หลังจากที่เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ศาลแพ่งพิพากษา ให้ บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด(มหาชน)ชำระค่าสินไหมทดแทนเกือบ 2 พันล้านให้กับบริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด หรือ ห้างเซน และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ตามสัญญาประกันวินาศภัย และสัญญาประกันภัยธุรกิจหยุดชะงักจากกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ที่ห้างสรรพสินค้า เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 53 และ กว่า 3 พันล้าน ให้กับกองทุนรวมธุรกิจไทย 4 และบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด โดยศาลพิเคราะห์ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ได้เป็นการกระทำจากเหตุก่อการร้าย
อย่างไรก็ตามสำหรับคดีเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์ในศาลอาญานั้น มีจำเลย 4 คน แบ่งเป็น เยาวชน 2 คนซึ่งได้รับการประกันตัวและต่อมาศาลเยาวชนได้พิพากษายกฟ้องไปเมื่อ 12 ธ.ค. 55 (อ่านที่ศาลยกฟ้อง 2 เยาวชน จำเลยคดีเผาเซ็นทรัลเวิลด์ เจ้าตัววอนเยียวยา "เรียนและงาน") ส่วนอีก 2 คนเป็นผู้ใหญ่ คือ สายชล แพบัว และ พินิจ จันทร์ณรงค์ ซึ่งทั้งคู่ไม่ได้รับสิทธิการประกันตัว และถูกคุมขังในเรือนจำมาเกือบ 3 ปีแล้วนั้น ปัจจุบันกระบวนการพิจารณาคดีได้แล้ว
เสร็จแล้ว และศาลได้นัดพิพากษา ในวันพรุ่งนี้(25 มี.ค.)
ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ห้องพิจารณาคดี 405 โดยในส่วนของพินิจนั้น
เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.54 ศาลได้พิพากษายกฟ้องข้อหาใช้อาวุธปืนยิง ต่อสู้ ขัดขวางเจ้าหน้า รวมกับจำเลยอีก 6 คนไปแล้วในเหตุการณ์เดียวกัน โดยศาลระบุว่าแม้จะสามารถตรวจยึดกระสุนได้ภายในห้าง แต่ไม่พบอาวุธที่ตัวจำเลย และเจ้าพนักงานก็ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าอาวุธดังกล่าวเป็นของจำเลย อีกทั้งไม่มีการนำสืบว่าจำเลยเป็นผู้ใช้อาวุธต่อสู้ขัดขวางการทำงานของเจ้า พนักงาน
ก่อนจะทราบคำพิพากษา ประชาไทได้รวบรวม 10 ข้อสังเกตจากพยานหลักฐานที่ได้จากการสังเกตการณ์คดีและรายงานข่าวการพิจารณาคดี ดังนี้
1. พยานยัน ‘สายชล’ ไม่ใช่คนในภาพที่ใช้ดำเนินคดี
ภาพซ้าย : ภาพที่ รปภ.ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ มอบให้พนักงานสอบสวนและถูกนำมาใช้เป็นหลักฐานในการจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ เชื่อว่าภาพชายชุดดำดังกล่าวคือจำเลยที่ 1 ในที่เกิดเหตุ
