต่ไม่สามารถจับกุมผู้กระทำผิดได้
ทนายความถามอีกว่า ปืนอาก้า และปืนเอ็ม 16 ใช้ในหน่วยงานใด พยานเบิกความว่า ปืนอาก้า ไม่ได้ใช้ในกองทัพบก แต่ใช้ในหน่วยทหารพราน ส่วนปืนเอ็ม 16 ใช้ในหน่วยราชการทั้งทหารและตำรวจ สำหรับการเสียชีวิตของชายไทยไม่ทราบชื่อ พยานไม่ได้เกี่ยวข้อง เนื่องจากไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในบริเวณดังกล่าว ส่วนหน่วยอื่นจะใช้อาวุธและกระสุนจริงหรือไม่ พยานไม่ทราบ
ภายหลังการไต่สวนเสร็จสิ้น ศาลนัดไต่สวนครั้งต่อไป วันที่ 22 พ.ย. เวลา 09.00 น.

ไต่สวนการตาย ‘สมชาย ช่างซ่อมรองเทา’ เยื่อกระสุน 16 พ.ค พระราม 4
เมื่อวันที่ 8 พ.ย. ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลไต่สวนชันสูตรพลิกศพคดีที่พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนชันสูตรพลิกศพนายสมชาย พระสุพรรณ ช่างซ่อมรองเท้า ถูกยิงเสียชีวิตบริเวณเชิงสะพานลอยคนข้าม ใกล้ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาลุมพินี ย่านชุมชนบ่อนไก่ ถนนพระราม 4 ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 16 พ.ค.2553
พยานเชื่อกระสุนสังหารผู้ตายมาจากทหาร
นายวีระชัย ดอกพอง ผู้ชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ เบิกความโดยสรุปว่าในวันเกิดเหตุ เวลา 09.30 น. เห็นผู้ตายเดินมาจากสะพานลอยตรงข้ามปากซอยงามดูพลี ขณะนั้นมีเจ้าหน้าที่ตั้งแนวอยู่ตรงสะพานไทย-เบลเยียม จึงตะโกนบอกผู้ตายไม่ให้เดินออกมา ผ่านไปไม่นานก็ได้ยินเสียงปืนดังขึ้นมาจากแนวที่เจ้าหน้าที่ยืนอยู่ เหตุที่เชื่อว่ากระสุนมาจากเจ้าหน้าที่ เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีแต่เจ้าหน้าที่ และตอนที่พยานจะเข้าไปช่วยผู้ตาย ก็ถูกเจ้าหน้าที่ยิงสกัด และที่เชื่อว่าเป็นกระสุนจริง เนื่องจากพบรอยกระสุนที่กำแพง และบังเกอร์ยางรถยนต์
ต่อมาทนายความญาติผู้ตายถามพยานว่า ผู้ตายแต่งกายอย่างไร พยานเบิกความว่าใส่กางเกงขายาวสีเข้ม และเสื้อสีอ่อน ทนายความญาติผู้ตายถามต่อว่า พยานเห็นชายชุดดำ หรือผู้ชุมนุมมีอาวุธในบริเวณดังกล่าวหรือไม่ พยานเบิกความว่าไม่เห็น และไม่มี พยานเชื่อว่าเจ้าหน้าที่เป็นผู้ยิงผู้ตาย แต่ไม่ทราบว่าเป็นคำสั่งผู้ใด
แพทย์ผู้วินิจฉัยสาเหตุการเสียชีวิตระบุกระสุนเข้าหัวฝังในเป็นเหตุเสียชีวิต
