วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ท้าดวลคดี...สลายแดงVSตัดตอนค้ายาขึ้นศาลโลก!

ท้าดวลคดี...สลายแดงVSตัดตอนค้ายาขึ้นศาลโลก!

         “คดีดังกล่าวพิสูจน์แล้วว่านโยบายการฆ่าตัดตอนถือว่าเข้าข่าย 2 ใน 4 ฐานความผิด ที่ศาลอาญาระหว่างประเทศจะรับฟ้อง คือเป็นภัยต่อมวลมนุษยชาติ ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรสงคราม และภัยรุกราน กรณีนี้เข้าข่ายการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และภัยต่อมวลมนุษยชาติ จึงอยากเรียกร้องต่อรัฐบาลว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐโดยตรง ผู้เสียหายสมควรได้รับการเยียวยา 7.75 ล้านบาททันที ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินงบประมาณ กว่าหมื่นล้านบาท น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ เคย เอาเงินมาไถ่บาปกรณีรับจำนำลำไยให้พี่ชายมาแล้ว เรื่องนี้ก็ควรช่วยไถ่บาปเรื่องฆ่าตัดตอนให้พี่ชาย หาเงินมาดำเนินการเรื่องนี้ด้วย บาปหนาจะได้ลดลงบ้าง”


 นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงเมื่อวันที่ 31 กรกฏาคมที่ผ่านมา หลังจากศาลอาญาชั้นต้นพิพากษาคดีความผิดต่อชีวิตที่อัยการฝ่ายพิเศษฟ้องตำรวจ 6 นายที่จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยตำรวจ 3 นายถูกตัดสินประหารชีวิต และที่เหลือให้จำคุก กรณีฆ่าอำพรางเด็กอายุ 17 ปี ที่สืบเนื่องจากนโยบายปราบปรามยาเสพติดและเกิดการฆ่าตัดตอนในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ที่กาฬสินธุ์มีผู้ถูกยิงทิ้งช่วงปี  2546-2548 ถึง 21 คน


            คำพิพากษาดังกล่าวถือเป็นหลักฐานชั้นดีที่ทำให้เห็นว่า 2,500 ศพในยุคของ พ.ต.ท.ทักษิณมีจริง ถือเป็นการกระทำที่เป็นภัยต่อมวลมนุษยชาติและฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เข้าข่าย 2 ใน 4 ฐานความผิดที่ศาลอาญาระหว่างประเทศจะรับไว้พิจารณา ซึ่งเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคมที่ผ่านมา นายกษิต ภิรมย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ทำหนังสือยื่นต่ออัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ (Interna tional Criminal Court หรือ ICC) เพื่อเอาผิดผู้ที่อยู่เบื้องหลังกระบวนการฆ่าตัดตอนไปแล้ว


นอกจากนี้พรรคประชาธิปัตย์ยังตั้งคณะทำ งานเพื่อรวบรวมคดีการฆ่าตัดตอน เฉพาะในภาคอีสานมีผู้เสียชีวิตถึง 1,440 ศพ ซึ่งทั้งหมดพิสูจน์แล้วว่าไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ดังนั้น ผู้เสียหายที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายการฆ่าตัดตอนสามารถเป็นโจทก์ร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ยื่นฟ้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศเอาผิดผู้บงการที่อยู่เบื้องหลังได้ โดยจะใช้หลักฐานจากคดีที่ศาลตัดสินครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นสืบหาว่ากระบวนการมาจากนโยบายฆ่าตัดตอนของ พ.ต.ท.ทักษิณหรือไม่ และมีส่วนเกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใด


ยัน “ทักษิณ” เป็นผู้ก่อการร้าย


นายชวนนท์ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณและนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความแนวร่วม
ประชา ธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) บิดเบือนข้อเท็จจริงในเหตุการณ์การชุมนุมเมื่อปี 2553 เพราะข้อเท็จจริง พ.ต.ท.ทักษิณเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ความวุ่นวายทั้งหมดและถูกตั้งข้อหาการก่อการร้าย จึงกล่าวหานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ว่าหลบเลี่ยงการตรวจสอบ ทั้งที่นายอภิสิทธิ์ยืนยันพร้อมให้ตรวจสอบทุกขั้นตอนและเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม อย่างที่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหา ความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ขึ้นมา แต่ พ.ต.ท.ทักษิณและ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กลับพยายามออกกฎหมายนิรโทษกรรมเพื่อล้างผิดให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งศาลอาญาระหว่างประเทศและอัยการได้รับทราบข้อมูลตรงนี้แล้ว จะทำให้เกิดความกระจ่างมากขึ้นว่าใครที่อยู่เบื้องหลัง และใครพยายามจะล้างผิดโดยไม่มีกระบวนการสอบสวนตามกฎหมายในประเทศ

               ขณะที่นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ อดีตคณะกรรมการอิสระตรวจสอบ ศึกษาและวิเคราะห์การกำหนดนโยบายปราบปรามยาเสพติดให้โทษและการนำนโยบายไปปฏิบัติจนเกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียงและทรัพย์สินของประชาชน (คตน.) กล่าวถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์จะนำคดีฆ่าตัดตอนยาเสพติดฟ้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศว่า ขณะนี้มีจำนวน 40 คดีที่อยู่ในการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่ถือว่ายังมีความล่าช้ามาก ขณะที่อีก 8 คดีที่อยู่ในการสืบสวนสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เพิ่งจับคนผิดได้ 1 คดีคือ กรณีที่ตำรวจร่วมกันฆ่าตัดตอนเยาวชนอายุ 17 ปีที่กาฬสินธุ์

