|
ประวัติศาสตร์กฎหมายหมิ่นกษัตริย์ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ การนิรโทษกรรม
ความเป็นมาของประมวลกฎหมายอาญา ม.112
ในอดีตการปกครองเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
ซึ่งอำนาจการปกครองทั้งหมดเป็นของกษัตริย์และพระราชทายาท
สยามมีหนังสือพิมพ์ภาษาสยามฉบับแรกคือ หนังสือจดหมายเหตุ (The Bangkok
Recorder) ซึ่งดำเนินการโดย แดน บีช แบรดลีย์ (หมอบรัดเลย์) ตั้งแต่ปี 2387
(สมัย ร.3) แม้จะเปิดๆปิดๆหลายครั้ง
และส่วนใหญ่จะลงข่าวต่างประเทศมากกว่าข่าวในประเทศ
แต่ก็ถือเป็นเป็นปฐมบทแรกของวงการสื่อมวลชนสยาม ในรัชสมัยของ ร.5
มีหนังสือพิมพ์เกิดขึ้นหลายฉบับ สื่อมวลชนเหล่านี้เริ่มมีการวิพากษ์วิจารณ์
นโยบายต่างๆของรัฐบาลในหนังสือพิมพ์มากขึ้น
1 มิ.ย. 2451 ร.5 ทรงประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญา
ร.ศ.127 โดยสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ที่เกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุ
ภาพอยู่ใน 2 มาตราซึ่งระบุว่า
"มาตรา 98 ผู้ใดทนงองอาจ
แสดงความอาฆาฎมาดร้ายหรือหมิ่นประมาทต่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี
สมเด็จพระมเหษีก็ดี มกุฎราชกุมารก็ดี
ต่อผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในเวลารักษาราชการต่างพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่
หัวก็ดี ท่านว่าโทษของมันถึงจำคุกไม่เกินกว่า 7 ปี แลให้ปรับไม่เกินกว่า
5,000 บาท ด้วยอีกโสตหนึ่ง
มาตรา 100 ผู้ใดทนงองอาจ
แสดงความอาฆาฎมาดร้ายหรือหมิ่นประมาทต่อพระราชโอรส พระราชธิดา
ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ว่ารัชกาลหนึ่งรัชกาลใด
ท่านว่าโทษของมันถึงจำคุกไม่เกินกว่า 3 ปี แลให้ปรับไม่เกินกว่า 2,000
บาทด้วยอีกโสตหนึ่ง" (ถอดความตามเอกสารต้นฉบับ)
กฎหมาย 2
มาตรานี้ถือเป็นกฎหมายแรกที่มีบทลงโทษการกระทำที่เป็นการอาฆาต/หมิ่นประมาท
ต่อกษัตริย์, พระราชินี, มกุฎราชกุมาร, ผู้สำเร็จราชการ,
พระราชทายาทตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นผู้ใดที่วิพากษ์วิจารณ์นโยบาย
การบริหารประเทศของกษัตริย์, พระราชินี, พระราชทายาท
หรือผู้สำเร็จราชการ ไม่ว่าจะในอดีตหรือปัจจุบันย่อมเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อ
การละเมิดกฎหมาย 2 มาตรานี้ กฎหมาย 2 มาตรานี้ไม่ได้ครอบคลุมถึง
"การดูหมิ่น" และมีการแบ่งความคุ้มครองออกเป็น 2 ระดับคือ มาตรา 98
ให้ความคุ้มครองกษัตริย์, พระราชินี, มกุฎราชกุมาร
และผู้สำเร็จราชการเฉพาะในปัจจุบัน ส่วนมาตรา 100
ให้ความคุ้มครองพระราชวงศ์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีมาตรา 10
ที่กำหนดให้ผู้ใดกระทำการละเมิดกฎหมาย 2
มาตรานี้ในต่างประเทศจะต้องได้รับโทษในสยามด้วย
ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า กฎหมาย 2
มาตรานี้มีทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ (ศาลต้องลงโทษทั้งจำคุกและปรับ) แต่ไม่มี
โทษขั้นต่ำ โดยมีโทษปรับสูงสุด 5,000
บาทซึ่งถือเป็นโทษที่สูงมากในสมัยนั้น เมื่อเทียบกับค่าเงินสมัยปัจจุบันคง