ต่อมา นพ.สุกิจ ทัศนสุนทรวงศ์ แพทย์ ผู้วินิจฉัยสาเหตุการเสียชีวิต เบิกความโดยสรุปว่า ขณะที่พยานรับราชการอยู่ที่ร.พ. เลิดสิน กทม. มีอาสาสมัครนำคนไข้มาส่งเมื่อวันที่ 16 พ.ค.2553 เวลา 09.50 น. พร้อมให้ประวัติว่าถูกยิงที่ศีรษะ แพทย์ศัลยกรรมประจำแผนกฉุกเฉินจึงรักษา แต่คนไข้อาการรุนแรง และเสียชีวิตในเวลาต่อมา จากนั้น ร.พ.จึงแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บถูกกระสุนปืนเสียชีวิต แต่ไม่มีการผ่าพิสูจน์ เพราะเห็นสาเหตุเสียชีวิตแน่นอน
นพ.สุกิจเบิกความต่อว่า โดยลักษณะบาดแผลเข้าได้กับกระสุนที่ศีรษะด้านหน้า กระสุนฝังใน ทำลายสมอง จนเป็นเหตุให้เสียชีวิต บาดแผลมีร่องรอยกระสุนเข้า แต่ไม่มีร่องรอยกระสุนออก บาดแผลยาว 2 ซ.ม. เหมือนรูกระสุนทั่วไป โดยมีพยานเป็นผู้ตรวจ และลงความเห็นการเสียชีวิตของผู้ตาย หรือนายสมชาย พระสุพรรณ ที่พยานไม่เคยรู้จักผู้ตายมาก่อน นอกจากนี้ พยานยังได้ไปให้ปากคำกับพนักงานสอบสวน และกรมสอบสวน คดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ก่อนหน้านี้ด้วยแล้ว
จากนั้นทนายความญาติผู้ตายถามพยานว่า ทราบหรือไม่ว่าผู้ตายถูกยิงที่ไหน พยานเบิกความว่าทราบเพียงว่าผู้ตายถูกยิงจากพื้นที่ชุมนุมก่อนหน้านำส่งร.พ. 20 นาที แต่จากบาดแผลไม่สามารถระบุวิถีกระสุนได้
ภายหลังพยานทั้ง 2 ปากเบิกความเสร็จสิ้น ศาลนัดไต่สวนครั้งต่อไปวันที่ 13 และ 19 พ.ย.
เรียบเรียงจาก ข่าวสดออนไลน์
หมายเหตุ : อ่านข้อมูลเกี่ยวกับชายไม่ทราบชื่อเพิ่มเติมได้ที่ “เปิดหน้าหาชื่อชายนิรนามเหยื่อสลายการชุมนุม 19 พ.ค.53

สมศักดิ์ระบุรับประทานไม่ลง!"การเมืองแบบตบจูบ"

สมศักดิ์ระบุรับประทานไม่ลง!"การเมืองแบบตบจูบ" 

ไร้คำขอโทษจาก พท.-แกนนำ นปช.

             สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลระบุจะไม่ร่วมกิจกรรม '10,000 up' ที่ บก.ลายจุดนัดหมาย ชี้รัฐบาลพลาดร้ายแรง ที่ทำลายโอกาสได้รับอิสรภาพของคนธรรมดา เพื่อแลกกับการช่วยผู้นำอย่างผิดๆ แถมไม่เคยมีคำขอโทษ - เรียกร้อง นปช. "สร้างอำนาจต่อรอง" วิจารณ์ทักษิณ-เพื่อไทย-แกนนำ ให้มากกว่าที่เป็นมา ไม่ใช่เอาแต่ขานรับ
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
            10 พ.ย. 2556 - เมื่อวานนี้ (9 พ.ย.) สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์สเตตัสวิจารณ์พรรคเพื่อไทย และระบุว่าจะไม่ไปร่วมกิจกรรม "10,000 up" ที่สมบัติ บุญงามอนงค์ กลุ่มวันอาทิตย์สีแดงนัดหมายในวันที่ 10 พ.ย. ที่แยกราชประสงค์ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 
000
