วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2557

2 พลโทแจ้งความ ‘ส.ศิวรักษ์’ ข้อหา ม.112 หมิ่นพระนเรศวร


"พระแสงดาบคาบค่าย" หนึ่งในภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่วัดสุวรรณดาราราม จ.พระนครศรีอยุธยา  วาดในสมัยรัตนโกสินทร์โดยพระยาอนุศาสน์จิตรกร จิตรกรเอกสมัยสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ล่าสุดมีนายทหารไปฟ้อง สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
             กรณีที่ "สุลักษณ์ ศิวรักษ์" ร่วมอภิปรายหัวข้อ "ประวัติศาสตร์ว่าด้วยการชำระและการสร้าง" ล่าสุด 2 นายพลใช้ "ม.112" ไปแจ้งความตำรวจ โดยกล่าวหาว่า ส.ศิวรักษ์ พูดว่ายุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรไม่มีจริงและกล่าวถ้อยคำเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

           17 ต.ค.2557  ใน Social Talk ของสำนักข่าวเจ้าพระยา รายงานว่า เมื่อเวลา 13.20 น.ของวันที่ 16 ต.ค. พล.ท.ผดุง นิเวศวรรณ และ พล.ท.พิทยา วิมะลิน เข้าแจ้งความให้เจ้าพนักงาสอบสวน สน.ชนะสงคราม ให้ดำเนินคดีกับ นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จากรณีที่สุลักษณ์ ได้ร่วมอภิปรายเรื่อง “ประวัติศาสตร์ว่าด้วยการชำระและการสร้าง” ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดโดยคณะสภาหน้าโดม เมื่อวันที่ 5 ต.ค. ที่ผ่านมา โดยกล่าวหาว่าในการอภิปรายดังกล่าวสุลักษณ์ได้กล่าวหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอดีตพระมหากษัตริย์ คือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยกล่าวว่า การทรงกระทำยุทธหัตถีไม่มีจริง และมีอีกหลายถ้อยคำที่เข้าข่าย “หมิ่นเบื้องสูง”
             ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาสุลักษณ์เคยถูกฟ้องด้วยคดี 112 สองครั้ง ข้อมูลจากเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพโดยไอลอว์ ระบุว่า  คดีแรกเกิดขึ้นจากกรณีเมื่อ 17 ธ.ค.47 สุลักษณ์ได้รับเชิญไปอภิปรายเรื่อง “สังคมไทยทางรอดที่ควรเลือก เหลียวหลังแลหน้าจากราชดำเนินถึงตากใบ” ที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ระหว่างการอภิปรายผู้ต้องหาได้ประชาสัมพันธ์หนังสือวารสาร Seeds of Peace ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม-เมษายน 2548 ซึ่งเป็นวารสารภาษาอังกฤษนำมาวางจำหน่ายหน้าห้องอภิปราย ในวารสารดังกล่าวมีบทความเรื่อง SIAM of the Forgotten Monarch: The True Life Sequel to the King and the Land of Smile ที่เขียนโดยผู้ใช้นามแฝงว่า บี.พี. มีเนื้อหากล่าวถึงการสวรรคตของรัชกาลที่ 8 เจ้าหน้าที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติที่ไปฟังการเสวนาได้ซื้อวารสารมาอ่านพบบทความดังกล่าว จึงได้รายงานผู้บังคับบัญชาและแจ้งเรื่องให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติทราบ มีการตั้งคณะทำงานสอบสวน ผลการสอบสวนพบว่าวารสารฉบับดังกล่าวนี้มิได้มีการจดแจ้งต่อนายทะเบียนการพิมพ์กรุงเทพมหานคร และข้อความในวารสารเข้าข่ายหมิ่นมาตรา 112 จึงได้ร้องทุกข์ดำเนินคดีกับผู้ต้องหา ต่อมาอัยการสั่งไม่ฟ้องคดีนี้ เนื่องจากพิจารณาเห็นแล้วว่า จากคำให้การของพยานบุคคลจำนวนหลายคนที่อ่านบทความ แสดงความคิดเห็นไม่ยืนยันไปในทางเดียวกันว่า บทความดังกล่าวมีเนื้อหาเป็นการดูหมิ่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประกอบกับไม่มีพยานยืนยันว่าผู้ต้องหาเป็นผู้เขียนบทความ เป็นเพียงผู้เสนอขายวารสารที่ปรากฎบทความเท่านั้นจึงรับฟังไม่ได้ว่าผู้ต้องหามีเจตนากระทำผิดตามข้อกล่าวหา 
           คดีที่สอง เกิดจากกรณีที่เมื่อวันที่ 11 ธ.ค.50 สุลักษณ์ได้กล่าวที่อาคารศาลาพระราชทานปริญญาบัตรหลังเก่า ภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ต่อมาวันที่ 6 พ.ย.51 พ.ต.อ.คัชชา ธาตุศาตร์ รอง.ผบก.ภ.จว.ขอนแก่น พร้อมกำลัง ได้จับกุมนายสุลักษณ์ ตามหมายจับศาลจังหวัดขอนแก่น เลขที่ 431 / 2551 ลงวันที่ 22 ก.ย.51 ในข้อหามาตรา 112 โดยบุกจับกุมที่บ้านพักในกรุงเทพฯ แล้วนำตัวไปจังหวัดขอนแก่น  สุลักษณ์ได้ยื่นขอประกันตัว โดยมีนายกิตติบดี ซึ่งเป็นคณะบดีของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ใช้ตำแหน่งประกันตัวนายสุลักษณ์ ยังไม่ทราบความคืบหน้าของคดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น