เมื่อวันพุธที่ 18 มิถุนายน ที่ผ่านมา ศาลในกรุงอังการาของตุรกีได้ตัดสินลงโทษอดีตนายทหาร 2 คน คือ พล.อ.เคนาน เอฟเรน และ พล.อ.อ.ทาร์ซิน ซาหินกายา ซึ่งเป็นผู้ก่อการรัฐประหารเมื่อ พ.ศ.2523 โดยให้จำคุกคลอดชีวิตในข้อหาว่า ก่ออาชญากรรมต่อรัฐ
เคนาน เอฟเรน เป็นอดีตประธานาธิบดีและผู้บัญชาการทหารตุรกีขณะนี้อายุ 96 ปี ส่วน ซาหินกายาเป็นอดีตผู้บัญชาการกองทัพอากาศขณะนี้อายุ 89 ปี ทั้งสองถูกนำตัวขึ้นศาลดำเนินคดีมาตั้งแต่ พ.ศ.2555 แต่ทั้งสองไม่สามารถจะมาปรากฎตัวในศาลได้ เพราะสุขภาพไม่เอื้ออำนวย จึงให้การต่อศาลโดยผ่านระบบวีดีทัศน์คอนเฟอเรนซ์จากโรงพยาบาล แม้ว่า ทนายของนายพลทั้งสองจะพยายามอธิบายว่า การก่อการรัฐประหารเป็นไปเพื่อหยุดยั้งความขัดแย้งภายในชาติจากการปะทะกันของขั้วการเมืองสองขั้ว แต่ศาลก็พิจารณาว่าการรัฐประหารนำมาซึ่งการกวาดล้างจับกุมประชาชนจำนวนมาก คนนับแสนคนถูกทรมานในคุก และอีกหลายร้อยคนเสียชีวิตและสูญหาย ซึ่งถือเป็นการก่ออาชญากรรม นายพลทั้งสองจึงต้องถูกลงโทษดังกล่าว
ทั้งนี้ ตุรกีเป็นประเทศหนึ่งที่เคยมีจารีตของทหารที่จะก่อรัฐประหารแทรกแซงทางการเมือง ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของตุรกีอาจถือไว้ว่าเริ่มต้นจากการปฏิวัติโค่นสุลต่านออตโตมาน หลังจากที่สุลต่านนำประเทศไปพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ผู้นำการปฏิวัติคือ มุสตาฟา เคมาล ซึ่งได้ประกาศประเทศเป็นสาธารณรัฐเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2466 โดยตัวเขาเองเป็นประธานาธิบดี จากนั้น เคมาลก็ได้ดำเนินการปฏิรูปประเทศ สร้างประเทศตุรกีให้เป็นประเทศสมัยใหม่ ให้เป็นรัฐโลกวิสัย มีการปฏิวัติด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการศึกษา เลิกกฎหมายอิสลาม เปลี่ยนลักษณะการแต่งกายเป็นแบบสากล และให้ความเสมอภาคระหว่างเพศ ปฏิรูปภาษาโดยใช้อักษรแบบโรมัน และวางรากฐานการเมืองแบบรัฐสภา เคมาลถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.2481 และได้รับยกย่องเป็น”อะตาเติร์ก” หรือ “บิดาแห่งชาติตุรกี” แม้ว่าเขาจะปกครองประเทศในระบบพรรคเดียว คือ พรรคราษฎรสาธารณรัฐ
ผู้ที่สืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดี คือ อิสเม็ต อิโนนู ซึ่งนำประเทศตุรกีให้เป็นกลางในสงครามโลกครั้งที่สอง จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2488 เมื่อเห็นว่าฝ่ายเยอรมนีคงแพ้สงครามอย่างแน่นอน ตุรกีก็ประกาศสงครามกับฝ่ายอักษะ เพื่อให้ได้รับสิทธิเข้าเป็นสมาชิกแรกเริ่มของสหประชาชาติ ต่อมา ใน พ.ศ.2489 รัฐบาลของเขาจัดให้มีการเลือกตั้งในระบบหลายพรรค และเขาก็นำพรรคราษฎรสาธารณรัฐไปชนะเลือกตั้ง จนถึง พ.ศ.2492 จึงมีการเลือกตั้งอีกครั้ง ครั้งนี้ พรรคราษฎรสาธารณรัฐแพ้เลือกตั้งให้กับพรรคประชาธิปไตย ดังนั้น อัดนาน เมนเดเรส ผู้นำพรรคประชาธิปไตย จึงรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ ซีลาล บายา รับตำแหน่งประธานาธิบดี