ภาพขวา : นายสายชล จำเลยที่ 1 ขณะถูกนำตัวมาแถลงข่าวหลังถูกจับกุม เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.53 ภาพจากเว็บไซต์มติชน
พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ อายุ 61 ปี แกนนำนปช.จังหวัดชุมพร ปัจจุบันเป็นข้าราชการการเมืองประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้เป็นนายจ้างนายสายชลจำเลยที่ 1 ที่จ้างให้ขายของที่ร้าน ชั้น 4 ห้างอิมพีเรียลเวิลด์ ลาดพร้าว เบิกความเมื่อวันที่ 28 ม.ค.ที่ผ่านมา หลังทนายจำเลยได้นำภาพที่ใช้เป็นหลักฐานในการจับกุมและดำเนินคดีกับนายสายชล จำเลยที่ 1 (ดูภาพซ้ายประกอบ)ให้ พ.ต.ต.เสงี่ยม พิจารณาดูว่าเป็นนายสายชลหรือไม่นั้น พ.ต.ต.เสงี่ยม ได้ยืนยันต่อศาลว่าไม่ใช่ หลังจากนั้นทนายได้นำภาพที่นายสายชลขณะถูกนำตัวมาแถลงข่าวหลังถูกจับกุม เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.53 (ดูภาพขวาประกอบ) พ.ต.ต.เสงี่ยม ได้ยืนยันต่อศาลว่าคนในภาพนี่คือนายสายชล
เช่นเดียวกับนายสายชลที่เบิกความก่อนหน้า(21 ม.ค.)ยืนยันตนเองไม่ใช่คนในภาพ
ด้าน ร.ต.อ.ปิยะ รักสกุล พนักงานสอบสวน กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ผู้รับผิดชอบคดีดังกล่าว ได้เบิกความในคดีนี้เมื่อวันที่ 21 ส.ค.55 ได้เบิกจากการทนายจำเลยได้นำภาพ 2 ภาพดังกล่าวมาเทียบเปรียบเทียบให้ ร.ต.อ.ปิยะ พิจารณา โดย ร.ต.อ.ปิยะ เบิกความว่า ภาพดังกล่าวไม่ชัด จึงไม่สามารถยืนยันด้วยตาว่าใช่หรือไม่ใช่
2. ภาพที่ใช้ดำเนินคดีจำเลยไม่มีรอยสักที่แขน รปภ.ยันเห็นรอยสัก
ภาพชายชุดดำขวามีเป็นภาพที่ใช้ดำเนินคดีสายชล ไม่พบรอยสักที่แขนขวา ขณะที่ภาพซ้ายเป็นภาพขณะถูกนำตัวมาแถลงข่าว พบรอยสักที่แขนขวา
ระหว่างเบิกความปาก นายสายชล จำเลยที่ 1 นั้น ทนายจำเลยได้มีการฉายภาพที่ใช้ในการดำเนินคดีบนจอโปรเจ็คเตอร์เพื่อให้ศาลและนายสายชลพิจารณา ซึ่งนายสายชลก็ยังยืนยันว่าไม่ใช่คนในภาพ รวมทั้งขอให้นายสายชลลองยืนในท่าเดียวกับคนในภาพเพื่อเปรียบเทียบรอยสักที่แขนขวา ซึ่งบุคคลในภาพดังกล่าวก็ไม่ปรากฏรอยสักแต่อย่างใด แต่ที่แขนนายสายชลจะปรากฏเห็นรอยสัก
เช่น
เดียวกับ ร.ต.อ.ปิยะ รักสกุล พนักงานสอบสวน กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)
ผู้รับผิดชอบคดีดังกล่าว ได้เบิกความในคดีนี้เมื่อวันที่ 21 ส.ค.55 ได้เบิกความตอนหนึ่งหลังจากที่ทนายจำเลยที่ 1 ได้ให้ดูจังหวะที่มีชายถือวัตถุสีเขียว(ถังดับเพลิง) โดย ร.ต.อ.ปิยะ ยืนยันว่าชายคนดังกล่าวว่าไม่พบรอยสักที่แขนขวา รวมถึงหลังมือบุคคลในรูปด้วย