สูงเท่ากับเงินหลายแสนบาทเลยทีเดียว หากผู้ต้องหาไม่สามารถชำระค่าปรับได้ก็
ต้องปรับใช้มาตรา 18 แทน ซึ่งมีสาระสำคัญระบุว่า
"มาตรา 18 ผู้ใดต้องคำพิพากษาให้ปรับ
แลมิใช้ค่าปรับภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดนั้น
ให้ยึดทรัพย์สมบัติมันใช้ค่าปรับ หรือมิฉะนั้นให้เอาตัวมันจำคุกแทนค่าปรับ
แลการจำคุกแทนค่าปรับเช่นนี้
ท่านกำหนดเปนอัตราไว้ว่า ให้จำวันหนึ่งแทนค่าปรับบาทหนึ่ง เปนประมาณ
แต่ห้ามมิให้จำคุกด้วยโทษฐานนี้เกินกว่าปีหนึ่งขึ้นไป" (ถอดความตามเอกสารต้นฉบับ)
ผู้เขียนเห็นว่า กฎหมาย 2
มาตรานี้แม้โทษจำคุกจะไม่สูงเท่ากับกฎหมายในปัจจุบัน แต่โทษปรับรุนแรงมาก
ผู้ต้องหาหลายคนอาจถึงขั้นสิ้นเนื้อประดาตัวเลยทีเดียว
และหากไม่มีเงินชำระค่าปรับหรือชำระค่าปรับไม่ครบยังต้องถูกจำคุกแทนค่าปรับ
อีกในอัตรา 1 วันต่อ 1 บาท แต่จำคุกสูงสุดไม่เกิน 1
ปีไม่ว่าจะค้างค่าปรับเท่าไร่ก็ตาม ดังนั้นผู้เขียนจึงเห็นว่า กฎหมาย 2
มาตรานี้น่ากลัวไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากฎหมายในปัจจุบัน
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475
จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข
อำนาจการปกครองส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ที่กษัตริย์อีกต่อไป
แต่อยู่ในมือของคณะราษฎรแทน
13 พ.ย. 2499 รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญา
พ.ศ.2499 และยกเลิกกฎหมายลักษณะอาญา
ร.ศ.127 โดยสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ที่เกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุ
ภาพอยู่ในมาตรา 112 ซึ่งระบุว่า
"ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น
หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท
หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี"
กฎหมายมาตรานี้ต่างจากกฎหมายเดิม เนื่องจากมีการครอบคลุมถึง
"การดูหมิ่น" ด้วย แต่กลับลดจำนวนผู้ถูกคุ้มครองให้เหลือเพียงกษัตริย์,
พระราชินี, รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการ
เฉพาะในปัจจุบันเท่านั้นจึงเท่ากับเป็นการยกเลิกกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127
มาตรา 100
ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า
กฎหมายมาตรานี้มีการยกเลิกโทษปรับซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปกว่า 100
ปีค่าของเงินก็ลดลงจนทำให้โทษปรับ 5,000
บาทอาจไม่น่ากลัวเท่ากับในอดีตอีกต่อไป
แต่ไม่มีการเพิ่มโทษจำคุกหรือกำหนดโทษขั้นต่ำแต่อย่างใด
ดังนั้นกฎหมายนี้จึงถือเป็นการลดโทษ
นับเป็นครั้งแรกที่ไม่มีโทษปรับสำหรับมาตรานี้ นอกจากนี้ยังมีมาตรา 7
ที่กำหนดให้ผู้ใดกระทำการละเมิดกฎหมายมาตรานี้ในต่างประเทศจะต้องได้รับโทษ
ในไทยด้วย
6 ต.ค. 2519 นักศึกษา/ประชาชนใน ม.ธรรมศาสตร์ จำนวนมากถูกจับกุม
ผู้ต้องหาบางคนถูกกล่าวหาละเมิดประมวลกฎหมายอาญา ม.112
จากการแสดงละครล้อเลียนการเสียชีวิตของพนักงานการไฟฟ้า จ.นครปฐม
ต่อมาเกิดการรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในคืนเดียวกัน
21 ต.ค.
