วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554


เมือก ยังไม่เลิกโกหก
สืบเนื่องจากการเสนอข่าวแถลงการของทหารตำรวจประชาธิปไตยของ http://redusala.blogspot.com/  ในหัวข้อ  แถลงการณ์ทหารตำรวจประชาธิปไตย ๒๕๕๔   http://redusala.blogspot.com/2011/08/blog-post.htmlจนนำไปสู๋การเสนอข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ชื่อดังของประเทศไทย ในที่สุด สุเทพ เทือกสุบรรณ ออกมาแถแล้วครับ 



7 สค. 2554 19:49 น. 



นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง และอดีตผอ.ศูนย์อำนวยแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) แถลงชี้แจงถึงกรณีที่มีการเสนอข่าวเอกสารลับ ศอฉ. ที่มีคำสั่งให้ทหารใช้อาวุธปืนยิงประชาชนที่มาชุมนุมในวันที่ 10 เม.ย.ว่า ไม่รู้เจตนาของผู้เสนอข่าว แต่อาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิดต่อผู้สั่งการและเจ้าหน้าที่ จึงขอชี้แจงเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องดังนี้ 1.สำเนาเอกสารคำสั่งที่หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งนำมาแสดงนั้น ได้ตัดวันที่สั่งการออกไป ซึ่งความจริงแล้วคำสั่งปฏิบัติการที่นำมาแสดงในหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ เป็นคำสั่งลงวันที่ 13 เม.ย. 2553 ไม่ใช่วันที่ 10 เม.ย.2553 แต่เป็นการสั่งการหลังเกิดเหตุคนชุดดำ ที่แฝงตัวอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม นำอาวุธสงครามมายิงเจ้าหน้าที่ ประชาชน จนมีผู้เสียชีวิต 26 คน บาดเจ็บ 800 คน ศอฉ.จึงจำเป็นต้องยับยั้งไม่ให้เกิดเหตุขึ้นอีก 

นายสุเทพ กล่าวต่อว่า แต่ปรากฎว่า หลังวันที่ 10 เม.ย.2553 เหตุรุนแรงยังไม่ยุติ คนชุดดำยังถืออาวุธร้ายแรงก่อเหตุร้ายต่อเนื่องแทบทุกวัน ศอฉ.จึงสั่งการให้เจ้าหน้าที่ใช้ปืนลูกซอง ซึ่งเป็นอาวุธไม่ร้ายแรง สามารถควบคุมการยิงได้ เพื่อป้องกันตัวเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ ให้รอดพ้นภัยคุกคามของคนชุดดำ ซึ่งคำสั่งนี้ระบุเรื่องการควบคุมวิถีกระสุน ไม่มุ่งต่อชีวิตเป้าหมาย จึงมีคำสั่งชัดเจนว่า การใช้อาวุธให้เล็งยิงส่วนล่างของร่างกายตั้งแต่เข่าลงมา ยืนยันว่า สำเนาคำสั่งที่พาดหัวข่าวหน้าหนึ่ง ในหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าว เป็นคำสั่งการวันที่ 13 เม.ย.ไม่ใช่วันที่ 10 เม.ย.ตามที่พยายามจะให้ผู้อ่านเข้าใจผิด 

นายสุเทพ กล่าวว่า 2.ส่วนที่หนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าว ได้นำสำเนาคำสั่งวันที่ 10 เม.ย. และ 13 เม.ย.มาลงตีพิมพ์ในหน้า 14 ของหนังสือพิมพ์ จนอาจทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดว่า เป็นคำสั่งการในเหตุการณ์เดียวกันนั้น ขอชี้แจงว่า ก่อนหน้านี้ในวันที่ 9 เม.ย.กลุ่มผู้ชุมนุมนับหมื่นคนได้บุกโจมตีสถานีดาวเทียมไทยคม ลาดหลุมแก้ว พร้อมทำร้ายเจ้าหน้าที่บาดเจ็บนับ 100 คน และยึดอาวุธปืนเจ้าหน้าที่ไปจำนวนมาก ก่อให้เกิดความกังวลว่า อาจนำอาวุธนั้น มาทำร้ายเจ้าหน้าที่ ศอฉ.จึงมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ใช้อาวุธได้ เพื่อป้องกันตนเองและประชาชน โดยให้ใช้กรณีมีผู้กระทำผิดซึ่งหน้า และป้องกันอันตรายใกล้ตัวที่อาจเป็นอันตรายต่อเจ้าหน้าที่และประชาชน ที่สำคัญหากจำเป็นต้องใช้อาวุธให้ทำตามขั้นตอนคือ 1.แจ้งเตือนด้วยวาจา 2.ยิงเตือนขึ้นฟ้า หรือในทิศทางที่ปลอดภัย 3.ใช้อาวุธตามหลักเกณฑ์โดยชอบด้วยกฎหมายและสมควรแก่เหตุ 


“ขอยืนยันว่า ศอฉ.ปฏิบัติหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ไม่มีเจตนาร้ายต่อประชาชน ขณะนี้เหตุการณ์ร้ายได้ผ่านมาปีเศษแล้ว และมีรัฐบาลชุดใหม่ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบรรดาผู้ก่อเหตุ และผู้ต้องหาก่อการร้ายบางคนได้เป็นส.ส.พรรครัฐบาล บางคนอาจได้เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้ ในฐานะที่รัฐบาลเป็นผู้กุมอำนาจรัฐจะสั่งการให้สอบสวนหรือดำเนินคดีกับผมที่เป็นผู้รับผิดชอบสั่งการในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผมพร้อมพิสูจน์ความจริงตามกระบวนการยุติธรรม ส่วนตัวเชื่อว่า มีกระบวนการไล่เช็คบิลผมแต่พร้อมจะพิสูจน์ข้อเท็จจริง ไม่รู้สึกหนักใจ เพราะทำงานด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่คิดหนีไปต่างประเทศ ส่วนจะฟ้องกลับหนังสือพิมพ์หรือไม่ ขอดูก่อน ถ้าจำเป็นเพื่อให้เกิดการพิสูจน์ข้อเท็จจริง ก็อาจต้องดำเนินการ” รองนายกฯฝ่ายความมั่นคง กล่าว
http://redusala.blogspot.com

‘ประชาธิปัตย์’ใต้เงา‘อำมาตย์’!

         อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคคนเดิม ลาออกจากตำแหน่งเมื่อนำพรรคแพ้การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา ในสถานการณ์เช่นนี้กรรมการพรรค เช่น นายวิฑูรย์ นามบุตร เห็นว่าพรรคจะต้องปรับปรุงยุทธศาสตร์ในภาคอีสานเป็นสำคัญ เพื่อให้ได้คะแนนเสียงเพิ่มขึ้น ความเห็นของนายวิฑูรย์ดูเหมือนจะง่าย เพราะเพียงว่าถ้าพรรคประชาธิปัตย์สามารถชนะเลือกตั้งในภาคอีสานก็จะชนะพรรคเพื่อไทยแล้วตั้งรัฐบาล ทุกอย่างก็จะราบรื่น


ประเด็นคือว่าปัญหาของพรรคประชาธิปัตย์ง่ายเพียงเท่านี้หรือ?
ความจริงแล้วไม่ใช่ ถ้าหากดูจากความเป็นมาจนถึงขณะนี้น่าจะอธิบายได้ด้วยซ้ำว่าพรรคประชาธิปัตย์นั้นมาไกลเกินกว่าที่ควรจะเป็นพัฒนาการและการดำรงอยู่ของพรรคในขณะนี้ เป็นการสะท้อนถึงความเหลวไหล หน้าไหว้หลังหลอกของชนชั้นนำในสังคมไทยด้วยซ้ำ และการดำรงอยู่ในสถานะพรรคอันดับที่ 2 ก็ไม่ได้ให้ประโยชน์กับประชาชนเลย


พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่เพิ่งจะได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และหัวหน้าพรรคคือนายอภิสิทธิ์ก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรีมานานกว่า 2 ปีครึ่ง แต่ผลปรากฏว่าการบริหารประเทศก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จหรือมีอะไรน่าประทับใจ นโยบายที่โฆษณาไว้ก็ไม่บรรลุผล เช่น การประกาศว่าจะดำเนินการให้เกิดการสมานฉันท์ การดำเนินการที่จะปราบการทุจริตคอร์รัปชัน จะแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ แต่กลับกลายเป็นว่าภายใต้รัฐบาลอภิสิทธิ์ ประชาชนยิ่งเดือดร้อนในการดำรงชีวิตมากขึ้น จากการที่สินค้าขึ้นราคา น้ำมันก็ราคาแพง โดยรวมรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ถูกโจมตีว่า “ดีแต่พูด” สอดคล้องกับการที่พรรคประชาธิปัตย์มีนักพูดฝีปากดีมากมาย แต่เวลาลงมือทำมักล้มเหลว ลักษณะของกลุ่มการเมืองเช่นนี้จึงห่างไกลจากการเป็นความหวังของประชาชน


แต่ที่ร้ายแรงยิ่งกว่านั้นก็คือ การใช้ความรุนแรงโดยใช้กองทัพบกเป็นเครื่องมือแล้วปราบปรามเข่นฆ่าประชาชนที่มาเรียกร้องประชาธิปไตยในเหตุการณ์เดือนเมษายนและพฤษภาคม พ.ศ. 2553 ทำให้มีประชาชนเสียชีวิตถึง 92 คน บาดเจ็บนับพันคน จนนายอภิสิทธิ์ได้ชื่อว่าเป็น




“นายกรัฐมนตรีมือเปื้อนเลือด”


หลังจากนั้นยังใช้กลไกสารพัดเป็นเครื่องมือโกหกหลอกลวงว่าไม่มีการเข่นฆ่าสังหารประชาชน พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนไม่ได้รับความเชื่อถือจากนานาชาติและประชาซนส่วนใหญ่ ทั้งข่าวที่ว่าในการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ครั้งนี้มีอำนาจนอกระบบ และสมาชิกพรรคจะผลักดันนายอภิสิทธิ์เป็นหัวหน้าพรรคอีก จึงยิ่งสะท้อนความจนตรอกของพรรค ทั้งที่เคยคุยว่าพรรคมีคนดีมีความสามารถมากมาย แต่ไม่สามารถหาผู้นำได้ดีกว่าอดีตนายกฯมือเปื้อนเลือด


เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ถ้าหากย้อนกลับไปพิจารณาประวัติของพรรคประชาธิปัตย์ที่เขียนขึ้นโดยพรรคประชาธิปัตย์เองจะพบว่าเป็นประวัติฉบับโกหกที่นักวิชาการของพรรคเขียนขึ้นหลอกลวงตัวเอง และหลอกลวงประชาชนอย่างยิ่ง


ในประวัติของพรรคประชาธิปัตย์ที่เผยแพร่อย่างเป็นทางการได้อธิบายว่า พรรคประชาธิปัตย์เป็นสถาบันการเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2489 มีพันตรีควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก จากนั้นในระยะต่อมาพรรคประชาธิปัตย์ก็ต่อสู้กับเผด็จการทหารและสร้างประชาธิปไตยเสมอมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 ก็ต่อสู้กับเผด็จการรัฐสภาในสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จนประสบชัยชนะ และเมื่อถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ก็ได้รับการสนับสนุนจากสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลแทนรัฐบาลพรรคพลังประชาชนที่ถูกยุบเพราะทุจริตการเลือกตั้ง
แต่ในความเป็นจริงตั้งแต่สมัยก่อตั้งมาพรรคประชาธิปัตย์ก็ประกาศเป็นพรรคอนุรักษ์นิยมเจ้า เป็นศัตรูกับฝ่ายคณะราษฎรที่นำโดยนายปรีดี พนมยงค์ เป็นพรรคที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าอยู่เบื้องหลังการใส่ร้ายเรื่องกรณีสวรรคต และให้ความร่วมมือกับคณะทหารที่ก่อการรัฐประหารเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ต่อมาให้ความร่วมมือกับจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในการทำรัฐประหารโค่นจอมพล ป. พิบูลสงคราม พรรคจึงไม่ได้มีเกียรติประวัติชัดเจนในการต่อสู้เผด็จการ นอกจากการเป็นฝ่ายค้านในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร


จากนั้นเมื่อมีการฟื้นอำนาจของฝ่ายอำมาตย์ตั้งแต่หลังกรณี 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 พรรคประชาธิปัตย์ก็แสดงให้เห็นว่าเป็นกลุ่มการเมืองที่มีแนวโน้มสนับสนุนฝ่ายอำมาตย์เสมอ ดังจะเห็นได้จากการเข้าร่วมรัฐบาลทุกสมัยที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยไม่เคยสงสัยในเรื่องความชอบธรรมของ พล.อ.เปรม ต่อมาเข้าร่วมกับรัฐบาลชาติชาย ชุณหะวัณ แต่ก็ถอนตัวเสียเพียง 2 เดือนก่อนรัฐประหาร จนเมื่อเกิดเหตุการณ์พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พรรคประชาธิปัตย์ฉวยโอกาสได้ประโยชน์เต็มๆด้วยการชนะเลือกตั้งเป็นแกนนำในการตั้งรัฐบาลผสมที่มีนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี


แต่ความเสื่อมเสียอย่างสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์เกิดขึ้นหลังจากนายอภิสิทธิ์รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคแล้วนำพรรคต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณโดยไม่สนใจว่าจะเป็นวิธีการใด เช่น ความพยายามในการขอพระราชอำนาจตามมาตรา 7 มาล้มรัฐบาลทักษิณ จนนายอภิสิทธิ์ได้ฉายาว่า “มาร์ค ม.7” ต่อมาก็สนับสนุนการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 สนับสนุนรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ สนับสนุนการเคลื่อนไหวของฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในการล้มล้างประชาธิปไตย
พรรคประชาธิปัตย์จึงได้รับการโอบอุ้มจากฝ่ายอำมาตย์ อำนาจนอกระบบ ตุลาการภิวัฒน์ และกองทัพ การได้บริหารประเทศทั้งที่แพ้เลือกตั้งเกิดจากกระบวนตุลาการช่วยกันจนยุบพรรคพลังประชาชน ตัดสิทธินักการเมืองที่ปราศจากความผิดจำนวนมาก และกองทัพเข้ามาแทรกแซงให้พรรคฝ่ายอื่นสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ นอกจากนี้พรรคประชาธิปัตย์ยังได้ภูมิคุ้มกันจากฝ่ายตุลาการ เพราะไม่ว่าจะทำความผิดมากน้อยประการใดก็ปลอดภัยจากการถูกยุบพรรคเสมอ ยิ่งกว่านั้นยังได้รับไฟเขียวในการปราบปรามสังหารประชาชนอีกด้วย
สรุปได้ว่า แม้ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะเป็นพรรคการเมืองในระบอบรัฐสภา แต่ในจิตใจไม่ได้มีความยึดโยงกับประชาชน ยอมตัวรับใช้อำมาตย์ รองรับอำนาจนอกระบบ ในจุดยืนเช่นนี้ไม่ว่าใครจะมาเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ก็ไม่ได้ให้ประโยชน์กับประชาชน สังคมไทยอาจต้องรอคอยพรรคอันดับ 2 พรรคอื่นที่จะพัฒนาเป็นคู่แข่งของพรรคเพื่อไทย เพื่อให้ประชาธิปไตยมีความยั่งยืนต่อไป


ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 7 ฉบับ 322 วันที่ 6 - 12 สิงหาคม 2554  พ.ศ. 2554 หน้า 9 คอลัมน์ ถนนประชาธิปไตย โดย สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
2011-08-05
http://redusala.blogspot.com

แทนคุณแผ่นดิน
พระบรมฯจะพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ระงับคดีโบอิ้ง
ตอบแทนคุณแผ่นดินใช้หนี้บุญคุณชาติ

หน่วยราชการในพระองค์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ออกแถลงการณ์งวันที่ 31 กรกฎาคม เรื่อง การอายัดเครื่องบินพระที่นั่งส่วนพระองค์ ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร กรณีพิพาทระหว่างรัฐบาลไทยกับบริษัท Walter Bau AG

โดยมีเนื้อหาแถลงการณ์ตามความละเอียดดังต่อไปนี้

ตามที่ศาลสูงสุดแห่งรัฐเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 11กรกฎาคม 2554 ให้ดำเนินการอายัดเครื่องบินพระที่นั่งของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งเป็นเครื่องบินส่วนพระองค์ไว้เป็นของกลางในคดีพิพาทระหว่างบริษัท Walter Bau AG กับรัฐบาลไทย และศาลแขวงแลนส์ฮูท ได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2554 ให้วางเงินประกันจำนวน 20 ล้านยูโร เพื่อถอนอายัดเครื่องบินพระที่นั่งดังกล่าวนั้น

ตลอดระยะเวลาตั้งแต่มีคำพิพากษาของศาลสูงสุดแห่งรัฐเบอร์ลิน และคำสั่งของศาลแขวง
แลนส์ฮูท สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จนถึงปัจจุบัน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร มิได้ทรงตอบโต้แต่ประการใด ต่อคำพิพากษาและคำตัดสินดังกล่าว รวมทั้งต่อกระแสข่าวทั้งจากในและต่างประเทศ ทรงเคารพต่อคำพิพากษาของศาลและทรงเชื่อมั่นในความยุติธรรมของกระบวนการยุติธรรม ด้วยทรงมีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลและประชาชนของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในระหว่างที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ และทรงพำนักอยู่ในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ทรงได้รับการต้อนรับ รวมทั้งการอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ เป็นอย่างดี

แม้ว่าสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จะมิได้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือเกี่ยวข้องกับข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลไทยกับบริษัท Walter Bau AG และมิได้ทรงเป็นผู้สร้างเรื่องหรือเหตุการณ์ข้อพิพาทขึ้นมา แต่ผลจากข้อพิพาทดังกล่าวได้นำมาซึ่งความเดือดร้อนพระราชหฤทัย กระทบต่อพระราชกรณียกิจ และเสี่ยงต่อการเสื่อมเสียพระเกียรติยศเป็นอย่างยิ่ง

ในการนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระราชกระแส และพระราชปณิธาน ที่จะทรงตอบแทนพระคุณแผ่นดินไทยและทรงใช้หนี้บุญคุณให้กับประเทศชาติในพระราชฐานะที่ทรงเป็นประชาชนชาวไทยพระองค์หนึ่ง และทรงเป็นองค์สยามมกุฎราชกุมารของประเทศไทย อีกทั้งมิให้เกิดผลกระทบต่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทย และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และเพื่อให้ข้อพิพาทดังกล่าวจบลงด้วยดี และรวดเร็ว จึงจะพระราชทานพระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์เพื่อนำไปใช้ในการระงับข้อพิพาทดังกล่าว

ทั้งนี้ไม่ทรงปรารถนาที่จะให้มีพระนามาภิไธยไปเกี่ยวข้องกับข้อพิพาทและมิให้เป็นที่เสื่อมเสียต่อพระเกียรติยศ

สำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

31 กรกฎาคม 2554
http://redusala.blogspot.com

วิกิลีคส์:ฑูตอเมริกาชี้ปมต้านรัฐประหาร19กันยา ชืด

แปลโดย ดวงจำปา
ที่มา Internet Freedom

ในการเปิดเผยข้อมูลทางวิกีลีกค์ ซึ่งเป็นเรื่องในซีรี่ย์ของ PPT, ในวันนี้ เราก็จะเน้นความสนใจมากับตัวเคเบิ้ล ลงวันที่ 28 เมษายน 2551 ซึ่ง เอกอัครราชฑูตสหรัฐอเมริกา นาย อีริค จอห์น ได้แสดงความคิดเห็นต่อคำถามที่ว่า: ทำไมกลุ่มต่อต้านการทำรัฐประหารเมื่อปี 2549 ถึงเป็นไปอย่างจืดชืดเช่นนี้? 

ข้อสังเกตดังกล่าวในความเห็นของเขา เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก:


“3. วรรค ซี. ผู้นำในกลุ่มกระทำการรัฐประหารนั้น ล้วนได้ประโยชน์จากการที่ทางฝ่าย[เซ็นเซอร์]ได้เผยให้เห็นถึงการรับรองในการกระทำอันนั้น.