           “กรณีนี้ถือเป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่าเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ เข้าข่ายที่จะสามารถนำ เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมและคดีฆาตกรรมระดับสากลได้ ดังนั้น เรื่องนี้จึงสามารถนำเข้าสู่การพิ จารณาของศาลอาญาระหว่างประเทศได้เหมือนกัน”


นายไกรศักดิ์กล่าวว่า วิธีการฟ้องร้องเอาผิดมีอยู่หลายช่องทาง อาทิ ศาลอาญาประเทศเยอรมนี ศาลกลางสหรัฐอเมริกา ก็สามารถรับฟ้องคดีเหล่านี้ได้หากเห็นว่าเป็นคดีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ไม่ว่าประเทศใดในโลกก็สามารถเข้ามาคุ้มครองมนุษยชาติได้หากมีกลุ่มผู้ได้รับความเสียหาย และพยานสามารถดำเนินการยื่นฟ้องร้องได้ แต่ขณะนี้ยังไม่เห็นหน่วยงานหรือบุคคลใดดำเนินการ ส่วนการจะนำไปยื่นต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ ในทางปฏิบัติแม้จะไม่มีผลผูกพัน เนื่องจากประเทศไทยยังไม่ได้ลงสัตยาบันและรัฐสภายังไม่ได้รับรอง แต่การไปยื่นไว้ก่อนก็สามารถเก็บไว้เป็นหลักฐานได้


“เหวง” ท้า ปชป. สู้ในศาลโลก


ในขณะที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐ มนตรี ได้ถากถางพรรคประชาธิปัตย์กรณีที่จะนำคดีฆ่าตัดตอนยาเสพติดสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณไปขึ้นศาลโลกว่า “เปลืองค่าเครื่องบิน”


เช่นเดียวกับนายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ยืนยันว่า ไม่รู้สึกหวั่นไหวแม้แต่น้อย เพราะรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณไม่เคยมีนโยบายหรือสั่งให้ใครไปฆ่าใคร และมีการตั้งกรรม การตรวจสอบข้อเท็จจริงหลายชุดและสรุปว่าไม่มีรัฐบาลใดสั่งให้ฆ่าตัดตอน ทั้งยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าการเสียชีวิตในทุกคดีเกิดจากสาเหตุใดบ้าง เป็นการตายที่เกี่ยวกับยาเสพติด หรือเป็นการฆ่ากันเองในระหว่างผู้ค้ายา หรือเกิดจากการวิสามัญฆาตกรรมโดยเจ้าหน้าที่รัฐเท่าใด การตายของแต่ละ คนจึงต้องพิสูจน์และสอบสวนแต่ละคดีไป ใครถูกว่าไปตามถูก ใครผิดว่าไปตามผิด ตรงข้ามกับนายอภิ สิทธิ์กรณีสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง ซึ่งน่าสนใจว่าหากขึ้นสู่ศาลอาญาระหว่างประเทศจริง คดีใดจะถึงมือศาลก่อนกัน



 โดย นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช. และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ได้แถลงท้าพรรคประชาธิปัตย์ให้เอาเรื่องฆ่าตัดตอนและการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงให้ศาลอาญาระหว่างประเทศพิจารณาคู่ไปเลยว่าใครจะถูกลงโทษ ใครเป็นฆาต กรสั่งฆ่าประชาชน โดยได้ขอให้นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประ เทศ พิจารณายอมรับอำนาจศาลอาญาระหว่าง ประเทศ เพื่อให้ดำเนินคดีกับการใช้ความรุนแรงในเหตุการณ์ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ในฐานะอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ซึ่งนายสุรพงษ์รับปากจะสั่งการให้กรมสนธิสัญญาและกฎหมายระหว่างประเทศพิจารณา หากไม่มีปัญหาอะไรจะเดินหน้าทันที และในเวลา 1-2 เดือนอาจได้เห็นฆาตกรที่สั่งฆ่าประชาชนถูกเรียกตัวไปสอบ สวนที่กรุงเฮก


ให้อำนาจศาลย้อนหลังเฉพาะกรณีได้


กรณีรัฐบาลไทยสามารถยอมรับอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศเฉพาะกรณีโดยไม่ต้องลงสัตยาบันได้หรือไม่นั้น นายปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกลุ่มนิติราษฎร์ กล่าวว่า ทำได้ทั้งรัฐที่ไม่ใช่รัฐภาคี โดยสามารถทำคำประกาศฝ่ายเดียวยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศเฉพาะกรณี ซึ่งมีประ เทศที่ทำสำเร็จมาแล้วคือยูกันดาและไอวอรีโคสต์


โดยยกตัวอย่างกรณีไอวอรีโคสต์ที่ไม่ได้ให้สัตยาบัน โดยทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2546 ให้รับเขตอำนาจศาลตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2545 เพื่อให้ศาลโลกจัดการกับความผิดที่เกิดขึ้นย้อนหลังได้ แต่ไม่เกินวันที่ 1 กรกฎาคม 2545 ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการใช้กฎหมายย้อนหลัง เพราะได้ลงนามธรรมนูญกรุงโรมไว้แล้ว โดยที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสามารถลงนามในสัตยาบันได้ทันที ไม่ต้องผ่านช่องทางรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 แต่คดีต้องเข้าข่าย 4 ฐานความผิดร้ายแรงคือ การทำลายล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ อาช ญากรรมสงคราม และอาชญากรรมอันเป็นการรุกราน