2519 คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินออกคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่
41 ซึ่งสาระสำคัญในข้อ 1 กำหนดให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
เป็นดังนี้
"ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น
หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท
หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปี"
คำสั่งฉบับนี้เป็นการเพิ่มโทษจำคุกจาก 7 ปีเป็น 3-15 ปี
หรือเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าตัวเลยทีเดียว และมีการกำหนดโทษขั้นต่ำด้วย
นับเป็นครั้งแรกที่มีการเพิ่มโทษและกำหนดโทษขั้นต่ำสำหรับมาตรานี้
ดังนั้นคำสั่งนี้จึงถือเป็นบทลงโทษที่รุนแรงที่สุดของกฎหมายนี้
หลังการรัฐประหาร 2549
มีผู้ต้องหาจำนวนมากถูกกล่าวหาว่าละเมิดประมวลกฎหมายอาญา ม.112
หลายฝ่ายมีความเคลื่อนไหวเพื่อให้มีการแก้ไข/ปรับปรุงมาตรานี้หรือเพิ่ม
มาตราใหม่ ในปี 2550 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
มีความพยายามที่จะนำเสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา
(ฉบับที่...) พ.ศ.... โดยสาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้อยู่ในมาตรา 3
ซึ่งระบุว่า
"ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 1/1
ความผิดต่อพระบรมราชวงศ์ องคมนตรี และผู้แทนพระองค์ มาตรา 112/1 และ มาตรา
112/2 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
หมวด 1/1
ผิดต่อพระบรมราชวงศ์ องคมนตรี และผู้แทนพระองค์
มาตรา 112/1 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น
หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระราชโอรส พระราชธิดา ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1
ปีถึง 7 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 112/2 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น
หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายประธานองคมนตรี องคมนตรี
หรือผู้แทนพระองค์ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6
เดือนถึง 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 10,000 บาทถึง 100,000 บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ"
ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้แก้ไข/ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา ม.112 แต่เพิ่ม
ม.112 อีก 2 มาตรา เพื่อขยายขอบเขตการคุ้มครอง โดย 2
มาตรานี้มีทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ
(ศาลสามารถเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้ง 2 อย่างก็ได้)
ซึ่งโทษปรับนั้นถือว่าสูงพอสมควร แถมยังมีการกำหนดโทษขั้นต่ำอีกด้วย กฎหมาย
2 มาตรานี้เป็นการขยายขอบเขตในการคุ้มครอง โดยมาตรา 112/1
ให้ความคุ้มครองถึงพระราชทายาทในปัจจุบัน (ไม่รวมอดีต)
คล้ายกับกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 มาตรา 100 ส่วนมาตรา 112/2
ให้ครอบคลุมถึงองคมนตรีและผู้แทนพระองค์
ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า เป็นเรื่องแปลกที่มาตรา 112/2
ให้ความคุ้มครองประธานองคมนตรี, องคมนตรี หรือผู้แทนพระองค์
(ตำแหน่งเหล่านี้อาจเป็นบุคคลธรรมดา)
เช่นเดียวกับกษัตริย์และพระราชทายาท หากผู้ต้องหาไม่สามารถชำระค่าปรับได้ก็
ต้องปรับใช้มาตรา 30 หรือ 30/1 แทน ซึ่งมีสาระสำคัญระบุว่า
"มาตรา 30 ในการกักขังแทนค่าปรับ
ให้ถืออัตรา 200 บาทต่อหนึ่งวัน
และไม่ว่าในกรณีความผิดกระทงเดียวหรือหลายกระทง ห้ามกักขังเกินกำหนด 1 ปี
เว้นแต่ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ปรับตั้งแต่ 80,000 บาทขึ้นไป
ศาลจะสั่งให้กักขังแทนค่าปรับเป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปีแต่ไม่เกิน 2
ปีก็ได้
มาตรา 30/1
ในกรณีที่ศาลพิพากษาปรับไม่เกิน 80,000 บาท
ผู้ต้องโทษปรับซึ่งมิใช่นิติบุคคลและไม่มีเงินชำระค่าปรับอาจยื่นคำร้องต่อ
ศาลชั้นต้นที่พิพากษาคดีเพื่อขอทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทน
ค่าปรับ"
จาก 2 มาตรานี้เห็นได้ว่า หากผู้ต้องหาถูกปรับต่ำกว่า 80,000
บาทและไม่สามารถจ่ายค่าปรับ/จ่ายค่าปรับไม่ครบ
จะต้องถูกจำคุกแทนค่าปรับในอัตรา 1 วันต่อ 200 บาท แต่จำคุกสูงสุดไม่เกิน 1
ปีไม่ว่าจะค้างค่าปรับเท่าไร่ก็ตาม ส่วนโทษปรับที่สูงกว่า 80,000
บาทอาจถูกจำคุกสูงสุดไม่เกิน 2 ปีไม่ว่าจะค้างค่าปรับเท่าไร่ก็ตาม
นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาที่ถูกปรับต่ำกว่า 80,000
บาทสามารถขอทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนได้
เนื่องจากมีผู้ต่อต้านร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นจำนวนมากทั้งจากใน
ประเทศ-ต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีหลายคนมองว่า
บางมาตราไม่เหมาะสมที่บุคคลธรรมดาจะได้รับการคุ้มครองเช่นเดียวกับพระบรม
วงศานุวงศ์จนทำให้ สนช. ต้องยอมถอนร่างกฎหมายฉบับนี้ออกไปในที่สุด
ปี 2551 รัฐบาล สมัคร สุนทรเวช มีความพยายามที่จะนำเสนอร่าง
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ....
โดยสาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้อยู่ในมาตรา 3 ซึ่งระบุว่า
"ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้เป็นมาตรา 112/1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 112/1
ผู้ใดรู้ว่ามีการกระทำความผิดตามมาตรา 112
ไม่นำความเข้าแจ้งต่อพนักงานสอบสวน
แต่กลับนำความไปกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายต่อหน้าธารกำนัลหรือประชาชนว่ามีการ
กระทำความผิดเช่นนั้นเกิดขึ้นเพื่อหวังผลทางการเมือง
โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง
ต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 112 นั้น"
ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้แก้ไข/ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา ม.112 แต่เพิ่ม
ม.112 อีก 1 มาตรา เพื่อลงโทษผู้ที่ใช้ ม.112
กล่าวร้ายผู้อื่นเพื่อหวังผลทางการเมือง โดยใช้บทลงโทษเดียวกับ ม.112
แต่หลายฝ่ายมองว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้ทำให้ ม.112 เลวร้ายยิ่งขึ้นไปอีก
ในที่สุดผู้นำเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้ก็ยอมถอนร่างกฎหมายฉบับนี้ออกไปในที่สุด
ปี 2554 คณะนิติราษฎรนำเสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา
(ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... โดยสาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้อยู่ใน 2
มาตราซึ่งระบุว่า
"มาตรา 3 ให้ยกเลิกมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นลักษณะ
... ความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท
และเกียรติยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มาตรา... มาตรา...มาตรา...
มาตรา... มาตรา... มาตรา... และมาตรา... แห่งประมวลกฎหมายอาญา
ลักษณะ ...
ความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทและเกียรติยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
มาตรา ... ผู้ใดหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทตามวรรคหนึ่งได้
กระทำโดยการโฆษณา ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน
400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ... ผู้ใดดูหมิ่น
หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี
หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ... ผู้ใดหมิ่นประมาทพระราชินี
รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกิน 1 ปี
หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทตามวรรคหนึ่งได้
กระทำโดยการโฆษณา ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน
300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ... ผู้ใดดูหมิ่น
หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สาเร็จราชการแทนพระองค์
ต้องระวางโทษจำคุกไม่ 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ... ผู้ใด ติชม แสดงความคิดเห็น
หรือแสดงข้อความใดโดยสุจริต
เพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
ประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ เพื่อธำรงไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญ
เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ หรือหมิ่นประมาทพระราชินี
รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
มาตรา ...
ในกรณีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามลักษณะ...
ถ้าผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทาความผิดพิสูจน์ได้ว่าข้อความนั้นเป็นความจริง
ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
ถ้าข้อที่กล่าวหาว่าเป็นความผิดนั้นเป็น
เรื่องความเป็นอยู่ส่วนพระองค์หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวแล้วแต่กรณี
และการพิสูจน์นั้นไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ห้ามมิให้พิสูจน์
มาตรา ...
