วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แฉเอกสารลับ! ระบุ "มาร์ค" "ไม่ผ่านการตรวจเลือก และไม่มีหลักฐานทางทหาร"










             เปิดเอกสาร "ลับ" ที่ พล.ต.วันชัย อิทธิวิบูลย์ เจ้ากรมจเรทหารบก (จก.ทบ.) ทำเสนอผู้บัญชาการกองทัพบก (ผบ.ทบ.) เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2542 เรื่อง "รายงานผลการสอบสวนกรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้ารับราชการที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ (รร.จปร.)"

            ผลสอบสวนตามเอกสารดังกล่าวระบุว่า การบรรจุนายอภิสิทธิ์เข้ารับราชการบกพร่องและไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และกฎหมายที่กำหนดโดยไม่มีการส่งตัวไปดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2487 ก่อน


เอกสารลับดังกล่าวมีรายละเอียดดังนี้
-----------------------
เรียน ผบ.ทบ. (ผ่าน กพ.ทบ.)


อ้างถึง อนุมัติ ผบ.ทบ.ท้ายหนังสือ กสร.ทบ.ลับ ที่ กห 0426/654 ลง 8 มี.ค. 2542 เรื่องตรวจสอบข้อมูลการตรวจเลือกฯ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ


สิ่งที่ส่งมาด้วย รายงานผลการสอบสวนพร้อมเอกสารประกอบ จำนวน 292 แผ่น


           1.ผบ.ทบ.สั่งการตามอ้างถึงให้ จบ.(จเรทหารบก)สอบสวนข้อเท็จจริง กรณี กสร.ทบ.(กรมการกำลังสำรองทหารบก ) ตรวจพบว่า นายอภิสิทธิ์ ขาดการตรวจเลือกฯ ปี 2530 และการบรรจุนายอภิสิทธิ์เข้ารับราชการทหารเป็น อจ.ส่วนการศึกษา รร.จปร.อาจใช้หลักฐานทางทหารไม่ถูกต้อง


           2.จบ.แต่งตั้งให้ พ.อ.สมบูรณ์ เมฆประยูร และ พ.ต.สมโชค ไกรศิริ เป็นเจ้าหน้าที่สอบสวน มีข้อเท็จจริงโดยละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย สรุปได้ดังนี้

              2.1 การบรรจุบุคคลพลเรือนเข้ารับราชการของ ทบ.ต้องปฏิบัติตามระเบียบ ก.พ.ว่าด้วยการบรรจุ การโอน และการบรรจุกลับเข้ารับราชการ พ.ศ.2524 ประกอบกับอนุมัติ ผบ.ทบ.เรื่องหลักเกณฑ์การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการของ ทบ. เมื่อ 28 พ.ย. 2528 และอนุมัติ ผบ.ทบ.เรื่องหลักฐานการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการฯ เมื่อ 7 ม.ย. 2522 ซึ่งมีผลบังคับใช้จนถึงปัจจุบันสรุปว่า 
          
                  บุคคลพลเรือนประเภทชายที่สามารถบรรจุเข้ารับราชการทหารได้แบ่งคุณลักษณะไว้ 2 พวกคือ 
  •       ผู้ที่อายุยังไม่ครบเกณฑ์ทหารโดยมีอายุระหว่าง 18-20 ปี หลักฐานทางทหารที่ใช้ประกอบการบรรจุได้แก่ใบสำคัญ (สด.9) และ
  •        ผู้ที่ต้องผ่านการเกณฑ์ทหารแล้วโดยมีอายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไปหลักฐานทางการต้องใช้ใบสำคัญ (สด.9) และใบรับรองผลฯ (สด.43) ประกอบกับหลักเกณฑ์ของ ทบ.
      
               เรื่องนี้ โดยเฉพาะอายุของผู้ที่จะบรรจุเข้ารับราชการกำหนดไว้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497

                2.2 กรณีการบรรจุนายอภิสิทธิ์ เข้ารับราชการเป็น อจ.ส่วนการศึกษา รร.จปร. หน่วยที่เกี่ยวข้องกับการบรรจุประกอบด้วย รร.จปร.เป็นหน่วยขอรับการบรรจุ, สบ.ทบ.(กรมสารบรรณทหารบก)และ กพ.ทบ.(กรมกำลังพลทหารบก)เป็นหน่วยตรวจสอบหลักฐานการบรรจุ ปรากฏว่า