คุณจตุพร เพิ่งประกาศในการแถลงข่าว ช่วยประชาสัมพันธ์งาน "10000 up" ของ สมบัติ บุญงามอนงค์ ด้วย โดยบอกว่า จะไปร่วมกิจกรรม ให้กำลังใจด้วย
ผมจึงขอบอกวา ผมคงไม่ไปแล้ว - อันทีจริง ผมไปหรือไม่ ไม่ใช่เรืองใหญ่โตอะไร จริง ๆ แล้ว เล็กน้อยมาก ๆ แต่ทีผมต้องบอก เพราะบังเอิญ ผมเป็นคนนึงทีทำเทป "โปรโมท" งานนี้ให้ด้วย (อัดตั้งแต่ ค่ำวันที่ 31 ตุลาคม ก่อนที รบ.จะ "ลักไก่" รีบรวบรัดลงคะแนนตอนตี 4 คืนนั้น) ผมจึงรู้สึกว่าเป็นหน้าทีของผมทีต้องมาชี้แจง ทีจะไม่ไป
อย่างที่ผมเขียนไปก่อนหน้านี้ว่า ผมมีปัญหากับการทีงาน "10000 up" ได้ถูกโยงเข้ากับกิจกรรม "ปกป้องรัฐบาล" .. (มัน "ตลกร้าย" เหมือนกัน เพราะแม้แต่ชื่อ "10000 up" มันก็มาจากการทีมีข่าวว่า คนของรัฐบาล ไม่ยอมฟังการทักท้วง เพราะ "มาไม่ถึงหมื่น" ก็เลยมีการนัดชุมนุมว่า จะมากัน "10000 up" - ตอนนี้ งานในชื่อ ทีมาจากการประท้วงรัฐบาล ถูกทำให้กลายเป็นเชียร์รัฐบาลไปแล้ว)
ผมควรบอกด้วยว่า ตลอดการแถลงข่าวของคุณจตุพร (ยังไม่จบขณะกำลังเขียน) คุณจตุพร มาในแนวพรรคเต็มที่ คือ บอกว่า เรืองนิรโทษ "จบแล้ว" เด็ดขาด แล้วก็ตามด้วยการด่า เฉพาะสุเทพ อภิสิทธิ์ ตามทีเคยเป็น ๆ มา
ผม "รับประทานไม่ลง" กับการเมืองแบบ "ตบจูบ" แบบละครน้ำเน่าแบบนี้ ไม่มีคำขอโทษ ไม่มีคำอธิบาย ไม่มีการอภิปรายว่า แล้วอนาคตของคนคุกจะเอายังไง (จตุพร ถึงกับยืนยัน สิ่งที ภูมิธรรม และ พงษ์เทพ พูดไปว่า ตลอดสมัย รบ. นี้ จะไม่มีการรื้อฟื้่นเรื่องนิรโทษอีก ถ้ามี เขาจะ "นำคนไปโค่นล้มเอง" .. คงลืมไปว่า การที่ไม่มีการรื้อฟื้นนั้น มันหมายถึงว่า มวลชนเองน่ะต้องอยู่ในคุกต่อไป .. จากความผิดพลาดของรัฐบาลที่จตุพรตอนนี้มาเชียร์แหลก)
และที่สำคัญ ในขณะที่ผมเห็นด้วยกับทีคุณจตุพร ในช่วงไม่กี่วันก่อน ออกมาแสดงการไม่เห็นด้วยกับการ "ไม่นิรโทษฆาตกร" แต่ว่า แต่ไหนแต่ไร การ "ไม่เหมาเข่งฆาตกร" ของคุณจตุพร และ นปช ไม่เคยรวมทหาร ที่พรรคเพื่อไทยหันไปเอกอกเอาใจ อย่างไร้หลักการโดยสิ้นเชิง (ซึงดังทีผมพูดมาตลอดว่า ทำให้การ "อัด" สุเทพ อภิสิทธิ์ กลายเป็นเรือง "ปาหี่" คือถ้า "ให้อภัย" "เอาใจ" ทหารได้ มีเหตุผลอะไร นอกจากการแย่งเสียงทางการเมือง ทียังอัดสุเทพ อภิสิทธิ์ อยู่? คือกลายเป็นเรือง แข่งกันทางการเมืองล้วนๆ)
และแน่นอน ผมไม่ลืมด้วยว่า คุณจตุพร เช่นเดียวกับ พรรคเพื่อไทย และรัฐบาล ไม่ยอมนิรโทษกรรมคดี 112 ซึงเป็นคดึการเมืองล้านเปอร์เซนต์ ด้วย