[เซ็นเซอร์]เองก็ส่งสัญญาณให้เห็นทางสาธารณะแล้วว่า ได้ยินยอมพร้อมใจ (ถึงแม้ว่า ไม่ถึงกับสนับสนุน) เมื่อได้อนุญาตให้ (พลเอก) สนธิ (บุญยรัตกลิน) และคณะผู้ก่อการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯในคืนวันก่อการรัฐประหาร เหมือนกับกลุ่มผู้ก่อการรุ่นก่อนๆ


หัวหน้าคณะรัฐประหารของปี พ.ศ. 2549 ได้แสดงภาพพจน์ของพวกเขาเองว่า ได้ถูกบังคับให้กระทำการเหล่านี้เพื่อปกป้องตัวพระมหากษัตริย์ ต้องการเน้นให้พระองค์ทรงเห็นความจงรักภักดี เมื่อกลุ่มของพวกเขาได้ ตั้งชื่อ คณะก่อการว่า (แปลอย่างคร่าวๆ) ว่า คณะปฏิรูปการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค) และ ได้รับการอนุญาตอย่างเป็นทางการจาก[ซ็นเซอร์] ในรูปแบบของการ แต่งตั้งให้ สนธิ เป็นหัวหน้าของ คปค.


เราเชื่อได้ว่า นี่คือสัญญาณที่ฝ่าย[เซ็นเซอร์]ได้สนับสนุน – หรือ, อย่างน้อยที่สุด, ได้ยอมรับการกระทำนั้น –ซึ่งทำให้มีบทบาทอันสำคัญในการ เสริมสร้างให้ประชาชนทั่วไป ยอมรับในเรื่องการกระทำรัฐประหารครั้งนี้, ถึงแม้ว่า ตัวปัจจัยสำคัญอื่นๆ รวมไปถึง ความขุ่นข้องหมองใจที่แผ่กระจายออกไปในเรื่องวิกฤติการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง และ ศรัทธาต่อคำสัญญาของบุคคลในคณะรัฐประหารว่า จะให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น อีกประมาณหนึ่งปีข้างหน้า.”

ที่แน่นอนที่สุด ก็คือ ตัวเอกอัครราชฑูตและเจ้าหน้าที่ในสถานฑูตเอง ก็ไม่ใช่ว่า สามารถวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้องเสมอไป

ถึงแม้ว่าจะเป็นเช่นนั้นก็ตาม, เคเบิ้ลอีกหลายชิ้นที่เราได้เห็นมา ก็บ่งบอกถึง ความสำคัญในส่วนที่ "รั่ว" ออกมานั้นว่า มันอยู่ที่การเปิดโปงในเรื่องของความเชื่อและทัศนคติ (ของตัวบุคคลที่เขียน นั่นก็คือ ตัวเอกอัครราชฑูต และเจ้าหน้าที่ของสถานฑูตเอง - ผู้แปล) ที่ได้กล่าวตามการอ้างอิงข้างบนนั้น, เราจะเห็นว่า ตัวเอกอัครราชฑูต จอห์นเอง – และ น่าจะรวมไปถึงเจ้าหน้าที่คนอื่นๆ ในสถานฑูตด้วย - มีความรู้สึกว่า บทบาทของทางฝ่าย(เซ็นเซอร์)นั้น มีนัยที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในการลดบทบาทของการต่อต้านการกระทำรัฐประหาร .

เป็นที่แน่นอนที่สุดว่า, ในปัจจุบันนี้ ฐานะสภาพต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก, และตัวฝ่าย[เซ็นเซอร์]เองก็ได้สูญเสียศรัทธาและความน่าเชื่อถือไปมากจากการที่มีส่วนเข้ามาร่วมในบทบาททางการเมือง

หมายเหตุ:ไทยอีนิวส์ได้เซ็นเซอร์บางคำที่ละเอียดอ่อน
http://redusala.blogspot.com

วอนนายกฯยิ่งลักษณ์ค้นความจริงใครฆ่าประชาชน
ขอเศษเสี้ยวยุติธรรมเร่งปลดโซ่นักโทษการเมือง
ดาวล้อมเดือน-นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของไทย ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ท่ามกลางวงล้อมแสดงความยินดีของบรรดาส.ส.ชาย ภายหลังจากที่ประชุมสภาสายวันนี้มีมติให้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่28และนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย(ภาพข่าว:REUTERS)

กราบขอบคุณ-นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไหว้ขอบคุณส.ส.ที่พากันลงมติให้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของไทย และเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศ เมื่อสายวันนี้ที่รัฐสภา (ภาพข่าว:REUTERS)

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
5 สิงหาคม 2554



เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ที่ห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียลเวิลด์ลาดพร้าว เครือข่ายประชาธิปไตย (คปต.) นำโดยนายคารม พลทะกลาง นายเยี่ยมยอด ศรีมันตะ นายธีรชัย สหวัฒน์ น.ส.พัชณีย์ คำหนัก และนายบรรเจิด ฟุ้งกลิ่นจันทร์ ร่วมกันแถลงข่าวการจัดงาน "7 สิงหาคม วันกฎหมายไทย" ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมเพื่อประกาศข้อเรียกร้องขอเพียงเศษเสี้ยวแห่งความเป็นธรรมและรณรงค์ปลดปล่อยนักโทษการเมือง และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย

นายบรรเจิด ฟุ้งกลิ่นจันทร์ บิดาของนายเทิดศักดิ์ ฟุ้งกลิ่นจันทร์ วีรชนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน 2553 กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ช่วยเยียวยาอย่างเร่งด่วนและค้นหาความจริงหาคนที่สั่งการและฆ่าประชาชนในเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน และ 19 พฤษภาคม 2553 และอยากให้รัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์เร่งดำเนินการเยียวยาให้ญาติวีรชนทั้ง 91 ศพให้สำเร็จ ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายของญาติวีรชนทุกคน

นายเยี่ยมยอด กล่าวว่า ในการจัดงานในครั้งนี้ทางเครือข่ายจะร่วมกับองค์กรทั้งในประเทศและต่างประเทศจัดกิจกรรม โดยมีวัตถุประสงค์ คือ

1.เพื่อเรียกร้องขอความเป็นธรรมให้กับผู้ถูกจับกุมคุมขังในกรณีเรียกร้องประชาธิปไตยระหว่างปี 2549-2553 คดีการเมืองรวมทั้งคดีอาญามาตรา 112 โดยให้ผู้ถูกดำเนินคดีได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว และดำเนินคดีด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ

2.เพื่อเรียกร้องให้ยกเลิกปรับปรุงกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมที่ใช้มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2550 อันเป็นผลิตผลของการรัฐประหาร

3.เพื่อเรียกร้องให้มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบตั้งแต่กระบวนการตรากฎหมาย กระบวนการบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการตีความกฎหมาย ซึ่งกิจกรรมที่สำคัญในวันนั้นจะมีการประกาศเจตนารมหน้าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในเวลา 10.00 น.วันที่ 7 สิงหาคมนี้ และจะเดินทางไปที่หน้าศาลฎีกาเพื่อปักแผ่นป้ายข้อเรียกร้องขอเศษเสี้ยวความเป็นธรรมให้กับผู้ถูกดำเนินคดีด้วยความไม่เป็นธรรม

น.ส.พัชณีย์ กล่าวว่า สำหรับกิจกรรมในวันกฎหมายไทยนั้น แต่ละกิจกรรมจะสะท้อนถึงความตื่นตัวของประชาชนที่ต้องการประชาธิปไตยและคิดว่าในวันกฎหมายไทยเป็นโอกาสที่ดีที่เราจะนำเสนอปัญหาสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยให้สาธารณชนในประเทศและต่างประเทศได้เข้าใจและร่วมกันผลักดันให้มีการนำคนผิดมาลงโทษและรับผิดชอบต่อ 91 ศพ และบาดเจ็บ 2,000 คน และปลดปล่อยนักโทษการเมืองทุกคน เพราะนักโทษต่างๆ นั้นเป็นผู้ที่คัดค้านการทำรัฐประหาร

เพราะฉะนั้นจึงเป็นการกลั่นแกล้งกลุ่มคนเหล่านี้ และจะต้องยกเลิกกฎหมายที่สำคัญๆ เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญปี 2550 และจะต้องร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ และยกเลิกกฎหมายเผด็จการอื่นๆ เช่น กฎอัยการศึก เพราะเป็นกฎหมายที่ล้าสมัย เพราะเป็นกฎหมายนับตั้งแต่รัชกาลที่ 6 และในสมัยที่มีการทำรัฐประหารรัฐบาลของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี ได้ออกพระราชบัญญัติชุมนุม พรบ.มั่นคงภายใน ซึ่งกฎหมายที่นำมาจัดการกับผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการทำงานของรัฐบาล

"ส่วนกิจกรรมในวันที่ 7 สิงหาคมนั้น จะระดมประชาชนไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในเวลา 10.00 น. และจะเดินไปยังหน้าศาลฎีกา เพื่อไปบอกต่อศาลว่า "เราต้องการเศษเสี้ยวของความเป็นธรรม"

จากนั้นจะมีการจัดกิจกรรมเสวนาเรื่อง "ประชาธิปไตยแท้กับความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจสัมพันธ์กันอย่างไร" ในเวลา 14.30-16.30 น. ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนิน

และในเวลา 17.00 น.จะมีการปราศรัยใหญ่ที่ลานอนุสาวรีย์พระเจ้าตากสิน วงเวียนใหญ่ โดยมี นายทอม ดันดี และนายสุนัย จุลพงศธร เป็นผู้ปราศรัย และที่บ้านวันอาทิตย์สีแดง ชั้น 5 ห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียลลาดพร้าวจะมีการจัดการเสวนาพูดคุยกับกลุ่มวันอาทิตย์สีแดงและนางจิตรา คชเดช ในเวลา 14.00 น.

และในวันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม จะมีการจัดเสวนาในหัวข้อ "สถานการณ์หลังการเลือกตั้งกับอนาคตขบวนการประชาธิปไตย" โดยมีนายสุนัย จุลพงศธร, นายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, นายพิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ และนายวัฒน์ วัลยางกูร ที่อนุสรณ์สถานสี่แยกคอกวัว
http://redusala.blogspot.com

หมดกัน!เกียรติภูมิทหารหาญของชาติ
กลัวตายไม่กลัวอายใช้รถลากฮ.จากนราฯซ่อมลพบุรีอีก3วันถึง

เวบไซต์ASTVผู้จัดการนำเสนอภาพข่าวเรื่อง ใช้รถขน ฮ. 2 ลำจากนราฯ กลับลพบุรี ผวาตกซ้ำไม่กล้าบิน

โดยรายงานข่าวแจ้งว่า หน่วย ฉก. นราฯ ใช้รถพ่วง 18 ล้อ ขน ฮ. 2 ลำ ไปตรวจซ่อมบำรุงยังศูนย์การบินทหารบก จ.ลพบุรี แทนการใช้ ฮ.บินไปตามปกติ หวั่นตกซ้ำหลังเกิดเหตุ ฮ.ตกที่แก่งกระจานติดกัน 3 ลำ

โดยเมื่อวันที่ 4 ส.ค. หน่วยเฉพาะกิจนราธิวาสได้เคลื่อนย้ายเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 2 ลำ คือ รุ่น ฮ.206 และฮิวอี้ ไปยังศูนย์การบินทหารบก จ.ลพบุรี โดยใช้รถพ่วง 18 ล้อ ทั้งนี้หน่วยเฉพาะกิจ นราธิวาส แจ้งว่า เป็นการส่งซ่อมบำรุงตามรอบของการบินที่ถึงกำหนดต้องทำการส่งซ่อมและตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อความพร้อมในการใช้งาน

อย่างไรก็ตาม โดยปกติที่ผ่านมา การส่งกลับเพื่อตรวจสอบตามรอบนั้นจะใช้วิธีการบินกลับ แต่หลังจากเกิดเหตุเฮลิคอปเตอร์ตก 3 ลำติดต่อกันที่แก่งกระจานนั้น ทำให้หน่วยเฉพาะกิจ นราธิวาส ตัดสินใจส่งเฮลิคอปเตอร์ 2 ลำกลับโดยรถพ่วงแทน โดยคาดว่าใช้เวลา 3 วันจึงจะถึงที่ศูนย์การบินทหารบก จ.ลพบุรี

นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้ในพื้นที่ จ.นราธิวาส หน่วยเฉพาะกิจ นราธิวาส จะมีการใช้เฮลิคอปเตอร์ตรวจตราทางอากาศทุกวัน แต่หลังจากเกิดเหตุเฮลิคอปเตอร์ตก ได้มีการหยุดใช้เฮลิคอปเตอร์ โดยไม่มีการขึ้นบินอีกจนกระทั่งมีการส่งไปตรวจสอบในวันนี้

มีการวิพากษ์วิจารณ์ตามเว็บบอร์ดต่างๆในกรณีนี้ว่าขวัญกำลังใจของทหารตกต่ำขนาดนี้ ขอเชิญชวนชาวบ้านที่อยู่ระหว่างทางจากนราธิวาสมาถึงลพบุรีช่วยกันปลอบขวัญทหารหาญของชาติ เพราะงานนี้ไม่ง่ายเหมือนขึ้นฮ.ยิงแก๊สน้ำตาใส่ผู้ประท้วงมือเปล่า

นอกจากนั้นก็วิจารณ์ว่าขนาดพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก นายใหญ่ยังไม่กล้านั่งฮ.แล้วจะไม่ทำให้ลูกน้องเสียขวัญได้อย่างไร

********
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:ทวิตเตอร์ร้อนวาสนา นาน่วม "ผบ.ทบ.นั่งรถไปงานศพทหารฮ.ตกแทนการนั่งฮ....บรึ๋ยส์"
http://redusala.blogspot.com

นิติราษฎร์: ข้อสังเกตบางประการต่อคำสารภาพเรื่องแผงผังล้มเจ้า
4 มิถุนายน 2554

นิติราษฎร์ ฉบับที่ ๒๓ (สาวตรี สุขศรี)
ข้อสังเกตบางประการต่อคำสารภาพเรื่องแผงผังล้มเจ้า
ที่มา นิติราษฎร์


สัปดาห์ที่ผ่านมามีปรากฎการณ์น่าสนใจกำเนิดขึ้น ต้นต่อมาจากคำรับสารภาพของ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก (อดีตโฆษก ศอฉ.) หรือ “เสธ.ไก่อู” ซึ่งกล่าวต่อศาลไว้ทำนองว่า “แผนผังล้มเจ้า” นั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นเพียงเรื่องที่ศอฉ. คิดขึ้นเองแบบทันทีทันใดโดยยังไม่มีข้อยืนยันว่ารายชื่อที่อยู่ในแผนผังคือ คนที่คิด "ล้มเจ้า" หรือ "ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์" จริง ๆ1 คำสารภาพนี้ได้มีการกล่าวโทษไปยังบทบาทและการทำหน้าที่ของ "สื่อมวลชน" ด้วยที่นำแผนผังฯ ไป "ขยายความ" ต่อกันเองจนก่อให้เกิดความเข้าใจผิด พร้อมกันนั้นก็แสดงความเชื่อมั่นต่อการใช้ "ดุลพินิจและวิจารณญาณ" ของสังคมและประชาชนไทยว่าคงจะสามารถพิจารณาเองได้ว่าผังล้มเจ้าของ ศอฉ. นั้นหมายความอย่างไรกันแน่ จากปรากฎการณ์ดังกล่าว มีเรื่องที่ควรตั้งเป็นข้อสังเกต และข้อน่านำไปปฏิบัติหลายประการดังนี้...
๑. สังคมที่ร้องหาคนดี โดยไม่มีคำตำหนิต่อผู้กล่าวความเท็จ
"ประการที่สอง ในช่วงเวลานั้น มีข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอินเตอร์เน็ตกล่าวหาในลักษณะทำนองว่า ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ซึ่งเป็นราชเลขาธิการในพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ โทรศัพท์มาสั่งการศอฉ อยู่ตลอดเวลา ให้ดำเนินการนานับประการกับกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งข้อเท็จจริงมิได้เป็นเช่น ซึ่งหมายความว่ามีความพยายามยามเป็นความจริง ศอฉ ก็มีความจำเป็นที่ต้องชี้แจงข้อมูลข่าวสารให้สังคมได้รับทราบความจริงเป็น เช่นไร" – คำให้การช่วงหนึ่งของพอ. สรรเสริญฯ
คำชี้แจงของอดีตโฆษกศอฉ. ในประเด็นเรื่องความพยายามในการช่วยแก้ข้อกล่าวหาที่อาจไม่เป็นความจริง และน่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อ "ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์" นั้น อันที่จริงต้องถือเป็นเรื่องถูกต้องดีแล้ว หากศอฉ. จะแสดงความเป็นสุภาพบุรุษหาทางชี้แจง เพื่อปกป้องบุคคลที่อาจได้รับความเสียหายในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เกี่ยวพันกับการกระทำ หรืออำนาจหน้าที่ของหน่วยงานตนเอง และจะยิ่งถูกต้องที่สุด ถ้าความเป็นสุภาพบุรุษของศอฉ.เยี่ยงนี้เกิดขึ้นกับทุก ๆ คนไม่ว่าผู้นั้นจะมียศฐาเป็น "ท่านผู้หญิง" หรือว่าเป็นเพียง "สามัญชนคนธรรมดา"
อย่างไรก็ตาม สังคมไทยไม่ควรยอมรับได้เลยหากคำชี้แจงเพื่อปกป้องบุคคลคนหนึ่ง กลับกลายเป็นการกล่าวหา หรือ "เสมือนกล่าวหา" บุคคลอีกคนหรืออีกกลุ่มหนึ่งซึ่งไม่ได้ตั้งอยู่บน "มูลความจริง" เพราะนั่นย่อมทำให้บุคคลอื่น ๆ เหล่านั้นอาจได้รับความเสียหาย หรือได้รับผลกระทบอันไม่พึงประสงค์เช่นเดียวกันกับท่านผู้หญิงฯ เราย่อมไม่อาจให้อภัยได้ เมื่อพบว่า "ความจำเป็นที่ต้องชี้แจงข้อมูลข่าวสารให้สังคมได้รับทราบว่าความจริงเป็นเช่นไร" อันเป็นคำชี้แจงของอดีตโฆษกศอฉ. นั้น กลับไม่ใช่การชี้แจงข้อมูลข่าวสารที่เป็น “ความจริง” เพื่ออธิบายให้สังคม “ทราบความจริง” แต่กลายเป็นการกล่าว “ความไม่จริง” เรื่องหนึ่ง เพื่ออธิบาย “ความไม่จริง” อีกเรื่องหนึ่ง คำถามก็คือ เช่นนี้แล้วเมื่อไหร่กันที่สังคมไทยจะได้รับทราบ "ความจริง"
อนึ่ง ไม่ว่าในความเป็นจริงจะมีขบวนการล้มล้างสถาบันฯ อยู่หรือไม่ หรือใครจะเป็นผู้คิดล้มล้าง แต่นั่นย่อมไม่ใช่ประเด็น หรือข้อแก้ตัวให้กับการกล่าวหาบุคคลใด ๆ โดยขาด "ข้อเท็จจริง" ที่จะมายืนยันความผิดที่ผู้ถูกใส่ความจนอาจได้รับโทษ หรือถูกเกลียดชังจากสังคม ฉะนั้น ศอฉ. จึงต้องมีความรับผิดชอบบางประการต่อเรื่องนี้ (ดังจะได้กล่าวถึงต่อไป) ในขณะที่คนอื่นใดที่เพิกเฉยต่อการกระทำของศอฉ. โดยยกข้ออ้างทำนองว่า "แผงผังอาจไม่จริง แต่ก็ใช่ว่าขบวนการล้มเจ้าจะไม่มีอยู่จริง" ควรต้องนับว่าเป็นผู้บกพร่องทางตรรก วิจารณญาณ และออกจะไร้สติสัมปชัญญะอยู่มาก