จากนั้นทนายจำเลยที่ 1 จึงได้นำตัวจำเลยที่ 1 ซึ่งถูกควบคุมตัวและมาร่วมฟังการพิจารณาคดีนี้มาแสดงแขนขวาให้ ร.ต.อ.ปิยะ ได้พิจารณาดูรอยสัก ซึ่งพยานได้เบิกความต่อศาลว่าจำ
เลยที่ 1 มีรอยสักที่ไหล่ ท้องแขนด้านหน้า และหลังมือ
ส่วนด้านหลังแขนไม่มี ผู้พิพากษาได้สอบถามจำเลยว่า
รอยสักดังกล่าวสักนานหรือยัง จำเลยที่1 ตอบว่า สักตั้งแต่เด็กๆ
แต่
อย่างไรก็ตาม นายรัชพล เจริญสุข เจ้าหน้าที่ชุดรปภ.ของ CTW
ผู้ถ่ายภาพในวันเกิดเหตุ เบิกความเมื่อวันที่ 2 ส.ค.54 ว่า
จำหน้าจำเลยได้เพราะหลังเกิดเหตุการณ์ได้กลับไปดูไฟล์ภาพของตนเองอีกครั้ง จำได้ว่าภาพที่เห็นลายสักที่แขนบุคคลดังกล่าว แต่ภาพที่นำสืบในศาลไม่สามารถเห็นรายละเอียดใดๆ ได้ และไม่ทราบว่าเหตุใดเจ้าหน้าที่จึงเลือกภาพดังกล่าวนำส่งศาล เพราะเพียงนำสำเนาไฟล์รูปถ่ายทั้งหมดส่งให้กับหัวหน้าไปเท่านั้น ทั้งนี้ ใช้กล้องส่วนตัวในการถ่ายภาพดังกล่าว ยี่ห้อแคนนอน รุ่น 30D เลนส์ฟิก 50 มม. ไม่สามารถซูมได้
3. ไม่ถูกแจ้งข้อหานี้ทันที แต่เพิ่มเติมทีหลัง
ในการเบิกความของ ร.ต.อ.ปิยะ รักสกุล อัยการได้ซักว่าทำไมดีเอสไอถึงไม่ทำคดีนี้แต่แรก ร.ต.อ.ปิยะ เบิกความต่อศาลว่า โดยหลักการรับคดี เมื่อเหตุเกิด พนักงานสอบสวนในท้องที่จะรับเรื่องและหากพิจารณาแล้วว่าคดีดังกล่าวเป็นคดีพิเศษก็จะส่งสำนวนมาให้ดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษ ส่วนคดีนี้เป็นคดีพิเศษตามมติของคณะกรรมการคดีพิเศษในการประชุมที่ 3/2553 ลงวันที่ 16 เม.ย. 53 และตามคำสั่งนายกฯ ขณะนั้นได้ให้พนักงานสอบสวนในท้องที่ร่วมเป็นทีมสอบสวนคดีพิเศษด้วย
จากการสอบสวนจำเลยที่ 1 พนักงานสอบสวน สน.ปทุมวันได้มีการจับตัวมาดำเนินคดี โดยมีพนักงานรักษาความปลอดภัยของห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ชี้ตัวยืนยันว่าเป็นผู้กระทำความผิด ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ให้การปฏิเสธ แต่ไม่ได้อ้างพยานหลักฐานแก้ข้อก
ล่าวหาในชั้นสอบสวน จึงทำให้มีความเห็นส่งฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 2
ได้ถูกจับกุมในคดีปล้นทรัพย์ ในวันและที่เกิดเหตุเดียวกัน
โดยมีพนักงานรักษาความปลอดภัยของห้างเซ็นทรัลเวิลด์ได้ชี้รูปถ่าย พนักงานสอบสนของ สน.ปทุมวัน จึงแจ้งข้อหาดำเนินคดี ซึ่งจำเลยได้ให้การปฏิเสธ แต่ก็ไม่ได้อ้างพยานหลักฐานแก้ข้อกล่าวหาเช่นกัน ดังนั้นพนักงานสอบสวนจึงมีความเห็นส่งฟ้อง
4. ภาพไม่สามารถระบุตำหนิรูปพรรณได้ชัด จึงไม่ขอหมายจับคนอื่น