สรุปแล้ว ผมเห็นว่า ตอนนี้ งาน "10000 up" ถูกทำให้กลายเป็นเพียงงาน "เชลียร์" รัฐบาลไป รวมไปถึง กลายเป็นงานทีอาจจะทำให้ความผิดพลาดใหญ่หลวงของรัฐบาลทีเพิ่งเกิด "ลืมๆ กันไป" แบบการเมืองน้ำเน่า ไม่ต้องพูดถึงวา จุดยืนเรือง "ไม่เหมาเข่ง" แม้แต่ นปช. ก็มีปัญหามาตลอด (เรื่องทหาร, 112)
ขออภัย ในฐานะคนหนึงที่ช่วยโปรโมทงาน ว่า ตัวเองขอไม่ไปครับ รับประทานไม่ลงกับการเมืองน้ำเน่าครับ
000
[2] อ้อ ต่อจากกระทู้ข้างล่างอีกนิดนะครับ
ผมว่ามัน "ตลกร้าย" ดี ทีตอนนี นปช. มาเชียร์งานราชประสงค์ของคุณ สมบัติ บุญงามอนงค์
คราวก่อน ไม่ทราบหายไปไหนนะครับ ไม่ยักกะเชียร์แบบนี้
จริงๆ ก็ไม่ยากจะเข้าใจ คราวก่อนเป็นเรืองวิพากษ์รัฐบาลล้วนๆ นปช ก็สงบเสงี่ยมไม่ยอมมา คราวนี้ ต้องการคนมาช่วยเชียร์รัฐบาล ก็เลยมา เพราะยังไง ประเด็น "เหมาเข่ง" ทีเป็นจุดเริ่มต้นของ "10000 up" มันหมดไปแล้ว ก็มาดึงให้กลายเป็นส่วนหนึงของการเชียร์รัฐบาลเสียเลย
000
[3] ขำ คุณพี่ นพ.เหวง โตจิราการ กำลัง "อาศัยวิกฤติ เป็นโอกาส" เรียกร้อง ให้ นปช เป็นฝ่ายนำ แทน พรรคเพื่อไทย .... เหอๆๆ
.........
บรรดา "เบี้ย" ทั้งหลาย ก็คงได้แต่ปลงนะครับ "ละครตบจูบ" น้ำเน่าแบบนี้ ในทีสุดแล้ว เรื่องเป็นเรืองตาย อิสรภาพ ของ "เบี้ย" ลงเอยด้วยการ "จูบ" กัน และเป็นข้ออ้างในการเรียกร้องช่วงชิงบทบาทนำกันเองระหว่าง "เจ้านาย" ไป
000
 นี่เป็นบทนำ มติชน รายวัน วันนี้ เรียกร้อง "ความรับผิดชอบ" จากรัฐบาล ซึงก็ตรงกับทีผมเขียนมาในหลายวันนี้
 
อ่าน โดยเฉพาะ ย่อหน้าสุดท้ายนะครับ เขียนดีมากๆ
 
"......ท่าทีการถอยร่นอย่างไม่เป็นขบวนนี้ เปรียบไม่ได้กับครั้งการผลักดันร่างกฎหมายฉบับสุดซอยอย่างสุดลิ่มทิ่มประตู ที่ฝ่ายรัฐบาลดึงดัน ไม่ยอมรับฟังเสียงทักท้วงใดๆ ทั้งสิ้นว่า มีความเห็นต่อเรื่องนี้อย่างไร ทั้งที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับทุกคน ต้องตั้งใจฟังก่อนตัดสินใจ มาวันนี้กลับตาลปัตร ตัดสินใจถอยแบบไร้ทิศทาง ละทิ้งหลักการ ไม่พิจารณาผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เพียงแค่ต้องการเอาตัวรอดจากสถานการณ์ที่กำลังเผชิญ จริงอยู่ปัญหาทางการเมืองเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องแก้ไข แต่อะไรที่เป็นหลักการสำคัญที่ต้องทำแต่รัฐบาลละเลย อย่างการช่วยเหลือเฉพาะผู้ชุมนุมทางการเมือง ที่ย่อมได้รับผลกระทบจากการที่กฎหมายต้องตกไปทั้งฉบับ รัฐบาลก็ต้องรับผิดชอบด้วยเช่นกัน....." 