นับเป็นเรื่องน่าสนใจเช่นกัน เมื่อปรากฎการณ์นี้มาพร้อมกับความเงียบงันโดยพร้อมเพรียงกันของผู้คนทั้งที่ มีอาวุโส และไม่มีอาวุโสทั้งหลาย ที่มักคร่ำครวญหาผู้มีศีลธรรมความดีงามให้เข้าสู่อำนาจและทำตนเป็นแบบอย่าง เป็นหลักเป็นฐานกับบ้านเมือง เขาเหล่านี้ทำเหมือนกับว่า "การไม่กล่าวคำ เท็จ การไม่พูดจาส่อเสียด หรือการไม่นำเสนอข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดความไม่สงบ เกิดความแตกแยกในหมู่ประชาชน รวมทั้งการกล่าวคำที่อาจทำให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหาย" เหล่านี้ ไม่ได้เป็นข้อหนึ่งที่ผู้มีธรรมควรยึดถือปฏิบัติ หรือเป็นหมุดหมายหนึ่งของคุณลักษณะแห่งการเป็น "คนดีมีศีลธรรม" บุคคลเหล่านี้ คือ คนที่พร้อมยกมือสนับสนุนให้จำกัดจัดการเสรีภาพของสามัญชนอย่างถึงที่สุด หากคำพูดของมันผู้นั้นทำท่าว่าจะก่อความเสียหายให้แก่อภิสิทธิ์ชน แต่กลับหดมือซุกกระเป๋าเมื่ออภิสิทธิ์ชนเป็นคนทำให้สามัญชนต้องเสื่อมเสีย
ฤาคำว่า "ศีลธรรมและความดีงาม" ของประเทศนี้ไม่ได้รวมถึงการ "ห้ามกล่าวความเท็จ"
๒. บทบาทของสื่อกระแสหลัก
น่าสนใจอย่างยิ่ง เมื่อสังคมไทยต้องพบว่า ณ เวลาที่ศอฉ. แถลงข่าวต่าง ๆ ในช่วงของการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน สื่อกระแสหลักทุกช่องต่างทำ จ้องทำ หรือต้องทำข่าวเพื่อนำเสนอต่อประชาชนทุกหมู่เหล่า ซึ่งนอกเหนือจากการถ่ายทอดสดการแถลงข่าว (อันเป็นเสมือนหน้าที่ของสื่อเหล่านั้น) แล้ว ยังมีการสรุปความและนำเสนอในช่วงเวลาข่าวเช้าบ่ายเย็นอีกด้วย แต่การณ์กลับปรากฏว่าสื่อกระแสหลักทุกช่อง สื่อหนังสือพิมพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อ้างว่าอยู่เคียงข้างประชาชน ต่างพร้อมใจกันเพิกเฉย และไม่ทำข่าวการสารภาพของโฆษกศอฉ. ว่าแท้ที่จริงแล้ว “แผนผังล้มเจ้า” (ที่สำนักข่าวตนเคยนำไปขยายความเอง ตามคำซัดทอดของพ.อ.สรรเสริญ) นั้น ศอฉ. มิได้พูดหรือมิได้ตั้งใจให้หมายความว่าคนซึ่งมีรายชื่อในผังนั้นมีพฤติกรรม หรือมีความคิดที่จะล้มล้างสถาบันฯ จริง ๆ คงมีเพียงสื่อทางเลือก หรือสื่อกระแสรองเพียงไม่กี่สำนักเท่านั้นที่เขียนข่าวถึง
ไม่ว่าการ “ขยายความต่อ” จะเกิดขึ้นจากสาเหตุใด หรือจากความสมัครใจหรือไม่ แต่เมื่อปรากฎว่าสิ่งที่นำไปขยายความนั้นไม่เป็นข้อความจริง หรืออย่างน้อยที่สุดมันอาจทำให้ผู้คนในสังคมเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อนจาก ความเป็นจริง จนอาจทำให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหาย คำถามก็คือ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจำเป็นต้องรับผิดชอบต่อเรื่องนี้บ้างหรือไม่ การทำข่าวนำเสนอ “ความจริง” เพื่อแก้ไข “ความไม่จริง” หรือแก้ไข "ความบิดเบือน" ที่ตนเคยเสนอออกไปในอดีต มิได้เป็นสิ่งที่ควรทำ หรือเป็นมาตรฐานขั้นต่ำของการทำหน้าที่ของ “สื่อไทย” ฉะนั้นหรอกหรือ
ฤาว่าผู้มีรายชื่อในแผนผังกำมะลอฉบับนี้ และได้รับความเสียหายจากการเสนอข่าวของสื่อเหล่านี้ ควรต้องดำเนินการฟ้องร้องสื่อจริง ๆ ตามคำแนะนำของ พ.อ. สรรเสริญ เพื่อสร้างบรรทัดฐานแก่สังคม พร้อม ๆ กับเรียกร้องจรรยาบรรณจากสื่อ
๓. โปรดใช้วิจารณญาณแบบไทย ๆ
"...แต่หลังจากนั้นมีสื่อมวลชนนำเรื่องราวต่าง ๆ เหล่านี้ไปขยายผล ขยายความ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในแผนผังดังกล่าว ทำให้ได้รับความเสียหายจากมุมมองของสังคม เพราะเป็นเรื่องที่สังคมจะต้องตัดสิน ส่วนผู้ที่ได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจะฟ้องร้องกับผู้ที่นำไปขยายความใน ทางที่ผิดจากเจตนารมณ์ของศอฉ ก็สุดแล้วแต่บุคคลเหล่านั้นจะพิจารณา...“ – คำให้การช่วงหนึ่งของพอ. สรรเสริญฯ
เดือนเมษายนถึงกรกฎาคม ปี พ.ศ. 2553 สถานีวิทยุชุมชนถูกปิดจำนวน 26 แห่ง ในพื้นที่ 9 จังหวัด ถูกยุติการออกอากาศจำนวน 6 แห่ง ปรากฏชื่อในข่ายมีความผิด 84 แห่ง ในพื้นที่ 12 จังหวัด2 ราวเดือนเมษายนปี 2554 วิทยุชุมชนเสื้อแดง 13 แห่งถูกปิด หรือให้ยุติการออกอากาศ ในพื้นที่กรุงเทพฯ และเขตปริมณฑน3 จากการสำรวจสถิติการปิดกั้นเว็บไซท์ตั้งแต่ปี 2550 ถึง กลางปี 2553 มีเว็บเพจถูกคำสั่งศาลปิดกั้นการเข้าถึงอย่างเป็นทางการทั้งสิ้น 74, 686 ยูอาร์แอล เลขหมายยูอาร์แอลดังกล่าวมีจำนวนเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดจากหลักพันเป็นหลัก หมื่นในช่วงปี 2552 และเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวในปี 25534 ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการชุมนุม และมีเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมือง
ข้อเท็จจริงเบื้องต้น คือ สื่อต่าง ๆ ที่ถูกปิดกั้นช่องทางการเข้าถึงเหล่านี้ นอกจากฝ่ายรัฐบาล หรือหน่วยงานที่ปิดกั้นแล้ว ไม่มีใครมีโอกาสได้รับรู้เลยว่าเนื้อหาที่เผยแพร่อันเป็นสาเหตุของการถูกปิด กั้นนั้นเป็นอย่างไร หรือขัดต่อกฎหมายอย่างไร สื่อที่ถูกปิดกั้นบางสื่อนำเสนอเรื่องราวที่หลากหลาย มีทั้งที่อาจเข้าข่ายเป็นความผิดได้ และเรื่องทั่ว ๆ ไปที่ไม่น่าจะเป็นความผิด (เพราะเนื้อหาในลักษณะเดียวกันสามารถนำเสนอได้ในสื่ออื่น ๆ ที่ไม่ถูกปิดกั้น) แต่ด้วยเหตุผลบางประการ "สื่อเหล่านั้น" ก็กลับถูกปิดกั้นช่องทางการเข้าถึงทั้งหมดแบบไม่เลือกเนื้อหา จำนวนตัวเลขยูอาร์แอลที่ถูกปิดกั้นโดยคำสั่งศาลจากผลการสำรวจดังกล่าว ยังมิได้นับรวมเว็บเพจอีกจำนวนมหาศาลที่ถูกปิดกั้นโดยคำสั่งของศอฉ. ซึ่งไม่ได้ขอคำสั่งศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 (มาตรา 20) แต่ใช้อำนาจตามพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และข้อเท็จจริงเบื้องต้นอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือ ที่ผ่านมาแม้สื่อจำนวนมากจะโดนปิดกั้นไปแล้ว (ปัจจุบันหลายแห่งยังถูกปิดกั้นต่อไป แม้จะยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ไปแล้วก็ตาม) หรือห้ามไม่ให้ดำเนินการ หรือเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อประชาชน แต่กลับมีผู้ที่ต้องรับผิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เป็นเจ้าของสื่อเหล่านั้นถูกฟ้องร้อง หรือถูกศาลพิพากษาว่าเผยแพร่สิ่งที่เป็นความผิดตามกฎหมายจริง ๆ ในจำนวนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนสื่อที่ถูกปิดกั้นไป จึงนำมาซึ่งข้อสงสัยว่าตกลงแล้ว "เนื้อหา" ที่ถูกปิดกั้นนั้นเป็นความผิด หรือว่าไม่ผิด
ตัวเลขสถิติ (ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ) รวมทั้งรูปแบบ และวิธีการในการปิดกั้นสื่อเหล่านี้ อย่างน้อยที่สุดสามารถสะท้อนได้ว่า ที่ผ่านมาฝ่ายรัฐไม่ได้ต้องการให้ประชาชนรับสื่อโดยใช้วิจารณญาณส่วนบุคคลใน การตัดสินความน่าเชื่อถือของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง รัฐหาได้พยายามเปิดพื้นที่ หรือให้โอกาสในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารสำหรับทุก ๆ ฝ่ายไม่ ทั้งที่ข้อมูลที่หลากหลายเหล่านั้นมีความสำคัญยิ่งที่จะทำให้การคิด วิเคราะห์เปรียบเทียบเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งของประชาชน และสังคมเป็นไปได้อย่างถูกต้อง หรือไม่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน และด้วยสถานการณ์การไล่ล่าสื่อที่เห็นต่างจากฝ่ายรัฐดัวกล่าวมา ประกอบกับพฤติกรรมดูถูกหรือไม่ไว้วางใจสติปัญญาของประชาชนไทยของภาครัฐ จึงนับเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ใจยิ่งว่า เมื่อมาถึงกรณี “แผนผังล้มเจ้า” แล้ว พ.อ. สรรเสริญ กลับร้องหาและเชื่อมั่นอย่างมากในวิจารณญาณของผู้คนในสังคม
ต่อปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ประเด็นคงมิใช่เรื่องที่ผู้เขียนอยากตัดพ้อ หรือประชดประชันการใช้อำนาจรัฐแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ประเด็นสำคัญที่อยากชี้ชวนให้ตั้งคำถามดัง ๆ ก็คือ ในท้ายที่สุดแล้ว ประชาชนคนไทยมีโอกาสเข้าถึง หรือได้รับข้อมูลข่าวสารอย่าง “ครบถ้วนรอบด้าน” จากทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมเสมอหน้ากันหรือไม่ อย่างไร เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจหรือใช้วิจารณญาณต่อเรื่อง "แผนผังล้มเจ้า" (รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ในช่วงความวุ่นวายทางการเมืองที่ผ่านมาด้วยว่าฝ่ายใดผิดถูก) หากพิจารณาให้ดี ๆ เราจะเห็นถึงความย้อนแย้งในเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจน เพราะในขณะที่ ศอฉ. เรียกร้องการตัดสินใจจากสังคมโดยวิเคราะห์จากข้อมูลอื่น ๆ ที่มีอยู่ แต่ปรากฎว่าในช่วงเวลานั้น รัฐ ศอฉ. และสื่อที่เห็นด้วยกับรัฐ แทบจะเป็นฝ่ายเดียวที่มีพื้นที่ในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารต่อประชาชนได้อย่าง เต็มที่
เช่นนี้แล้ว ศอฉ. จะต้องแปลกใจด้วยหรือ หรืออันที่จริงแล้วศอฉ. ควรคาดหมายได้อยู่แล้วด้วยซ้ำไปว่า ด้วยการใช้ “วิจารณญาณแบบไทย ๆ” ผลลัพธ์ที่ออกมาต่อกรณีแผนผังล้มเจ้าของตนและพวกจะมีรูปร่างหน้าตาเป็น อย่างไร
๕. ว่าด้วยความรับผิดชอบในทางกฎหมาย 