ห้ามบุคคลทั่วไปกล่าวโทษว่ามีการกระทำความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหา
กษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ให้สานักราชเลขาธิการเป็นผู้กล่าวโทษว่ามี
การกระทำความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท
และเกียรติยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์”
ร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นการนำเสนอให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา ม.112
และให้เพิ่มลักษณะใหม่คือ
"ลักษณะความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท
และเกียรติยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" แทน ลักษณะนี้มี 7 มาตรา
โดยแยกการหมิ่นประมาทและดูหมิ่น/อาฆาตมาดร้ายออกจากกัน
แยกกษัตริย์และพระราชินี/รัชทายาท/ผู้สำเร็จราชการออกจากกัน
นอกจากนี้ยังเพิ่มการกระทำโดยการโฆษณา
รวมทั้งยังมีการกำหนดการกระทำที่ไม่เป็นความผิดและผู้ที่มีอำนาจในการกล่าว
โทษอีกด้วย
ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า กฎหมาย 7 มาตรานี้เป็นลดโทษ ม.112
จากเดิมมากกว่าครึ่ง แต่เพิ่มโทษปรับเข้าไปแทน
ซึ่งโทษปรับนั้นถือว่าสูงพอสมควร
โดยไม่มีการกำหนดโทษขั้นต่ำของทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ
29 พ.ค. 2555 คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก 112)
สามารถรวบรวมรายชื่อผู้สนับสนุนร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้กว่า 40,000
คนเพื่อยื่นต่อรัฐสภาได้สำเร็จ แต่รัฐสภาปฏิเสธการรับพิจารณา โดยอ้างว่า
ม.112 อยู่ในหมวด 2 ซึ่งไม่ได้ให้อำนาจประชาชนในการแก้ไขได้ในเวลาต่อมา
ปี 2555 สมยศ พฤกษาเกษมสุข (ผู้ต้องหาละเมิด ม.112
จากการเป็นบรรณาธิการนิตรสาร Voice of
Taksin) และผู้เขียน (ผู้ต้องหาละเมิด ม.112
จากการเป็นผู้จำหน่ายวีดีทัศน์รายการ Foreign Correspondent และเอกสาร
Wikileaks) ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้วินิจฉัยว่า
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ หรือไม่
10 ต.ค. 2555 ศาลรัฐธรรมนูญออกคำวินิจฉัยที่
28-29/2555 (สมยศและผู้เขียนยื่นคำร้องแยกกัน
แต่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณารวมกัน) โดยวินิจฉัยว่า ม.112 ไม่ขัดแย้งต่อ
รัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง (เป็นไปตามหลักนิติธรรม), มาตรา 8
(สอดคล้องกับการให้ความคุ้มครองกษัตริย์), มาตรา 29
(เป็นการกำหนดโทษเท่าที่จำเป็นและไม่ได้มุ่งหมายให้บังคับเป็นการเจาะจง)
และมาตรา 45 วรรคหนึ่ง-สอง (ไม่กระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น)
แต่อย่างใด ดังนั้น ม.112 จึงยังมีผลบังคับใช้ต่อไป
พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550
พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
เป็นร่างกฎหมายที่นำเสนอในสมัยของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
แต่เกิดการรัฐประหารขึ้นก่อน การพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้จึงต้องยุติลง
ต่อมารัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ผลักดันร่างกฎหมายฉบับนี้ต่อใน สนช.
จนมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.
2550 โดยสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ที่เกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอยู่
ใน 2 มาตราซึ่งระบุว่า
"มาตรา 14 ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(2)
นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ
โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ
ตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(3)
นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ
อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการ
ก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)
มาตรา 15
ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14
ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน
ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา 14"
พ.ร.บ. 2
มาตรานี้เป็นความพยายามของฝ่ายผู้ปกครองที่จะออกกฎหมายใหม่เพื่อควบคุมการ
หมิ่นพระบรมเดชานุภาพซึ่งเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในอินเตอร์เน็ต โดยที่ ม.112
ไม่สามารถเอาผิดได้ นอกจากนี้ยังมีมาตรา 17
ที่กำหนดให้ผู้ใดกระทำการละเมิดกฎหมายมาตรานี้ในต่างประเทศจะต้องได้รับโทษ
ในไทยด้วยเช่นเดียวกับ ม.112
ปี 2554 รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีความพยายามที่จะนำเสนอร่าง
พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ....... เพื่อยกเลิก
พ.ร.บ. ฉบับเดิม และใช้ พ.ร.บ. ฉบับใหม่แทน ทั้งที่ พ.ร.บ.
ฉบับเดิมมีผลบังคับใช้เพียงไม่ถึง 4
ปี สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ที่เกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอยู่มาตรา
24
ซึ่งมีสาระสำคัญเช่นเดียวกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ
คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 ส่วนมาตรา 27
เป็นการแก้ไข พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
มาตรา 15
โดยกำหนดห้ามมิให้ลงโทษผู้ให้บริการหรือผู้ดูแลระบบจนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่า
ผู้นั้นจงใจสนับสนุนหรือละเว้นไม่ดำเนินการแก้ไขซึ่งการเผยแพร่ข้อมูล
คอมพิวเตอร์ตามมาตรา 24 นอกจากนี้ยังมีมาตรา 29
ที่กำหนดให้ผู้ใดกระทำการละเมิดกฎหมายมาตรานี้ในต่างประเทศจะต้องได้รับโทษ
ในไทยเช่นเดียวกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ.2550 มาตรา 17 ด้วย แม้ว่ามาตรา 27 ของร่าง พ.ร.บ.
