新正如意 新年发财 (ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาไฉ)
คิดหวังสิ่งใดขอให้สมหวังสมปรารถนาในปีใหม่นี้ มีแต่ความสุขมั่งคั่ง
โชคดีร่ำรวยตลอดปี
新年快樂 (ซินเหนียนไคว้เล่อ) … ขอให้มีความสุขในวันปีใหม่
恭贺新年 (กงเฮ่อซินเหนียน) … สุขสันต์วันปีใหม่
恭贺新禧 (กงเฮ่อซินสี่) … สุขสันต์วันปีใหม่
恭喜发财 (กงซีฟาไฉ) … ขอให้ร่ำรวย
日进斗金 (ยื่อจิ้นโต้วจิน) … ขอให้ชัยชนะ และเงินทองเข้ามาทุก ๆ วัน
大吉大利 (ต้าจี๋ต้าลี่) … ค้าขายได้กำไร
招财进宝 (เจาไฉจิ้นเป่า) … เงินทองไหลมาเทมา ทรัพย์สมบัติไหลเข้าบ้าน
金玉满堂 (จินอวี้หม่านถัง) … ร่ำรวยเงินทอง ทองหยกเต็มบ้าน
日日有见财 (ยื่อยื่อโหย่วเจี้ยนไฉ) … ทุกวันมีแต่ความร่ำรวย
黄金万两 (หวงจินว่านเหลี่ยง) … ทองคำมากล้นทวีคูณ (ค้าขายให้มีกำไร ทรัพย์สินเงินทองมากมาย)
年年大赚钱 (เหนียนเหนียนต้าจ้วนเฉียน) … ปีนี้ร่ำรวยมหาศาล
财源广进 (ไฉหยวนกว่างจิ้น) … เงินทองไหลมาเทมา
年年有余 (เหนียนเหนียนโหย่วอวี๋) … เหลือกินเหลือใช้ทุกปี
一本万利 (อี้เปิ่นว่านลี่) … กำไรมากมาย
祝你顺利 (จู้หนี่ซุ่นลี่) … ขอให้คุณประสบความสำเร็จ
祝您步步高升 ! (จู้หนินปู้ปู้เกาเซิง) … ขอให้ท่านเจริญก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป
福禄双全 (ฝูลวี่ซวงฉวน) … เป็นศิริมงคล ด้วยเงินทองและวาสนา
事业发达 (ซื่อเย่ฟาต๋า) … กิจการเจริญรุ่งเรือง
福寿万万年 (ฝูโซ่วว่านว่านเหนียน) … อายุยืนหมื่น ๆ ปี
龙马精神 (หลงหม่าจินเสิน) … สุขภาพแข็งแรง
四季平安 (ซื่อจี้ผิงอัน) … ปลอดภัยตลอดปี
祝你长寿 (จู้หนี่ฉางโส่ว) … ขอให้คุณอายุยืนยาว
祝你健康 (จู้หนี่เจี้ยนคัง) … ขอให้คุณมีสุขภาพแข็งแรง
身体健康 (เซินถีเจี้ยนคัง) … สุขภาพแข็งแรงคำอวยพรเกี่ยวกับเรื่องความสมปรารถนา
万事如意 (ว่านซื่อหรูอี้) … ทุกเรื่องสมปรารถนา
家好运气 (เจียห่าวยวิ่นชี่) …ความโชคดีเข้าบ้าน
事事顺利 (ซื่อซื่อซุ่นลี่) … ราบรื่นในทุก ๆ เรื่อง
吉祥如意 (จี๋เสียงหรูอี้) … เป็นสิริมงคลสมดังปรารถนา
好运年年 (ห่าวยวิ่นเหนียนเหนียน) …โชคดีตลอดไป
一帆风顺 (อี้ฝานเฟิงซุ่น) … ทุกอย่างราบรื่น
幸福如意 (ซิ่งฝูหรูอี้) … มีความสุขสมปรารถนา
วันตรุษจีน เป็นวันขึ้นปีใหม่ของจีนนั้น เป็นวันที่ 1 เดือน 1 ของจีนตามวันทาง จันทรคติ ถือเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ของปี
และเป็นวันแรกของฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งจีนจะแบ่งเวลา 1 ปี เป็น 4 ฤดูคือ ชุง แห่ ชิว ตัง
วันตรุษจีนจะเป็นวันแรกของฤดูชุง หรือฤดูใบไม้ผลิ ตรงกับเดือนที่ 1,2,3
ของปีเป็นช่วงเวลาที่อากาศดีที่สุด คือ ไม่ร้อน ไม่หนาว และไม่มีฝน
วันตรุษจีนจึงมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ” วันชุงเจ๋” เนื่องจากประเทศจีนเป็นประเทศเกษตรกรรมมาแต่ โบราณ
เมื่อหมดหน้าหนาวที่ทำการเพาะปลูกไม่ได้ มาเข้าฤดูใบไม้ผลิที่อากาศดี