000
[5] ผมเสนอว่า คนเสื้อแดงหรือผู้สนับสนุนหรือเลือกทักษิณ-พรรคเพื่อไทย ควรต้อง "สร้างอำนาจต่อรอง" กับทักษิณ-พรรคเพื่อไทยและแกนนำเสื้อแดง ในลักษณะต่างๆ ให้มากกว่าที่เคยเป็นมา ดังนี้
  • 1. ตั้งแต่การรับข่าวสารข้อมูล จะต้องรู้จักเลือกรับข่าวสารข้อมูลและความเห็นที่ทักษิณ-พรรคและแกนนำเสนอออกมาอย่างเป็นตัวของตัวเอง รู้จักพิจารณาเลือกสรรว่าจะเชื่อหรือเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย เป็นเรื่องๆไป ทุกเรื่อง ไม่ใช่ว่าข่าวสารข้อมูลหรือความเห็นอะไรที่มาจากทักษิณ-พรรคและแกนนำ เป็นสิ่งที่ต้องเชื่อหรือเห็นด้วยเสมอไป
  • 2. หลังจากนั้น จะต้องไม่เกรงกลัวที่จะแสดงออกในลักษณะไม่เห็นด้วย หรือวิพากษ์อย่างเปิดเผย ต่อทักษิณ-พรรคและแกนนำ ในสิ่งที่เห็นว่าผิด ไม่ใช่ต้องรู้สึกเป็นพันธะที่ต้องดีเฟนด์หรือเชียร์ตลอดเวลา
  • 3. จะต้องไม่เอาแต่ "สนองตอบ-ขานรับ" ต่อการเรียกร้อง "ระดมพล-ขอความช่วยเหลือ-ขอการสนับสนุน" ของทักษิณ-พรรคและแกนนำ ในทุกๆเรื่อง และที่มักจะซิ้กแซ็ก เปลี่ยนท่าที กลับไปมา หลายต่อหลายครั้ง
  • 4. เรื่องไหนที่พรรคและแกนนำทำผิด นอกจากต้องกล้าวิพากษ์ แสดงความไม่เห็นด้วย หรือปฏิเสธที่จะคอย "ขานรับ" แล้ว ยังต้องเรียกร้องให้พรรคหรือแกนนำต้องแสดงความรับผิดชอบ ชี้แจง ยอมรับผิด และอธิบายต่อเราว่า ที่ทำผิดนั้นเพราะอะไร และจะมีมาตรการในการแก้ไขสิ่งที่ผิดไปแล้ว หรือป้องกันไม่ให้ผิดแบบนั้นอีก ได้อย่างไร กระทั่งต้องเรียกร้องการรับผิดชอบ เช่นการเปลี่ยนผู้นำหรือแกนนำที่ทำความผิดพลาดนั้น

อนาคตของประชาธิปไตยของสังคมไทย (ซึ่งไม่เท่ากับ หรือไม่ใช่คือ เพียงแค่การชนะเลือกตั้งและรักษาอำนาจของพรรคเพื่อไทย) ขึ้นอยู่อย่างสำคัญกับความสามารถของคนเสื้อแดงหรือผู้สนับสนุนทักษิณ-พรรคเพื่อไทย ที่จะสร้างอำนาจต่อรอง กับทักษิณ-พรรคเพื่อไทย-แกนนำเสื้อแดง ในลักษณะดังกล่าวนี้
000
[6] ผมคิดว่า ปัญหาใหญ่สุดตอนนี้ ที่น่าคิดสำหรับทุกฝ่าย โดยเฉพาะผู้สังเกตการณ์ทั้งหลายคือ
ถ้าวันจันทร์ หลังจากวุฒิสภาลงมติคว่ำ พรบ.นิรโทษกรรมแล้ว แต่พรรค ปชป ไม่เลิกการชุมนุม - ก้าวต่อไปของรัฐบาลจะเป็นอย่างไร?
หลังจากฟังทั้งสุเทพ และอภิสิทธิ์ ปราศรัยค่ำนี้ (อภิสิทธิ์ยังพูดอยู่ขณะกำลังเขียนนี้) ผมค่อนข้างมั่นใจว่า ปชป คงจะไม่สลายการชุมนุม แม้วุฒิสภาจะลงมติคว่า พรบ.