พรรคประชาธิปไตยชนะการเลือกตั้งอีก 2 ครั้ง และบริหารประเทศมาถึง พ.ศ.2503 ก็เกิดการรัฐประหารครั้งแรก ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความล้มเหลวในการบริหารเศรษฐกิจ และทำให้ตุรกีเป็นหนี้ต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ในวันที่ 27 พฤษภาคม นายทหารระดับนายพันของกองทัพตุรกีกลุ่มหนึ่งได้ก่อการยึดอำนาจ โดยอ้างว่าต้องการปราบปราบทุจริตคอรัปชั่น และนำคนดีมาปกครองประเทศ จากนั้น ก็ได้ปลดทหารระดับนายพลออกจากประจำการถึง 235 คน และเชิญ พล.อ.เซมาล กูรเซล ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นคนมือสะอาด มารับตำแหน่งประธานาธิบดี แล้วก็จับอดีตผู้นำของพรรคประชาธิปไตยมาขึ้นศาลในข้อหาทุจริต ทรยศต่อชาติ และละเมิดรัฐธรรมนูญ ศาลได้ตัดสินประหารชีวิตอดีตนายกรัฐมนตรีอัดนาน เมนเดเรส และอดีตรัฐมนตรีอีก 2 คน ใน พ.ศ.2504 จากนั้น คณะทหารก็คืนอำนาจให้มีการเลือกตั้งอีกครั้ง โดยไม่มีพรรคประชาธิปไตยลงแข่งขัน แต่ พล.อ.กูรเซลยังอยู่ในตำแหน่งประธานาธิบดีจนถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.2509
พรรคราษฎรสาธารณรัฐกลับมาชนะเลือกตั้งอีกครั้ง โดยพรรคคู่แข่งสำคัญคือ พรรคหลักยุติธรรม ต่อมาในเลือกตั้ง พ.ศ.2508 พรรคหลักยุติธรรมชนะเลือกตั้งอย่างท่วมท้น สุไลมาน เดมิเรลรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีบริหารประเทศ แต่ไม่อาจแก้ไขปัญหาความตกต่ำทางเศรษฐกิจและความขัดแย้งทางการเมืองได้ ดังนั้น คณะทหารจึงก่อการรัฐประหารครั้งที่สอง ในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ.2514 โดยผู้บัญชาการเหล่าทัพยื่นคำขาดต่อรัฐบาลให้ลาออก คณะทหารจึงตั้งรัฐบาลผสมแห่งชาติเป็นรัฐบาลรักษาการในการบริหารประเทศ ได้มีการประกาศกฎอัยการศึกเพื่อให้ฝ่ายทหารเข้ารักษาสถานการณ์ แต่ความขัดแย้งและความไร้เสถียรภาพทางการเมืองยังคงดำเนินต่อไป
วันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2523 พล.อ.เคนาน เอฟเรน ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ก็นำคณะทหารเข้ายึดอำนาจเป็นครั้งที่สาม โดยอ้างว่าเพื่อจะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง และแก้ปัญหาเศรษฐกิจ คณะทหารได้การประกาศกฎอัยการศึก พล.อ.เอฟเรนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี ส่วน พล.อ.อ.ทาร์ซิน ซาหินกายา เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศและเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคง ได้เป็น 1 ใน 5 ของผู้นำทหารที่ก่อการรัฐประหาร จากนั้น คณะรัฐประหารได้ก่อให้เกิดยุคแห่งอำนาจเถื่อน โดยการกวาดล้างจับกุมประชาชนทั่วประเทศหลายแสนคน มีรายงานว่ามีผู้ถูกดำเนินคดีถึง 230,000 คน และมีการประหารชีวิต 50 คน ผู้ถูกจับกุมจำนวนมากถูกซ้อมและทรมาน มีผู้สูญหายนับหมื่นคน
