วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2554


จับได้จะๆทะเหี้ย..มขึ้นป้ายเสี้ยมด่าเสื้อแดงเผาเมือง ปั่นหัวสลิ่มดัดจริตก่อกระแสต้านชุมนุมใหญ่12มีนา


ทะเหี้ย..ม-ทหาร2นายมีป้ายบนเสื้อ “รือเสาะ 51” หน่วยปฏิบัติการพิเศษ อ้างว่าได้รับคำสั่งจากนายปฏิบัติการพิเศษขึ้นป้ายที่สะพานลอยย่านชุมชนบ่อนไก่ แล้วเฝ้าป้ายไว้ แต่เสื้อแดงบ่อนไก่ได้ขับไล่ออกไปพร้อมปลดป้ายลง ทะเหี้ย..ม2รายยอมรับว่านายสั่งให้ปฏิบัติการทั่วกรุงช่วงก่อนการชุมนุมใหญ่ 12 มีนาคม เพื่อปฏิบัติการทางจิตวิทยา(ปจว.)ให้คนกรุงเทพฯโดยเฉพาะบรรดา"สลิ่ม"หัวอ่อนทั้งหลายมีทัศนคติทางลบต่อคนเสื้อแดง


โดย เสื้อแดงบ่อนไก่
11 มีนาคม 2554

วันนี้ (11 มีนาคม ) เวลาประมาณ 10.00 น. ได้รับแจ้งจากคนเสื้อแดงในชุมชนบ่อนไก่ว่า มีทหารได้นำป้ายผ้ามาติดตรงสะพานลอยด้านหน้าชุมชน (สะพานลอยหน้าธนาคารกรุงเทพฯ สาขาบ่อนไก่) อันเป็นจุดที่เมื่อวันที่ 6 มีนาคมที่ผ่านมา คนเสื้อแดงใช้เป็นสถานที่ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ในเดือนพฤษภาคม 2553 ชาวเสื้อแดงชุมชนบ่อนไก่

โดยมีการนำป้ายของทหารปิดทับป้ายผ้าขนาดใหญ่ว่า “15 ศพ บ่อนไก่ เราไม่ลืม”


ป้ายผ้าของชาวชุมชนในวันจัดงานทำบุญ (ถ่ายตอนค่ำของวันที่ 5 มีนาคม 2553) 

เมื่อไปถึงที่เกิดเหตุ พบป้ายผ้า 2 ผืน เขียนข้อความ “เรียกร้องประชาธิปไตยทำไมต้องเผาด้วย” และ “แล้วใครใช้ให้พวกมึงเผาบ้านเมือง” ติดอยู่ตรงสะพานลอย โดยมีเสื้อแดงในชุมชนบ่อนไก่ราว 4-5 คนยืนจับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์อยู่ทางด้านตีนสะพานลอย ขณะที่คนซึ่งอ้างว่าเป็นทหารที่มาติดป้ายจำนวน 2 คน คอยเฝ้าอยู่อีกฝั่งหนึ่ง

ป้ายผ้าของทหารที่ถูกนำมาติดที่สะพายลอย

ทหาร 2 คน ที่นำป้ายผ้ามาติดและคอยมาเฝ้าป้ายผ้าอยู่ตีนสะพานลอยอีกฝั่งหนึ่ง

เมื่อผู้สื่อข่าวไปสอบถามถึงที่มาและเหตุผลในการติดป้ายนี้ เขาบอกว่าเป็นทหาร แต่เมื่อสอบถามต้นสังกัด เขาบอกว่าไม่สามารถที่จะบอกได้ โดยทั้ง 2 คนอธิบายว่า ได้รับคำสั่งจากเจ้านายให้นำป้ายผ้าทั้ง 2 ชิ้น มาติดที่จุดนี้ และคอยเฝ้าไว้ด้วย เมื่อถามว่า เขาเป็นคนนำป้ายผ้าในลักษณะเดียวกันนี้ไปติดบริเวณคลองเตยด้วยหรือไม่ เขาบอกว่าไม่ใช่ชุดของเขาแต่อาจจะเป็นชุดอื่น และเล่าให้ฟังต่อว่ามีคำสั่งให้ทหารกระจายกำลังกันทำในลักษณะนี้ในช่วงนี้ซึ่งจะมีการชุมนุมในวันพรุ่งนี้ ทั่วกรุงเทพฯ

