วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เสร็จนาฆ่าโคถึก เสร็จศึกฆ่าหุ่นเชิด

 

                พฤติกรรมการกระทำผิดในข้อหาร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็น ผล ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59, 83, 84 และ 288”

         นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ชี้แจงการแจ้งข้อ หานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนาย สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะนายกรัฐมนตรีและผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม กรณีคดีการเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม ปี 2553 จำนวน 99 ศพ ซึ่งเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม หลังจากศาลมีคำสั่งแล้ว 2 คดีคือ นายพัน คำกอง และนายชาญณรงค์ พลศรีลา เสียชีวิตจากกระสุนปืนของเจ้าหน้าที่ทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่ง ศอฉ. ซึ่งเจ้าหน้าที่ทหารได้รับการคุ้มครองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 70 ไม่ต้องรับโทษจากการกระทำที่ทำตามคำสั่งโดยชอบ

Posted Image

       ผู้ที่รับผิดชอบจึงเป็น ศอฉ. คือผู้บริหารของ ศอฉ. ซึ่งขณะนั้นนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุด และผู้อำนวยการ ศอฉ. ที่รับผิดชอบการออกคำสั่งต่างๆ การดำเนินคดีจึงเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 ที่ให้ศาลสถิตยุติธรรมเป็นผู้ไต่สวนสาเหตุการตายเพื่อให้เกิดความชอบธรรม

หลักฐานมัด “อภิสิทธิ์”

        ส่วนกรณีที่นายอภิสิทธิ์ระบุว่าไม่เคยเป็นกรรมการ ศอฉ. และไม่เคยเซ็นคำสั่งใดๆใน ศอฉ. นั้น รายงานจากดีเอสไอยืนยันว่ามีเอกสารหลักฐานเป็นบันทึกการสั่งการทางวิทยุสื่อ สารของเจ้าหน้าที่ทหารหลายคำสั่ง ต่างช่วงเวลากัน บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับประเด็นข้อสั่งการภายหลังการแจ้งผ่าน วิทยุสื่อสาร ซึ่งเป็นการยืนยันว่ามีการสั่งจาก ศอฉ. จริง และในบันทึกคำสั่งที่ดีเอสไอได้มานั้นมีข้อความระบุถึงอำนาจ ศอฉ. และข้อสั่งการของนายอภิสิทธิ์ในฐานะนายกรัฐมนตรี จากนั้นเป็นรายละเอียดเรื่องการใช้กำลังเข้าดำเนินการและอนุมัติการเบิก อาวุธของฝ่ายปฏิบัติการ และท้ายคำสั่งอนุมัติลงชื่อโดยนายสุเทพในฐานะผู้อำนวยการ ศอฉ.
 
        ดังนั้น พนักงานสอบสวนจึงเชื่อได้ว่านายอภิสิทธิ์มีส่วนรับรู้ รับทราบ ทั้งยังมีพยานบุคคลหลายปากยืนยันว่านายอภิสิทธิ์ร่วมประชุมวอร์รูมฝ่าย ยุทธการเป็นประจำ ซึ่งนายธาริตให้ความเห็นว่า เรื่องนี้ชัดเจนและมีข้อยุติแล้วในระดับหนึ่ง โดยศาลบอกชัดว่าเจ้าหน้าที่ทำให้คนตายภายใต้คำสั่งของ ศอฉ. หากพูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือเป็นการตายจากการฆาตกรรมโดยเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติ งานตามคำสั่ง ศอฉ. ไม่ใช่ตายโดยธรรมชาติ เป็นลม หรือโรคระบาดตาย เมื่อเป็นลักษณะคดีฆาตกรรมก็ต้องมีคนรับผิดชอบ

       “จะให้ฟ้าดินรับผิดชอบหรืออย่างไร ผมไม่เข้าใจเหมือนกันว่าพูดทำไมว่าไม่ได้เซ็น ไม่ได้ให้ใครไปฆ่าใคร โดยตำแหน่งหน้าที่ขณะนั้นคุณต้องรับผิดชอบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้”
อย่างไรก็ตาม นายอภิสิทธิ์กล่าวถึงนายธา ริตว่าต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเหมือนกัน เพราะถ้านายธาริตได้รับการคุ้มครอง นายสุเทพก็ต้องได้รับการคุ้มครองด้วย จึงรู้สึกแปลกใจที่นายธาริต

