วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554


หรือคนเสื้อแดงจะเป็นได้เพียง "หญ้าแพรก" 
รอวันจะแหลกลาญ..
http://www.internetfreedom.us/thread-18232-post-187713.html#pid187713


เมื่อถึงคราที่ช้างสารต้องชนกัน ฤ จะเป็นหญ้าแพรกที่แหลกลาญ
Tuesday, 13 October 2009 14:05 | Author: ม้าน้ำ |


จากคำกล่าวของ เหมา เจ๋อ ตง ที่ว่าด้วยสงครามยึดเยื้อ “สงครามคือความต่อเนื่องของการเมือง”
นั่นก็คือ การใช้กุศโลบายตามวิถีทางการเมืองในการขจัดอุปสรรคทางการเมืองในชั้นแรก
เป็นการดำเนินการที่ใช้ระยะเวลายึดเยื้อยาวนาน ด้วยวิธีการที่หลากหลายและรอบด้าน
เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าประสงค์ทางการเมืองและเมื่ออุปสรรคถูกขจัดให้หมดสิ้นไป หรือบรรลุผลตามที่ต้องการแล้ว ก็เป็นอันยุติ
ซึ่งการใช้แนวทางในด้านการเมืองนั้น เป็นวิธีการเพื่อหลีกเลี่ยงความรุนแรง หรือการเผชิญหน้ากันด้วยกองกำลังและอาวุธ
แต่เมื่อได้ใช้กุศโลบายหรือวิถีทางการเมืองอย่างถึงที่สุดแล้วยังไม่สามารถขจัดอุปสร​รคหรือไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่ต้องการได้
สงครามจะกลับกลายมาเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะใช้เป็นเครื่องมือหรือวิธีการที่จะใช้ในกา​รดำเนินการเพื่อใช้ขจัดอุปสรรค
และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการเมืองตามที่ตนต้องการต่อไป

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า "การเมืองคือสงครามที่ไม่มีการหลั่งเลือด แต่สงครามนั้นเป็นการเมืองที่จะต้องหลั่งเลือด" ตามคำกล่าวของ เหมา เจ๋อ ตง
ดังที่ได้เคยกล่าวเอาไว้แล้วนั่นเอง

ด้วยเหตุที่ว่ามี “สัญญาณ” หรือ “นัย” บ่งชี้บางอย่างบางประการเกิดขึ้นกับ “ตำแหน่ง” หรือ “จุด” ที่ทรงอำนาจและอุดมไปด้วยผลประโยชน์รอบด้าน
ซึ่งมีผู้หมายปองหลายคน การที่ผู้หมายปองเหล่านั้นจะให้ได้มาซึ่งตำแหน่งหรือจุดที่ตนต้องการได้นั้น จำเป็นจะต้องมีการขจัดอุปสรรคหรือปัญหา
ซึ่งก็คือ “คู่แข่ง” เพื่อให้ขึ้นไปสู่จุดมุ่งหมาย หรือตำแหน่งที่ตนหมายปอง และถ้าไม่มีฝ่ายใดยอมหลีกทางให้
ย่อมจะต้องมีการกดดันกันด้วยวิธีการต่าง ๆ นานา รวมถึงการแสดงแสนยานุภาพบั่นทอน
เพื่อให้คู่ต่อสู้ได้เป็นที่ประจักษ์และเกิดความกริ่งเกรงจนยอมสยบและหลีกทางให้
และอาจมีการเข้าร่วมเป็นฐานอำนาจให้กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดที่ยอมรับสมประโยชน์เข้าด้วยก​ัน
ทำให้ผู้หมายปองลดลง คู่แข่งขันที่แท้จริงจะค่อย ๆ ปรากฏชัดเจนขึ้นเป็นลำดับ
และเมื่อดำเนินการกดดันด้วยวิธีการปกตินั้นไร้ผล กลายเป็นสถานการณ์ที่ตั้งยันกันอยู่
ซึ่งในสถานการณ์แบบนี้ ถ้ามีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเพลี่ยงพล้ำแม้แต่นิดเดียว ก็อาจทำให้เกิดการพลิกผันมีผลไปถึงการแพ้ชนะขึ้นได้
แต่ถ้าผลแพ้ชนะไม่เกิดให้ห้วงเวลาตั้งยันกันนี้สถานการณ์ย่อมนำพาไปสู่การใช้กำลังพล​และอาวุธที่ต่างฝ่ายต่างมีอยู่ในมือ
เข้าทำการโรมรันกันเพื่อช่วงชิงเอาชัยอันเป็นสถานการณ์ที่เรียกกันว่า “สงคราม” ในท้ายที่สุด
ซึ่งการเปิดสงครามเข้าใส่กันนั้น ต่างฝ่ายต่างก็ต้องประเมินกำลังกันแล้ว และคิดว่าฝ่ายตนได้เปรียบเหนือกว่า
จึงจะนำกำลังเข้าทำการห้ำหั่นกันดังนั้น ระยะเวลาและความสูญเสีย จึงขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละฝ่ายเป็นสำคัญ

และเมื่อจะเปิดสงครามกันนั้นตำราพิชัยสงครามของซุนวู ได้กล่าวเอาไว้ว่า
“อันการสงครามนั้นเป็นเรื่องสำคัญของประเทศชาติ เป็นแหล่งแห่งความเป็นความตาย
เป็นเหตุแห่งการดำรงอยู่หรือดับสูญ จักไม่พินิจพิเคราะห์มิได้” นี่ย่อมแสดงให้เห็นแล้วว่า
เมื่อเกิดการปะทะห้ำหั่นกันแล้ว ย่อมจะมีฝ่ายหนึ่งที่พ่ายแพ้ย่อยยับไปพร้อมกับการดับสูญ
และฝ่ายที่เหนือกว่าดำรงอยู่บนชัยชนะ(ภายใต้ซากปรักหักพัง)

ดังนั้น สถานการณ์ภายในประเทศ ณ ปัจจุบันนี้นั้น อยู่ในขั้นไหน ขึ้นอยู่กับข้อมูลและการวิเคราะห์ การประเมินและติดตามเหตุการณ์ของแต่ละบุคคล
แต่สำหรับ ม้าน้ำ แล้วนั้น เมื่อมองดูแล้วเห็นว่า น่าจะเหลืออยู่เพียง “สองฝ่าย”(แต่ละฝ่ายมีแนวทางแยกย่อย) ที่กำลังเร่งเร้ากันอยู่
หนึ่งนั้นคือฝ่ายที่ชอบธรรมตามข้อกำหนด ส่วนอีกหนึ่งนั้นคือฝ่ายที่ต้องการรักษาสถานะเดิม
และทั้งคู่จะกลายมาเป็น“คู่ชิงชัย”กันในท้ายที่สุด

อำนาจ ผลประโยชน์ ความมัวเมา ความลุ่มหลง ไม่เคยเข้าใครออกใคร

แล้ว “คุณ” ล่ะ!!! จะเลือกหรือไม่เลือก “ข้าง” หรือจะยืนอยู่ ณ จุดใด “ภายใต้หรือเหนือ” ความขัดแย้งนี้

จงใช้สติและปัญญาที่ตั้งอยู่บนสามัญสำนึกในหนทางที่คุณเฝ้าใฝ่ฝันหาให้จงหนัก ว่าภายใต้สถานการณ์เหล่านี้นั้น

มีขั้นตอนใดบ้างที่ยังประโยชน์ต่อระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงบ้าง

อย่าเป็นได้เพียงหญ้าแพรกในทุ่งยุทธหัตถี ที่รอวันจะแหลกราญ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น