วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ส่องคอมเม้นต์ปฏิกิริยาลูกเพจ ‘กองทัพนิรนาม’ ต่อ ‘ดาวดิน’ จากชื่นชมปี 56 สู่ถ่มถุยปี 58




Fri, 2015-06-26 19:08


         ในช่วงที่ผ่านมาบทบาทของกลุ่มนักศึกษาโดยเฉพาะกลุ่มดาวดิน หรือ กลุ่มเผยแพร่กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม ในการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐประหารจนกระทั่งถูกจับกุมตัวถือเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมโดยเฉพาะในโซเชียลเน็ตเวิร์ก ทั้งสนับสนุนและต่อต้าน โดยเฉพาะเพจ ‘กองทัพนิรนาม’ ปัจจุบันมียอดไลค์กว่า 2 แสน ซึ่งมีบทบาทตั้งแต่ปลายปี 56 ก่อนและระหว่างการชุมนุมของกลุ่ม กปปส. จนกระทั่งปัจจุบันมีการโพสต์และพูดถึงกลุ่มดาวดินทั้ง 2 ช่วงเวลา

        วันที่ 12 ก.ย.56 เพจกองทัพนิรนาม ได้โพสต์ภาพของนักศึกษากลุ่มดาวดิน ซึ่งภาพดังกล่าวเป็นภาพเหตุการณ์วันที่ 8 ก.ย.56 ที่นักศึกษากลุ่มนี้ร่วมกับกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย พยายามขอเข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นและกำหนดขอบเขตแนวทางการประเมินผลกระทบทางสิ่ง­แวดล้อมและสุขภาพ อันเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดทำรายงานการวิ­เคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) เพื่อประกอบการขอประทานบัตรแปลงที่ 76/2539 ของบริษัททุ่งคำ จำกัด เพื่อแสดงเจตจำนงคัดค้านกระบวนการดังกล่าว แต่ถูกปิดกั้นจากตำรวจกว่า 600 นายไม่ให้เข้าร่วมเวที

        โดยเพจ ‘กองทัพนิรนาม’ โพสต์ภาพพร้อม ระบุด้วยว่า ตำนาน ม.ขอนแก่นและมหาสารคาม ... กับการต่อต้าน เหมืองทอง ในจังหวัดเลย ภาพ ถูกถ่ายทอดโดย Roengrit Kongmuang จากนั้นมีผู้แสดงความเห็นท้ายโพสต์ในเพจสนับสนุนนักศึกษากลุ่มดังกล่าว ที่น่าสนใจดังนี้


  • "กี่ครั้งแล้วที่ตำรวจทหารทำตัวเป็นขี้ข้านักการเมืองเลวย่ำยีนักศึกษา"
  • "ขออนุญาตแบ่งปันความรักความสามัคคีของน้องนักศึกษาค่ะ"
  • " เก่งแต่ประชาชนที่ไม่มีทางสู้ แต่ไอ้เหี้ยนั้นแม่งไม่จับ"
  • "พวกนักศึกษา ม.ขอนแก่นและม.สารคาม ไปช่วยรุ่นพี่ท่านด่วน รวมพลังมันเล่นเน็ตเล่นเกมส์"
  • "พวกคุณสุดยอดเลยครับ"
  • "ขอชื่นชมน้องๆๆนักศึกที่ทำเพื่อชาติและประชาชน"

เป็นต้น




       ขณะที่เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. ที่ผ่านมา กลุ่มดาวดินและนักศึกษานักกิจกรรมซึ่งถูกดำเนินคดีหลังกิจกรรมรำลึก 1 ปี รัฐประหาร หน้าหอศิลป์ฯ กทม. เดินทางเพื่อเข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ ตร.ที่ สน.ปทุมวัน เพจ ‘กองทัพนิรนาม’ได้โพสต์ภาพเหตุการณ์ดังกล่าวด้วย พร้อมระบุว่า กลุ่ม นศ.เริ่มจัดแถว จะเดินไปหน้า สน. ส่วนตำรวจ ตั้ง 5 แถวรอรับ อย่างไรก็ตามปฏิกิริยาของผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นกลับเป็นไปในลักษณะตรงข้าม คือแสดงออกว่าไม่เห็นด้วยกับกิจกรรมดังกล่าว โดยมีความเห็นที่น่าสนใจดังนี้


