วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เปรียบเทียบร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับ"วรชัย"-ร่างพ.ร.บ.ปรองดองฯฉบับ"เฉลิม"

เปรียบเทียบร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับ"วรชัย"-ร่างพ.ร.บ.ปรองดองฯฉบับ"เฉลิม"


แนวทางการเสนอร่างกฎหมายนิรโทษกรรมของขั้วการเมืองฝ่ายพรรคเพื่อไทยและรัฐบาล ที่เป็นประเด็นร้อนขณะนี้ ได้แก่ ร่างของ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแห่งชาติ พ.ศ...ของ นาย วรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย และ ส.ส.อีกกว่า 40 คน โดยร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ มีจุดสำคัญ ที่ระบุไว้ใน มาตรา 3 ของร่างฯดังกล่าวก็คือ การนิรโทษกรรมให้กับมวลชนในทุกกลุ่มการเมือง โดยไม่รวมแกนนำและผู้สั่งการ ซึ่งร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้จะนำเข้าพิจารณาเป็นวาระแรก ในวันที่ 1 ส.ค. ในการเปิดประชุมสภาฯสมัยสามัญทั่วไป 

ขณะที่ ร่างกฎหมายอีกฉบับ ซึ่งเป็นที่จับตาไม่แพ้กันก็คือ ร่าง พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ ที่เสนอโดย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เพื่อผลักดันเข้าสู่สภาฯ สมัยประชุมวิสามัญ ซึ่งร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ประกอบด้วย 5 มาตรา โดยมีเนื้อหาสำคัญในคือ ม.4 ที่ระบุว่า การกระทำใดๆ ที่เกิดจากคำสั่งของคมช.ในวันที่ 19 ก.ย.46 หรือการกระทำของหน่วยงานใด ซึ่งมีผลสืบเนื่องจากการดำเนินการของคมช.ให้ถือว่า เป็นความผิดทางการเมือง และผู้นั้นจึงมิได้เป็นผู้กระทำผิด ซึ่ง ร.ต.อ.เฉลิม ยืนยันภายหลังว่า เนื้อหาในพ.ร.บ.นี้มีผลเฉพาะคดีอาญาเท่านั้น ไม่รวมคดีแพ่ง และไม่ใช่กฎหมายการเงิน ตามที่พรรคประชาธิปัตย์กล่าวหา จึงตัดสินใจตัดเนื้อหาในมาตรา 5 ที่ว่าด้วยการเยียวยาออก ทำให้เหลือเพียง 5 มาตรา จาก 6 มาตรา ล่าสุด ส.ส. พรรคเพื่อไทย 163 คนได้ลงชื่อสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.ปรองดองฉบับของร.ต.อ.เฉลิม และยื่นต่อสภาผู้แทนราษฎรแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น