30 ก.ย.2558 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ได้กล่าวถ้อยแถลงในการอภิปรายทั่วไปของการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 70 ในหัวข้อ “The United Nations at 70 – the road ahead to peace, security and human rights” วันที่ 29 ก.ย. ตามเวลาท้องถิ่นที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยระบุว่า ปัญหาเร่งด่วนที่ประชาคมระหว่างประเทศต้องร่วมกันแก้ปัญหาคือผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่เป็นปกติหรือผู้หนีภัยสงคราม ซึ่งเป็นวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรม โดยย้ำว่าไทยรับมือกับปัญหานี้โดยเคารพหลักมนุษยธรรม แนะนำเส้นทางสู่สันติภาพและความมั่นคงจะต้องอาศัยการพัฒนาและการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนควบคู่กันไปด้วย นอกจากนี้ยังเสนอแนวคิดไทย+1 มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม เพื่อเพื่อนบ้านจะได้ก้าวไปด้วยกัน โดยเสนอตัวพร้อมแลกเปลี่ยนแบ่งปันประสบการและแนวปฏิบัติที่ดีของไทย อาทิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อีกทั้งเสนอตัวเข้ารับการเลือกตั้งในฐานะสมาชิกไม่ถาวรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติอาสาเป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างวัฒนธรรม และความแตกต่างทางความคิด
โดยมีรายละเอียดดังนี้
ท่านประธานที่เคารพในนามของรัฐบาลไทย ผมขอร่วมกับผู้แทนของรัฐของสมาชิกอื่นๆ แสดงความยินดี ในโอกาสที่สหประชาชาติได้ก่อตั้งและดำเนินงานมาครบรอบ 70 ปีในปีนี้ผมขอบคุณมิตรประเทศทั้งหลายที่ร่วมแสดงความเสียใจและส่งกำลังใจให้กับประชาชนไทย ภายหลังเหตุการณ์ระเบิดในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2558 ประเทศไทยขอประณามผู้ก่อเหตุรุนแรงในครั้งนี้ ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตของผู้บริสุทธิ์ เราไม่สามารถยอมรับความรุนแรงเยี่ยงนี้ได้ และขอยืนยันว่าประเทศไทย และขอยืนยันว่าประเทศไทยจะร่วมมือกับประชาคมโลกอย่างถึงที่สุด เพื่อยุติความรุนแรง และปกป้องผู้บริสุทธิ์ เพื่อธำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพและความสงบสุขของของประชาชน ของโลก70 ปี ที่ผ่านมานั้น สหประชาชาติได้แสดงบทบาทที่สำคัญ ในการบรรเทาทุกข์และแก้ไขปัญหาของประชาคมโลก จรรโลงสันติภาพและความมั่นคง ปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน และเสริมสร้างความเจริญรุ่งเรื่องแก่มวลมนุษยชาติ ในด้านการรักษาสันติภาพสหประชาชาติประสบความสำเร็จในการช่วยลดความขัดแย้งและป้องกันมิให้มีการขยายตัวลุกลามกลายเป็นสงครามขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามสหประชาชาติยังมีภาระหนักหน่วงในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืน ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการพัฒนาและการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ควบคู่กันต่อไปประเทศไทยมีความพร้อมตั้งใจที่จะสนับสนุนภาระกิจการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติต่อไป โดยเฉพาะในด้านการพัฒนาในด้านสิทธิมนุษยชน ไทยได้ให้ความสำคัญต่อการปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนมาโดยตลอด และได้เข้าไปปฏิบัติหน้าที่สมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติระหว่างปี ค.ศ.2010 – 2013 โดยดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรีดังกล่าวในช่วงปี ค.