อัยการได้นำภาพถ่ายกลุ่มบุคคลที่เจ้าพนักงานอ้างว่าเป็นจำเลยทั้ง 2 รวมถึงอีก 5 คนที่ออกหมายจับไปแล้วแต่ยังจับไม่ได้ และยังมีบุคคลอื่นๆ รวมอยู่ด้วย โดยได้สอบถามถึงการดำเนินคดีกับคนอื่นๆในรูป ร.ต.อ.ปิยะ รักสกุล เบิกความว่า เนื่องจากคนอื่นๆในภาพไม่สามารถระบุตำหนิรูปพรรณได้ชัดเจนว่าเป็นใคร ดังนั้นแม้ส่งไปขอหมายจับต่อศาลก็มีความเป็นไปได้สูงที่ศาลจะไม่อนุมัติ จึงไม่ได้มีการขอหมายจับ
5. ถังดับเพลิงที่ชายในภาพถือ ไม่ใช่ถังแก๊ส
ภาพชายชุดำกำลังถือถังสีเขียวที่ใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีกับนายสายชล
พ.ต.ท.ชุมพล บุญประยูร อายุ 72 ปี พนักงานราชการ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย,เลขาธิการสมาคมอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยแห่งประเทศไทยและที่ปรึกษาด้านอัคคีภัยกลุ่มบริษัทเซ็นทรัลพัฒนามากว่า 20 ปีในฐานะผู้ควบคุมการดับเพลิงในเซ็นทรัลเวิลด์ เข้าเบิกความในคดีเมื่อวันที่ 28 ม.ค.ที่ผ่านมาเบิกความตอนหนึ่งหลังทนายจำเลยได้นำภาพถ่ายที่ถูกนำมาใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีกับนายสายชล ซึ่งเป็นรูปชายชุดดำกำลังถือถังสีเขียวว่า ภาพดังกล่าวถ่ายในบริเวณห้าง ส่วนถังสีเขียวในรูปเป็นถังดับเพลิง ซึ่งในตัวห้างก็มีถังในลักษณะนี้อยู่ ยืนยันว่าไม่ใช่ถังแก๊ส แต่เป็นถังดับเพลิง และเครื่องดับเพลิงไม่สามารถใช้เป็นอุปกรณ์ในการวางเพลิงได้
6. ไม่มีการตรวจลายนิ้วมือแฝงของกลาง
ร.ต.อ.ปิยะ รักสกุล เข้าเบิกความเมื่อวันที่ 21 ส.ค.55 ระบุว่า ถังแก๊สหุงต้ม 7 ใบที่เป็นวัตถุพยานของกลางรวมถึงวัตถุพยานอื่นๆ ที่ตรวจพบในที่เกิดเหตุนั้นไม่มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นของจำเลยทั้ง 2 และไม่มีการตรวจลายมือแฝงของจำเลยกับวัตถุพยานของกลางดังกล่าว โดยขณะนี้เก็บไว้ที่ สน.ปทุมวัน
ร.ต.อ.ปิยะ เบิกความด้วยว่าไม่สามารถระบุได้ว่าขวดเครื่องดื่มชูกำลังบรรจุน้ำมันที่เป็นวัตถุพยานนั้นเป็นของใคร
7. จำเลยอ่านหนังสือไม่ออก ไม่มีทนายหรือญาติอยู่ตอนจับกุม
นายสายชล จำเลยที่ 1 เบิกความด้วยว่า ในวันแถลงข่าวตนก็ยังไม่ได้พบญาติหรือทนาย และในตอนจับกุมและแถลงข่าว เจ้าหน้าที่แจ้งข้อหาเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์อย่างเดียว โดยไม่ได้บอกว่าร่วมกับใครเผา ก่อนหน้าที่จะโดนจับตนไม่เคยเห็นหรือรู้จักจำเลยที่ 2 หรือนายพินิจ แต่อย่างใด โดยพบครั้งแรกในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ตอนที่ดีเอสไอหรือกรมสอบสวนคดีพิเศษมาสอบปากคำ ทนายจำเลยถามด้วยว่าเมื่อเอกสารคำให้การเป็นตัวหนังสือทั้งหมด ตัวนายสายชลอ่านไม่ออก ดังนั้นข้อเท็จจริงนายสายชลจะให้การตามคำเบิกความในศาลนี้ใช่หรือไม่ นายสายชลจึงยืนยันต่อศาลว่าใช้ข้อเท็จจริงตามที่เบิกความในศาล