                     2.2.1 นายอภิสิทธิ์ มีอายุเกิน 21 ปี ขณะสมัครเข้ารับราชการทหารที่ รร.จปร.โดยมีอายุ 21 ปี จึงมีคุณลักษณะของการเข้ารับราชการโดยต้องผ่านการตรวจเลือกทหารแล้วหรือมีสิทธิผ่อนผัน ซึ่งต้องใช้หลักฐานทางทหารคือใบสำคัญ (สด.9) และใบรับรองผลฯ (สด.43) ประกอบกับเท่านั้น

              แต่เมื่อ 7 เม.ย. 2530 นายอภิสิทธิ์ ได้หลีกเลี่ยงขัดขืนไม่เข้าทำการตรวจเลือกฯ ปี 2530 และเป็นคนขาดการตรวจเลือกฯ ที่มีความผิดตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497 มาตรา 27 และ 45  นายอภิสิทธิ์จึงไม่มีหลักฐานทางทหารเพื่อประกอบเอกสารการบรรจุ


                      2.2.2 รร.จปร.ดำเนินการทำหลักฐานขออนุมัติบรรจุนายอภิสิทธิ์ โดยต้องยึดถือหลักเกณฑ์ของ ทบ.ดังกล่าวไว้ในข้อ 2.1 และส่งเรื่องให้ สบ.ทบ.ตรวจสอบ แต่หลักฐานการบรรจุที่ รร.จปร.ดำเนินการ ไม่มีหลักฐานทางทหารประกอบการบรรจุซึ่ง รร.จปร.ทำหนังสือขออนุมัติบรรจุถึง สบ.ทบ.เมื่อ 18 มี.ค. 2530 สบ.ทบ.ตรวจสอบและทำหนังสือทักท้วงถึง รร.จปร.เมื่อ 31 มี.ค. 2530 ให้ รร.จปร.แก้ไขเอกสารและเพิ่มเติมหลักฐานทางทหารหนังสือผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร


                รร.จปร.ได้แก้ไขเอกสารตามการทักท้วง โดยไม่มีหลักฐานทางทหาเนื่องจากนายอภิสิทธิ์เป็นคนขาดการตรวจเลือกฯ เมื่อ 7 เม.ย. 2530 และส่งเรื่องขออนุมัติบรรจุให้ สบ.ทบ.จนกระทั่ง กห.มีคำสั่งให้นายอภิสิทธิ์เข้ารับราชการและแต่งตั้งยศเป็นนายทหารสัญญาบัตร


                   2.2.3 สบ.ทบ.มีหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานและเอกสารประกอบการบรรจุโดยต้องยึดถือหลักเกณฑ์ของ ทบ.ดังกล่าวไว้ในข้อ 2.1 กรณีการบรรจุนายอภิสิทธิ์ สบ.ทบ.ได้มีหนังสือทักท้วงเมื่อ 31 มี.ค. 2530 ว่า รร.จปร.ต้องแก้ไขหลักฐานการบรรจุและส่งเอกสารหลักฐานทางทหารเพิ่มเติมได้แก่หนังสือผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร

                    ภายหลัง รร.จปร.ได้ส่งหลักฐานการบรรจุนายอภิสิทธิ์ที่ได้แก้ไขโดยไม่มีหลักฐานทางทหารเพิ่มเติมไปให้ สบ.ทบ. ไม่ปรากฏว่า สบ.ทบ.ได้ทำการทักท้วงความไม่ถูกต้องครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทางทหารแต่อย่างใด จนกระทั่งกระทรวงกลาโหม (กห.) มีคำสั่งให้นายอภิสิทธิ์ เข้ารับราชการและแต่งตั้งยศเป็นนายทหารสัญญาบัตร

              2.2.4 กพ.ทบ.มีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานการบรรจุนายอภิสิทธิ์ โดยต้องยึดถือหลักเกณฑ์ของ ทบ.ดังกล่าวไว้ในข้อ 2.1 กรณีการบรรจุนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อ สบ.ทบ.ส่งหลักฐานการขออนุมัติบรรจุให้ กพ.ทบ.ซึ่งไม่มีหลักฐานทางทหารไม่ปรากฏว่า กพ.ทบ.ตรวจพบหรือทักท้วงหลักฐานการบรรจุนายอภิสิทธิ์ ที่ไม่มีหลักฐานทางทหารและดำเนินการต่อไปจน กห.มีคำสั่งให้นายอภิสิทธิ์ เข้ารับราชการและแต่งตั้งยศเป็นนายทหารสัญญาบัตร