ไม่ ว่าเสธไก่อู ศอฉ. หรือคนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้จะยอมรับหรือไม่ก็ตาม แต่ย่อมปฏิเสธได้ยากว่า "แผนผังล้มเจ้า" มีหน้าที่ "ทางการเมือง" ประการสำคัญ (ดังที่เกษียร เตชะพีระ เคยกล่าวไว้แล้ว5) เพราะนอกจากผังดังกล่าวจะกลายเป็นเอกสารชิ้นหนึ่งที่ถูกอ้างอิงโดย DSI ในการดำเนินการกับกลุ่มบุคคลแล้ว อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังเคยใช้ผังนี้เพื่อเป็นเครื่องมือในการอ้างอิงความชอบธรรมสำหรับการกระทำ ของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระทำรุนแรงต่อคนไทยด้วยกัน ในฐานะองค์กรผู้ปกป้องสถาบันฯ สำคัญของชาติ ทั้งนี้ รายชื่อบุคคลหรือองค์กรที่ปรากฎอยู่ในแผนผังจำนวนหนึ่งคือชื่อของแกนนำนปช. ผู้ที่ถูกศาลพิพากษาลงโทษว่ามีความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพฯ แล้ว ผู้ที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาหรือกำลังอยู่ในระหว่างดำเนินคดี รวมทั้งผู้ที่อาจยังไม่ถูกตั้งข้อหาใด ๆ แต่ถูกประณามจากฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง
ด้วยพลังการทำลายล้างของ "แผนผังล้มเจ้า" ไม่ว่าจะเป็นการสลายการชุมนุมจนมีประชาชนบาดเจ็บและล้มตายจำนวนมากถึงสองครั้งสองครา การสร้างความรู้สึกเกลียดชังให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน ตำรวจ ทหาร การดำเนินคดีกับบุคคลฝ่ายต่าง ๆ โดยมีประเด็นที่เกี่ยวพันกับการล้มล้างสถาบันฯ ส่งผลให้บุคคลจำนวนไม่น้อยถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพโดยไม่ได้รับสิทธิในการ ประกันตัว หมายรวมกระทั่งความไม่พอใจต่อสถาบันฯ ที่เริ่มแผ่ขยายไปในหมู่ประชาชนมากขึ้นอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน เราจึงไม่อาจเพิกเฉย หรือไม่ตั้งคำถามใด ๆ ต่อเรื่องนี้ได้เลย และกลุ่มบุคคลผู้เต้าแผนผังฯ จะสามารถลอยตัวเหนือปัญหา โยนภาระให้ฝ่ายต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดายแบบที่เป็นอยู่กระนั้นหรือ หากวิเคราะห์จากพฤติการณ์และเจตนาแล้ว การกระทำของศอฉ. และพวก จึงน่าจะเข้าข่ายเป็นความผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายฉบับต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เป็นอย่างน้อย
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 326, 328กล่าวสรุปให้สั้นและง่ายสำหรับบทบัญญัติทั้ง 3 มาตรานี้ได้ว่า มาตรา 157 คือบทที่ว่าด้วย "ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ" กล่าวคือ เจ้าพนักงานของรัฐใช้อำนาจหน้าที่ของตนไปในทางมิชอบก็ดี ไปในทางทุจริตก็ดี เพียงเพื่อใส่ร้าย กลั่นแกล้ง หรือก่อให้เกิดความเสียหายในทางใดทางหนึ่งแก่ผู้หนึ่งผู้ใดก็ดี เจ้าพนักงานของรัฐเหล่านั้นจะต้องมีความรับผิดทางอาญา เช่นนี้แล้วเมื่อ ศอฉ. รู้ทั้งรู้ว่ารายชื่อที่ตนนำมาจับโยงใยไปมาในเอกสาร แล้วตั้งชื่อเอกสารว่า "แผนผังเครือข่ายล้มเจ้า" เป็นเรื่องที่ยังไม่มีมูล หรือยังไม่มีข้อยืนยันได้ว่าคนเหล่านั้นคิดล้มล้างสถาบันฯ จริงๆ แต่ยังนำมาแถลงให้เป็นข่าวใหญ่ครึกโครม แจกจ่ายเอกสารแก่สื่อมวลชน จึงย่อมมีลักษณะเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ไปในทางที่มิชอบ มุ่งแต่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดแก่สังคม และทำให้บุคคลในแผนผังฯ ได้รับความเสียหาย
นอกจากนี้ การกระทำดังกล่าวยังเข้าข่ายเป็นการ "ใส่ความ" ตาม มาตรา 326 คือ การกล่าวร้ายต่อบุคคลอื่นใดกับบุคคลที่สาม ในประการที่ "น่าจะ"ทำให้บุคคลที่ถูกใส่ความนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ซึ่งเป็นความผิดในฐานหมิ่นประมาท บทบัญญัตินี้มีความน่าสนใจอยู่มากตรงที่ ผู้ถูกใส่ความสามารถร้องขอความเป็นธรรมจากศาลได้แม้จะไม่ปรากฎ "ความเสียหาย" ที่เป็นรูปธรรมขึ้นจริงก็ตาม เพราะกฎหมายใช้คำว่า "น่าจะ" เท่านั้น จากกรณีนี้ ย่อมชัดเจนว่าประเทศไทยและสังคมยังคงอ่อนไหวกับเรื่องราวใด ๆ ที่เกี่ยวพันกับสถาบันพระมหากษัตริย์ (พิจารณาได้จากสถานการณ์เชียร์และต้านมาตรา 112) ดังนั้น ไม่ว่าในความเป็นจริงบุคคลต่าง ๆ ที่มีรายชื่ออยู่ในแผนผังฯ จะได้รับความเสียหายหรือถูกใครเกลียดชังจริงหรือไม่ แต่คำว่า "ล้มเจ้า" นี้ห้วงยามปัจจุบันย่อมเป็นถ้อยที่ "น่าจะ" ทำให้บุคคลที่เกี่ยวข้องเสียหาย หรือถูกเกลียดชังได้ทั้งสิ้น อนึ่ง พฤติการณ์ในการ "ใส่ความ" ดังกล่าว ได้ปรากฎชัดเจนว่า ศอฉ. กระทำด้วยการแถลงต่อ "สื่อ" หรือด้วยการ "โฆษณา" ดังนั้นจึงอาจต้องรับโทษหนักขึ้นตามมาตรา 328 (หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา)
อย่างไรก็ตาม จากคำรับสารภาพของพ.อ. สรรเสริญ ที่ว่า
"ข้าฯได้รับมอบหมายให้นำเอกสารเหล่านั้นไปแจก แก่สื่อมวลชน ซึ่งเอกสารที่ไปแจกนั้นมิได้หมายความว่าผู้ที่มีชื่อในเอกสารเป็นผู้ เกี่ยวข้องในฐานะอยู่ในขบวนการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่เป็นความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ในลักษณะต่างๆ ซึ่งให้สังคมพิจารณาและวินิจฉัยเอาเอง....ซึ่งมิได้แถลงเลยว่า บุคคลทั้งปวงเหล่านั้นมีความสัมพันธ์ในฐานะที่เป็นผู้อยู่ในขบวนการ และมิได้ให้หมายความเช่นนั้น แต่หลังจากนั้นมีสื่อมวลชนนำเรื่องราวต่างๆเหล่านี้ไปขยายผล ขยายความ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในแผนผังดังกล่าว ทำให้ได้รับความเสียหายจากมุมมองของสังคม...“
ผู้เขียนจึงเห็นควรต้องอธิบายถึงบททีว่าด้วย "เจตนา" ในทางอาญาโดยสังเขปไว้เสียด้วย ทั้งนี้เพื่อชี้ให้เห็นว่า ศอฉ.ไม่อาจหลุดพ้นจากความรับผิดได้ด้วยคำแก้เกี้ยวง่าย ๆ ดังกล่าว
ในทางกฎหมายอาญานั้น "เจตนา" ในการก ระทำความผิด อันถือเป็นองค์ประกอบ (ภายใน) สำคัญที่จะตัดสินได้ว่าผู้กระทำต้องรับผิดชอบในการกระทำของตนหรือไม่นั้น มิได้มีแค่เพียง "เจตนาประสงค์ต่อผล" เท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงเจตนาอีกประเภทหนึ่ง ที่ผู้กระทำสามารถ "คาดหมาย" หรือ "เล็งเห็น" ผลเสียหายจากการกระทำของตนด้วย หรือที่เรียกว่า"เจตนาเล็งเห็นผล" ยกตัวอย่างเช่น
นาย ก ยิงปืนไปที่ นาย ข เพราะต้องการฆ่านาย ข ให้ตาย ปรากฎว่านาย ข ตายจริง เช่นนี้ย่อมชัดเจนว่า นาย ก มีเจตนาที่ประสงค์ต่อผล คือ ความตายของนาย ข นาย ก ต้องรับผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาประสงค์ต่อผล
แต่ในอีกกรณีหนึ่ง นาย ก ยิงปืนไปในฝูงชน โดยมีความประสงค์แค่ต้องการ "ข่มขู่" ไม่ได้อยากให้ใครตาย แต่ในความเป็นจริงการยิงปืนไปเช่นนั้น นาย ก ย่อมสามารถคาดหมาย หรือเล็งเห็นผลได้ว่าต้องมีหรืออาจมีใครตาย ปรากฎว่า นาย ข ซึ่งยืนอยู่ในฝูงชนนั้นตายจริง ๆ จากลูกกระสุนของนาย ก เช่นนี้ นาย ก จะโบ้ยใบ้ว่าตนเองไม่ได้เจตนาให้นาย ข ตาย หรืออย่างมากก็แค่ประมาทเลินเล่อ (ซึ่งมีโทษน้อยกว่าเจตนา) มิได้ ในทางกฎหมายอาญานั้น นาย ก ต้องรับผิด ฐานฆ่า นาย ข ตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล
เมื่อนำตัวอย่างดังกล่าวมาพิจารณากับกรณี "แผนผังล้มเจ้า" จะเห็นได้ว่า ด้วยห้วงยามแห่งการแถลงข่าว ด้วยความที่เป็นประเด็นอ่อนไหวอย่างมากสำหรับประเทศไทย ด้วยรายชื่อที่เกี่ยวข้อง (คนที่โดนพิพากษาว่าหมิ่นแล้ว โดนข้อหา แกนนำนปช.) ด้วยข้อมูลอื่นที่ศอฉ. และฝ่ายรัฐโหมเสนอต่อประชาชนก่อนหน้า ซึ่งแวดล้อมแผนผังฯ อยู่ เช่นนี้ แม้ศอฉ. ไม่ได้กล่าวถ้อยคำด้วยตนเองตรงๆ ชัดๆ ว่า "เอกสารที่ไปแจกนั้น หมายความว่าผู้ที่มีชื่อในเอกสารเป็นผู้คิดล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์"ก็ย่อมเป็นกรณีที่ศอฉ. สามารถเล็งเห็นผลได้ว่า สื่อและสังคมจะเข้าใจไปเช่นนั้น และเมื่อมีข้อเท็จจริงปรากฎในหลาย ๆ กรณีว่าได้เกิดความเข้าใจไปเช่นนั้นจริง ๆ ศอฉ. ย่อมมิอาจปฏิเสธความรับชอบของตนได้โดยอาศัยหลักการในเรื่อง "เจตนาเล็งเห็นผล" นี้เอง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 และ 4237 สำหรับคนที่มีรายชื่อในแผนผังฯ และความเสียหายได้เกิดขึ้นจริงจนอาจพิสูจน์ได้อย่างเป็นรูปธรรมถึง "ค่า" แห่งความเสียหายนั้น น่าจะสามารถเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่งได้อีกด้วย ทั้งนี้ โดยอาศัยมาตรา 420 และมาตรา 423 ในหมวดทีว่าด้วยเรื่องละเมิดโดยทั่วไป และการหมิ่นประมาทในทางแพ่ง เพราะจากคำรับสารภาพของพ.อ. สรรเสริญ เองย่อมชัดเจนแล้วว่าเป็นการ "กล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง" 

