15 ก.พ. 2560 โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ แจ้งว่า จากการสำรวจของไอลอว์ พบว่า สมาชิก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กว่า 89% เป็นทหารและข้าราชการ โดยอัตราการโหวตเห็นชอบกฎหมายทุ กฉบับของสนช. เกิน 90% นอกจากนี้ สนช. ยังประกอบด้วยคนวัยเกษียณถึง 75% (มีอายุเฉลี่ย 64 ปี) และมีเพศชายคุมสภาสูงถึง 95%
ที่มา 89% เป็นทหารและข้าราชการ
ไอลอว์ ระบุว่า แม้รัฐธรรมนูญ(ชั่วคราว) 2557 จะกำหนดให้หัวหน้าคสช. พิจารณาแต่งตั้ง สนช. จากบุคคล ที่มีความหลากหลายจากกลุ่มต่างๆ แต่ตลอดกว่าสองปีหกเดือน หัวหน้า คสช. ประกาศแต่งตั้งสมาชิก สนช. ทั้งสิ้นห้าครั้ง พบว่า สัดส่วนของบุคคลที่ได้รับแต่งตั้ งแต่ละครั้ง ส่วนใหญ่มียศเป็นทหาร
นับถึง 2 กุมภาพันธ์ 2560 ที่มีการแต่งตั้งครั้งล่าสุด สนช.มีจำนวนสมาชิกครบ 250 คน เป็นทหารทุกเหล่าทัพรวมกัน 145 คน (58%) ตำรวจ 12 คน (5%) ข้าราชการ 66 คน (26%) ภาคธุรกิจ 19 คน (8%) และอื่น ๆ 8 คน (3%) หากรวมสมาชิกที่เคยเป็นข้ าราชการ หรือทำงานในหน่วยงานราชการ หรือรัฐวิสาหกิจทุกประเภทจะมี จำนวนถึง 223 คน (89%) ของสมาชิกทั้งหมด
จาก สนช. จำนวนทหาร 145 คน สามารถแบ่งเป็น ทหารประจำการ 90 คน และทหารที่เกษียณอายุราชการแล้ว 55 คน หากแบ่งตามเหล่าทัพ จะเป็น ทหารบก 93 คน ทหารเรือ 28 คน และทหารอากาศ 24 คน โดยจากจำนวน สนช. ทหารทั้งหมด ประกอบไปด้วยผู้นำกองทัพทั้งอดี ตและปัจจุบัน 14 คน ดูจากช่วงระยะเวลาการดำรงตำแหน่ งในกองทัพของแต่ละคนทำให้เห็นว่ า ทหารทุกคนที่เคยดำรงตำแหน่งผู้ บัญชาการเหล่าทัพ ทั้งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการทหารเรือ ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา ถูกแต่งตั้งเข้ามาเป็น สนช.ทุกคน ยกเว้น 6 คน ที่เป็นรัฐมนตรี
ผู้ออกกฎหมายส่วนใหญ่เป็นคน "วัยเกษียณ" และ "เพศชาย"
ไอลอว์ ระบุอีกว่า หากมาดูอายุของสมาชิกทั้งหมด (ยกเว้นพลโท ธนเกียรติ ชอบชื่นชม ค้นไม่พบวันเกิด) พบว่าค่าเฉลี่ยอายุทั้งสภาอยู่ ที่ 64 ปี ขณะที่คนวัยเกษียณ หรืออายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวน 185 คน หรือคิดเป็น 75% ของทั้งสภา สมาชิกที่มีอายุน้อยที่สุด คือ สุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุ รกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ อายุ 51 ปี ขณะเดียวกันคนที่อายุมากที่สุ ดคือ สมพร เทพสิทธา อดีตรองปลัดกระทรวงเศรษฐการ อายุ 92 ปี หากแบ่งตามเพศกำเนิด เป็นเพศชาย 238 คน และเพศหญิง 12 คน เรียกว่าผู้ชายครอบครองพื้นที่ ของสภาถึง 95%
กว่า 36 คน เข้าสู่สภาจากการ "แต่งตั้ง" มากกว่าหนึ่งครั้ง
ในจำนวนสมาชิก สนช. ทั้งหมด 250 คน มีอย่างน้อย 36 คน ที่เข้าสู่ตำแหน่งนิติบัญญัติด้ วยการแต่งตั้งมากกว่าหนึ่งครั้ง ย้อนกลับไปในรอบ 11 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการแต่งตั้งบุคคลเพื่ อดำรงตำแหน่งนิติบัญญัติ จำนวนสี่ครั้ง คือสนช. ปี 2549 ส.ว.แต่งตั้ง ปี 2551 ส.ว.แต่งตั้ง ปี 2554 และ สนช. ปี 2557 ชุดปัจจุบัน โดยมีสองคนที่อยู่ในตำแหน่ งครบทั้งสี่สมัย คือ ตวง อันทะไชย และ สมชาย แสวงการ
90% เห็นชอบ กม.ทุบฉบับ และข้าราชการยึดอำนาจออกกม.
ไอลอว์ รายงานอีกว่า ในด้านการพิจารณาร่างกฎหมาย นับถึงสิ้นปี 2559 สนช.พิจารณาร่างพ.ร.บ.สำเร็จอย่ างน้อย 214 ฉบับ คณะรัฐมนตรีเสนอร่างกฎหมายมากที่ สุด 185 ฉบับ โดยร่างพ.ร.บ. ที่ ครม. เสนอส่วนใหญ่เป็นร่างพ.ร.บ.ที่ หน่วยราชการต่างๆ เสนอมา ซึ่งพบว่าหัวหน้าหน่วยราชการต่ างๆ ที่ได้รับการแต่งตั้งเข้าไปเป็น สนช. มีบทบาทสำคัญในการผลักดันร่างพ. ร.บ.ที่เกี่ยวข้องกับตนเอง เช่น ร่าง พ.ร.บ.สภาความมั่นคงแห่งชาติ ร่าง พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร และ ร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ นอกจากนี้ยังพบว่า นักธุรกิจที่ถูกแต่งตั้งเป็ นสนช. ก็มีบทบาทในการผลักดัน ร่างพ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องกับธุ รกิจของตัวเอง เช่น ร่าง พ.ร.บ.ประมง
ขณะที่ผลการลงมติในร่ างกฎหมายฉบับต่างๆ ผ่านความเห็นชอบด้วยคะแนนเสี ยงข้างมากเกิน 90% ทุกฉบับ เมื่อลงรายละเอียดการลงมติใน ร่างพ.ร.บ.ที่สังคมมีการถกเถี ยงกันอย่างแพร่หลาย ก็พบว่าไม่มีร่างพ.ร.บ.ฉบับไหน ที่เสียงส่วนใหญ่ลงมติไม่เห็ นชอบ หรือแม้แต่มีมติเห็นชอบอย่างเฉี ยดฉิวก็ไม่มี ตัวอย่าง ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิ ดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ที่มีมติเห็นชอบถึง 97% จากผู้ลงมติทั้งหมด 173 เสียง เห็นชอบ 168 เสียง และงดออกเสียง 5 เสียง หรือ ร่างพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ ที่มีมติเห็นชอบ 97% จากผู้ลงมติทั้งหมด 163 เสียง 158 งดออกเสียง 4 และไม่ลงคะแนน 1 เสียง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น