 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม สหภาพเพื่อประชา ธิปไตยประชาชน (Union for People’s Demo cracy) ซึ่งเป็นกลุ่มที่รวมตัวกันของคนเสื้อแดงในยุโรป ได้จัดกิจกรรมตั้งโต๊ะล่า 100,000 รายชื่อ เพื่อให้ประเทศไทยลงนามให้สัตยาบันธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ โดยนางกรรณิการ์ นีลเซ่น ผู้แทนสหภาพ เปิดเผยว่า การล่ารายชื่อนี้เริ่มตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม ซึ่งขณะนี้ได้เพียง 2,000 กว่ารายชื่อ แต่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ 10,000 รายชื่อ จึงจะยื่นเสนอกฎหมายต่อสภาได้ แต่สหภาพกำหนดจะยื่นต่อรองประธาน รัฐสภาในวันที่ 9 สิงหาคมนี้ ได้เท่าไรก็จะยื่นเท่า นั้นก่อน แล้วจะล่ารายชื่อส่งให้ในภายหลัง


นอกจากนี้สหภาพยังยื่นหนังสือถึงกระทรวงการต่างประเทศและรัฐบาลเรียกร้องให้รัฐไทยให้สัตยาบันตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2554 ซึ่งรัฐบาลตอบกลับมาว่าติดกฎหมายภายในประเทศหลายมาตรา ทางสหภาพจึงส่งจดหมายถึงนายกฯยิ่งลักษณ์ให้รัฐบาลดำเนินการต่อเนื่องเมื่อวันที่ 24 เมษายนที่ผ่านมาว่า เป็นข้ออ้างที่ปล่อยให้เวลาผ่านไปเรื่อยๆ โดยไม่มีการกำหนดให้เห็นความคืบหน้า เพราะประเทศที่มีระบอบการปกครองเช่นเดียวกับไทย เช่น อังกฤษ เบลเยียม แคนาดา ญี่ปุ่น ลักเซม เบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สเปน และสวีเดน ก็มีข้อบัญญัติในลักษณะคล้ายคลึงกับมาตรา 8 ของไทย แต่ก็ให้สัตยาบันไปแล้ว และข้อบัญญัติในรัฐธรรมนูญของบางประเทศ เช่น เบลเยียม บัญ ญัติไว้ใน Article 91 ที่ว่าพระมหากษัตริย์จะถูกละเมิดมิได้และเหล่ารัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองแทน หรือเดนมาร์กบัญญัติคล้ายกับ Section 13 ที่ว่าพระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะจะล่วงละเมิดมิได้และรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองเช่นกัน


ปัญหาขณะนี้จึงอยู่ที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่ตระหนักดีว่าอะไรเป็นอะไร จะกล้า “ทำความจริงให้ปรากฏ” หรือไม่ เพราะที่ผ่านมารัฐบาลมักจะพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้สัตยาบัน มิใช่เพียงเพราะฝ่ายความมั่นคงและกองทัพท้วงติงว่าจะมีผลกระทบต่อสถาบันเบื้องสูงเท่านั้น แต่ยังถูกมองว่าเพราะรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยกลัวว่าจะมีการโยงไปถึง พ.ต.ท.ทักษิณกรณีฆ่าตัดตอนอย่างที่พรรคประชาธิปัตย์ออกมาขู่ในขณะนี้ก็เป็นได้ ทั้งที่หลักฐานและความผิดกรณีฆ่าตัดตอนในทางคดีนั้นถือว่าอ่อนมากเมื่อเทียบกับกรณีสังหารโหด 98 ศพที่มีหลักฐานมากมาย ทั้งพยานบุคคล ภาพถ่าย วิดีโอ และข่าวต่างๆที่ถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก


รัฐบาลยิ่งลักษณ์ต้องกล้า!


เมื่อวิเคราะห์จากช่วงเวลาที่ผ่านมา ถ้ากรณีฆ่าตัดตอนสามารถเอาผิด พ.ต.ท.ทักษิณได้จริง พรรคประชาธิปัตย์ก็คงไม่ปล่อยไว้ และคงจะให้อำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศเข้ามาจัดการกับ พ.ต.ท.ทักษิณตั้งแต่เป็นรัฐบาลแล้ว หรือใช้กระบวนการยุติธรรมในประเทศดำเนินการกับ พ.ต.ท.ทักษิณไปแล้ว แต่พรรคประชาธิปัตย์ทำไม่ได้เพราะแม้แต่คณะกรรมการที่มีคนของพรรคประชาธิปัตย์เองก็ยังไม่สามารถระบุความผิดประเด็นนี้ได้ชัดเจน ยิ่งนำคดีไปยื่นฟ้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศก็ยิ่งเป็นไปไม่ได้ ท่าทีของพรรคประชาธิปัตย์จึงเข้าทำนอง “ปากกล้าขาสั่น” มากกว่า


ดังนั้น การที่พรรคประชาธิปัตย์ออกมาขู่เรื่องศาลอาญาระหว่างประเทศจึงเป็นการเปิดช่องให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ประกาศยอมรับอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศได้ตามคำท้าทาย หรือแม้แต่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็เคยเรียกร้องให้เอาผิด พ.ต.ท.ทักษิณกรณีฆ่าตัดตอน จึงไม่น่าจะออกมาคัดค้าน ตรงกันข้ามกลับควรส่งเสริมให้รัฐบาลประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเพื่อเอาผิดทักษิณหากมีความผิดจริง