ภายใน 3 ปีของการปกครองภายใต้อำนาจเผด็จการ คณะทหารได้ประกาศใช้คำสั่งคณะรัฐประหารในการจัดระเบียบสังคม 800 ฉบับ ซึ่งมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมาย จากนั้น ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2524 จึงได้ประกาศตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งใช้เวลาร่าง 15 เดือน จากนั้น คณะทหารก็ได้นำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาให้ประชาชนลงประชามติ ซึ่งได้รับเสียงรับรอง 92 % จากนั้น พล.เคนาน เอฟเรน ก็ตั้งตนเองเป็นประธานาธิบดีมีวาระ 7 ปี แล้วให้มีการเลือกตั้งใน 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2526 โดยห้ามพรรคการเมืองเดิมทั้งหมดลงสมัคร พรรคมาตุภูมิ ที่นำโดยตูรกัต โอซาล ชนะเลือกตั้งและได้ตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ เอฟเรนซึ่งเกษียณจากตำแหน่งทางทหารตั้งแต่ พ.ศ.2526 แต่ยังคงเป็นประธานาธิบดีมาจนถึง พ.ศ.2532 หลังจากนั้น ระบบการเมืองของตุรกีก็ผ่อนคลายสู่ประชาธิปไตยมากขึ้น จนโอกาสที่จะเกิดรัฐประหารไม่น่าจะเป็นไปได้อีกแล้ว
จนถึงขณะนี้ แม้ว่าเวลาจากการรัฐประหารจะผ่านมาแล้วถึง 34 ปี แต่การตัดสินของศาลให้นายพลทั้งสองมีความผิด ก็เป็นการชดเชยความรู้สึกของญาติพี่น้องของผู้สูญเสียจำนวนมากจากเหตุการณ์ และจะเป็นการปิดฉากโดยสมบูรณ์ของการแทรกแซงของทหารตุรกีในทางการเมือง
สำหรับในประเทศไทย ที่มีการรัฐประหารมากกว่าตุรกีหลายเท่า น่าจะถึงเวลาที่กระบวนการยุติธรรมจะต้องนำอดีตนายทหารที่ก่อการรัฐประหารละเมิดรัฐธรรมนูญมาลงโทษเสียบ้าง เผื่อว่าประชาชนไทยจะได้เห็น พล.อ.สุจินดา คราประยูร พล.อ.อ.เกษตร โรจนนิล พล.อ.สนธิ บุณยรัตนกลิน หรือ พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร มาขึ้นศาลดำเนินคดี ซึ่งถ้าเป็นเข่นนั้น การแทรกแซงทางการเมืองของทหารที่ทำลายล้างประชาธิปไตยคงจะหมดไปโดยสมบูรณ์
เคนาน เอฟเรน เป็นอดีตประธานาธิบดีและผู้บัญชาการทหารตุรกีขณะนี้อายุ 96 ปี ส่วน ซาหินกายาเป็นอดีตผู้บัญชาการกองทัพอากาศขณะนี้อายุ 89 ปี ทั้งสองถูกนำตัวขึ้นศาลดำเนินคดีมาตั้งแต่ พ.ศ.2555 แต่ทั้งสองไม่สามารถจะมาปรากฎตัวในศาลได้ เพราะสุขภาพไม่เอื้ออำนวย จึงให้การต่อศาลโดยผ่านระบบวีดีทัศน์คอนเฟอเรนซ์จากโรงพยาบาล แม้ว่า ทนายของนายพลทั้งสองจะพยายามอธิบายว่า การก่อการรัฐประหารเป็นไปเพื่อหยุดยั้งความขัดแย้งภายในชาติจากการปะทะกันของขั้วการเมืองสองขั้ว แต่ศาลก็พิจารณาว่าการรัฐประหารนำมาซึ่งการกวาดล้างจับกุมประชาชนจำนวนมาก คนนับแสนคนถูกทรมานในคุก และอีกหลายร้อยคนเสียชีวิตและสูญหาย ซึ่งถือเป็นการก่ออาชญากรรม นายพลทั้งสองจึงต้องถูกลงโทษดังกล่าว
ทั้งนี้ ตุรกีเป็นประเทศหนึ่งที่เคยมีจารีตของทหารที่จะก่อรัฐประหารแทรกแซงทางการเมือง ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของตุรกีอาจถือไว้ว่าเริ่มต้นจากการปฏิวัติโค่นสุลต่านออตโตมาน หลังจากที่สุลต่านนำประเทศไปพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ผู้นำการปฏิวัติคือ มุสตาฟา เคมาล ซึ่งได้ประกาศประเทศเป็นสาธารณรัฐเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2466 โดยตัวเขาเองเป็นประธานาธิบดี จากนั้น เคมาลก็ได้ดำเนินการปฏิรูปประเทศ สร้างประเทศตุรกีให้เป็นประเทศสมัยใหม่ ให้เป็นรัฐโลกวิสัย