พระราชบัญญัติว่าด้วยกากระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (2) สำหรับ ประเด็นนี้ ผู้เขียนไม่แน่ใจว่า ที่ผ่านมาได้เคยมีการนำเอกสาร หรือแผนผังดังกล่าวไปเผยแพร่ หรือนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยหน่วยงานของศอฉ. หรือหน่วยงานของรัฐบาลเองด้วยหรือไม่ แต่หากมีการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้น กรณีเช่นนี้ย่อมมีโอกาสเข้าข่ายเป็นความผิดตาม มาตรา 14(2) ได้เช่นกัน ซึ่งบัญญัติว่า "ผู้ ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ...(2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน..."ปฏิเสธได้ยากว่าข้อหา "ล้มเจ้า" ซึ่งเป็นถ้อยคำที่ถูกประดิษฐ์คิดค้นขึ้นโดยฝ่ายรัฐ (ไม่มีฐานความผิดนี้ปรากฎอยู่ที่ใดในกฎหมาย) เป็นคำกล่าวหาที่ค่อนข้างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการกล่าวหานี้เกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์ความวุ่นวาย ทางการเมือง หรือช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่ประเทศไทยกำลังจะเปลี่ยนแปลงไปไม่ทางใดก็ทาง หนึ่ง เกิดกระแสการคัดง้างกันระหว่างฝ่ายนิยมเจ้าและไม่นิยมเจ้าอยู่เนือง ๆ ในขณะที่ประชาชนโดยทั่วไปเองก็เริ่มรู้สึกหวาดกลัว และไม่มั่นคงในสเถียรภาพ เมื่อจู่ ๆ หน่วยงานของรัฐ (โดย ศอฉ.) เป็นผู้ลุกขึ้นมาปั้นแต่งว่ามีขบวนการล้มเจ้าอยู่จริง โดยทำทีชี้ชัดได้ว่ามีใครในขบวนการนี้บ้างย่อมต้องก่อให้เกิด "ความตื่นตระหนกแก่ประชาชน" ได้เป็นธรรมดา
สำหรับคำถามที่ว่า แผนผังล้มเจ้ากำมะลอฉบับนี้ สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานชี้ได้เลยหรือไม่ว่า ฝ่ายรัฐกระทำผิดกฎหมายในการสั่งให้ทหารสลายการชุมนุมจนมีผู้คนบาดเจ็บล้มตาย หรือใช้เพื่อการสั่งให้จับกุมหน่วงเหนี่ยวกักขังบุคคลอื่นไว้โดยมิชอบ โดยความเห็นของผู้เขียน เห็นว่า ณ ปัจจุบัน โดยตัวของเอกสารเอง คงไม่สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อชี้ชัด ๆ เช่นนั้นได้ เว้นแต่มีเอกสาร "คำสั่ง" ชิ้นอื่นใดมาประกอบว่าการสั่งการให้มีการสลายการชุมนุม หรือการดำเนินการต่าง ๆ เหล่านั้นเกิดขึ้นโดยอาศัยแผนผังฯ นี้เป็น "ข้อหา" หลักหรือข้อหาพื้นฐาน ไม่ใช่ข้อหาอื่นใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อหาการ "ก่อการร้าย" ที่รัฐบาลมักกล่าวถึงเสมอๆ หากในที่สุดแล้วข้อเท็จจริงยังมีแค่เพียงว่า ศอฉ. หรือฝ่ายรัฐ ใช้แผนผังฯ นี้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการ "กล่อมเกลา" หรือ "ชักจูง" ให้ตำรวจทหารผู้ปฏิบัติการ ปฏิบัติการได้อย่างเต็มที่เพราะรู้สึกว่าตนกำลังกระทำใน "สิ่งที่ถูกต้อง" หรือกำลัง "กำจัดอริราชศัตรู" การดำรงอยู่ของแผนผังฯ นี้ คงเป็นได้แต่เพียงเอกสาร "โฆษณาชวนเชื่อ" (Propaganda) ของฝ่ายรัฐ หรือฝ่ายนิยมเจ้าเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ย่อมเป็นที่ชัดเจนว่า พฤติกรรมการสร้างเรื่อง แต่งผังฯ รวมทั้งการแถลงข่าวแบบเล็งเห็นผลในความเสียหายที่อาจมีต่อบุคคลอื่นได้ดัง กล่าวไปแล้วนั้น ย่อมใช้เป็น "หลักฐานประกอบ" ในประเด็นชั่งน้ำหนักความน่าเชื่อถือของคำพูด และการกระทำในช่วงที่ผ่านมาของฝ่ายรัฐได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่รัฐมีข้อพิพาทกับประชาชน, ปัญหาการยัดเยียดข้อกล่าวหา, การบิดเบือนคลิปภาพ เสียง หรือวีดิโอ, การกระพือข่าวการพบอาวุธหนักในที่เกิดเหตุ ฯลฯ เพราะคำสารภาพโดยศอฉ. ครั้งนี้ย่อมเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่จะทำให้ประชาชนเกิดความสงสัยได้ว่า การให้ข่าวก็ดี การปฏิบัติหน้าที่ในด้านต่าง ๆ ก็ดีของฝ่ายรัฐที่ผ่าน ๆ ตั้งอยู่บนความโปร่งใส มีมูลเหตุที่ไม่สุจริต มีเป้าหมายอื่นใดแอบแฝง หรือได้ทำไปเพื่อความสงบสุข หรือเพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยรวมอย่างแท้จริง หรือไม่
สุดท้ายอาจกล่าวได้ว่า ถ้าสื่อไทยมีจรรยาบรรณกว่านี้อีกนิด ถ้าคนไทยเปิดตากว้างกว่านี้อีกหน่อย และถ้าสังคมไทยจะมีวุฒิภาวะกว่านี้อีกเพียงเล็กน้อย กรณีแผนผังล้มเจ้ากำมะลอของศอฉ. ก็น่าจะพอมีคุณูปการได้บ้าง อย่างน้อยที่สุดก็ในฐานะที่เป็นเครื่องเตือนสติคนไทยว่า อย่างมงายหลงเชื่อถ้อยแถลงของฝ่ายรัฐไปเสียทุกเรื่อง.
---------------------------------------------
เชิงอรรถ
1) ดูข่าวนี้ รวมทั้งเอกสารกระบวนการพิจารณาในชั้นศาล ได้จากสำนักข่าวประชาไทhttp://www.prachatai3.info/journal/2011/05/34974
2) ข้อมูลจากรายงานผลการ ศึกษา "การจับกุมดำเนินคดีและปิดสถานีวิทยุชุมชน ภายใต้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน (7 เมษายน – 7 กรกฎาคม 2553) โดย โครงการเฝ้าระวังการแทรกแซงวิทยุชุมชน (Community Radio Watch) ดำเนินการโดย คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) สนับสนุนโดย มูลนิธิไฮริค เบิลล์
3) ดูข่าวนี้ได้จาก "ปิดวิทยุชุมชนแดงหมิ่น หนุนทหารป้องสถาบัน" จากสำนักข่าวผู้จัดการออนไลน์http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000051458
4) ผลการวิจัย "สถานการณ์การควบคุม และปิดกั้นสื่อออนไลน์ด้วยการอ้างกฎหมายและแนวนโยบายแห่งรัฐไทย" สนับสนุนโดย มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์; http://www.enlightened-jurists.com/directory/134
5) อ่านบทความเกษียร เตชะพีระ "หน้าที่ทางการเมืองของแผนฟังเครือข่ายล้มเจ้า" ที่ http://www.siamintelligence.com/politics-function-of-anti-monarchy-chart/
6) มาตรา 157 "ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับ"
มาตรา 326 "ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะ ทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ"
มาตรา 328 "ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณา ด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ ทำให้ปรากฏด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท"
7) มาตรา 420 "ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่น โดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่า ผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น"

