13 ธ.ค. 2559 กอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบมาตรการช้อปช่วยชาติ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชนในโค้งสุดท้ายปลายปี หวังส่งเสริมการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้า ของขวัญ สินค้าจำเป็นทั่วไป โดยไม่รวมถึงการซื้อสุรา ยาสูบ เบียร์ ไวน์ น้ำมัน รถยนต์ ตลอดจนค่าใช้จ่ายเรื่องทัวร์ มัคคุเทศน์ ที่พักโรงแรม เนื่องจากมีมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวไปแล้วสัปดาห์ที่ผ่านมา มาตรการดังกล่าวกำหนดให้เริ่มระหว่างวันที่ 14-31 ธ.ค. 59 ระยะเวลา 18 วัน จากปี 58 กำหนดให้ช้อปเพียง 7 วันช่วงปลายปี ด้วยการนำใบเสร็จภาษีมูลค่าที่เป็นค่าใช้จ่ายมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่เกิน 15,000 บาทต่อราย สำหรับการยื่นแบบภาษีประจำปี 59 โดยยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีในเดือน ม.ค.-มี.ค. 60
แม้คาดว่ารัฐบาลสูญเสียรายได้ประมาณ 3,200 ล้านบาท แต่คาดว่าจะเกิดเงินหมุนเวียนในระบบถึง 2 หมื่นล้านบาท จากเป้าหมายผู้ช้อปสินค้าตามนโยบายรัฐบาล 2 ล้านราย จึงมีส่วนช่วยขับเคลื่อนจีดีพีของประเทศได้ร้อยละ 0.2 เกิดการจ้างงาน การเพิ่มยอดขายสินค้า ช่วยลดภาระภาษีให้กับประชาชน และดึงเอกชนเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น จากมากตรการช้อปช่วยชาติในปี 58 มีผู้ซื้อสินค้า 1 ล้านราย ส่งผลต่อรัฐเสียรายได้ 1,200 ล้านบาท มียอดซื้อสินค้า 10,000 ล้านบาท
กอบศักดิ์ กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.มีมติอนุมัติและรับทราบ ร่าง พ.ร.บ.ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย ซึ่งได้คับใช้มาแล้ว 20 ปี และได้มีการแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง ดังนั้นเพื่อคุ้มครองผู้เอาประกัน บริษัทเอกชนจากการฉ้อฉล การใช้ระบบออนไลน์ขายประกัน จึงต้องแก้ไขกฎหมายเพิ่มเติม เช่น ป้องการฉ้อฉล จากการหลอกลวงทำประกันชีวิต ประกันวินาศภัย ชาวบ้านจ่ายเบี้ยประกันแต่ตัวแทนไม่ได้ส่งเงินชำระให้กับบริษัทประกัน จึงถือว่าเป็นการหลอกหลวง รวมทั้งการสร้างเอกสารหลักฐานเท็จ เพื่อเบิกสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันในการเรียกรับผลประโยชน์ เช่น ไม่ได้ป่วย แต่นำหลักฐานยา การรักษามาเบิกเงินประกัน และการแก้ไขเกี่ยวกับการทำหลักฐานจากตัวแทนนายหน้า เพื่อรับสินไหมแล้วนำเงินมาแบ่งกับผู้เอาประกันถือว่ามีวามผิด โดยความผิดดังกล่าวในระบบประกันที่ผ่านมาถือว่าการยอมความ เมื่อชดเชยเงินคืนให้ถือว่าคดีส้ินสุดลง แต่ได้แก้ไขให้เจ้าพนักงาน คปภ.เป็นเจ้าทุกข์แจ้งความดำเนินคดี แม้จะมีการยอมความ เพื่อไม่ให้เอาเป็นแบบอย่างหรือมีคดีเกิดขึ้นอีก
สำหรับสาระสำคัญ ร่าง พ.ร.บ.ประกันชีวิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่าง พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติประกัน วินาศภัย พ.ศ. 2535 ให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติของธุรกิจ เหมาะสมกับสภาวการณ์และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันโดยปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติในการกำกับดูแลตัวแทนประกันชีวิต นายหน้าประกันชีวิต ผู้ประเมินวินาศภัย ตัวแทนประกันวินาศภัย และนายหน้าประกันวินาศภัย ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำกับการทำธุรกิจประกันภัยผ่านเทคโนโลยี ตลอดจนเพิ่มเติมบทบัญญัติเพื่อคุ้มครองประชาชนจากการฉ้อฉลประกันภัย ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีความมั่นใจในการใช้ธุรกิจประกันภัยในการบริหารความเสี่ยงของตน เห็นคุณค่าและประโยชน์ของการทำประกันภัยที่สามารถสร้างหลักประกันความมั่นคงให้กับชีวิต รวมถึงช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศ
อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ
ครม. ยังมีมติรับทราบประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 17 พ.ย. 2559 ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้มีผลใช้บังคับต่อไป โดยสาระสำคัญของเรื่อง กระทรวงแรงงาน รายงานว่า คณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ได้ดำเนินการจัดทำอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 3 กลุ่มอุตสาหกรรม 12 สาขาอาชีพ โดยพิจารณาข้อมูลผลการสำรวจ ลักษณะการทำงานการจ่ายค่าจ้างจริงในตลาดแรงงาน และความสามารถในการจ่าย รวมถึงความเห็นของผู้เข้าร่วมสัมมนา รับฟังความคิดเห็น (ร่าง) อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ เมื่อวันที่ 6 ก.ย.2559 แล้ว และมีมติเห็นชอบการปรับอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือเพื่อคุ้มครองลูกจ้างที่ผ่านกา ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในแต่ละสาขาอาชีพและแต่ระดับ ให้ได้รับค่าจ้างที่เหมาะสมและเป็นธรรม ดังนี้
กลุ่มอุตสาหกรรม/สาขาอาชีพ
|
อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ (บาท)
| ||
ระดับที่ 1*
|
ระดับที่ 2 **
|
ส่วนต่าง
| |
จักรกลและโลหะการ
| |||
1. ช่างเทคนิคเขียนแบบเครื่องกล
|
460
|
550
|
90
|
2. ช่างเชื่อมทิกสำหรับอุตสาหกรรมจักรกลและโลหะการ
|
500
|
600
|
100
|
3. ช่างเทคนิคระบบส่งกำลัง
|
450
|
540
|
90
|
4. ช่างเทคนิคระบบไฮโดรลิก
|
460
|
550
|
90
|
เครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น
| |||
1. ช่างเชื่อมระบบท่อในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น
|
400
|
485
|
85
|
2. ช่างเทคนิคเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่
|
385
|
470
|
85
|
3. ช่างเทคนิคห้องเย็นขนาดเล็ก
|
385
|
470
|
85
|
4. พนักงานประกอบเครื่องปรับอากาศ
|
370
|
455
|
85
|
แม่พิมพ์
| |||
1. ช่างเทคนิคเครื่องกัดอัตโนมัติ
|
450
|
540
|
90
|
2. ช่างเทคนิคเครื่องอีดีเอ็ม
|
430
|
515
|
85
|
3. ช่างเทคนิคเครื่องไวร์คัทอีดีเอ็ม
|
430
|
515
|
85
|
4. ช่างขัดเงาแม่พิมพ์
|
380
|
455
|
75
|
*มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ระดับ 1 ผู้เข้ารับการทดสอบต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันสมัครเข้ารับการทดสอบ และมีประสบการณ์การทำงานหรือประกอบอาชีพเกี่ยวกับสาขาอาชีพ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติของแต่ละสาขาอาชีพ หรือผ่านการฝึกฝีมือแรงงานหรือฝึกอาชีพในสาขาอาชีพตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติของแต่ละสาขาอาชีพและมีประสบการณ์จากการฝึกหรือปฏิบัติงานในกิจการในสาขาที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติของแต่ละสาขาอาชีพ หรือเป็นผู้ที่จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าประกาศนียบัตรวิชาชีพในสาขาที่เกี่ยวข้อง
** มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ระดับ 2 ผู้เข้ารับการทดสอบจะต้องมีประสบการณ์การทำงานหรือประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้อง ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ 2 ปี ในบางสาขาอาชีพ นับตั้งแต่ได้รับหนังสือรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติระดับ 1 หรือได้คะแนนรวมในการทดสอบระดับ 1 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 สามารถเข้ารับการทดสอบได้ทันที โดยไม่ต้องรอระยะเวลา 1ปี
ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป โดยอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือตามประกาศฉบับนี้ไม่มีผลบังคับใช้กับราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ นายจ้างที่จ้างลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย นายจ้างซึ่งลูกจ้างทำงานที่มิได้แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ นายจ้างที่จ้างลูกจ้างในงานบรรทุกหรือขนถ่ายสินค้าเรือเดินทะเล นายจ้างที่ตกลงจ้างผู้รับงานไปทำที่บ้าน นายจ้าง ที่จ้างลูกจ้างในงานเกษตรกรรมซึ่งมิได้จ้างลูกจ้างทำงานตลอดปี หรือมิได้ให้ลูกจ้างทำงานในลักษณะที่เป็นงานอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากงานเกษตรกรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น