มีการปฏิวัติด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการศึกษา เลิกกฎหมายอิสลาม เปลี่ยนลักษณะการแต่งกายเป็นแบบสากล และให้ความเสมอภาคระหว่างเพศ ปฏิรูปภาษาโดยใช้อักษรแบบโรมัน และวางรากฐานการเมืองแบบรัฐสภา เคมาลถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.2481 และได้รับยกย่องเป็น”อะตาเติร์ก” หรือ “บิดาแห่งชาติตุรกี” แม้ว่าเขาจะปกครองประเทศในระบบพรรคเดียว คือ พรรคราษฎรสาธารณรัฐ
ผู้ที่สืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดี คือ อิสเม็ต อิโนนู ซึ่งนำประเทศตุรกีให้เป็นกลางในสงครามโลกครั้งที่สอง จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2488 เมื่อเห็นว่าฝ่ายเยอรมนีคงแพ้สงครามอย่างแน่นอน ตุรกีก็ประกาศสงครามกับฝ่ายอักษะ เพื่อให้ได้รับสิทธิเข้าเป็นสมาชิกแรกเริ่มของสหประชาชาติ ต่อมา ใน พ.ศ.2489 รัฐบาลของเขาจัดให้มีการเลือกตั้งในระบบหลายพรรค และเขาก็นำพรรคราษฎรสาธารณรัฐไปชนะเลือกตั้ง จนถึง พ.ศ.2492 จึงมีการเลือกตั้งอีกครั้ง ครั้งนี้ พรรคราษฎรสาธารณรัฐแพ้เลือกตั้งให้กับพรรคประชาธิปไตย ดังนั้น อัดนาน เมนเดเรส ผู้นำพรรคประชาธิปไตย จึงรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ ซีลาล บายา รับตำแหน่งประธานาธิบดี
พรรคประชาธิปไตยชนะการเลือกตั้งอีก 2 ครั้ง และบริหารประเทศมาถึง พ.ศ.2503 ก็เกิดการรัฐประหารครั้งแรก ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความล้มเหลวในการบริหารเศรษฐกิจ และทำให้ตุรกีเป็นหนี้ต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ในวันที่ 27 พฤษภาคม นายทหารระดับนายพันของกองทัพตุรกีกลุ่มหนึ่งได้ก่อการยึดอำนาจ โดยอ้างว่าต้องการปราบปราบทุจริตคอรัปชั่น และนำคนดีมาปกครองประเทศ จากนั้น ก็ได้ปลดทหารระดับนายพลออกจากประจำการถึง 235 คน และเชิญ พล.อ.เซมาล กูรเซล ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นคนมือสะอาด มารับตำแหน่งประธานาธิบดี แล้วก็จับอดีตผู้นำของพรรคประชาธิปไตยมาขึ้นศาลในข้อหาทุจริต ทรยศต่อชาติ และละเมิดรัฐธรรมนูญ ศาลได้ตัดสินประหารชีวิตอดีตนายกรัฐมนตรีอัดนาน เมนเดเรส และอดีตรัฐมนตรีอีก 2 คน ใน พ.ศ.2504 จากนั้น คณะทหารก็คืนอำนาจให้มีการเลือกตั้งอีกครั้ง โดยไม่มีพรรคประชาธิปไตยลงแข่งขัน แต่ พล.อ.กูรเซลยังอยู่ในตำแหน่งประธานาธิบดีจนถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.2509
พรรคราษฎรสาธารณรัฐกลับมาชนะเลือกตั้งอีกครั้ง โดยพรรคคู่แข่งสำคัญคือ พรรคหลักยุติธรรม ต่อมาในเลือกตั้ง พ.ศ.2508 พรรคหลักยุติธรรมชนะเลือกตั้งอย่างท่วมท้น สุไลมาน เดมิเรลรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีบริหารประเทศ แต่ไม่อาจแก้ไขปัญหาความตกต่ำทางเศรษฐกิจและความขัดแย้งทางการเมืองได้ ดังนั้น คณะทหารจึงก่อการรัฐประหารครั้งที่สอง ในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ.2514 โดยผู้บัญชาการเหล่าทัพยื่นคำขาดต่อรัฐบาลให้ลาออก คณะทหารจึงตั้งรัฐบาลผสมแห่งชาติเป็นรัฐบาลรักษาการในการบริหารประเทศ ได้มีการประกาศกฎอัยการศึกเพื่อให้ฝ่ายทหารเข้ารักษาสถานการณ์ แต่ความขัดแย้งและความไร้เสถียรภาพทางการเมืองยังคงดำเนินต่อไป
วันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2523 พล.อ.เคนาน เอฟเรน ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ก็นำคณะทหารเข้ายึดอำนาจเป็นครั้งที่สาม โดยอ้างว่าเพื่อจะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง และแก้ปัญหาเศรษฐกิจ คณะทหารได้การประกาศกฎอัยการศึก พล.อ.เอฟเรนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี ส่วน พล.อ.อ.ทาร์ซิน ซาหินกายา เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศและเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคง ได้เป็น 1 ใน 5 ของผู้นำทหารที่ก่อการรัฐประหาร จากนั้น คณะรัฐประหารได้ก่อให้เกิดยุคแห่งอำนาจเถื่อน โดยการกวาดล้างจับกุมประชาชนทั่วประเทศหลายแสนคน มีรายงานว่ามีผู้ถูกดำเนินคดีถึง 230,000 คน และมีการประหารชีวิต 50 คน ผู้ถูกจับกุมจำนวนมากถูกซ้อมและทรมาน มีผู้สูญหายนับหมื่นคน
ภายใน 3 ปีของการปกครองภายใต้อำนาจเผด็จการ คณะทหารได้ประกาศใช้คำสั่งคณะรัฐประหารในการจัดระเบียบสังคม 800 ฉบับ ซึ่งมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมาย จากนั้น ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2524 จึงได้ประกาศตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งใช้เวลาร่าง 15 เดือน จากนั้น คณะทหารก็ได้นำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาให้ประชาชนลงประชามติ ซึ่งได้รับเสียงรับรอง 92 % จากนั้น พล.เคนาน เอฟเรน ก็ตั้งตนเองเป็นประธานาธิบดีมีวาระ 7 ปี แล้วให้มีการเลือกตั้งใน 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2526 โดยห้ามพรรคการเมืองเดิมทั้งหมดลงสมัคร พรรคมาตุภูมิ ที่นำโดยตูรกัต โอซาล ชนะเลือกตั้งและได้ตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ เอฟเรนซึ่งเกษียณจากตำแหน่งทางทหารตั้งแต่ พ.ศ.2526 แต่ยังคงเป็นประธานาธิบดีมาจนถึง พ.ศ.2532 หลังจากนั้น ระบบการเมืองของตุรกีก็ผ่อนคลายสู่ประชาธิปไตยมากขึ้น จนโอกาสที่จะเกิดรัฐประหารไม่น่าจะเป็นไปได้อีกแล้ว
จนถึงขณะนี้ แม้ว่าเวลาจากการรัฐประหารจะผ่านมาแล้วถึง 34 ปี แต่การตัดสินของศาลให้นายพลทั้งสองมีความผิด ก็เป็นการชดเชยความรู้สึกของญาติพี่น้องของผู้สูญเสียจำนวนมากจากเหตุการณ์ และจะเป็นการปิดฉากโดยสมบูรณ์ของการแทรกแซงของทหารตุรกีในทางการเมือง
สำหรับในประเทศไทย ที่มีการรัฐประหารมากกว่าตุรกีหลายเท่า น่าจะถึงเวลาที่กระบวนการยุติธรรมจะต้องนำอดีตนายทหารที่ก่อการรัฐประหารละเมิดรัฐธรรมนูญมาลงโทษเสียบ้าง เผื่อว่าประชาชนไทยจะได้เห็น พล.อ.สุจินดา คราประยูร พล.อ.อ.เกษตร โรจนนิล พล.อ.สนธิ บุณยรัตนกลิน หรือ พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร มาขึ้นศาลดำเนินคดี ซึ่งถ้าเป็นเข่นนั้น การแทรกแซงทางการเมืองของทหารที่ทำลายล้างประชาธิปไตยคงจะหมดไปโดยสมบูรณ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น