ฉบับนี้ดูเหมือนจะดีกว่า พ.ร.บ. ฉบับเก่า แต่ร่าง พ.ร.บ.
ฉบับนี้กลับแฝงวาระซ่อนเร้นมากมาย เช่น พ.ร.บ.
ฉบับเก่าสามารถเอาผิดเฉพาะผู้กระทำ, ผู้เผยแพร่ และผู้ดูแลระบบเท่านั้น แต่
ร่าง พ.ร.บ.
ฉบับใหม่กลับครอบคลุมไปถึงผู้ครอบครองไฟล์เหล่านี้ไม่ว่าจะเจตนาหรือไม่ก็
ตาม
หากร่าง พ.ร.บ. ฉบับใหม่มีผลบังคับใช้
ผู้เขียนเชื่อว่าจะต้องมีประชาชนจำนวนมากที่ได้รับความเดือดร้อน
เพราะคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่เข้าข่ายกระทำความผิด
เหล่านี้ ร่าง พ.ร.บ.
ฉบับใหม่จึงถูกต่อต้านอย่างหนักจากทุกฝ่ายจนรัฐบาลต้องยอมถอนร่าง
พ.ร.บ. ฉบับนี้ออกไปในที่สุด
ปี 2555 คธา (สงวนนามสกุล)
(ผู้ต้องหาละเมิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา
14 (2)
จากการโพสต์ข้อความในเว็บไซต์แห่งหนึ่ง) ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอ
ให้วินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14
(2) ขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ หรือไม่
13 ก.ย. 2555 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งไม่รับคำร้องฉบับนี้
เนื่องจากบทบัญญัติมาตรา 14 (2) ของ
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้นมุ่งคุ้มครองความมั่นคงประเทศ
และความสงบเรียบร้อยของประชาชนโดยส่วนรวมซึ่งเป็นไปตามหลักนิติธรรม
และการกำหนดความผิดทางอาญาแก่บุคคลตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่ถูกต้อง
และเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 40 (3)
คำโต้แย้งของจำเลยจึงไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย
การนิรโทษกรรมการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
ผู้เขียนพิจารณาถึง กฎหมายนิรโทษกรรมในอดีตที่ผ่านมาพบว่า มี
กฎหมายนิรโทษกรรม 3 ฉบับที่เข้าข่ายนิรโทษกรรมให้กับกฎหมายลักษณะอาญา
ร.ศ.127 มาตรา 98 และ 100 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
แต่ไม่มีฉบับใดเป็นการนิรโทษกรรมให้กับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยว
กับคอมพิวเตอร์
24 มิ.ย. 2475
คณะราษฎรทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข โดยเข้ายึดสถานที่สำคัญของทางราชการ
และควบคุมตัวพระบรมวงศานุวงศ์, เจ้านายชั้นสูง
และข้าราชการฝ่ายรัฐบาลไปอยู่ที่พระที่นั่งอนันตสมาคมเพื่อเป็นตัวประกัน
ต่อมา พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา อ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1
ซึ่งเป็นประกาศถึงจุดจบของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
และการสถาปนารัฐอันมีรัฐธรรมนูญขึ้นในสยาม
การกระทำและประกาศคณะราษฎรฉบับนี้ถูกฝ่ายที่ผู้นิยมระบอบเดิมมองว่าเป็น
"การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"
ขณะนั้น ร.7 ทรงประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล อ.หัวหิน
จ.ประจวบคีรีขันธ์ หลังจากที่คณะราษฎร์ยึดอำนาจสำเร็จจึงมอบหมายให้
น.ต.หลวงศุภชลาศัย นำหนังสือกราบบังคมทูลให้ ร.7
เสด็จกลับสู่พระนครเพื่อกลับมาเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญของคณะราษฎร
26 มิ.ย. 2475 คณะราษฎรนำโดย พ.ท.พระประศาสน์พิทยายุทธ,
พ.ต.หลวงวีระโยธิน, หลวงประดิษฐ์มนูธรรม, ประยูร ภมรมนตรี, จรูญ ณ บางช้าง,
สงวน ตุลารักษ์ และ พล.ร.ต.พระศรยุทธเสนี เข้าเฝ้า ร.7
การเจรจาเป็นไปอย่างเคร่งเครียด คณะราษฎรยื่นข้อเสนอให้ ร.7
ทรงยอมรับรัฐธรรมนูญของคณะราษฎร เพื่อที่ ร.7
จะได้ทรงเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญต่อไป นอกจากนี้คณะราษฎรยังเจรจาขอให้
ร.7
ทรงพระราชทานอภัยโทษต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎรในครั้งนี้ด้วย
ร.7 ทรงยอมลงพระนามใน พ.ร.ก.นิรโทษกรรมในคราวเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน
พ.ศ.2475 เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2475 โดยสาระสำคัญของ พ.ร.ก.