แน่นอน ปัญหาต่อเนื่องกันก็คือ ถ้า ปชป ไม่เลิกชุมนุม จะยังมีกระแสคัดค้าน รบ. มากพอที่จะทำให้การชุมนุมอยู่ตอไปได้หรือไม่? สำหรับประเด็นนี้ ผม 50-50 จริงอยู่ หลายคนคงเชื่อว่า ถ้าวุฒิลงมติคว่ำแล้ว ประเด็นประท้วงจะหมดไป และคนจำนวนไม่น้อย อาจจะหยุดมาชุมนุม .. ผมคิดว่า อาจจะจริงส่วนหนึง แต่กำลังสังหรณ์ว่า เพียงแค่วันจันทร์นี้ ต่อให้วุฒิลงมติคว่ำ พรบ.แล้วก็ตาม "โมเมนตัม" ของความไม่พอใจรัฐบาล น่าจะยังคงอยู่ในระดับที่ทำให้ ปชป ดำเนินการชุมนุมต่อไปได้ อย่างน้อยอีกหลายวัน แต่แน่นอนว่า ถึงจุดนั้น ปชป เอง ก็อาจจะต้องหาทาง "ยกระดับ" ขึ้น ซึงจะเป็นอะไร ผมเดาไม่ถูก
 000
[7] พอดี ผมไปโพสต์สรุปความเห็นสั้นๆ เรืองการชุมนุมของคุณ สมบัติ บุญงามอนงค์ ที่กระทู้ของเพื่อนคนหนึ่ง (ซึงเขาจะไปร่วม - ที่ผมโพสต์ ไมใช่เพื่อทำให้เขาเปลี่ยนใจ เพียงเพื่ออธิบายวิธีคิดของผมกับเพื่อนเท่านั้น) ผมขออนุญาต copy มาไว้ในทีนี้เสียเลย
ขออภัย ที่มีคำภาษาอังกฤษหลายคำ เวลาผมคิดในใจ ก็คิดด้วยคำเหล่านี้ และไม่มีเวลาและขี้เกียจจะหาคำไทยทีรู้สึกพอใจมาแทนในขณะนี้
..................
ประเด็นราชประสงค์พรุ่งนี้ของหนูหริ่งนะ ผมสรุปสั้นๆ แบบนี้
ในบริบทที่ รบ เพิ่งทำผิดพลาดที่สำคัญมากแบบนั้น (ผมถือว่าการทำลายโอกาสอิสรภาพของชาวบ้านธรรมดา เพื่อแลกกับการช่วยผู้นำอย่างผิดๆ เป็นเรื่องผิดพลาดที่ร้ายแรง)
การชุมนุมใดๆ
- ถ้าไม่สามารถแสดงออกในลักษณะว่า เป็นอิสระ จากรัฐบาล
- ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการ identify กับ รบ. ได้
ซึ่งการชุมนุมพรุ่งนี้ที่ราชประสงค์ไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ หรือไม่มีทางแสดงออกในลักษณะเป็นอิสระจาก รบ. ได้
ผมเห็นว่าการชุมนุมนั้นไม่เหมาะสม
พูดอีกอย่างคือ การ identify ใดๆ กับ รบ. ในบริบทที่ รบ. เพิ่งทำลายชีวิตอิสรภาพของชาวบ้านธรรมดา เพื่อผู้นำ รบ - เป็นอะไรที่ สำหรับความรู้สึกผมเอง morally reprehensible

000
[8]  ผมไม่เรียกร้องให้คนอืนๆ แม้แต่เพื่อนที "สนิท" ทางความคิด เชื่อนะครับ
แต่บอกจริงๆ ว่า ผมรับไม่ได้อย่างรุนแรง กับการทำลายชีวิตอิสรภาพของคนธรรมดาๆในคุก เพือ่แลกกับการช่วยเหลือผู้นำอย่างผิดๆ ของรัฐบาล - ผมเห็นว่านี่เป็นเรืองสำคัญเหมือนการฆ่าคนนั่นแหละ (ซึงก็ดังทีเห็นกันว่า รบ. ก็พร้อมจะไมสนเหมือนกันในเรืองนั้น)
และดังนั้น การแสดงออกใดๆในขณะนี้ ที่จะ identify กับ รบ. ผมทำไม่ได้ครับ รู้สึกขัดความรู้สึกเกินกว่าจะทำ
จะเรียกแบบทีฝรังว่า เป็นเรืองในเชิง morality สำหรับผมก็ได้ .. ส่วนท่านอื่น จะใช้การพิจารณาเชิง "การเมือง" อะไร ก็แล้วแต่ ไม่ได้เรียกร้องให้คิดเหมือนกัน