วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554


ศาล ICC กับการรอคอยที่ราชประสงค์

ผศ.ดร. ศิลป ราศรี >> 

อาทิตย์ ที่ 12 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2554

ศาล  ICC กับการรอคอยที่ราชประสงค์


                 ในความผิดส่วนบุคคล   ที่ศาลภายในประเทศ ของอาชญากร ผู้กระทำการทารุณกรรมและเข่นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เป็นอาชญากรต่อมนุษยชาติ ไม่สามารถลงโทษเขาได้ อาจจะด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม เพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ องค์การสหประชาชาติ จึงได้ตั้งศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศ(International Criminal Court: ICC) ขึ้น เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2545 และตั้งอยู่ที่ กรุงเฮก ประเทศเนเธอแลนด์

                ศาล ICC นี้ ตั้งขึ้นตาม ธรรมนูญกรุงโรมฯ ว่าด้วยศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศโดยมีรัฐภาคีแห่งธรรมนูญกรุงโรมฯ จำนวน 108 รัฐ และอีก 40 รัฐที่ลงนามใน สนธิสัญญา ธรรมนูญกรุงโรมฯ แต่ยังไม่ให้สัตยาบัน ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย แม้ว่ารัฐเหล่านั้น จะยังไม่ลงสัตยาบัน ก็จะทำผิดในหลักการที่ศาล ICC กำหนดในธรรมนูญกรุงโรมฯมิได้

      ศาล ICC ได้ทำการสอบสวนอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในรัฐภาคีมาแล้วหลายประเทศ เช่น ประเทศอูกานดาเหนือ ประเทศคองโก ประเทศแอฟริกากลาง และกรุงดาร์ฟูร์ มีการออกหมายจับและลงโทษ อาชญากร แล้วหลายราย 


 ศาล ICC มีโครงสร้าง แบ่งเป็น 4 ฝ่าย
1. ประธานศาลอาญาระหว่างประเทศ ( Presidency)
2. ตุลาการศาลอาญาระหว่างประเทศ (Judicial Divisions) แบ่งการดำเนินการออกเป็น 3 
ฝ่าย
     2.1    ขั้นพิจารณาเบื้องต้น (Pre-trial)  
     2.2   ชั้นพิจารณาคดี (Trail)
     2.3    ชั้นอุทธรณ์ (Appeal)
3. สำนักงานอัยการ (Office of the Prosecution)
4.  สำนักงานทะเบียน (Registry)

  ศาล ICC มีขอบเขตอำนาจในการ พิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับ 4 เหตุการณ์คือ

(1) การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide)   หมายถึง การกระทำที่มีเจตนาทำลายล้าง ทั้งหมด หรือบางส่วนของกลุ่มชนชาติ ชาติพันธุ์ เชื้อชาติ หรือกลุ่มทางศาสนาเช่นเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ ในรวันดา ที่มีคนถูกฆ่ามากกว่าล้านคน และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ใน ยูโกสลาเวียเป็นต้น

(2) อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ (Crimes against Humanity) ในหลักการและเหตุผล ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ บันทึกไว้ว่า “อาชญากรรมต่อมนุษยชาติเป็นเรื่องที่ป่าเถื่อน เป็นการทำลายศักดิ์ศรี และก่อความอัปยศอดสูแก่ มนุษย์ชาติ โดยการทำลายความเป็นมนุษย์ของบุคคลให้เสียหายหรือสูญเสียชีวิต ซึ่งอาจเป็นการกระทำของผู้นำของรัฐ หรือ จากนโยบายของรัฐ และแม้ว่ารัฐนั้นๆในทางพฤตินัยแล้ว อาจจะไม่เอาโทษ (นิรโทษกรรม) แต่การฆ่า การกำจัด การทรมาน การข่มขืน การตามล้างกันทางการเมือง ชาติพันธุ์ หรือศาสนา ตลอดจนการกระทำอื่นๆที่ป่าเถื่อนเยี่ยงเดรัจฉาน ถือว่าเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติทั้งนั้น”