ศ.2010 – 2011 ซึ่งเป็นโอกาสที่ไทยได้ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมโยงประเทศและกลุ่มประเทศที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างโดยเน้นการไม่เลือกปฏิบัติ การเป็นหุ้นส่วนที่สร้างสรรค์ รวมถึงการส่งเสริมขีดความสามารถในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในด้านการพัฒนาสหประชาชาติประสบความสำเร็จในการผลักดันความเจริญรุ่งเรื่องสู่รัฐสมาชิก ไทยให้ความสำคัญกับเรื่องการพัฒนาที่มีคนเป็นศูนย์กลาง การขจัดความยากจนและความเหลื่อมล้ำในสังคม หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หลักนิติธรรมและการส่งเสริมธรรมาภิบาล การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ การเกษตรที่ยั่งยืนและการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ เป็นต้น ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเป็นปัญหาที่ท้าทายหลักในการบรรลุเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนั้นจึงเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของโลกที่จะต้องทำให้ผลลัพธ์ของการประชุม COP21 เกิดผลที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดโลกยุคปัจจุบันเป็นโลกไร้พรมแดนซึ่งจะมีความเชื่อมโยงซับซ้อนในหลายมิติ การแก้ไขปัญหาจะต้องทำอย่างรอบด้าน ดังนั้นจึงไม่สามารถที่จะมีทางออกของปัญหาเพียงหนึ่งเดียวที่ใช้ได้ในทุกที่ทุกเวลา การจัดการปัญหาท้าทายของโลกที่มีลักษณะเฉพาะตัวขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและบริบทของประเทศที่แตกต่างกัน ในวันนี้เราเห็นความแตกต่างที่ผ่านมาความเร่งด่วนที่ประชาคมระหว่างประเทศต้องร่วมกันแก้ปัญหาผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่เป็นปกติ หรือผู้หนีภัยสงคราม ซึ่งเป็นวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมที่ยืดเยื้อต่อเนื่องและกระจายอยู่ในหายพื้นที่ทั่วโลก ซึ่งไทยและหลายๆ ประเทศต้องเผชิญกับความท้าทายนี้ด้วย และรับมือกับปัญหาโดยเคารพหลักมนุษยธรรมท่านประธานที่เคารพครับ ตลอด 70 ปีที่ผ่านมานั้น สหประชาชาติได้ช่วยแก้ปัญหาสันติภาพและความมั่นคง รวมถึงได้แก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนจนสำเร็จในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามปัญหาเหล่านี้ยังไม่หมดสิ้นไปจึงจำเป็นที่จะต้องเน้นการแก้ปัญหาแบบมององค์รวมอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในมิติของการพัฒนา เนื่องจากเส้นทางสู่สันติภาพและความมั่นคงจะต้องอาศัยการพัฒนาและการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนควบคู่กันไปด้วยประเทศไทยยกระดับตัวเองขึ้นมาเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ภายในระยะเวลา 3 ทศวรรษ โดยยึดแนวทางพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์นักพัฒนา ที่ได้ทรงริเริ่มดำเนินการมากว่า 50 ปี แล้ว จนไทยประสบความสำเร็จพัฒนาตนเองเป็นประเทศหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา ไทยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งประกอบไปด้วย พอประมาณ ความมีเหตุมีผลและการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน บนเงื่อนไขของความรู้คู่คุณธรรม ความพอดีและพึ่งพาตัวเองได้ อยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนและมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งสอดคล้องกับภาระการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ จนเป็นที่ยอมรับจากสหประชาชาติ ค.ศ. 2006 ที่พระองค์ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จากหลักปรัชญาดังกล่าวรัฐบาลของผมได้กำหนดวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยมุ่งหวังลดความเหลือมล้ำ ยึดหลักนิติรัฐและธรรมาภิบาล ให้ความสำคัญกับการสร้างความสามัคคีของคนในชาติ สร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน และพัฒนาประเทศไปในแนวทางที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อประชากรรุ่นต่อไปความมั่นคงและเสถียรภาพของประเทศชาติเป็นความสำคัญลำดับแรก ประเทศจะมีความมั่นคงเมื่อมีความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ประชาชนดำรงชีวิตโดยปราศจากความหวาดกลัว ความหิวโหยและประชาชนในสังคมได้รับโอกาสในการที่จะพัฒนาให้เป็นคนดีมีคุณภาพและอุดมด้วยปัญญา ดำเนินชีวิตอย่างเป็นปกติสุข มีความรับผิดชอบโดยยึดถือประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน สามารถเผชิญความท้าทายและความเปลี่ยนแปลงได้ความมั่นคงเป็นพื้นฐานที่จะไปสู่ความมั่งคั่งของประชาชนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม โดยเสริมสร้างให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง และมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพชุมชนในทุกระดับ รวมทั้งได้รับโอกาสในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันที่เน้นการใช้ประโยชน์จากการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น การวิจัยและพัฒนา ตลอดจนส่งเสริมนวัตกรรมและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการทำให้เกิดความยั่งยืนเราจะต้องให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมในสังคมสีเขียว วันนี้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุความยั่งยืนของโลกและทุกคน ทุกประเทศต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยประเทศไทยตั้งใจจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหลังปี ค.ศ.2030 ลงร้อยละ 20 – 25 ภายใต้ INDC ของไทยเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการในระดับโลกความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อการเสริมสร้างกรอบกติกาและส่งเสริมธรรมาภิบาลที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ การขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนนี้จะต้องสามารถนำเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนไปปฏิบัติสำหรับทุกคนทุกระดับเพื่อให้มีความเป็นเจ้าของร่วมกันและนำไปสู่การพัฒนาที่เติบโตและเข้มแข็งจากภายใน ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้ประเทศไทยเข้มแข็งขึ้นและสามารถบรรลุเป้าหมายที่มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนได้ก็คือการปฏิรูปอย่างครบวงจร เพื่อนำไปสู่การมีประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง อาทิเช่น การปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม การปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน การสร้างความเข้าใจและปรองดองสมาทฉันท์และการจัดระเบียบทางสังคมท่านประธานที่เคารพครับเมื่อกาลเวลาผ่านไป วันนี้จะกลายเป็นหน้าประวัติศาสตร์ของอนาคต สิ่งที่เกิดขึ้นวันหน้า จะเป็นตัวบ่งบอกที่เที่ยงธรรมที่สุดว่า วันนี้เราได้ทำสิ่งใดลงไป และเพื่อสิ่งใด สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย และกับโลกของเราในวันข้างหน้า ในอีก 10 ปี 20 ปี จะเป็นข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่า วันนี้เรากำลังทำเพื่ออนาคตที่ดีกว่าของประเทศไทย และก็เพื่อให้ไทยเป็นสมาชิกที่เข้มแข็ง และมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันกับสหประชาชาติในการสร้างสรรค์โลกที่ดีกว่าในอนาคตด้วยเช่นกันเรามักจะคาดหวังให้ผู้แข็งแรงที่สุด ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อ่อนแอที่สุด แต่ในโลกปัจจุบัน มีความเหลื่อมล้ำ มีช่องว่างกว้างขึ้นทุกที ดังนั้นเราไม่อาจมองข้ามบทบาทของคนที่อยู่ตรงกลางระหว่างคนสองกลุ่ม ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มคนที่มีจำนวนมากที่สุด และมีกำลังมากพอที่จะช่วยเหลือตนเองได้ในระดับหนึ่งแล้ว นอกจากนี้ยังมีศักยภาพมากพอที่จะเป็นสะพานเชื่อมโยงการพัฒนา จากกลุ่มที่แข็งแรงที่สุดไปสู่กลุ่มที่อ่อนแอที่สุดได้เป็นอย่างดี บนพื้นฐานของความเข้าอกใจประเทศไทยซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มคนที่อยู่ตรงกลางนั้น มีความเชื่ออย่างที่สุดว่า การพัฒนาไม่อาจจะยั่งยืนได้ หากเราก้าวไปแต่ผู้เดียว และทิ้งผู้อื่นไว้เบื้องหลัง เราจึงนำแนวคิดไทย+1 มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม เพื่อเพื่อนบ้านจะได้ก้าวไปด้วยกัน ผ่านการผลักดันการเชื่อมโยงด้านการคมนาคมในอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเขตเศรษฐกิจพิเศษตามจังหวัดในแนวชายแดน เพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศกำลังพัฒนาอยู่ในภาคการเกษตรกรรมกำลังประสบปัญหาต่างๆ อาทิเช่น การกีดกันทางการค้า การแข่งขันในตลาดโลก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหาหนี้สินและความยากจน การละทิ้งภาคการเกษตรของคนรุ่นใหม่ จะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อความมั่นคงด้านอาหารของโลกดังนั้นเราจึงควรร่วมกันสนับสนุนประเทศที่กำลังพัฒนา ในการพัฒนาโดยเฉพาะผ่านความร่วมมือเหนือใต้และใต้ใต้ และให้ความสำคัญกับภาคเกษตรกรรมเพื่อเป็นฐานการผลิตที่เข้มแข็งยั่งยืนท่านประธานที่เคารพครับ นอกเหนือจากการดูแลกลุ่มเกษตรกรแล้ว ก็ให้ความช่วยเหลือกับกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น กลุ่มแรงงานประมง ซึ่งตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ รวมถึงกลุ่มเปราะบางอื่นๆ เช่น เด็กสตรีและผู้พิการรัฐบาลให้ความสำคัญเร่งด่วนกับการแก้ไขปัญหากับการค้ามนุษย์เนื่องจากเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และเป็นการให้การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนั้น รัฐบาลได้แก้ไขปัญหาอย่างรอบด้าน ทั้งในด้านการป้องกัน ปราบปรามการค้ามนุษย์ ตลอดจนการช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหาย และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการย่างมีบูรณาการ ซึ่งจะเป็นการเสริมความพยายามของภูมิภาคและของโลกนอกจากนี้ปัญหาข้ามชาติอื่นๆ ที่สำคัญ เช่น ปัญหาโรคระบาด ยาเสพติด จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากนานาประเทศ ไทยพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนแบ่งปันประสบการและแนวปฏิบัติที่ดีของไทย อาทิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การเฝ้าระวังโรคติดต่อต่างๆ และการพัฒนาทางเลือกอย่างครบวงจรและยั่งยืน ซึ่งไทยเป็นผู้ริเริ่มจัดไอแคทวันและจะเป็นเจ้าภาพจัดไอแคททูในปลายปีนี้ในแต่ละประเทศกำลังพัฒนาขนาดกลางที่ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างวัฒนธรรม สันติภาพและมีบทบาทในการร่วมมือกับปัญหาท้าทายของโลก ไทยจึงได้เสนอตัวเข้ารับการเลือกตั้งในฐานะสมาชิกไม่ถาวรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ วาระปี ค.ศ.2017-2018 เพราะเชื่อมั่นว่าจะสามารถเป็นสะพานเชื่อมระหว่างประเทศสมาชิกประเทศที่มีที่นั่งในคณะมนตรีความมั่นคงกับประเทศนอกคณะมนตรี รวมถึงสะพานเชื่อมโยงระหว่างวัฒนธรรม และความแตกต่างทางความคิด โดยหวังว่าการมีบทบาทเป็นสะพานเชื่อมโยงนี้ จะเป็นช่วยสร้างความเข้าใจอันดี และความร่วมมือกับนานาชาติ เพื่อนำไปสู่การเป้าหมายแห่งสหประชาชาติร่วมกันท่านประธานที่เคารพครับในช่วงที่ประชาคมระหว่างประเทศกำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการพัฒนา ความยั่งยืนความแทรกอยู่ในทั้ง 3 เสาหลักของสหประชาชาติเราได้ย้ำมานานแล้วว่าทั้ง 3 เสาหลักจะต้องส่งเสริมและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วเราอาจจะทำงานแบ่งแยกและไม่สอดประสานกันในด้านสันติภาพและความมั่นคง ด้านการพัฒนาและด้านสิทธิมนุษยชน ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องเปลี่ยนแนวทางในการทำงานโดยการรวมทั้ง 3 เสาเส้นทางเข้าด้วยกัน เพื่อที่ว่าในอีก 70 ปี ข้างหน้า มวลมนุษยชาติจะบรรลุเป้าหมายตามที่คาดหวัง ตามสัญญาประชาคม เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านสันติภาพและความมั่นคง สิทธิมนุษยชนและการพัฒนาอย่างยั่งยืนไทยมีความเชื่อมั่นอย่างยิ่งในพลังของประเทศสมาชิกที่จะขับเคลื่อนองค์กรแห่งนี้ให้เราเข้มแข็งไปพร้อมๆ กัน และผมขอยืนยันว่าประเทศไทยพร้อมที่จะเป็นหุ้นส่วนกับเพื่อนประเทศสมาชิกเพื่อเผชิญหน้ากับความท้าทายทั้งเก่าและใหม่ และจะนำมาซึ่งการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติเพื่อประโยชน์สุขร่วมกันของประชาคมระหว่างประเทศ ขอบคุณครับ thank you very much
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น