"สุขุมพันธุ์"บอกดูแลแค่กทม.-ไม่ได้มีหน้าที่รับผิดชอบคนทั้งชาติ | |
เวลา 20.00 น. วันที่ 21 ต.ค. ผู้สื่อข่าว "ข่าวสด" รายงานว่า ที่ศาลาว่าการกทม. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. กล่าวถึงกรณีรัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.บ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 2550 ว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวทำให้ตนมีอำนาจมากกว่าเดิมสามารถสั่งการอะไรในพื้นที่ กทม.ก็ได้ แต่อยู่ภายใต้การควบคุมจากนายกรัฐมนตรี หากนายกรัฐมนตรีไม่เห็นชอบเรื่องใด กทม.ก็ไม่สามารถคัดค้านได้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ กทม.พร้อมปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาล และการทำงานหลังจากนี้ก็คงเป็นแนวทางเดียวกัน เพราะเข้าใจดีและเคยเป็น ส.ส.มาก่อน รวมถึงเคยผ่านกฎหมายมาหลายฉบับ ฉะนั้นย่อมเคารพต่อกฎหมาย “ส่วนสาเหตุที่รัฐบาลประกาศ พ.ร.บ.ป้องกันฯ ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไร ต้องไปถามรัฐบาล แต่ยืนยันว่า กทม.เปิดประตูระบายน้ำมาโดยตลอด แต่อาจเปิดได้ไม่เต็มที่ เพราะผมมีหน้าที่รับผิดชอบต่อชาวกทม. ไม่ใช่รับผิดชอบต่อคนทั้งชาติ หากถามความรู้สึกผม ถ้าจะให้ทำอะไรก็พร้อมทำทุกอย่าง ผมถวายชีวิตให้คนกทม.แล้ว แค่กฎหมายนี้ทำไมผมจะยอมรับไม่ได้” ผู้ว่าฯ กทม.กล่าว ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ยังเป็นห่วง 4 จุดเสี่ยงรอบพื้นที่ กทม. ได้แก่ 1.คลองรังสิตตัดถนนพหลโยธิน เพราะขณะนี้ยังไม่มีหน่วยงานรัฐเข้าไปดูแล เนื่องจากระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจนเอ่อท่วมถนนหน้าห้างเซียร์รังสิตแล้ว ซึ่งนายพระนาย สุวรรณรัฐ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้ประสานมายัง กทม.ว่าจะส่งบุคลากร 1,000 นาย เข้าไปดูแลจุดนี้ แต่หากไม่สามารถป้องกันได้ น้ำจะทะลักเข้าคลองเปรมประชากร 2.คลองสองและคลองหกวา ซึ่งเป็นภารกิจใหญ่ของ กทม.ในการสร้างแนวป้องกันน้ำท่วม คาดว่าจะแล้วเสร็จอย่างช้าสุดวันพรุ่งนี้ 3.พื้นที่ฝั่งตะวันตกของ กทม.และคลองมหาสวัสดิ์ ซึ่งพบว่ามีระดับน้ำสูงถึง 2 เมตร หากปริมาณน้ำสูงถึง 2.5 เมตร จะมีปัญหาได้ เพราะเกรงว่าปริมาณน้ำจะโอบล้อมเข้าท่วมพื้นที่ 4.คลองประปา ขณะนี้น้ำในคลองได้คลี่คลายลงระดับหนึ่ง เพราะมีการผันน้ำเข้าคลองบางเขนใหม่ และคลองบางซื่อ ซึ่งการประปานครหลวง (กปน.) ยืนยันว่าภายในวันพรุ่งนี้จะเข้าไปแก้ปัญหาให้แล้วเสร็จ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า รู้สึกเสียใจกับปัญหาที่เกิดขึ้นนอกพื้นที่กทม. แต่ปัญหานั้นกลับส่งผลกระทบถึงคนกทม. ซึ่งขณะนี้มีคนในพื้นที่ดอนเมืองต้องอพยพไปแล้วถึง 1,492 คนในศูนย์อพยพ 6 แห่ง | |
http://redusala.blogspot.com |
ดาวน์โหลดคลิ๊ปคนเสื้อแดง
วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น