จึงเป็นเรื่องน่าผิดหวังอย่างยิ่งหากรัฐบาลยิ่งลักษณ์คิดแต่ถอยและเกี๊ยะเซียะกับกลุ่มผู้มีอำนาจทั้งในระบบและนอกระบบเพียงเพื่อให้ได้เป็นรัฐ บาลนานที่สุด ขลาดกลัวแม้แต่จะ “ทำความจริงให้ปรากฏ” ทั้งที่มีโอกาสและหลักฐานชัดเจนที่จะเอาผิดกับคนสั่งและคนฆ่าประชาชน และเป็นโอกาสที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์จะยุติวิกฤตบ้านเมืองโดยการ “ทำความจริงให้ปรากฏ” ใครผิดก็ว่าตามผิด ใครถูกก็ว่าตามถูก ซึ่งการยอมรับอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศคงไม่มีใครหรือสีใดไปประท้วงถึงกรุงเฮก หรือจะมีอำนาจนอกระบบใดๆเข้าไปแทรกแซงศาลอาญาระหว่างประเทศได้



ซึ่งก่อนหน้านี้ น.ส.จารุพรรณ กุลดิลก ส.ส.พรรคเพื่อไทย ได้ยื่นกระทู้เรียกร้องเรื่องการ
รับอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศชั่วคราวไว้แล้ว จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลควรจะสานต่อได้ทันที

นอกจากนี้ น.ส.จารุพรรณยังทวีตตอบโต้การเคลื่อนไหวของพรรคประชาธิปัตย์เมื่อวันที่ 4 สิงหาคมที่ผ่านมาว่า เพิ่งจะมาสนใจเรื่องฆ่าตัดตอน ส่งให้ ICC ตามรอยเสื้อแดง โดยส่งนายกษิต (ผู้ก่อการร้ายปิดสนามบิน, จำเลย ICJ, ขึ้นชื่อเรื่องมาร ยาททรามกับประเทศเพื่อนบ้าน) ไปเป็นผู้ดำเนินการ นั้น ต้องขอไว้อาลัยต่อการตัดสินใจของพรรคประ ชาธิปัตย์ครั้งนี้อย่างสุดจิตสุดใจ เพราะมองเห็นผลลัพธ์สุดท้ายที่มีแต่เสียกับเสียแบบกู่ไม่กลับคือ


ประการแรก คนทั้งโลกจะตั้งคำถามว่าทำไมเพิ่งมาสนใจ ICC ความจริงใจต่อเรื่องฆ่าตัดตอนแทบจะไม่มี เป็นแค่เกมตอบโต้ไปวันๆ ประการที่ 2 ไม่พ้นข้อหาเด็กลอกการบ้านตามเคย ลอกหนทางของเสื้อแดงที่จะแสวงหาความเป็นธรรมสากลให้กับประเทศไทย โถ..พรรคนักกฎหมายขี้คุย ประการที่ 3 การจะไปฟ้อง ICC บ้างก็เท่ากับยอมรับอำนาจ ICC แล้ว ก็มีความยินดีที่จะส่งนายอภิสิทธิ์ไปประเดิมสอบสวนคนแรก ประการที่ 4 การส่งนายกษิตไปนับว่าเลือกได้ถูกคนแล้ว ดิฉันไม่กังวลอะไรเลย นอกจากจะทำให้ประเทศไทยขายหน้าอะไรอีก และสุดท้าย ขอบอกว่าช่วยดำเนินการให้ไว เพราะอยากเห็นปรากฏการณ์เปรียบเทียบ “ความเป็นธรรมไทย” กับ “ความเป็นธรรมสากล”


รัฐบาลยิ่งลักษณ์จึงไม่ควรทำเหมือน “หลับตา ข้างหนึ่ง” และปล่อยให้ “คนตายนอนตาสว่าง” ต่อไป เพราะอาจเสียมวลชนส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะญาติวีรชนคนเสื้อแดงที่ต้องสูญเสียจากเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภา 2553”


การ “ทำความจริงให้ปรากฏ” โดยรัฐบาลยิ่งลักษณ์จะตัดสินใจรับคำท้าจากพรรคประชาธิปัตย์ และประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศเฉพาะกรณี เพื่อเปิดโอกาสให้มีการพิสูจน์ความจริง และพิจารณาคดีทั้งกรณี “มีคนตาย 98 ศพภายในรัฐบาลที่มีนายอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมน ตรี” และกรณีที่ “พรรคประชาธิปัตย์ได้กล่าวหานโย บายปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลที่มี พ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้มีคนบริสุทธิ์ต้องตายไปเป็นจำนวนมาก” จึงเป็นเรื่องที่ควรเกิดขึ้นแม้ว่าจะต้องกระทบกับ พ.ต.ท.ทักษิณก็ตาม


คำถามถึง “ยิ่งลักษณ์-ทักษิณ” ก็คือ รัฐบาลยิ่งลักษณ์กล้าพอหรือไม่? พ.ต.ท.ทักษิณใจถึงพอหรือไม่?


ส่วนคำถามถึง “อภิสิทธิ์” นั้นไม่มี เพราะไหนจะเรื่อง “วิบากกรรม สด.9” ในอดีต จนถึงข้อหา “ฆาตกร (เกือบ) ร้อยศพ มือเปื้อนเลือด..” ถ้ายังอยู่เย็นเป็นสุขได้..ก็ไม่ปรกติแล้ว!

ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 8 ฉบับที่ 372 วันที่ 11 – 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555 

หน้า 16 - 17 คอลัมน์ เรื่องจากปก โดย ทีมข่าวรายวัน

ศาลเลื่อนพิจารณาถอนประกันไป 22 สิงหาคม


(คลิปที่ 1 แกนนำลงมาจากศาลจับมือขอบคุณมวลชนริมรั้วศาลอาญา)
(คลิปที่ 2  วินาทีแกนนำทั้งหมดทยอยเดินออกมาจากศาลหลังเสร็จสิ้นการพิจารณาคดี)
(คลิปที่ 3 การให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน)

ศาลอาญาเลื่อนการพิจารณาคดี เจ๋ง ดอกจิก ไปเป็นวันที่ 22 สิงหาคม เวลา 09.00 น. ขณะเดียวกัน พร้อมนัดฟังคำสั่งว่าจะเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวแกนนำ นปช. ที่ไม่ได้เป็น ส.ส. ในวันเดียวกัน เวลา 15.00 น.

เมื่อเวลาประมาน 13.30 น. หลักจากศาลมีคำสั่งให้พักการไต่​สวนและนัดฟังคำตัดสินอีกครั้งเว​ลา14.00 น. บรรดาแกนนำได้ลงมาบริเวณริมรั้ว​หน้าศาลอาญาและได้โบกมือทักทายผู้ชุมนุมผ่านรั้วด้านหน้าศาล ทำให้มีกลุ่มผู้ชุมนุมกรูเข้ามา​บริเวณดังกล่าวเพื่อจับมือพูดคุ​ยและส่งเสียงโห่ร้องให้กำลังใจ

ทาง ด้านนายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก กล่าวว่า หลังจากที่ตนขึ้นปราศรัยวันนั้น​ศาลคงให้โอกาสและเมตตาเพราะไม่ไ​ด้มีเจตนายุยง ปลุกปั่น เพราะหลังจากที่มีการปราศรัยแล้​วได้มีการขอโทษศาลและชี้แจงประช​าชนไม่ให้สร้างปั่นป่วนต่อศาลแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นการแสดงเจตนาบริสุทธิ์แล้ว อย่างไรก็ตามเมื่อได้อธิบายต่อศ​าลก็มีท่าทีรับฟัง ทั้งนี้ได้ขอความเมตตาและโอกาสจ​ากศาล และอาจจะมีการเลื่อนการพิจารณาก​รณีของตนออกไป

ขณะที่นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง กล่าวว่า ศาลท่านจะให้ความเมตตา ต่อไปนี้จะต้องใช้วิธีการที่ถูก​ต้องและปฏิบัติตามเงื่อนไขของศา​ลอย่างเคร่งครัด อย่างไรตามต้องขอบคุณศาล กระบวนการยุติธรรม สื่อและผู้ที่มชุมนุมเพื่อให้กำลังใจ ส่วนการเดินหน้าเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องดำเนินต่อไปโดยมีรัฐสภาเป็นผู้ดำเนินกา​ร ส่วนหน้าที่ของกลุ่มคนเสื้อแดงคือต้องสนับสนุนการทำหน้าที่ของรัฐสภานอกจากนี้การชุมนุมปราศรัยบ่อยๆ​ อาจทำให้การพูดอาจพลาดพลั้งและผิดเงื่อนไข ดังนั้นจะไม่มีการพูดจาถึงคนอื่​นโดยไม่จำเป็นอีก และการเคลื่อนไหวแกนนำก็ต้องรับ​ผิดชอบคำพูดของตนเองและทำให้มีค​วามนุ่มและมีหลักเกณฑ์และมีหลัก​วิชาการมากขึ้น

ทั้งนี้เวลา 14.00 น. นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรและสหกรณ์และแกนนำกลุ่​มเสื้อแดงที่เป็นหนึ่งในจำเลย เพิ่งเดินทางมายังศาลอาญาพร้อมกับแกนนำคนอื่นๆ

ท้งนี้ศาลอาญาได้เลื่อนการพิจารณาคดี เจ๋ง ดอกจิก ไปเป็นวันที่ 22 สิงหาคม เวลา 09.00 น.ขณะเดียวกัน พร้อมนัดฟังคำสั่งว่าจะเพิกถอนการป​ล่อยตัวชั่วคราวแกนนำ นปช. ที่ไม่ได้เป็น ส.ส. ในวันเดียวกัน เวลา 15.00 น.

         ที่ปรึกษาประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และ นปช.พร้อมแนวร่วมกลุ่มคนเสื้อแดง เข้ายื่นคำร้องต่อ นายไพฑูรย์ ขัมภรัตน์ อัยการพิเศษฝ่ายพัฒนากฎหมาย เพื่อขอให้อัยการสูงสุด ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รับคำร้องที่มีผู้มียื่นตรวจสอบการกระทำความผิดมาตรา 68 วรรคแรก ในการเสนอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 
       
        ที่สำนักงานอัยการสูงสุด วันนี้ (7 ส.ค.) เวลา 11.00 น. พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ ที่ปรึกษาประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) พร้อมแนวร่วมกลุ่มคนเสื้อแดง จำนวนหนึ่งเดินทางเข้ายื่นคำร้องต่อ นายไพฑูรย์ ขัมภรัตน์ อัยการพิเศษฝ่ายพัฒนากฎหมาย เพื่อขอให้ นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รับคำร้องที่มีผู้มียื่นตรวจสอบการกระทำความผิดมาตรา 68 วรรคแรก ในการเสนอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ซึ่ง พ.ต.ต.เสงี่ยม และพวก ผู้ร้อง เห็นว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับไว้วินิจฉัย เนื่องจากเมื่อมีการพบเห็นการกระทำต้องยื่นเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วจึงเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยการกระทำของศาลรัฐธรรมนูญ เป็นการขยายเขตอำนาจของตัวเอง ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 อีกทั้งยังเป็นการตัดสิทธิของอัยการสูงสุดไป จึงขอให้อัยการสูงสุด ดำเนินการสอบสวนตามรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 68 ว่า การกระทำของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ขัดต่อมาตรา 68 หรือไม่
       
