วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559

'ณัฐวุฒิ' ลั่นรณรงค์ 'ไม่รับ' ร่าง รธน. ชี้ 'ประชามติ' ไม่ได้มีแค่พิจารณาชิ้นงานของเนติบริกร


'ณัฐวุฒิ' ลั่นรณรงค์ 'ไม่รับ' ร่าง รธน. เหตุร่างเพื่อดำรงความมุ่งหมายของฝ่ายอนุรักษ์นิยม บอนไซประชาธิปไตยและขยายอำนาจให้องค์กรอิสระมีอิทธิพลเหนือตัวแทน เปิดช่องนายกฯคนนอก ชี้ 'ประชามติ' ไม่ได้มีแค่พิจารณาชิ้นงานของเนติบริกร

18 ม.ค. 2559 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวว่า ตนไม่อาจยอมรับเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญดังที่ปรากฏได้ และจะต้องรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญในชั้นประชามติ เพราะเชื่อมั่นว่าการแก้ปัญหาทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นประชาธิปไตยของประเทศ แต่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ดำรงความมุ่งหมายของฝ่ายอนุรักษ์นิยมต่อเนื่องจากการรัฐประหารครั้งที่แล้ว คือการบอนไซประชาธิปไตยและขยายอำนาจให้องค์กรอิสระมีอิทธิพลเหนือตัวแทนที่มาจากประชาชน ที่แตกต่างคือ รัฐธรรมนูญปี 50 มุ่งกำหนดผลเลือกตั้งให้พรรคการเมืองที่อยู่ในอาณัติเป็นรัฐบาล พร้อมกับวางกลไกอำนาจไว้เพื่อสร้างเงื่อนไขทางการเมืองตามที่ต้องการ แต่ร่างปัจจุบันสะท้อนว่า ผู้ถืออำนาจไม่คาดหวังกับพรรคการเมืองเดิม จึงเปิดช่องให้มีนายกฯคนนอก และให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญลงดาบรัฐบาลเลือกตั้ง พร้อมทั้งขยายอำนาจองค์กรอิสระอื่นให้เชื่อมโยงกันและมีอิทธิพลสูงสุด
นายณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่า เนื้อหาแบบนี้รัฐบาลของประชาชนจะมีสถานะเพียงนกเขาในกรง ที่โก่งคอขันได้ แต่ไร้อิสรภาพ บังคับใช้ไปสักระยะสภาพการณ์เดิมๆ จะวนกลับมา เพราะปัญหาไม่ได้ถูกแก้ไข ซึ่งตนเชื่อว่าเป็นความต้องการลึกๆของฝ่ายอำนาจ เพราะผลของความขัดแย้งที่ผ่านมาทำให้ประชาธิปไตยไม่อาจหยั่งรากได้ ทั้งนี้ ตนเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย แม้มั่นใจว่าสามารถเอาชนะได้อีกในสนามเลือกตั้ง แต่จะไม่มีประโยชน์อะไรเลยถ้าชัยชนะนั้นนำระบอบประชาธิปไตยไปพ่ายแพ้อีกครั้ง
"ถ้าทุกคนคิดแบบเดิม ทำแบบเดิม ผลลัพธ์ก็จะเหมือนเดิม วันนี้ทั้งฝ่ายการเมืองและประชาชนต้องกำหนดวิธีคิดใหม่ คือสร้างกติกาที่เป็นประชาธิปไตย จัดอำนาจพิเศษ และองค์กรบริวารทั้งหลายอยู่ให้ถูกที่ถูกทาง ถูกหลักการเสียก่อน แล้วค่อยเลือกตั้ง หัวใจของปัญหาที่ผ่านมาไม่ใช่เพราะคนไทยใส่เสื้อสีต่างกัน แต่เป็นเพราะเรายังมีปัญหาเรื่องความเป็นประชาธิปไตย ถ้าไม่แก้ที่ต้นเหตุก็ออกจากวังวนนี้ไม่ได้ สนามประชามติจึงมีความหมายมากกว่าแค่พิจารณาชิ้นงานของเนติบริกร แต่หมายถึงการยืนยันหลักการประชาธิปไตยเพื่อแก้ไขวิกฤติของประเทศ" นายณัฐวุฒิกล่าว
อัครมหาเนติบริกร
ขณะที่ นายวัฒนา เมืองสุข อดีต ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย และอดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวงในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้เขียนวิพากษ์วิจารณาการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจตนเอง โดยใช้ชื่อบทความว่า "อัครมหาเนติบริกร"

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น