จะได้เริ่มต้นทำนา ทำสวน
จึงมีการบวงสรวงต่อเทพยดา เซ่นไหว้บรรพบุรุษ
อธิษฐานให้ได้พืชผลอุดมสมบูรณ์ ให้กิจการงานก้าวหน้า
ตรงนี้น่าจะเป็นที่มาของตำนานการไหว้เจ้าในวันตรุษจีน ที่เรียกว่า “ง่วงตั้งโจ่ย”
แต่เนื่องจากธรรมเนียม การไหว้วันตรุษจีนจะต่อเนื่องกันมาจากวันไหว้สิ้นปี
และมีธรรมเนียม การทำความสะอาดบ้านก่อนหน้าอีกด้วย
จึงขออธิบายเป็นเรื่องสืบเนื่องต่อกันว่า การดูวันทางจีนจะเป็นแบบจันทรคติ
บางเดือนมี 29 วัน เรียกว่าเดือนสั้น หรือบางเดือนมี 30 วัน
เรียกว่าเดือนยาว ทำให้ เดือน 12 ของแต่ละปี บางครั้งก็มี 29 วัน บางปีก็มี 30 วัน
แต่คนไทยจะติดเป็นความเคยชินว่า วันสิ้นปีจะเป็น วันที่ 31
แต่ของวันจีนจะไม่ใช่ ตรงนี้ต้องระวัง พอใกล้ ๆ จะถึงสิ้นปี
ชาวจีนจะนิยมทำความสะอาดบ้านครั้งใหญ่ เรียกว่า ล้างบ้านพานหยากไย่กันแทบทุกซอกมุม
ครั้นพอถึงช่วงเทศกาล จะมีการหยุดงาน หยุดกิจการค้า
เพื่อทำพิธีไหว้เจ้าที่ ต้องไหว้ 2 วันซ้อน
ซึ่งมีไหว้กลางดึกด้วยนอกจากนี้ก็จะได้ใช้เวลาในช่วงนี้ไปเยี่ยมคารวะผู้ใหญ่ญาติมิตรที่เคารพนับถือและเที่ยว
พักผ่อน จึงมีสำนวน “วันจ่าย วันไหว้ วันถือ” ให้ลูกไทยแท้สงสัยว่า วันไหนคือวันไหน
วันจ่าย ตรุษจีน คือ วันก่อนสิ้นปี 1 วัน
ใครจะต้องซื้อหาเตรียมของอะไรแล้วยังไม่เรียบร้อย ก็ให้ทำ
ให้เสร็จในวันจ่ายก่อนที่ร้านค้าจะหยุดยาว ซึ่งในวันนี้รถจะติดยาวในย่านเยาวราช
เพราะเป็นแหล่งที่ชาวจีนนิยมไปซื้อของไหว้และของใช้อื่น ๆ
วันไหว้ ตรุษจีน คือ การไหว้ในวันสิ้นปี
จะเป็นการไหว้เจ้าที่ในตอนเช้า ตามด้วยการไหว้บรรพบุรุษ ในตอนสาย
แล้วไหว้ผีไม่มีญาติในตอนบ่าย ซึ่งการไหว้ผีไม่มีญาตินี้ บางบ้านก็ไม่นิยมไหว้
เช่น ที่บ้านผู้เขียนเอง อาม้าจะไม่ไหว้ผีไม่มีญาติ
วันถือ คือ วันตรุษจีน โดยถือกันว่าในวันนี้ทุกคนจะพูดและทำแต่สิ่งที่เป็นมงคล
เช่น ไม่มีการพูดว่ากัน แต่จะกล่าวคำอวย พร”ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดใช้”
แปลเป็นไทยคือ ขอให้โชคดีปีใหม่นั่นเอง การถืออื่น ๆ
ที่นิยมว่าถือกัน เช่น ห้ามจับไม้กวาดกวาดบ้าน เพราะอาจเป็นการกวาดสิ่งดีๆ
ในบ้านออกไปแล้วกวาดสิ่งไม่ดี เข้ามา
วันถือนี้ บางคนก็เรียกวันเที่ยว ซึ่งคงมาจากธรรมเนียมการแต๊ะเอีย
ที่พอลูกหลานและลูกจ้างได้เงินแต๊ะเอีย ที่เปรียบได้กับ โบนัสพิเศษ ก็ไปเที่ยวกัน
การไหว้วันตรุษจีน เรียกว่า การไหว้วันชิวอิด สำหรับผู้ที่เคร่งธรรมเนียมมาก ๆ จะไหว้
ตามฤกษ์ยามที่ต้องคอยอ่านจาก “แหล่ยิกเท้า” ว่าจะต้องไหว้ “ไช้ซิ้งเอี๊ย” หรือเทพเจ้าแห่งโชคลาภในเวลาอะไร
และตั้งโต๊ะไหว้อย่างไร แต่ในปัจจุบัน ก็อนุโลมถือตามความสะดวก อาจไหว้ตอนรุ่งเช้า
ตอนสาย หรือบางธรรมเนียมไหว้ตอนบ่ายก็ได้
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น