ฉบับนี้อยู่ในมาตรา 3 ซึ่งระบุว่า
"บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นเหล่านั้น
ไม่ว่าของบุคคลใดๆในคณะราษฎรนี้ หากว่าจะเป็นการละเมิดบทกฎหมายใดๆ ก็ดี
ห้ามมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดกฎหมายเลย"
จากสาระในมาตรานี้ชัดเจนว่า
เป็นการนิรโทษกรรมให้กับคณะราษฎรในทุกข้อกล่าวหา รวมทั้งกฎหมายลักษณะอาญา
ร.ศ.127 มาตรา 98 และ 100 ด้วย พ.ร.ก.
ฉบับนี้จึงเป็นกฎหมายฉบับแรกที่เป็นการนิรโทษกรรมให้กับการหมิ่นพระบรมเด
ชานุภาพ
ปี 2519 บุญชาติ เสถียรธรรมมณี
ผู้จัดการแสดงละครล้อเลียนการเสียชีวิตของพนักงานการไฟฟ้า จ.นครปฐม
ถูกฟ้องในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและข้อหาอื่น (คดีหมายเลขดำที่
4418/2520 ของศาลอาญา) เขาเลือกที่จะต่อสู้คดีนี้โดยไม่ได้รับการประกันตัว
15 ก.ย. 2521 รัฐบาล พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ออก
พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรม
ศาสตร์ ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม
2519 โดยสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ที่เกี่ยวกับการนิร-โทษกรรมการหมิ่นพระ
บรมเดชานุภาพอยู่ในมาตรา 4 ซึ่งระบุว่า
"มาตรา 4
ให้ศาลทหารกรุงเทพดำเนินการปล่อยตัวจำเลยทั้งหมดซึ่งถูกฟ้องในคดีหมายเลขดำ
ที่ 253ก/2520 ของศาลทหารกรุงเทพ (ใช้กฎ 6 ต.ค. 19)
และให้ศาลอาญาดำเนินการปล่อยตัวจำเลยทั้งหมดซึ่งถูกฟ้องในคดีหมายเลขดำที่
4418/2520 ของศาลอาญา"
จากสาระในมาตรานี้ชัดเจนว่า
เป็นการนิรโทษกรรมให้กับคดีหมายเลขดำที่ 4418/2520 ของศาลอาญา
ซึ่งเป็นคดีละเมิด ม.112
ส่งผลให้ศาลต้องจำหน่ายคดีออกจากศาลโดยไม่มีคำพิพากษาใดๆ บุญชาติ
เสถียรธรรมมณี จึงได้รับการปล่อยตัวในที่สุด
24 ส.ค. 2532 รัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ออก
พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราช
อาณาจักร
ตามประมวลกฎหมายอาญาและความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการกระทำอันเป็น
คอมมิวนิสต์ พ.ศ.2532 โดยมีสาระสำคัญอยู่ในมาตรา 3 คือ
"บรรดาการกระทำของบุคคลใด ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2531 หากการกระทำนั้นเป็นความผิดดังต่อไปนี้
(1) ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญา
(2) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ (3)
ความผิดฐานอื่นที่เป็นกรรมเดียวกับความผิดตาม (1) หรือ (2)
ทั้งนี้
เฉพาะที่มิใช่ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิด
และให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด
และถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้ว
ก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น
ถ้าผู้นั้นรับโทษอยู่ ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง”
แม้ว่าสาระในมาตรานี้ (1) ดูเหมือนเป็นการนิรโทษกรรมให้กับการละเมิด
ม.112 แต่ผู้เขียนไม่พบว่า มีผู้ใดได้รับการนิรโทษกรรมโดยตรงจาก พ.ร.บ.