8. ‘พินิจ’ เป็นเพียงพวกที่หลบอยู่ในห้างไม่มีอาวุธ ไม่สามารถวางเพลิงได้
ใน
การเบิกความของ พ.ต.ท.ชุมพล บุญประยูร ทนายได้นำภาพผู้ถูกจับกุม 9
คนซึ่งถูกตำรวจจับกุมตัวในห้างฯ โดยนำมาจากหนังสือ “ความลับหลังฉาก
เผาเซ็นทรัลเวิลด์” หน้า 27 ซึ่ง 1 ในนั้นมีจำเลยที่ 2 (พินิจ)
รวมอยู่ด้วยให้ พ.ต.ท.ชุมพล จากนั้น พ.ต.ท.ชุมพล ได้ยืนยันต่อศาลว่า 9
คนนี้เป็นพวกที่หลบอยู่ในห้างไม่มีอาวุธและไม่ใช่กลุ่มคนที่มีอาวุธที่มีประมาณ 7-8 คน แต่งกายคล้ายทหารและมีอาวุธด้วยเข้ามาทางด้านห้างเซ็นทรัลเวิลด์ โดยเขาได้รับการยืนยันจากหัวหน้า รปภ.ที่อยู่ในที่เกิดเหตุด้วย
พ.ต.ท.ชุมพลเบิกความว่าเมื่อพิจารณาจากปัจจัยหลายๆ อย่าง ทั้งระบบการป้องกันอัคคีภัยและรายงานจากทีมดับเพลิงในที่เกิดเหตุเห็นว่า ผู้ถูกจับกุมทั้ง 9 คนที่ถูกจับในห้างนั้นไม่มีความสามารถในการวางเพลิงได้
ภาพ 9 คน(พินิจ เสื้อเขียว)ที่ถูกตำรวจจับกุมตัวในห้างฯจากหนังสือ “ความลับหลังฉาก เผาเซ็นทรัลเวิลด์” หน้า 27
9. กลุ่มก่อการที่ “ขนาดตำรจวจยังหนี” + ทหารควบคุมพื้นที่หมด
พ.ต.ท.ชุมพล เบิกความถึงพื้นที่รอบที่เกิดเหตุว่า ถูกควบคุมโดยกองกำลังของทหารทั้งหมด แม้กระทั่งตอนออกจากห้างในช่วงเย็นทางด้านหลังห้างพารากอนก็มีทหารควบคุมพื้นที่อยู่ รถพยาบาลหรือ รปภ. วิ่งออกมาจากพื้นที่ก็ยังต้องผ่านด่านทหาร ทนายได้ถามด้วยว่าหลังสลายการชุมนุมของ นปช. บริเวณห้างและรอบๆ นั้น จากที่พยานได้รับรายงานและประสานงานนั้นเป็นหน่วยไหนที่ควบคุมพื้นที่ พ.ต.ท.ชุมพล เบิกความว่าเป็นเจ้าหน้าที่ทหารของ ศอฉ.
“ทีมงานเราอยู่ภายในถ้าไม่ไล่เรา
ออกไป มันเรื่องเล็กสำหรับไฟขนาดนั้น ในอาคารมีอุปกรณ์พร้อม
น้ำในห้างก็มีจำนวนมหาศาลทั้ง 3 อาคารเชื่อมต่อกัน
ระบบแรงดันน้ำภายในห้างก็ใช้ได้ ถ้าไม่ไล่เราออกไม่มีทางจะไหม้
ส่วนคนที่ไล่เราออกไปนั้นคือกลุ่มคนที่มีอาวุธ มีการโยนระเบิด ขนาดตำรวจยังต้องหนี” ที่ปรึกษาฯ กล่าว
เขาเบิกความต่อว่า เมื่อออกไปแล้วก็กลับเข้ามายากมากเพราะต้องติดด่านที่ทหารตั้งอยู่ ตั้งแต่ด่านตรงเพชรบุรี สะพานหัวช้าง และถนนพระราม 1 ก็ไม่ให้เข้า เลยต้องขอเข้าด้านหลังแทน
พ.ต.ท.ชุมพล เบิกความย้ำด้วยว่า “ไม่มีที่ไหนในโลกหรอกที่เขาไม่เคลียร์พื้นที่ให้กับทีมดับเพลิง ตั้งแต่เย็นไม่มีใครเคลียร์พื้นที่ให้ ปล่อยให้มันไหม้ได้อย่างนั้น”
10. จำเลยทั้ง 2 คน ไม่ได้รับสิทธิการประกันตัวในระหว่างการต่อสู้คดี โดยถูกคุมขังในเรือนจำมาเกือบ 3 ปีแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น