        บอกว่ามีกรรมการ ศอฉ. ที่แต่งตั้งโดยนายอภิสิทธิ์ 2 ชุด ทำไมถึงไม่พูดให้ครบด้วยว่าตนไม่ได้ร่วมเป็น กรรมการทั้ง 2 ชุด และตรงไหนที่เป็นคำสั่งที่ออก โดยนายอภิสิทธิ์ ไม่รู้สึกแปลกใจที่ก่อนหน้านี้ถูกเรียกไปให้ปากคำในฐานะพยาน แต่ตอนนี้กลับถูกดำเนินการในฐานะจำเลย เพราะมีธงไว้อยู่แล้ว

สู้ตามกระบวนการยุติธรรม

        “หากดีเอสไอปล่อยเวลาเนิ่นนาน ไม่แจ้งข้อหากับใคร ทั้งๆที่ศาลมีคำสั่งไต่สวนการเสียชีวิตออกมาชัดเจนว่าเป็นการกระทำของเจ้า หน้าที่รัฐภายใต้คำสั่งของ ศอฉ. อีกทั้งคดีดังกล่าวเป็นคดีที่สังคมสนใจ มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ผมคิดว่าอาจทำให้ภาพลักษณ์การสอบสวนของดีเอสไอไม่เป็นมืออาชีพ และคดีที่พนักงานสอบสวนจะแจ้งข้อกล่าวหา ศาลได้มีคำสั่งมาแล้วกว่า 1 เดือน ดังนั้น ทุกอย่างต้องดำเนินไปตามขั้นตอน”

         นายธาริตชี้แจงและกล่าวว่า คดีนายพัน คำกอง เป็นคดีแรกที่จะแจ้งข้อกล่าวหา ยังมีคดีอื่นๆที่ศาลกำลังสั่งอีกกว่า 30 คดี ซึ่งหากศาลมีคำสั่งในทิศทางเดียวกัน ดีเอสไอจะแจ้งข้อกล่าวหาเป็นรายคดี ดังนั้น ผู้ถูกกล่าวหาต้องเดินทางมารับทราบข้อกล่าวหาเป็นรายคดีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ ได้ ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงข้อหาพยายามฆ่าด้วย เมื่อท่านบอกว่าบริสุทธิ์ ไม่ได้ทำผิด ก็มาพิสูจน์กัน ไม่ใช่การตามหา “ชายชุดดำ” ที่เป็นสิ่งนอกกระบวน การยุติธรรมทั้งนั้น ซึ่งไม่มีประโยชน์และไม่ได้ช่วยพิสูจน์ความถูกผิด

       “ถ้าเราไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมแล้วจะเชื่อใคร จะไปอาศัยศาลพระภูมิ ศาลเจ้าที่ไหน เราก็ต้องอาศัยศาลสถิตยุติธรรมในการดำเนินการเรื่องนี้ ยืนยันอีกครั้งว่าเราทำตามพยานหลักฐาน โดยเฉพาะพยานหลักฐานเรื่องนี้ล้วนมาจากการพิสูจน์โดยศาล ไม่ใช่พยานที่สร้างขึ้นเอง น่าจะเป็นเรื่องดี จะได้เปิดโอกาสให้ทั้ง 2 ท่านเข้ามาให้การในคดี”

สื่อเทศประโคมข่าว “อภิสิทธิ์-สุเทพ”

        ขณะที่สื่อต่างประเทศหลายสำนักรายงานข่าวในลักษณะเจาะลึกและบทวิเคราะห์ ถึงการตั้งข้อหานายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ โดยสำนักข่าวเอพีรายงานคำแถลงของนายธาริตที่ยืนยันว่าไม่ใช่ใบสั่งการเมือง ส่วนเว็บไซต์ข่าวเอบีซีนิวส์ ชี้ว่าเป็นคดีที่มีนักข่าวต่างประเทศเสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม 2 ราย และคนเสื้อแดงรู้สึกว่ากระบวนการยุติธรรม “สองมาตร ฐาน” เพราะแกนนำ 24 คน ถูกดำเนินคดีข้อหาก่อการร้ายทันทีหลังการชุมนุมสิ้นสุดลง

