วันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2557

บิดาแห่งฝนเทียม


ผู้เป็นบิดาแห่งการทำฝนเทียม
วินเซนต์ เชฟเฟอร์ และเออร์วิง ลองมัวร์ 


          ในปี ค.ศ. 1946 วินเซนต์ เชฟเฟอร์ และเออร์วิง ลองมัวร์ เริ่มงานที่ห้องปฏิบัติการวิจัยของบริษัทเจเนรัล อิเล็กทริก เมืองสกิเนกทาดี รัฐนิวยอร์ก เขาพิสูจน์ได้ว่าเราอาจกระตุ้นเมฆฝนให้ผลิตละอองฝนได้โดยวิธีวิทยาศาสตร์

         เมฆเกิดจากอนุภาคน้ำเล็กหลายล้านอนุภาคที่เล็กเกินกว่าที่จะกลั่นตัวเป็นฝน ได้ อนุภาคเหล่านี้จะตกโปรยเม็ดลงก็ต่อเมื่อมันใหญ่จนมีขนาดประมาณ 1 ส่วน 4 มม. หรือ มากกว่า หยดน้ำขนาดเล็กจะระเหยก่อนที่จะตกถึงดินด้วยซ้ำไป

          หยดน้ำขนาดจิ๋วจะใหญ่ขึ้นเมื่อมันเย็นจัดจนกลายเป็นอนุภาคน้ำแข็ง ในเมฆซึ่งมีอนุภาคน้ำแข็ง และหยดน้ำจิ๋วอยู่ อนุภาคน้ำแข็งจะใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็วในขณะที่หยดน้ำจิ๋วระเหย และไอระเหยเปลี่ยนเป็นน้ำแข็ง อุณหภูมิของเมฆมักต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง หยดน้ำเล็กๆจึงแข็งตัวง่าย แต่น้ำอาจเย็นกว่าจุดเยือกแข็งได้ถึง 10-20 องศาเซลเซียส (ซูเปอร์คูล)โดยไม่แข็งเลยก็ได้ น้ำในเมฆไม่แข็งตัวก็เพราะมันบริสุทธิ์ปราศจากสิ่งเจือปนซึ่งจะรวมตัวเป็น ศูนย์กลางของผลึกน้ำแข็ง ถ้ามีการเติมอนุภาคเล็กๆเข้าไปในหยดน้ำ มันก็จะแข็งตัวอย่างรวดเร็วจนใหญ่พอที่จะร่วงหล่น เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นหยดน้ำแข็งจะละลายกลายเป็นฝนตกสู่พื้นดิน

           เชฟเฟอร์ และลองมัวร์พิสูจน์ว่า ถ้าเติมซิลเวอร์ไอโอไดด์ (silver iodide) ซึ่งเป็นอนุภาคขนาดเล็กให้เมฆที่เย็นเหนือจุดเยือกแข็ง มันจะเร่งให้ผลึกน้ำแข็งใหญ่ขึ้น เขาจะโปรยอนุภาคนี้จากเรือบินจรวด หรือปล่อยที่พื้นดินให้กระแสลมหอบขึ้นไป


          ในสหภาพโซเวียต มีการใช้ปืนขนาด 70 มม. ยิงซิลเวอร์ไอโอไดด์เข้าไปให้ระเบิดในเมฆเพื่อกระจายสารเคมีออกไป วิธีนี้จะเพิ่มปริมาณฝนอีกถึง 1 ใน 5 แต่ผู้คนยังสงสัยว่า วิธีนี้คุ้มค่าหรือไม่ เพราะยังไม่สามารถรู้ได้ว่าฝนจะตกมากเท่าไร
  • เริ่มต้นในปี 1946 ได้ทดลองจนมีหิมะตกจริงเมื่อ 13 พ.ค. 1946 ที่ใกล้กับ Mount Greylock 
  • สำหรับอเมริกา ได้มีการทดลองอย่างต่อเนื่อง ในหลายหน่วยงาน เช่นหน่วยงานทหารได้ทดลองที่เวียดนามตั้งแต่ มี.ค. 1967 ถึง พ.ค. 1972 ก็เป็นโครงการที่ประสบผลสำเร็จ
  • ส่วนหน่วยงานอื่นๆ ก็ทำการทดลองเช่นกัน ส่วนใหญ่เพื่อปรับสภาพภูมิอากาศ เช่นเพื่อไม่ให้พายุใหญ่ก่อตัว ในออสเตรเลียก็มีการทดลองเช่นกันในช่วง 1947-1960 จนประสบผลสำเร็จเช่นกัน
  • ส่วนในไทย ในหลวงทรงพระราชทานแนวพระราชดำริ ในปี 2498 ให้ ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล ไปทดลองค้นคว้าจนประสบความสำเร็จ น่าจะใช้คำว่าปรับปรุงให้เหมาะสมกับภูมิอากาศ 
  • สรุป ในหลวงปรับทฤษฎีของฝรั่ง ให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ ไปทดลองให้เหมาะกับสภาพอากาศ 

            ต้องขอบคุณ วินเซนต์ เชฟเฟอร์ และเออร์วิง ลองมัวร์ ผู้เป็นพระบิดาแห่งการทำคิดทฤษฎีและการทดลองทำฝนเทียม เป็นเจ้าแรก

ข้อมูลเรื่องฝนเทียม ประกอบ

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ16 สิงหาคม 2557 เวลา 20:06

    ตอนนี้ตปท ไม่มีใครทำฝนเทียมแล้วค่ะ
    เห็นว่ามีโทษด้วย

    ตอบลบ