           2.3 การขอใบแทนใบสำคัญ (สด.9) ภายหลังการตรวจเลือกฯ ปี 2530 ของนายอภิสิทธิ์ เมื่อ 8 เม.ย. 2531 ปรากฏว่า พ.ต.ทองคำ เดชเร หัสดีเขตพระโขนง(ปัจจุบันลาออกจากราชการ) ดำเนินการเพื่อออกใบแทนใบสำคัญ (สด.9) ให้กับนายอภิสิทธิ์ จน.ผช.ผอ.เขตพระโขนง ลงนามในใบแทนใบสำคัญ (สด.9) และมอบให้กับนายอภิสิทธิ์ โดยไม่ส่งตัวนายอภิสิทธิ์ดำเนินคดีฐานหลีกเลี่ยงขัดขืนไม่เข้าทำการตรวจเลือกฯ ตั้งแต่ 7 เม.ย. 2530 และ 7 เม.ย. 2531 ตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2457 มาตรา 27 และ 45

         3.จบ.พิจารณาแล้วมีความเห็นว่า
             3.1 กรณีการบรรจุนายอภิสิทธิ์ เป็น อจ.ส่วนการศึกษา รร.จปร.
                    3.3.1 รร.จปร.ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ของระเบียบ กห.ว่าด้วยการบรรจุ การโอน และการบรรจุกลับเข้ารับราชการ พ.ศ.2429 แต่ขัดต่ออนุมัติ ผบ.ทบ.เรื่องหลักเกณฑ์การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเมื่อ 31 พ.ค. 2522 โดยทำหลักฐานเพื่อบรรจุนายอภิสิทธิ์ ซึ่งเป็นบุคคลที่มีคุณลักษณะขัดต่อหลักเกณฑ์ของ ทบ.ที่สามารถบรรจุเข้ารับราชการได้ เนื่องจากนายอภิสิทธิ์ ไม่ผ่านการตรวจเลือกฯ และไม่มีหลักฐานทางทหารนำมาส่งมอบประกอบเอกสารการบรรจุเพราะเป็นคนขาดการตรวจเลือกฯ เมื่อ 7 เม.ย. 2530 หากจะดำเนินการบรรจุเข้ารับราชการต้องภายหลังนายอภิสิทธิ์ ถูกส่งตัวดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2487 ตามมาตรา 27 และ 45 พร้อมกับส่งตัวเข้ากองประจำการจนครบกำหนดก่อน


             แต่ปรากฏว่า เจ้าหน้าที่กำลังพล รร.จปร.เพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามอนุมัติ ผบ.ทบ.ดังกล่าวข้างต้น แม้ว่า สบ.ทบ.จะได้ทักท้วงแล้วถือได้ว่า เป็นความบกพร่องของเจ้าหน้าที่กำลังพลในขณะนั้นคือ พ.อ.สมศักดิ์ พุ่มนิคม รอง ลก.บก.ทหารสูงสุด(รองเลขานุการกองบัญชาการทหารสูงสุด) ขณะเป็น ทก.กกพ.รร.จปร., (กองกำลังพล รร.จปร.)ส่วนพล.อ.เผด็จ วัฒนะภูติ ขณะเป็น รอง ผบ.รร.จปร.ซึ่งรับผิดชอบงานด้านกำลังพล และพล.อ.นิยม ศันสมาคม ขณะเป็น ผบ.รร.จปร.บุคคลทั้งสองปัจจุบันเกษียณอายุราชการ ซึ่งจะต้องควบคุมกำกับดูแลการปฏิบัติงานของ รร.จปร.ทั้งหมด

            3.1.2 สบ.ทบ.มีหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานขออนุมัติบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและเอกสารประกอบของนายอภิสิทธิ์ที่ รร.จปร.ส่งเรื่องมาโดยต้องยึดถือหลักเกณฑ์การพิจารณาตรวจสอบเช่นเดียวกับ รร.จปร. และการที่ สบ.ทบ.มีหนังสือทักท้วง รร.จปร.ขอให้แก้ไขและส่งเอกสารเพิ่มเติมโดยเฉพาะหลักฐานการผ่อนผันการเกณฑ์ทหารของนายอภิสิทธิ์ ซึ่ง รร.จปร.ก็จะต้องส่งหลักฐานตามที่ สบ.ทบ.ได้ทักท้วง

             เมื่อ สบ.ทบ.ได้รับเอกสารแล้วต้องตรวจพบว่า ขาดหลักฐานการผ่อนผันการเกณฑ์ทหารซึ่งเป็นเอกสารสำคัญในการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ สบ.ทบ.ก็จะต้องทักท้วงทำให้ไม่สามารถบรรจุนายอภิสิทธิ์ได้