       ด้าน นายไพฑูรย์ ขัมภรัตน์ อัยการพิเศษฝ่ายพัฒนากฎหมาย สำนักงานวิชาการ กล่าวว่า จากที่สอบถามเบื้องต้นคำร้องของ พ.ต.ต.เสงี่ยม ขอให้ตรวจสอบเรื่องการกระทำของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ขัดต่อมาตรา 68 เท่านั้น ไม่มีประเด็นเสนอการถอดถอน ดังนั้น อัยการสูงสุดจึงมีอำนาจรับคำร้องนี้ไว้ตรวจสอบ โดยตนจะเสนอเรื่องต่อ นายจุลสิงห์ อัยการสูงสุด พิจารณา ซึ่งคงจะมีการตั้งคณะทำงานมาตรวจสอบ ขณะที่การพิจารณาจะดูข้อเท็จจริงที่ปรากฏ แต่การพิจารณากฎหมายไม่ได้กำหนดกรอบเวลาไว้ ทั้งนี้ หากการพิจารณาข้อเท็จจริง ปรากฏว่า การกระทำที่เป็นมูลความผิดก็จะเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 68 แต่หากไม่ปรากฏการกระทำที่เข้าข่าย มาตรา 68 อัยการก็จะยกคำร้องเหมือนที่ผ่านมา
       
       โดย นายไพฑูรย์ อัยการพิเศษฝ่ายพัฒนากฎหมาย สำนักงานวิชาการ ยืนยันว่า ที่ผ่านมาอัยการสูงสุด ได้ดำเนินการตรวจสอบเรื่องที่มีผู้ร้องการกระทำตามมาตรา 68 มาโดยตลอดและมีคำสั่งให้ยกร้องเมื่อเห็นว่าข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด

-----------------------------------------------------------

เสียงตักเตือนที่ตามมา ในกรณี พ.ต.ต. เสงี่ยม สำราญรัตน์

วีรพัฒน์ ปริยวงศ์  นักวิชาการกฎหมายอิสระ

ฝาก นปช. และพรรคเพื่อไทย ระวังหน่อยนะครับ

          ข่าวชิ้นนี้บอกว่ามีสมาชิก นปช. ส่วนหนึ่ง นำโดย พันตำรวจตรี เสงี่ยม สำราญรัตน์ ซึ่งเป็นข้าราชการสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี นำสมาชิก นปช. ไปขอให้อัยการสูงสุด ใช้อำนาจตาม รธน. มาตรา 68 มาตรวจสอบศาลรัฐธรรมนูญที่รับคำร้องคดีแก้รัฐธรรมนูญก่อนหน้านี้

          ผมคิดว่า ถ้าทำไปในนามส่วนตัวก็ย่อมเป็นสิทธิที่จะทำครับ จุดเด่นของ นปช. เอง ก็คือความหลากหลายที่อยู่ร่วมกันได้

          แต่ถ้าจะให้ดี แกนนำ นปช. และเพื่อไทย เองควรแสดงจุดยืนต่อบุคคลากรให้ชัดเจนว่า มาตรา 68 จะนำมาอ้างพร่ำเพรื่อไม่ได้ เพราะ มาตรานี้ใช้ตรวจสอบเฉพาะกับ "การใช้สิทธิเสรีภาพ" แต่จะไม่นำมาใช้กับ "การใช้อำนาจหน้าที่"

           กล่าวคือ หาก นปช. และเพื่อไทย เห็นว่า กลุ่ม ส.ว. พันธมิตร และ ปชป. ไม่สามารถอ้าง มาตรา 68 มาตรวจสอบกรณีที่ รัฐสภา "ใช้อำนาจ" แก้ไข รธน. ฉันใด นปช. และเพื่อไทย ก็พึงเตือนบุคคลากรว่า ไม่ควรนำ มาตรา 68 มาอ้างเพื่อตรวจสอบกรณีที่ ศาล "ใช้อำนาจ" รับคำร้อง ฉันนั้น

            (ส่วนจะไปร้อง ป.ป.ช. หรือ เข้าชื่อถอดถอนตุลาการ ย่อมพึงทำได้)

            เรื่องความแตกต่างระหว่าง "สิทธิและเสรีภาพ" และ "อำนาจหน้าที่" นี้ ผมจะขอชวนคุยต่อพรุ่งนี้ ทาง Asia Update ตอน 3 ทุ่ม โดยจะเจาะลึก "คำวินิจฉัยส่วนตน" ของตุลาการทั้ง 8 ท่านครับ ซึ่งตุลาการบางท่าน นำ "สิทธิและเสรีภาพ" และ "อำนาจหน้าที่" มาปะปนกันอย่างน่ากังวลใจ 

             แต่ก็มีคำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการบางท่าน ที่อ่านแล้วพอมีกำลังใจ และควรนำมายกย่องเช่นกัน

             ชมได้ พรุ่งนี้ วันพุธ (8 สิงหาคม 55) ทาง Asia Update ตอน 3 ทุ่มครับ
ผู้แสดงความเห็นในข้อเขียนนี้ :- 

