|
มีความเคลื่อนไหวหนึ่งที่น่าสนใจมากและควรจะ
กล่าวถึง
นั่นคือกรณีที่ศาลอาญาระหว่างประเทศกำลังเตรียมตัวที่จะเข้าพบกับรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยในเร็ววันนี้ ทั้งนี้
เรื่องนี้ถือเป็นความคืบหน้าที่สำคัญไม่น้อย
และรัฐบาลไทยมีแนวโน้มในการลงนามรับรองเขตอำนาจศาลโลก
คดีที่จะเกี่ยวข้องกับศาลโลกได้น่าจะมี 3-4 ประการคือ 1.อาชญากรสงคราม
2.การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์ 3.คดีที่ผิดหลักสิทธิมนุษยชน และ
4.เป็นการใช้อำนาจที่ไม่คำนึงถึงกฎหมาย
กรณีเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับข้อที่ 1, 2 และ 3 แต่น่าจะเกี่ยวข้องกับข้อที่ 4 ได้
ขยายความเพิ่มเติมคือ
ผู้มีอำนาจในช่วงเวลาดังกล่าวได้ใช้อำนาจอย่างสุดเหวี่ยงโดยไม่คำนึงถึงความ
ถูกต้องของกฎหมายบ้านเมืองในขณะนั้น
กอปรทั้งระบบยุติธรรมของไทยไม่อาจจะเอื้อมมือมาแตะต้องเพื่อความถูกผิดได้
พูดง่ายๆคือ ระบบในประเทศไทยจัดการกับการใช้อำนาจดังกล่าวไม่ได้
จึงต้องเลยเถิดมาถึงเรื่องศาลอาญาระหว่างประเทศที่จะต้องยื่นมือมาเกี่ยวข้อง
แต่เนื่องจากประเทศไทยยังไม่ได้ลงนามเป็นภาคีกับศาลโลก
แม้ว่าศาลโลกยังไม่สนใจจะสลายการชุมนุมในคดีดังกล่าวที่มีการเสียชีวิต 98
ศพ เมื่อปี 2553
จึงมีความจำเป็นที่รัฐบาลไทยจะต้องยอมรับเขตอำนาจของศาลโลกเสียก่อนในเบื้อง
ต้น ประเด็นนี้เป็นที่ถกเถียงอยู่เหมือนกัน
ฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์คงจะต้านสุดเหวี่ยงอย่างแน่นอนเพื่อไม่ให้มีการลงนาม
รับรองเขตอำนาจของศาลโลก
เพราะถ้ามีการลงนามดังกล่าวแล้วคงจะหมายความได้ว่ามีความเป็นไปได้ที่ทั้ง
นายสุเทพและนายอภิสิทธิ์จะต้องกลายเป็นผู้ต้องหาศาลอาญาระหว่างประเทศสำหรับ
คดีการสลายการชุมนุม
แต่เรื่องนี้คงไม่จำเป็นที่จะต้องเข้าไปขอความเห็นจากรัฐสภาตามรัฐ
ธรรมนูญ มาตรา 190
เนื่องจากศาลโลกได้ศึกษากฎหมายในเมืองไทยอย่างถ่องแท้มาแล้ว
อีกทั้งยังมีกรณีตัวอย่างว่า
สำหรับบางประเทศนั้นมีการลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศเพียงผู้เดียวในการลง
นามรับเขตอำนาจของศาลโลกก็ยังกระทำมาได้
ในกรณีนี้จึงมีความเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะมีการลงนามโดยนายสุรพงษ์
โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ในการให้ข้อสังเกตของ ดร.จารุพรรณ กุลดิลก ส.ส.บัญชีรายชื่อ
พรรคเพื่อไทย
เห็นว่าศาลอาญาระหว่างประเทศนั้นให้ความสนใจเรื่องสัญชาติอังกฤษของนาย
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อยู่พอสมควร
ในความเห็นของผู้รู้อีกหลายคนมีความเห็นว่า
ประเทศไทยสามารถที่จะลงนามรับรองเขตอำนาจศาลโลกได้เฉพาะกรณี
คือเป็นเฉพาะกรณีสลายการชุมนุม ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่นายสุรพงษ์
โตวิจักษณ์ชัยกุล อาจจะลงนามในเร็วๆนี้
ถ้าการลงนามเสร็จสิ้นเรียบร้อยศาลโลกอาจจะเริ่มต้นหาข้อมูลเพื่อศึกษา
วิเคราะห์ กล่าวคือเป็นการรวบรวมข้อเท็จจริงในเบื้องต้นเสียก่อน
ถ้าข้อมูลมีความน่าสนใจก็จะศึกษาลึกต่อไปแล้วแจ้งกลับมายังประเทศไทย
ประเด็นนี้จึงน่าสนใจตรงที่ว่ามีความเป็นไปได้สูงที่นายอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ
อาจจะต้องกลายเป็นผู้ต้องหาในศาลอาญาระหว่างประเทศถ้าการลงนามรับรองเขต
อำนาจศาลเป็นที่เรียบร้อย
หากเราเชื่อมโยงจากกรณีดังกล่าวนี้เข้ากับม็อบชุมนุมของ
เสธ.อ้ายที่จะระดมกำลังมาชุมนุมเป็นรอบ 2
มีการประกาศเป้าหมายขั้นสูงที่จำนวนผู้ชุมนุมระดับ 1 ล้านคน
เพื่อจะได้โค่นล้มรัฐบาล!
ความสอดคล้องของ 2 กรณีนี้จะสัมพันธ์กันหรือไม่?
มีความเป็นไปได้ว่าเพราะเกรงจะต้องเป็นจำเลยในศาลโลก
จึงต้องมีการเร่งรีบโค่นล้มรัฐบาลด้วยระบบศาลเตี้ยของม็อบกลุ่มองค์กร
พิทักษ์สยาม
อาจจะคาดหวังว่าต้องใช้ศาลเตี้ยมาขวางกั้นเสียก่อนจึงจะทำให้รัฐบาลนี้อยู่
ไม่ได้ และจะต้องไม่มีความเกี่ยวข้องของศาลโลกเกิดขึ้น
น่าพิจารณาว่าระหว่างศาลเตี้ยกับศาลโลกนั้น ปูกับมาร์คใครจะต้องขึ้นศาลไหนก่อนกัน? |
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น