            แต่เมื่อ กห.มีคำสั่งแต่งตั้งให้นายอภิสิทธิ์ เป็นนายทหารสัญญาบัตร แสดงให้เห็นว่า สบ.ทบ.และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องบกพร่องต่อหน้าที่ในการตรวจสอบเอกสารการบรรจุในครั้งนี้ ซึ่งได้แก่ พ.อ.คง หงษ์ทอง ขณะเป็น หน.แผนกบรรจุฯ กคว.สบ.ทบ.,พ.อ.ประหยัด คล้ายทอง หก.กคว.สบ.ทบ.,พล.ท.มานิต ทรัพย์สกุล ขณะเป็น รอง จก.สบ.ทบ. และ พล.อ.วีระ เสวิกุล ขณะเป็น จก.สบ.ทบ. บุคคลเหล่านี้ปัจจุบันเกษียณอายุราชการ

          3.1.3 กพ.ทบ.มีหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานขออนุมัติบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและเอกสารประกอบของนายอภิสิทธิ์ที่ สบ.ทบ.ส่งเรื่องมาโดยต้องยึดถือหลักเกณฑ์การพิจารณาตรวจสอบเช่นเดียวกับ รร.จปร.และ สบ.ทบ. เมื่อ กพ.ทบ.ได้รับเอกสารแล้วต้องตรวจพบว่า ขาดหลักฐานการผ่อนผันการเกณฑ์ทหารซึ่งเป็นเอกสารสำคัญในการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ กพ.ทบ.ก็จะต้องทักท้วงทำให้ไม่สามารถบรรจุนายอภิสิทธิ์ได้

            แต่เมื่อ กห.มีคำสั่งแต่งตั้งให้นายอภิสิทธิ์เป็นนายทหารสัญญาบัตรแสดงให้เห็นว่า กพ.ทบ.และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องบกพร่องต่อหน้าที่ในการตรวจสอบเอกสารการบรรจุในครั้งนี้ ซึ่งได้แก่ พ.อ.หญิง สายไสว มาสมบูรณ์ ประจำ กพ.ทบ.ขณะเป็น หน.แผนก กจก.กพ.ทบ., พล.ต.ณรงค์ สารรักษ์ ผทค.ทบ.ขณะเป็น หก.กจก.กพ.ทบ., ส่วนพล.อ.ชัยวุฒิ ศรีมาศ ขณะเป็น รอง จก.กพ.ทบ. และ พล.อ.ประเสริฐ สารฤทธิ์ ขณะเป็น จก.กพ.ทบ.ปัจจุบันเกษียณอายุราชการ


           3.2 หน่วยสัสดีเขตพระโขนง เป็นหน่วยที่รับผิดชอบการลงบัญชีทหารกองเกินและการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ากองประจำการตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2487 และคำสั่ง ทบ.ที่ 1173/2528 ลง 25 ธ.ค. 2528 โดยมี พ.ต.ทองคำ เดชเร เป็นสัสดีเขตพระโขนงในปี 2530 ภายหลังที่นายอภิสิทธิ์เป็นคนขาดการตรวจเลือกตั้งแต่ 7 เม.ย. 2530 ซึ่งในขั้นตอนการตรวจสอบก่อนออกใบแทนใบสำคัญ (สด.9) ให้ พ.ต.ทองคำต้องตรวจพบว่านายอภิสิทธิ์ เป็นคนขาดการตรวจเลือกและต้องสั่งตัวดำเนินคดีตามความผิด แต่ พ.ต.ทองคำ ไม่ส่งตัวนายอภิสิทธิ์ดำเนินคดี แสดงให้เห็นว่า พ.ต.ทองคำละเว้นการปฏิบัติหน้าที่มีมูลความผิดทางอาญา


          3.3 บุคคลที่บกพร่องต่อหน้าที่ในการดำเนินการบรรจุนายอภิสิทธิ์ เข้ารับราชการในครั้งนี้บางนายได้เกษียณอายุราชการ, บางนายรับราชการนอกสังกัด ทบ. และบางนายเป็นนายทหารชั้นนายพลซึ่งไม่สามารถรับทัณฑ์ทางวินัยได้

           คงมีบุคคลที่จะต้องได้รับทัณฑ์เพียงผู้เดียวคือ พ.อ.หญิง สายไสว มาสมบูรณ์ ประจำ กพ.ทบ.ขณะปฏิบัติหน้าที่ หน.แผนก กจก.กพ.ทบ.

         4.ข้อเสนอ เห็นควรดำเนินการกับบุคคลที่เกี่ยวข้องดังนี้
           4.1 ลงทัณฑ์ทางวินัยต่อ พ.อ.หญิง สายไสว มาสมบูรณ์ ประจำ กพ.ทบ.
           4.2 ดำเนินคดีอาญาต่อ พ.ต.ทองคำ เดชเร

           จึงเรียนมาเพื่อกรุณาพิจารณา หากเห็นสมควร กรุณาอนุมัติในข้อ 4

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น