         ด้านหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนได้สัม ภาษณ์นายกานต์ ยืนยง ผู้อำนวยการ Siam Intelligence ซึ่งเป็นองค์กรวิเคราะห์การเมืองในประเทศไทยว่า นายสุเทพและนายอภิสิทธิ์หนีไม่พ้นการขึ้นศาลอยู่แล้ว เพราะมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ทั้งสองจะต้องรับผิดชอบบ้าง เพราะประ เทศไทยไม่เคยมีนักการเมืองคนใดถูกจำคุกจากคำสั่งการให้กองทัพใช้ความรุนแรง จนมีประชาชนเสียชีวิต หากศาลตัดสินว่าทั้งสองผิดจริงก็จะเป็นกรณีแรกของประเทศไทย แต่นายกานต์วิตกว่าการแจ้งข้อหาของดีเอสไออาจเป็นเพียงยุทธวิธีของพรรคเพื่อ ไทยที่ต้องการกดดันให้พรรคประชาธิปัตย์ยอมรับข้อเสนอการนิรโทษกรรมเพื่อปู ทางให้ พ.ต.ท.ทักษิณกลับประเทศไทยก็ได้

        ขณะที่นายสุนัย ผาสุก ผู้อำนวยการฮิวแมนไรท์วอทช์ประจำประเทศไทย ให้สัมภาษณ์กับเดอะการ์เดียนว่า กระบวนการยุติธรรมของไทยควรเป็นกลาง และทั้งสองฝ่ายต้องยอมรับความรับผิดชอบที่มีส่วนในความรุนแรงเมื่อปี 2553 ประเทศไทยจึงจะหลุดพ้นจากวงจรของความรุนแรงได้อย่างแท้จริง

        ด้านหนังสือพิมพ์เทเลกราฟรายงานว่า แม้มีหลักฐานชัดเจนว่านายอภิสิทธิ์และนายสุเทพมีคำสั่งให้ใช้กระสุนจริงใน การสลายการชุมนุม แต่ยังมีคำถามว่านายอภิสิทธิ์จะต้องรับโทษในคดีฆาตกรรมนี้จริงหรือไม่ โดยนายพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ นักวิชาการคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิท ยาลัย ให้ความเห็นว่า นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการที่ยาวนานมาก และไม่มีหลักประกันด้วยว่านายอภิสิทธิ์จะถูกลงโทษในอนาคต ทั้งยังเกรงว่าทั้งหมดอาจเป็นเพียงเกมการเมืองที่ทั้งสองฝ่ายเจรจากันหลัง ฉากเท่านั้นเอง

        ส่วนหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์สรายงานภูมิหลังความขัดแย้งที่นำไปสู่ เหตุการณ์สลายการชุม นุมปี 2553 ว่ากลุ่มคนเสื้อแดงจำนวนมากเป็นผู้สนับสนุนอดีตนายกฯทักษิณ ส่วนใหญ่มาจากพื้นที่ชนบททางภาคเหนือและภาคอีสาน มีชนชั้นกลางบ้างบางส่วน ขณะที่ผู้สนับสนุนนายอภิสิทธิ์ส่วนใหญ่เป็นคนกรุงและชนชั้นนำที่มีอำนาจ

        หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล ระบุว่า คดีนี้อาจทำให้การเมืองไทยกลับมาร้อนระอุอีกครั้ง โดยสัมภาษณ์นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล นักวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ตั้งคำถามดีเอสไอในเรื่องความโปร่งใสและความเป็นธรรมอย่างมาก แม้จะเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม แต่เชื่อว่าจะมีผลกระทบตามมาอย่างแน่นอน

เอาผิด “คนสั่ง” ไม่ได้?

       พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า เชื่อว่าดีเอสไอต้องมีหลักฐานภาพและพยานบุคคลจึงได้ตั้งข้อหากับนาย อภิสิทธิ์และนายสุเทพ ซึ่งต้องไปสู้กันในชั้นศาลด้วยข้อมูลและเอกสารหลักฐาน ศอฉ. ต้องชี้แจงให้ได้ว่าไม่ได้สั่ง เป็นผู้ปฏิบัติเอง หรือไม่ได้ทำ ฝ่ายผู้ปฏิบัติก็ต้องให้เหตุผล เช่น เป็นเรื่องฉุกเฉิน โดยทหารต้องมีหลักฐานว่าคำสั่งให้กระทำอะไร ขนาดไหน เพราะปรกติคำสั่งต้องออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งจะเป็นเอกสารพยานว่าได้รับคำสั่งมาอย่างไร

        “ส่วนตัวผมเชื่อมั่นว่าศาลสถิตยุติธรรมจะตัดสินด้วยความเที่ยงธรรม และจะทำให้เรื่องจบได้ จึงไม่เชื่อว่าเรื่องนี้จะเพิ่มความแตกแยกขัดแย้งในสังคม สถานการณ์ไม่น่าจะร้อนแรง”

        พล.อ.เอกชัยกล่าวว่า แม้ตอนนี้กระบวนการยุติธรรมส่วนกลางคือ อัยการ ดีเอสไอ องค์กรอิสระ จะขาดความน่าเชื่อถือไปมากก็ตาม แต่ยังเชื่อมั่นในขั้นตอนสุดท้ายคือศาลสถิตยุติธรรม สิ่งที่กลัวคือสุดท้ายแล้วจะเอาผิดระดับสั่งการหรือหัวหน้าไม่ได้ แต่เชื่อว่าหากมีการฟ้องกว่า 50 คดี อย่างน้อยต้องมีสัก 2 คดีที่เอาผิดได้ เพราะเรื่องคดีหากปล่อยเลยตามเลยบ้านเมืองก็จบไม่ได้

ความรับผิดชอบทางการเมือง

        การตั้งข้อหาของดีเอสไอไม่ใช่คำพิพากษาของศาล ชะตากรรมของนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพจึงออกมาได้ทุกรูปแบบ แต่อย่างน้อยประวัติ ศาสตร์การเมืองไทยก็ต้องบันทึกว่านายอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่ถูก ตั้งข้อหา “ฆาต กรรม” และเป็นนายกรัฐมนตรีที่ปราบปรามผู้ชุมนุมจนมีคนตายมากที่สุดถึง 99 ศพ และบาดเจ็บพิการเกือบ 2,000 คน
ขณะที่นายอภิสิทธิ์เคยใช้วาทกรรมเรียกร้อง “จริยธรรมทางการเมือง” ให้นายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พิจารณาตัวเอง กรณี ใช้แก๊สน้ำตากับผู้ชุมนุมและมีผู้เสียชีวิต 1 คน โดย อ้างความรับผิดชอบทางการเมืองต้องมาก่อนกฎหมาย

        แต่กรณีฆ่าโหดกลางบ้านกลางเมืองที่มีคนตายถึง 99 ศพ นายอภิสิทธิ์กลับยืนยันมาตลอดว่าไม่ผิดและไม่มีแม้แต่คำขอโทษ จึงไม่แปลกที่นายอภิสิทธิ์จะไม่แสดงความรับผิดชอบทางการเมืองใดๆ เหมือนคนความจำเสื่อมที่ใช้วาทกรรมทิ่มแทงฝ่ายตรงข้ามโดยตั้ง “มาตรฐานสูง” แต่ตัวเองกลับไม่มีแม้แต่ “มาตรฐานที่ต่ำที่สุด” ทั้งที่ใช้ความรุนแรงมากกว่าหลายเท่า และยังพยายามตะแบงว่าการถูกตั้งข้อหา “ฆาตกรรม” เป็นเกมการเมืองเพื่อกดดันให้ยอมรับ พ.ร.บ.ปรองดองและการนิรโทษกรรมให้ พ.ต.ท.ทักษิณพ้นผิด แม้แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ พรรคประชาธิปัตย์ก็พยายามทำให้คนเชื่อว่าเพื่อช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ทั้งที่นักวิชาการและนักกฎหมายส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 เพื่อให้เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง โดยเฉพาะการหมกเม็ดอำนาจรัฐประหาร

เสร็จนาฆ่าโคถึก?