      "อย่าไปตั้งแถวเลย เข้าทางพวกมัน พวกมันต้องการให้เป็นประเด็นเป็นข่าวอยู่แล้ว เพราะระดมนักข่าวมากชนิดงานแจกรางวัลออสกาก็มิปาน สู้ปล่อยพวกมันมาจะทำอะไรก็ปล่อย อย่าไปสนใจใส่ใจ แต่ทำผิดปุ๊บจับแม่งเลยพร้อมแจ้งข้อหา ส่งเสียงรบกวน กีดขวางทางจราจร เชื่อเหอะไอพวกนี้มันไม่มีอุดมการณ์นอกจากอุดมเงิน มันไม่รอนาน มันต้องหาทางสร้างจุดสนใจ ยิ่งไปสนใจก็จะเข้าทางมัน"

       "ไอ้เด็กเวร สร้างคุณงามความดีอะไรให้ประเทศชาติบ้าง คิดแก้ปัญหาอะไรได้บ้าง เสนอแนวคิดมาซิ ทำแบบนี้ทำไม นักการเมืองที่ขี้โกงทำไมพวกเองไม่คิดแก้ปัญหา"

      "โง่ขนาดถูกยุยงได้ ลุงเสียใจที่บ้านเมืองลุงมีนักศึกษาแต่ปัญญาอ่อน แทนที่จะร่ำเรียนวิชากลับมาบ้าไม่เข้าเรื่อง ได้กันคนละกี่อัฐกี่เฟื้องว่ะ"

       "ไปทำไมสน. ไปค่ายทหารเลยดีกว่าหลายครั้งแล้วนะพวกมึงอ่ะ"

เป็นต้น



        สำหรับปฏิกิริยาต่อการแสดงออกของนักศึกษาที่กลับไปกลับมาไม่ได้มีเพียงฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลทหารเท่านั้น ฝ่ายที่สนับสนุนรัฐบาลจากการเลือกตั้งก็มีการแสดงออกในเชิงคัดค้านบทบาทของนักศึกษาโดยเฉพาะกลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) ที่ต่อต้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์เมื่อช่วงปลายปี 56 ถึงปี 57 ด้วยเช่นกัน อย่างที่ รัฐพล ศุภโสภณ หรือ บาส LLTD[1] หนึ่งให้นักศึกษาที่ถูกจับกุมดำเนินคดีฝ่าฝืนประกาศ คสช. จากกิจกรรมรำลึก 1 ปี รัฐประหาร หน้าหอศิลป์ฯ ดังกล่าว ด้วยว่า

       “คนที่ว่านักศึกษาไม่ยอมออกมาทำกิจกรรม ผมเห็นความย้อนแย้งหลายอย่างมาก หนึ่งเมื่อนักศึกษาฝ่ายตรงข้ามของตัวเองทั้งเสื้อเหลืองเสื้อแดงออกมา ก็จะมีการโจมตีว่าออกมาทำไม แต่พอถึงคราวฝ่ายตัวเอง ตั้งคำถามว่าทำไมนักศึกษาไม่ออกมา พอออกมา(ฝ่ายตัวเอง)ก็ดีใจกัน ผมคิดว่าสุดท้ายเด็กต่างหากที่กลายเป็นเครื่องมือการโทษการโบ้ยความผิด ที่ผู้ใหญ่ทำลงไป สังคมที่ผู้ใหญ่สร้างมาให้มันเป็นสังคมที่เด็กต้องรับผิดชอบในวันหน้า และผมคิดว่าผู้ใหญ่กำลังโยนมันให้แบบไม่ได้ยินดียินร้ายว่าเด็กจะได้อะไรไป”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น