8 ก.ค.2559 จากกรณี บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิด โครงการ "จากด้วยใจ" ให้แก่พนักงานรับเหมาช่วงเข้าร่วมโครงการสมัครใจลาออก ประมาณ 800-900 คน ซึ่งพนักงานที่เข้าร่วมโครงการ จะได้รับเงินชดเชยครบถ้วนตามกฎหมายแรงงาน โดยให้เหตุผล เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ยังคงชะลอตัว ประกอบกับความผันผวนของสภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีผลต่อการส่งออก ส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ทำให้ บริษัทฯ ต้องปรับลดกำลังการผลิตลง และมีพนักงานเกินความจำเป็นในการผลิต รวมทั้งต้องปรับลดจำนวนชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา ทำให้รายได้รวมต่อเดือนของพนักงานลดลง (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)
กรกฤช จุฬางกูร รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ในประเทศที่ต่ำกว่าเป้าหมาย 10% ในไตรมาสแรกของปีนี้ มีผลให้ยอดคำสั่งซื้อการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ชะลอตัวตามไปด้วย และกระทบต่อเนื่องไปยังกลุ่มแรงงานภาคชิ้นส่วนยานยนต์ แม้ไม่มีการปลดคนงาน แต่ก็จะไม่รับตำแหน่งเพิ่ม รวมถึงมีนโยบายลดกะการผลิตจาก 2 กะต่อวัน เหลือ 1 กะต่อวัน เพื่อลดต้นทุนค่าแรง และหันไปเพิ่มทำงานล่วงเวลา หรือโอทีในบางวันแทน แม้ว่ายอดการส่งออกรถยนต์ไปต่างประเทศยังขยายตัวประมาณ 2% แต่ผลลบจากยอดขายรถยนต์ในประเทศที่ลดลงมาก ทำให้ขณะนี้ผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์มีการลดต้นทุนการผลิตด้วยการหันไปลดกะการทำงานลง เพื่อประหยัดต้นทุนการผลิต
ด้าน เจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า มั่นใจว่าปัญหาการสมัครใจเลิกจ้างของบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด จะไม่ลุกลามไปถึงบริษัทอื่น เนื่องจากข้อมูลพบว่าค่ายรถยนต์อื่นยังขยายการผลิตต่อเนื่อง เพราะกรณีโตโยต้าเกิดโครงการสมัครใจลาออก ส่วนหนึ่งเป็นไปตามนโยบายการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิต ซึ่งอาจมีผลต่อแรงงานในบริษัทได้ แต่ภาพรวมขณะนี้ยังไม่เห็นสัญญาณที่ค่ายรถยนต์ปลดคนงาน แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมา สัญญาณการผลิตลดลงไปบ้างก็ต
อรรชกา สีบุญเรือง รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า การปรับลดแรงงานจ้างเหมาของค่ายรถยนต์โตโยต้า น่าจะเกิดจากการตัดสินใจในเชิงธุรกิจเพียงรายเดียว ไม่ใช่ปัญหาแรงงานทั้งระบบ เพราะหลังจากมีนโยบายรถคันแรกที่ทำให้เกิดความต้องการรถยนต์จำนวนมากเมื่อหลายปีก่อน จนต้องเปิดรับพนักงานจ้างเหมาจำนวนมาก แต่เมื่อยอดายปัจจุบันไม่ดีเท่าเดิม ตามภาวะเศรษฐกิจ องค์กรจึงมีการปรับตัวด้านการผลิตให้สอดคล้องกับยอดขายในปัจจุบัน ยอมรับว่ายอดจำหน่ายรถยนต์ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาชะลอโดยในประเทศอยู่ที่ 700,000-800,000 คัน ขณะที่กำลังการผลิตอยู่ที่ 1.9-2 ล้านคัน เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจโลก ผนวกกับรายได้ภาคเกษตรมีปัญหา แต่มั่นใจว่ายังไม่ถึงขั้นวิกฤติ
อรรชกา กล่าวด้วยว่า ต้องติดตามว่าพนักงานเหล่านี้จะเคลื่อนย้ายหรือสมัครงานใหม่อย่างไร ขณะที่บางอุตสาหกรรมก็ยังขาดแรงงานอยู่มาก
“แม้ว่าตลาดชะลอลง แต่ยอดขายยังมีอยู่ ไม่ได้หดหายไปหมดเหมือนช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนของไทยยังถือเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะต้องผลักดัน เพราะไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญในอาเซียน” อรรชกา กล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น