วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

แจ้งข้อหา มาร์ค-สุเทพ ร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนา

แจ้งข้อหา มาร์ค-สุเทพ ร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนา


Pic_311375

            นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ เผย ที่ประชุมมีมติแจ้งข้ออภิสิทธิ์-สุเทพ ข้อหา ''ร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล'' เตรียมทำหนังสือเรียกเจ้าตัวรับทราบข้อหา 12 ธ.ค. ...



          เมื่อวันที่ 6 ธ.ค. ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนกรณีการตายของผู้ร่วมชุมนุมทางการเมืองเมื่อ เดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม 2553 จำนวน 89 ศพ ได้แถลงผลการประชุมของคณะพนักงานสอบสวนอันประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ 3 ฝ่าย คือ ดีเอสไอ ตำรวจ และอัยการ ว่าที่ประชุมมีมติร่วมกันให้ดำเนินการแจ้งขอหากับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้รับผิดชอบสูงสุด ศอฉ. และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ผอ.ศอฉ. ว่าร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59,83,84,และ 288 โดยศาลยุติธรรมได้มีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 ในคดีการไต่สวนเหตุการณ์ตายของนายพัน คำกองว่า การตายของนายพัน เกิดจากการถูกกระสุนปืนของทหารที่เข้าร่วมปฏิบัติการตามคำสั่งของ ศอฉ. และศาลยุติธรรมได้ส่งสำนวนการพิจารณาไต่สวนทั้งหมดพร้อมคำสั่งมายังตำรวจ นครบาลและถึงดีเอสไอในที่สุด ซึ่งคณะพนักงานสอบสวนจำเป็นต้องยึดถือเอาข้อเท็จจริงอันเป็นยุติโดยการไต่ สวนของศาลดังกล่าว

            นายธาริต กล่าวต่อไปว่า พยานหลักฐานอันสำคัญที่ทำให้คณะพนักงานสอบสวนทั้ง 3 ฝ่าย ต้องมีมติให้แจ้งข้อหาแก่บุคคลทั้งสองมาจากพยานที่ได้มีการไต่สวนและคำสั่ง ของศาลดังกล่าว รวมทั้งพยานหลักฐานที่ได้จากการสอบสวนเพิ่มเติม เช่น การสั่งใช้กำลังทหารที่มีอาวุธปืนเข้าปะทะกับกลุ่มผู้ชุมนุม การสั่งใช้อาวุธปืน การสั่งใช้พลซุ่มยิง และการออกคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรจากนายสุเทพในฐานะ ผอ.ศอฉ. และได้อ้างไว้ว่าเกิดจากการสั่งการของนายกรัฐมนตรี



            “ประการสำคัญคือการสั่งการของบุคคลทั้งสองกระทำอย่างต่อเนื่องหลายครา แม้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชนแล้วก็หาได้ระงับยับยั้งหรือใช้แนวทางอื่น ใดแต่อย่างใดไม่ รวมถึงพยานแวดล้อมกรณีอื่นๆอีก จึงเป็นการบ่งชี้ได้ว่าเป็นเจตนาเล็งเห็นผลได้ว่าการร่วมกันสั่งการเช่นนั้น ย่อมทำให้เกิดการตายของประชาชนจำนวนมากและต่อเนื่องกันหลายวัน”

           ส่วนทหารที่ได้เข้าปฏิบัติหน้าที่นั้น ศาลก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นผู้ใด และโดยผลการสอบสวนก็ไม่อาจระบุตัวตนได้ด้วย แต่ก้ได้รับผลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 70 ว่าเมื่อเป็นการปฏิบัติตามสั่งการซึ่งเชื่อว่าต้องปฏิบัติก็ย่อมได้รับการ คุ้มครองโดยไม่ต้องได้รับโทษ ดังนั้น ในชั้นนี้จึงไม่แจ้งข้อหาแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร

            นายธาริต กล่าวว่า ตนในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนก็ได้ลงนามในหนังสือแจ้งให้บุคคลทั้งสองมารับ ทราบข้อกล่าวหาและทำการสอบสวนในฐานะผู้ต้องหาแล้ว โดยได้มีการนัดหมายให้มาพบพนักงานสอบสวนคดีพิเศษในวันที่ 12 ธ.ค. เวลา 14.00 น. เมื่อรับทราบข้อกล่าวหาแล้วก็จะใช้ดุลพินิจปล่อยตัวไปโดยไม่ขอศาลฝากขัง เนื่องจากทั้งสองเป็นอดีตข้าราชการการเมืองชั้นผู้ใหญ่ จึงมีการออกหนังสือเชิญแทนหมายเรียก และเชื่อว่าบุคคลทั้งสองจะมาตามนัดหมายโดยไม่ถ่วงเวลาจนเปิดประชุมสภาผู้แทน ราษฎรในวันที่ 21 ธ.ค.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น