ถกรับมือม็อบ “เสธ.อ้าย” จ่อใช้พ.ร.บ.มั่นคงคุม
วันนี้( 16 พ.ย.) ที่สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (ททบ.5)
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า
ก่อนอัดเทปคำอาเศียรวาทถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
ได้หารือร่วมกับ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.)
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) พล.ร.อ.สุรศักดิ์
หรุ่นเริงรมย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง
ผู้บัญชากาทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) และพล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.)
เพื่อประเมินสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม
และขั้นตอนการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ
โดยแหล่งข่าวด้านความมั่นคง เปิดเผยว่า ระหว่างการพูดคุย
พล.อ.ธนะศักดิ์ และพล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ว่า
อยากให้ใช้กฎหมายปกติในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยไปก่อน
เนื่องจากข้อมูลจากการติดตามสถานการณ์ก่อนหน้านี้ไม่พบว่ามีเหตุการณ์รุนแรง
เกิดขึ้น และยังไม่พบความเคลื่อนไหวของกลุ่มมือที่สามจึงมองว่า
ไม่น่าจะมีการประกาศพ.ร.บ.ความมั่นคงฯ
แต่เมื่อผบ.ตร.ต้องการจะให้มีกฎหมายพิเศษ
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่จึงไม่อยากจะขัดข้องโดยทางทหารจะไม่เข้าไป
ยุ่งเกี่ยว และให้ตำรวจเป็นเจ้าหน้าที่หลักในการดูแลความเรียบร้อย
โดยในวันที่ 19 พ.ย.นี้จะมีการเรียกประชุมหน่วยงานด้านความมั่นคง
เพื่อประเมินสถานการณ์การชุมนุมเพื่อสรุปว่าจะประกาศใช้
พ.ร.บ.ความมั่นคงฯหรือไม่ โดยเฉพาะการประเมินจากหน่วยงานด้านการข่าว เช่น
สำนักข่าวกรองแห่งชาติ (สขช.) สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)
และกองบัญชาการตำรวจสันติบาลว่าข้อมูลที่ได้รับเพียงพอที่รัฐบาลจะต้องมีการ
ใช้กฎหมายพิเศษเพื่อเตรียมพร้อมและรองรับสถานการณ์หากเกิดเหตุการณ์วุ่นวาย
หรือความรุนแรงเกิดขึ้น
“เบื้องต้นหน่วยงานความมั่นคงมีความกังวลใน 3 ข้อ คือ 1.
ศักยภาพของแกนนำคือ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ หรือเสธ.อ้าย
ประธานองค์การพิทักษ์สยามจะควบคุมกลุ่มมวลชนที่จะเดินทางมาชุมนุมได้หรือไม่
เพราะเท่าที่ตรวจสอบมีหลายองค์กรที่จะเข้าร่วม
2.มือที่สามที่ต้องการสร้างความวุ่นวาย
และความสูญเสียให้เกิดขึ้นระหว่างการชุมนุม ไม่ว่าจะเป็นการปาระเบิด
หรือยิงเอ็ม 79 3. การออกมาตรการรองรับคุ้มครองเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ซึ่งในอดีตสมัย พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ เป็น ผบ.ตร.
ก็ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
เมื่อวันที่ 7 ต.ค.2551” แหล่งข่าวด้านความมั่นคง กล่าวและว่า
การดำเนินการใช้
พ.ร.บ.ความมั่นคงฯจะไม่แตกต่างเมื่อครั้งรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
เป็นนายกรัฐมนตรี โดยจะมีการดำเนินการเป็นขั้นตอน
คือหากสถานการณ์ยังอยู่ในขั้นที่ควบคุมได้
ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะใช้กฎหมายปกติในการดูแลความสงบเรียบร้อย
หากสถานการณ์ถึงขั้นที่ส่อว่าจะมีความรุนแรงจะเข้าสู่การใช้
พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ โดยม.15
ครม.จะมีมติมอบหมายให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
(กอ.รมน.) เป็นผู้รับผิดชอบในการป้องกันปราบปราม ระงับ ยับยั้ง
และแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรภายใน
พื้นที่และระยะเวลาที่กำหนดได้ ม.16
ให้ครม.แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งใดในกอ.รมน.เป็นเจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้า
หน้าที่ตามกฎหมายนั้น
หรือมีมติให้หน่วยงานของรัฐนั้นมอบอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามกฎหมายใน
เรื่องดังกล่าว ให้ กอ.รมน.
ดำเนินการแทนหรือมีอำนาจดำเนินการด้วยภายในพื้นที่และระยะเวลาที่กำหนด
ซึ่งคาดว่าจะเป็นผบ.ตร. ดำเนินการออกประกาศในรายละเอียดต่อไป และม.18
เพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง
และแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ภายในให้ผู้อำนวยการโดยความเห็นชอบของครม.มี
อำนาจออกข้อกำหนด |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น