อนึ่งชาย 2 คนที่อ้างว่าเป็นทหารนั้น ใส่ชุดทหารครึ่งท่อน และสวมเสื้อนอกคลุมเขียนข้อความว่า “รือเสาะ 51” หน่วยปฏิบัติการพิเศษ 

เสื้อแดงบ่อนไก่ที่เห็นเหตุการณ์ไม่พอใจและพยายามติดต่อเพื่อนในชุมนุมให้ออกมาขับไล่ แต่ไม่ได้มีคนออกมาเพิ่มเติมเพราะในตอนกลางวัน ส่วนใหญ่จะออกไปทำงานข้างนอกกัน

ต่อมามีสมาชิกในชุมชนที่ทำงานอยู่ในบริเวณใกล้เคียงที่ทราบข่าวได้เดินทางมาถึง และเข้าไปถ่ายรูป และบอกว่า “น้องๆ กลับไปเถอะเดี่ยวพวกเสื้อแดงที่อยู่ในชุมนุมกำลังจะออกมาไล่แล้ว” ทหารทั้ง 2 คนจึงรีบออกไปทันที

เสื้อแดงบ่อนไก่ช่วยกันเก็บป้ายผ้าออกหลังจากที่ทหารกลับไปแล้ว

หลังจากที่ทหารกลับไป เวลาประมาณ 11.00 น. พวกเขาได้ช่วยกันเก็บป้ายผ้าออกโดยทันที โดยเสื้อแดงบ่อนไก่คนหนึ่งอธิบายว่า
“ไม่พอใจที่ทหารเอาป้ายผ้านี่มาติด ถ้าปล่อยไว้เท่ากับเรายอมรับว่าเรา คือ คนในชุมชนบ่อนไก่ เผาเมืองบ้านเมือง เราไม่ได้เผา และการเผาเกิดขึ้นในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 หลังจากทหารใช้ความรุนแรงเข้าสลายการชุมชุมแล้ว ดังนั้นมาว่าเรา เรียกร้องประชาธิปไตยแล้วเผาไม่ได้ ในชุมชนเราไม่มีการเผาเลย แล้วที่เผาที่อื่นก็เกิดขึ้นหลังจากพวกทหารใช้ความรุนแรงแล้ว ซึ่งอันนั้นเข้าใจว่าเป็นผลหรือเป็นการตอบโต้การใช้ความรุนแรงของรัฐบาล หรืออาจเป็นการสร้างสถานการณ์เพื่อโยนบาปให้คนเสื้อแดง ถ้ารัฐบาลไม่ใช้ความรุนแรงเหตุการณ์แบบนั้นก็ไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน”


ขณะที่อีกคนเห็นว่า “นี่อาจจะเป็นวิธีการข่มขวัญ ข่มขู่ให้พวกเรากลัว เนื่องจากเราได้ออกมาจัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา พวกนี้เป็นวัวสันหลังหวะ กลัวความจริง เลยพยายามบิดเบือน ซึ่งไม่มีทางสำเร็จหรอก”

การออกปฏิบัติการตามนายสั่งทั่วกรุงเทพฯ ช่วงก่อนการชุมนุมใหญ่ 12 มีนาคม เชื่อกันเพื่อปฏิบัติการทางจิตวิทยา(ปจว.)ให้คนกรุงเทพฯโดยเฉพาะบรรดา"สลิ่ม"หัวอ่อนทั้งหลายมีทัศนคติทางลบต่อคนเสื้อแดง

คำผกา วิเคราะห์ "สลิ่ม" ในสังคมไทย


ที่มา VoiceTV

ฟัง "คำผกา" ชำแหละขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในประเทศไทย พร้อมหาคำตอบใครคือ "สลิ่ม" ในความหมายและมุมมองของเธอ

ในงานเสวนา "เบื้องหลัง 6ตุลา เบื้องหน้าประชาธิปไตยไทย" เพื่อรำลึก 35ปี 6 ตุลา 2519 ซึ่งจัดขึ้นที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 นางสาวลักขณา ปันวิชัย หรือ คำผกา คอลัมนิสต์ชื่อดัง หนึ่งในผู้ร่วมเสวนา กล่าววิเคราะห์ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในประเทศไทย โดยเรียกคนกลุ่มนี้ว่า "สลิ่ม" พร้อมชวนคนไทยชำระประวัติศาสตร์ใหม่ เพื่อเผยโฉมหน้ากลุ่มทุนสามานย์ตัวจริ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น