มาตรา 423 "ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่น ก็ดีหรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้ หรือทางเจริญของเขาโดยประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อ ความเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่การนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ว่าข้อความนั้นไม่จริง แต่หากควรจะรู้ได้...."
http://redusala.blogspot.com

ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ: คนหลอกผี ? (ตอบจดหมายคุณอภิสิทธิ์ฉบับที่ 6)



นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำนปช. และผู้สมัคร ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ได้เขียนโน้ตในแฟนเพจเฟซบุ๊ก "นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ" ซึ่งมีหัวเรื่องว่า "คนหลอกผี ? (ตอบจดหมายคุณอภิสิทธิ์ฉบับที่ 6)" เพื่อตอบโต้บทความ "จากใจ ′อภิสิทธิ์′ ถึงคนไทยทั้งประเทศ 6 : นิรโทษกรรมกับ 91 ศพ" ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ความว่า

1. คุณอภิสิทธิ์ไม่เคยเอ่ยคำว่าขอโทษหรือแม้แต่เสียใจต่อความตายของประชาชน 91 ชีวิต จึงไม่มีทางเข้าใจหัวอกของพ่อที่อยากมาร่วมงานแต่งงานของลูกสาว คำพูดง่ายๆ กับความรู้สึกธรรมดาๆ ของพ่อคนหนึ่งจึงถูกใช้เป็นเครื่องมือทำลายล้างทางการเมืองอย่างเอาเป็นเอาตาย แค่บอกว่าอยากมาแต่มาไม่ได้กลายเป็นเรื่องนิรโทษกรรมเรื่องเอาเงินคืน หัวใจแบบนี้คนตายมากกว่า 91 ศพ ก็คงเฉยๆ

2. คำว่าปรองดองของพรรคเพื่อไทยคือมีการเลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม ทุกฝ่ายยอมรับมติประชาชน พรรคอันดับหนึ่งตั้งรัฐบาลไม่มีการแทรกแซงจากอำนาจใดๆ แล้วรัฐบาลเป็นเจ้าภาพ คุยกับทุกฝ่ายเพื่อสร้างความปรองดอง จะทำยังไงขั้นตอนแบบไหนเป็นเรื่องที่ต้องเปิดใจหารือกันยังไม่มีสูตรสำเร็จ เรื่องนิรโทษกรรมยังถือว่าไกลเกินไป ไม่มีใครปรองดองได้โดยลำพังหรอกมีแต่การปองร้ายเท่านั้นที่คิดเองเออเองแล้ว ใส่ไฟกันอยู่ทุกวัน

3. ปัญหาก่อนรัฐประหารที่ยกมาถ้ามีจริง ระบบแก้ไขตัวมันเองได้ ไม่ต้องปล้นอำนาจคนทั้งประเทศแล้วบอกว่าทำเพื่อประชาธิปไตย ผมคิดว่าปัญหาใหญ่วันนี้คือมีพรรคการเมืองที่อ้างว่าเป็นประชาธิปไตยแต่ไปอิงแอบกับฝ่ายเผด็จการแล้วรับผลประโยชน์ทางการเมือง คุณอภิสิทธิ์จะปฏิเสธก็ได้แต่ผมมั่นใจว่าหาคนเชื่อยากเต็มที

4. คิดได้ยังไงเอาเรื่องนิรโทษกรรมเรื่อง 46,000 ล้านมาโยงกับ 91 ศพ ไม่รู้จริงๆ หรือว่าสิ่งที่คนทั้งโลกอยากได้ยินจากคุณคือใครสั่งฆ่าประชาชน ปีกว่าแล้วนายกฯยังเฉไฉรายวันไม่คิดจะพูดความจริงกับสังคมเลยหรือ เรื่อง พ.ต.ท.ทักษิณฯ กับ 91 ศพ แม้จะเกี่ยวข้องแต่เป็นคนละเรื่องเดียวกันไม่มีใครอำมหิตขนาดจะผูกเป็นเรือพ่วงเพื่อผลประโยชน์หรอก บอกมาตรงๆ ดีกว่า ใครสั่งฆ่าประชาชน ใครสั่งฆ่าประชาชน

5. คดีปี 52-53 กับคดี 7 ต.ค.51 ต่างจนเทียบกันไม่ได้ ... ปีที่แล้วตายด้วยสไนเปอร์ด้วยอาวุธสงครามมีกำลังทหารเกือบแสนนายพร้อมยุทโธปกรณ์เต็มอัตรา ผมมั่นใจว่านายกฯสมชายไม่มีความผิดและมั่นใจด้วยว่านายอภิสิทธิ์ผิดฉกาจฉกรรจ์ ที่ยังยิ้มอยู่ได้พราะมั่นใจว่ามีเส้น พ.ต.ท.ทักษิณคงไม่ต้องห่วงน้องเขยว่าจะติดคุกหรอกแต่อดคิดแทนน้องมาร์คไม่ได้ว่าถ้าพ้นจากตำแหน่งนายกฯแล้วจะเดินถนนยังไง

6. เมื่อคุณอภิสิทธิ์ กับพวกชิงอำนาจด้วยวิธีนอกระบบสำเร็จก็เอาเสื้อคลุมประชาธิปไตยมาสวมว่าตัวเองมาจากเสียงข้างมากในสภาโดยไม่แคร์สายตาประชาชนที่เห็นความจริงมาตลอดทาง ปราบปรามประชาชนตายเรียบแล้วก็ยังสนุกอยู่กับการปั้นข้อหาใส่ร้ายหนักเข้า ถึงขั้นไปเปิดเวทีเหยียบย่ำคนตาย ทั้งหมดนี้เพื่ออำนาจเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองแล้วอ้างว่าจะสร้างความปรองดอง เราต้องการน้ำใจครับไม่ใช่น้ำลาย

7. วันนี้มาเขียนบันทึก เหมือนจะทวงถามความเป็นธรรมให้คนเสื้อแดง ผมเชื่อไม่ลงจริงๆว่าจะมีฆาตกรที่ไหนมาเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับคนตายนอกจากจะเลือดเย็นเป็นน้ำแข็งเท่านั้นจึงทำได้ พี่น้องของคนตายเขาไม่ได้คิดอะไรอย่างที่คุณพยายามหรอก เงินทักษิณก็ส่วนเงินทักษิณไม่เกี่ยวกับความตายของประชาชน คนสั่งยังลอยหน้าคนฆ่ายังลอยนวลอย่างนี้จะมาบอกให้ลืมได้อย่างไร เพิ่งมาห่วงใยพวกเขาตอนนี้เองหรือ เพื่อคะแนนเสียงทำได้ขนาดนี้เชียวหรือ คนเป็นๆ เขียนบันทึกหลอกผีไม่คิดถึงเรื่องบาปกรรมเลยหรือ
http://redusala.blogspot.com

สมศักดิ์ เจียมฯ:ประเทศนี้ต้องมีอะไรผิดปกติมากๆแน่

โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ที่มา เฟซบุ๊ค สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

ประเทศนี้ ต้องมีอะไรผิดปกติมากๆแน่ๆ

งบประมาณเผาศพลูกอดีตกษัตริย์ เฉพาะส่วนที่เป็นสิ่งปลูกสร้าง-หนังสือ = 235.1 ล้านบาท (พระเมรุและอาคาร 208.8 ล้านบาท, สิ่งปลูกสร้างประกอบ-ราชรถ 9.3 ล้านบาท, จดหมายเหตุ-หนังสือ 17 ล้านบาท)*

นี่ยังไม่รวมส่วนที่เป็น "บุคคลากร" (รปภ., มหรศพ ฯลฯ) ที่ต้องมี, ค่าไฟฟ้า ฯลฯ ...

รวมแล้วน่าจะเหยียบ 300 ล้านบาทแน่

ในขณะที่ บรรดาผู้ก่อการที่ให้กำเนิดระบบการบริหารแบบปัจจุบัน อย่างปรีดี ไม่เคยมีพิธีอะไรโดยรัฐ ที่ต้องเสียเงินแม้แต่บาทเดียว (พูนศุข ที่ถ้านับบทบาททางการเมืองสังคมไม่น้อยกว่า เจ้าฟ้าเพ็ชรัตน์ แน่ๆ ก็ไม่มี)

แล้วไหนเสียงท้วงติง วิจารณ์ คัดค้าน??
ไหนปัญญาชน? ไหน นักวิชาการ?

แล้วไหนว่าประเทศนี้ใช้นโยบาย "เศรษฐกิจพอเพียง"??


ประเทศนี้ ต้องมีบางอย่างผิดปกติมากๆ

ที่แน่ๆคือ คงไม่มี "คน" อาศัยอยู่

เพราะถ้ามี "คน" คงต้องได้ยิน ได้เห็น การถกเถียงอภิปราย ท้วงติง วิจารณ์ ความไม่มีเหตุผลอย่างเหลือเชื่อ​นี้แล้ว

"คน" หายไปไหนหมด?


ประเทศที่บังคับให้คนต้องเงียบ (โดยกฎหมาย และโดยการปิดกั้นสื่อหลัก)

กับเรื่องสาธารณะที่ใหญ่ๆ

อย่าง การใช้เงิน 300 ล้าน เพื่อเผาศพผู้ที่แทบไม่มีบทบาททางสาธารณะสำคัญอะไร

ไม่ว่าผู้นั้นจะถูกสมมุติเป็นอะไร (การเป็น "เจ้า" เป็นการสมมุติ - ทุกคนเกิดมาก็เป็นสิ่งมีชีวิตที​เรียกว่า "คน" เหมือนๆกัน)

ประเทศเช่นนี้ เป็นประเทศที่อับจนทางวัฒนธรรม อับจนทางภูมิปัญญา อย่างน่าอนาถ

และปัญญาชน หรือ "นักวิชาการ" ที่เห็นเรื่องแบบนี้

แล้วไม่พยายามพูดอะไรออกมา

ก็ไม่มีความเคารพตัวเอง

ไม่สมควรได้ชื่อว่าปัญญาชน หรือ "นักวิชาการ"

......................

* ตัวเลขงบประมาณสิ่งก่อสร้างเหล่านี้ เอามาจากรายงานข่าวนี้
http://www.matichon.co.th/news​_detail.php?newsid=1312279454&​grpid=03&catid&subcatidและ
http://manager.co.th/Qol/ViewN​ews.aspx?NewsID=9540000095636
http://redusala.blogspot.com