Nithiwat Wannasiri :: ทำได้สิครับ ถ้าดูตามที่มาแห่งอำนาจแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้มี "อำนาจหน้าที่" ใดๆเลยในเรื่องนี้ แต่ในเมื่อคนไม่มีอำนาจสร้างอำนาจให้ตัวเองได้ เราก็อาศัยหลักเดียวกันย้อนศรเป็นหอกทมิฬแทงทมิฬ ผมว่ามันเป็นเรื่องชอบธรรมนะครับ เราไม่เอาระบบแบบนี้ แต่จำเป็นต้องเล่นในระบบ วิธีนี้ก็สมควรแก่เหตุแล้วครับ
วีรพัฒน์ ปริยวงศ์  ::  คำถามอยู่ที่ว่า การรับคำร้องของศาลนั่้น เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพ หรือไม่ หากเราเห็นว่าเป็น ก็จะเกิดปัญหา แต่หากเห็นว่าไม่เป็น แต่ฟ้องตาม 68 ได้ ก็จะยิ่งเกิดปัญหา แต่แย่ที่สุด หากเราเห็นว่าอะไรที่ทำไปแล้วไม่มีอำนาจ (ในสายตาของผู้ฟ้อง) ไม่ว่าจะเป็นสิทธิเสรีภาพหรือไม่ ก็ฟ้องได้หมด แบบนี้ยิ่งเป็นปัญหาครับ  การใช้กติกาที่ผิด ต้องแกด้วยการใช้กติกาที่ถูก แต่หากกติกาถูกหักงอให้ย้อนศรเพื่อมาแกกติกาที่ผิด มันก็จะผิดต่อไปเรื่อยๆครับ
วีรพัฒน์  :: ปริยวงศ์ ขอความกรุณาทุกท่านอย่าใช้คำไม่สุภาพนะครับ
Nithiwat Wannasiri  :: มันต่างกันตรงที่เจาทำกติกาที่ผิดให้กลายเป็นถูกด้วยอำนาจที่สถาปนาขึ้นเองได้แบบนั้น การจะย้อนศรให้คนเห็นว่ามันทำไม่ได้ ก็คือการที่เอาสิ่งที่พวกเขาทำให้ผิดเป็นถูกมาย้อนเล่นงานพวกเขาเองให้สังคมเห็น ให้สังคมตั้งคำถามกับอำนาจนั้นๆครับ เขาลุกขึ้นสู้กับอำนาจตามที่เขาเห็นหนทางครับ หากจะเห็นแย้งก็ทำได้ แต่ควรเสนอทางออกอื่นๆให้กับประชาชนด้วยเช่นกันนะครับ

ร.ต.ธนะสิทธิ์ พิพุฒ ::  ดีครับ ช่วยๆกันเล่นนอกกติกา มันดี.

วีรพัฒน์ ปริยวงศ์  :: ‎Nithiwat Wannasiri ต้องระวังกับตรรกะแบบนั้นนะครับ นายพล ก รัฐประหาร ทำผิดกฎหมายยึดอำนาจประชาชน ประชาชนสมควรทำลายกฎหมายซ้ำโดยการก่อรัฐประหาร นายพล ก หรือไม่ ? นาย I วิ่งแจ้งความ อ้าง 112 พร่ำเพรื่อเพื่อขุ่มขู่กลั่่นแกล้งผู้อื่น เราจึงควรนำ 112 มาอ้างพร่ำเพรื่อ เพื่อแจ้งความเอาผิดกับนาย I บ้างหรือไม่ ? ย้ำนะครับว่าผมไม่ได้พูดถึงกรณีที่ไปดำเนินการส่วนตัว บทวิพากษ์นี้ ผมกำลังพูดถึง นปช. และ พรรคเพื่อไทย ในฐานะสถาบันทางการเมือง

          ทางออกอื่นๆ ก็เสนอไปแล้วไงครับ "ส่วนจะไปร้อง ป.ป.ช. หรือ เข้าชื่อถอดถอนตุลาการ ย่อมพึงทำได้" และที่เราทุกคนทำได้ทุกวัน ก็คือการวิพากษ์วิจารณ์ ตื่นตัวรู้ทัน การต่อสู้กับอำนาจ ต้องอดทน ต้องใช้เวลา และต้องเป็นไปตามกติกา การอ้างตรรกะ "ย้อนเล่นงาน" หากไม่เคารพกติกา มันก็จะย้อนกันไปย้อนกันมา และย้อนมาที่ตัวผู้ต่อสู้เอง แต่แย่ที่สุด คือมันย้อนไปถึง "ผู้ร่วมต่อสู้ที่ต้องการต่อสู้ตามกติกา" ด้วยเช่นกัน
Nithiwat Wannasiri ::  ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ ตรรกะนั้นใช้ได้ครับ แต่ในประเทศที่ระบบกฎหมายและการทำรัฐประหารถูกกดเอาไว้ด้วยการห้ามพูดเรื่องบทบาท สถานะ และอำนาจของสถาบันกษัตริย์ เมื่อฝ่ายหนึ่งถูกตีกรอบ ถูกกด ไว้ด้วยกำลังทหาร ฝ่ายที่ถูกกดย่อมมีความชอบธรรมที่ทำลายการกดเหล่านั้นก่อนครับ ค่อยมาว่ากันถึงหลักการในรูปแบบของประชาธิปไตยสมบูรณ์ที่คู่ขัดแย้งไม่มีใครมีอำนาจตกดใครอยู่ในตัวบทกฎหมาย
Nithiwat Wannasiri ::  ป.ป.ช. ที่มาของอำนาจมาจากไหนครับ ?
เข้าชื่อถอดถอน สุดท้ายการพิจารณาอยู่กับอำนาจสว.ลากตั้ง ไหนล่ะทางออก?
ถ้ามีทางออกอื่นที่ดีก็เสนอมาได้เลยครับ
Nithiwat Wannasiri ::  กรณีการยกเคส 112 นะครับ เพราะฝ่ายต่อต้านถือหลักการแบบนี้นี่แหล่ะ สังคมที่ถูกหล่อหลอมความซาบซึ้งมายาวนานจึงยังเห็นปัญหาของตัวกฎหมายไม่ชัดเจน ลองมีคนไปไล่แจ้งความทุกคนที่วิจารณ์แบ็งค์ร้อยใหม่ดูสิ รับรองสังคมเห็นปัญหา แต่ว่าสายพิราบทำไม่ได้ เพราะต้องยึดหลักการ แต่สายเหยี่ยวทำอะไร ถ้าแนวทางการเปลี่ยนยแปลงสังคมมันเร็วกว่า ก็เป็นสิทธิ์ของเขา แต่ผมก็ไม่แนะนำ ถ้ามีทางออกอื่นที่ดีกว่า
วีรพัฒน์ ปริยวงศ์  :: ‎Nithiwat Wannasiri ตรรกะเงื่อนไขข้อยกเว้นแบบนี้ก็อันตรายครับ เพราะประหนึ่งยอมรับว่า ภายใต้เงื่อนไขบางอย่าง กติกาและหลักการถูกทำลายได้ ไม่ต่างจากผู้ที่อ้างว่า เพราะประเทศไทยมีกรอบแบบนั้น จึงต้องมี 112 แบบนี้ ... 