       ที่สำคัญหากเปรียบเทียบความผิดระหว่างนายอภิสิทธิ์กับ พ.ต.ท.ทักษิณก็แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะคดีของ พ.ต.ท.ทักษิณเกิดจากอำนาจรัฐประหารที่ตั้ง คตส. ที่ล้วนแล้วแต่เป็นคู่ปฏิปักษ์ เป็นกลุ่มคนเกลียดทักษิณ ขึ้นมาเอาผิด ซึ่งทั่วโลกรู้ดีว่าเป็นการทำลายกันทางการเมือง แต่ข้อหาของนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพเป็นข้อเท็จจริงที่มีการ “ยิงจริง-ตายจริง ด้วยกระสุนจริง” เป็นข้อเท็จจริงจากศาลจากกระบวนการยุติธรรมปรกติ ไม่ใช่ศาลเตี้ย
แม้ที่ผ่านมานายอภิสิทธิ์จะเดินสายเพื่อโยนความผิดให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ และโยนความรุนแรงทั้งหมดว่าเกิดจาก “ชายชุดดำ” หรืออ้างว่าการให้ใช้ “กระสุนจริง” เป็นความจำเป็นและมีกฎหมายคุ้มครอง แต่นายอภิสิทธิ์ก็ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบทางการเมืองได้ ในฐานะนายกรัฐมนตรีที่มีอำนาจสูงสุด แม้ในแง่กฎหมายจะไม่สามารถเอาผิดได้ก็ตาม
อย่างที่นายอภิสิทธิ์อภิปรายไม่ไว้วางใจ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าในฐานะนายกรัฐมนตรีไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบกับการกระทำของคณะ รัฐมนตรีและการบริหารประเทศทั้งหมดได้ เพราะนายกรัฐมนตรีต้องรับรู้และรับทราบ จึงต้องรับผิดชอบ

        ดังนั้น การที่นายอภิสิทธิ์ยังยืนยันว่าไม่ผิด และไม่แสดงความรับผิดชอบทางการเมืองใดๆกับความรุนแรงในเหตุการณ์เมษา-พฤษภา อำมหิต จึงสะท้อนให้เห็นถึง “วุฒิภาวะ” ทั้งในฐานะอดีตผู้นำประเทศและผู้นำพรรคการเมือง แม้แต่คำว่า “ลูกผู้ชาย” ก็ไม่ต้องถามนายอภิสิทธิ์

        บทบาททางการเมืองของนายอภิสิทธิ์จึงไม่มีใครทำลาย นอกจากนายอภิสิทธิ์ทำลายตัวเอง ซึ่งอาจไม่ต่างกับนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่เมื่อหมดบทบาทก็เกือบตายเพราะถูกลอบสังหาร หรือ เสธ.อ้าย-พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ประธานองค์การพิทักษ์สยาม (อพส.) ที่มาเร็วไปเร็วเพราะ ถูกหักหลังตั้งแต่ยังไม่หัววัน

        คนอื่นอาจไม่รู้..แต่เชื่อว่านายอภิสิทธิ์รู้ว่า “อะไร” กำลังเกิดขึ้นกับตนเอง
ร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนา “เล็งเห็นผล”..มีหรือคนอย่างนายอภิสิทธิ์จะไม่รู้ชะตากรรม 

        หรือว่า..นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็เป็นแค่เพียง “หุ่นเชิด” ตัวหนึ่งของระบอบพิสดารในแผ่นดินนี้เท่านั้น

“เสร็จนาฆ่าโคถึก เสร็จศึกฆ่าขุนพล” สุภาษิตคำพังเพยนี้จะยังคงทันสมัยอยู่เสมอร่ำไป!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น