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2551 ศาล ICC ได้ออกหมายจับ นาย โอมา ฮัสซัน อัมมัด อัลบาเชอร์ ประธานาธิบดี ซูดาน ในข้อหาอาชญากรรมต่อมนุษย์ชาติ ด้วยการปล้นสะดมไล่ล่าฆ่าชาวพื้นเมืองอย่างโหดเหี้ยม และอื่นๆอีก 10 กว่าคดี

       (3)   อาชญากรรมสงคราม (War Crimes)   ได้แก่ การกระทำความผิดทั้งในสถานการณ์หรือความขัดแย้งด้วยอาวุธระหว่างประเทศ ( International armed conflict) และสถานการณ์ความขัดแย้งด้วยอาวุธอันเกิดขึ้นเฉพาะบุคคล (Civil War) หมายเอา ผู้ที่มีส่วนร่วมในการวางแผน ออกคำสั่งหรือออกนโยบายในลักษณะที่เป็นการกระทำที่ส่งผลต่อกองกำลังทหารหรือพลเรือนจำนวนมาก (Large scale) ในระหว่างการรบ เช่น การปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรมต่อเชลยศึก การใช้แก็สพิษ การโจมตีเป้าหมายพลเรือน เป็นต้น

      (4) การรุกราน (Aggression)   ความผิดฐานการรุกรานนั้น แม้ว่าประเทศส่วนใหญ่จะคัดค้านการรวมความผิดฐานนี้ไว้ในเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาที่ไม่ต้องการให้มีความผิดฐานนี้ขึ้นเพราะเกรงว่าอาจเกี่ยวโยงกับทหารของตนที่ส่งไปปฏิบัติงานอยู่ทั่วโลก ทั้งในนามของประเทศและกองกำลังผสมภายใต้องค์การระหว่างประเทศ แต่ในที่สุดความผิดฐานนี้ก็ได้รับการระบุไว้ในธรรมนูญก่อตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ (อ้างอิงจาก http://th.wikipedia.org

หลักการสำคัญในการพิจารณาความของศาล ICC ก็คือ
1.  หลักการไม่มีผลความผิดย้อนหลัง ( Non-retroactivity of the statue )
2.   หลักการไม่ปล่อยให้คนผิดลอยนวล ( No to impunity )
3.  หลักการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม

        ผู้ถูกกดขี่ทั่วโลกมักดิ้นรนเรียกร้องหาความเป็นธรรมจากชนชั้นผู้กดขี่ เพื่อชั้นตัวเอง แต่ ผู้กดขี่มักจะอ้างความชอบธรรมบนพื้นฐานแห่งความเชื้อและผลประโยชน์ของชนชั้นตัวเองเพื่อ หาความชอบธรรมในการกดขี่   มันมีจุดกั้นกลางหรือไม่    รอยต่อระหว่างแรงกด กับแรงดัน หากมีช่องว่าง ระหว่างรองเท้าบูทที่กดบนหัว กับหัวมนุษย์ที่ถูกเหยียบที่พยายามดันขึ้น ตรงนี้แหล่ะน่าจะเป็น คืออำนาจของศาล ICC ที่สะกัดกั้นไม่ไห้ผู้กดขี่ เป็คนผิดที่ลอยนวล   เพราะที่สุดยังมีความยุติธรรม ที่ผู้กดขี่พอจะหวังได้ แม้จะไกลเกินความหวังก็ตาม ชีวิตแม้ไม่สามารถเอากลับคืนมาได้ อย่างน้อย วิญญาณของเหล่าวีระชน ก็จะได้เห็น อาชญากรผู้โหดเหี้ยม ถูกลงโทษ อย่างสาสม ก่อนที่กฏแห่งกรรมจะบดขยี้เขาในปรโลก นี่คือการรอคอยของวิญญาณราชประสงค์!!!!

                                                            ผศ. ดร. ศิลป์ ราศรี
http://redusala.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น