            การทำลายการกดขี่ มิได้ต้องกระทำโดยการใช้กติกาไปในทางที่ผิดหรือพร่ำเพรื่อนะครับ

            ส่วนตรระกะที่ว่า หากไม่พอใจกับ ปปช. หรือ สว ก็ย่อมไม่พอใจได้ แต่นั่นไม่ใช่เหตุที่จะอ้างเพื่อไปอ้่างอย่างอื่นที่ตนพอใจมากกว่าครับ นี่ก็ตรรกะอันตรายอีกเเหมือนกัน ไม่ต่างกับผู้ที่บอกว่า นายก ก เป็นคนโกงกินบ้านเมือง แม้จะมาจากการเลือกตั้ง แต่ ปปช ก็พึ่งไม่ได้ สว ก็พึ่งไม่ได้ ก็เลยต้องพึ่งอำนาจวิธีการอย่างอื่น

            เรื่องสายพิราบและสายเหยี่ยวผมมองว่าเป็นข้ออ้างและมายาคติเสียมาก ไม่ว่าจะเป็นอีกาพญายม หรือนกกระจิบนกกระจอก หากเลือกที่จะไม่เคารพกติกาหรือกฎหมาย จะอ้างว่าต่อสู้เพื่ออะไร แม้เป้าหมายอาจชอบธรรม แต่หากมันก็ผิดด้วยวิธีการ จะบอกว่าถูกก็คงไม่ใช่

วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ :: สภาวะของความอัดอั้นตันใจ ที่รู้สึกถูกกดขี่ และพึ่งกลไกตามกฎหมายไม่ได้ ก็คือสภาวะเดียวกันกับหลายคนที่อ้างรัฐประหาร มากำจัดคุณทักษิณ แม้จะต้องแลกด้วยการฉีกรัฐธรรมนูญ หากผู้ใดที่ต้องการต่อสู้เพื่อประชาธิปตย เราจะต้องไม่ยอมตกอยู่ในสภาวะแบบนั้น เด็ดขาด การต่อสู้มันลำบากและใช้เวลา ไม่มีอะไรที่มีค่าที่ได้มาง่ายๆครับ หาก ปปช สว ยังไม่ดีพอ เราก็ต้องทำให้ดีขึ้น หากพึ่งไม่ได้ ก็มาคิดว่าจะแก้ รธน ปฏิรูปกลไกอย่างไร ที่ผมเคยบอกว่า ศาลจะมักง่าย เอาใจคน 8-9 คน มาตัดสินคนทั้งประเทศไม่ได้ฉันใดก็ฉันนั้น ปีระชาชน จะสิบคน ร้อยคน หรือ พันคน ก็มักง่ายไม่ได้เช่นกัน

เปี๊ยก คณิต :: สายไหน ยังไงก้พยายามเลี่ยงความรุนแรงน่ะครับ เพราะจะเป้นโทษภายหลังครับ

Nutty Sate มัน เป็นแค่เกมการเมืองค่ะ คุณเสงี่ยมไม่ได้หวังผลอะไรใหญ่โตหรอก แค่ไม่ให้ตัวเอง out เท่านั้น. ...เกมนี้คุณเสงี่ยมเล่นไปเพราะรู้ว่าไม่เจ็บตัวแน่ แถมได้ป่วนศาลฟรี มีเรื่องเล่าเอาไว้อวดเพื่อนในกลุ่มด้วย ไม่มีอะไรหรอกเดี๋ยว ศาลก็ไม่รับเองแหละค่ะ

Chote Kotmanee ดุลยอำนาจประชาชาติต้องเที่ยงธรรม อำนาจนำความเที่ยงธรรมเป็นธรรมใหม
แสงตะวัน และความจริง 

Nithiwat Wannasiri ทำได้สิครับ ถ้าดูตามที่มาแห่งอำนาจแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้มี "อำนาจหน้าที่" ใด ๆ เลยในเรื่องนี้ แต่ในเมื่อคนไม่มีอำนาจสร้างอำนาจให้ตัวเองได้ เราก็อาศัยหลักเดียวกันย้อนศรเป็นหอกทมิฬแทงทมิฬ ผมว่ามันเป็นเรื่องชอบธรรมนะครับ เราไม่เอาระบบแบบนี้ แต่จำเป็นต้องเล่นในระบบ วิธีนี้ก็สมควรแก่เหตุแล้วครับ
ควรไปอ่านนะและศึกษาทีนิติแถลงอะไรไว้