ฉบับนี้
13 ก.ค. 2529 วีระ มุสิกพงศ์ กล่าวปราศรัยหาเสียงให้กับผู้สมัคร
ส.ส.ประชาธิปัตย์ ที่ อ.สตึก และ อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์
การปราศรัยของเขาถูกกล่าวหาละเมิด ม.112 ในเวลาต่อมา
22 ก.ค. 2531 ศาลพิพากษาจำคุก 4 ปีในข้อกล่าวหาละเมิด
ม.112 แต่เขาได้รับการพระราชทานอภัยโทษหลังจากถูกจำคุกเพียงกว่า 1
เดือน พ.ร.บ. ฉบับนี้ไม่เป็นการนิรโทษกรรมโดยตรงให้กับเขา
แต่เป็นการนิรโทษกรรมทางอ้อม เนื่องจาก พ.ร.บ.
ฉบับนี้ระบุให้บุคคลที่เคยต้องโทษละเมิด
ม.112 ถูกล้างโทษเสมือนไม่เคยต้องโทษมาก่อน
ส่งผลให้เขาสามารถกลับเข้าสู่การเมืองได้อีกครั้ง
นอกจากนี้ยังมีการนิรโทษกรรมผ่านทางการขอพระราชทานอภัยโทษ
ทั้งการถวายฎีกาเป็นรายบุคคล (ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา
259) เช่น สุวิชา ท่าค้อ (2553) และ เลอพงษ์ หรือ โจ กอร์ดอน
(2555) และการตรา พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ
(ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 261 ทวิ) เช่น สุริยันต์ และ
สุชาติ นาคบางไทร (พ.ร.ก.พระราชทานอภัยโทษ 2555)
ร่างกฎหมายนิรโทษกรรม 2555-2556
กฎหมายนิรโทษกรรม ทั้ง 8 ฉบับที่นำเสนอจากหลายฝ่ายในช่วงเกือบ 2
ปีที่ผ่านมา
ไม่มีแม้แต่ฉบับเดียวที่ระบุถึงการนิรโทษกรรมการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
หรือประมวลกฎหมายอาญา
ม.112/พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แต่อย่างใด
แต่จะสรุปว่า กฎหมายนิรโทษกรรม
เหล่านี้ไม่เป็นการนิรโทษกรรมให้กับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพก็อาจไม่ถูกต้องนัก
ผู้เขียนพิจารณาร่าง กฎหมายนิรโทษกรรมทั้ง 8 ฉบับพบว่า มีร่างกฎหมาย 2
ฉบับที่น่าสนใจคือ ร่างแก้ไข รัฐธรรมนูญ
เพื่อการนิรโทษกรรมและการขจัดความขัดแย้ง (นำเสนอโดยคณะนิติราษฎร์ปี 2556
มีกรอบระยะเวลา 19 ก.ย. 2549-9 พ.ค. 2554) และร่าง
พ.ร.ก.นิรโทษกรรมให้แก่ผู้ที่ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาอันถึงที่สุด
และผู้ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีอาญาอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการ
เมือง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2550 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2554
(นำเสนอโดย นปช. ปี 2556 มีกรอบระยะเวลา 1 ม.ค. 2550-31 ธ.ค. 2554)
ร่างกฎหมายของคณะนิติราษฎร์ มาตรา 291/3 มีข้อความที่ระบุว่า
"การกระทำนั้นมีมูลเหตุเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการ
เมือง" และร่างกฎหมายของ นปช. มาตรา 3 มีข้อความที่ระบุว่า
"กระทำความผิดอาญาอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมือง"
เมื่อพิจารณาข้อความทั้ง 2 นี้ ผู้เขียนเชื่อมั่นว่า
เป็นการนิรโทษกรรมให้กับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่ใช่ว่าทุกกรณีของการ
หมิ่นพระบรมเดชานุภาพจะได้รับการนิรโทษกรรมจาก กฎหมายนิรโทษกรรม ทั้ง 2
ฉบับนี้
ปี 2552 คธา อดีตโบรกเกอร์บริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่งถูกกล่าวหาละเมิด
พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ด้วยการโพสต์ข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับพระอาการประชวรของพระเจ้าอยู่หัวใน
เว็บไซด์แห่งหนึ่ง
ผู้เขียนเห็นว่า คดีของเขาถือเป็น "การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"
และอยู่ในช่วงเวลาของ กฎหมายนิรโทษกรรม ทั้ง 2 ฉบับนี้
แต่คำให้การในคดีของเขาไม่ปรากฏว่า
เขามีส่วนเกี่ยวข้องกับการชุมนุมหรือความขัดแย้งทางการเมืองใดๆ
ดังนั้นเขาจึงอาจไม่ได้รับการนิรโทษกรรมจาก กฎหมายนิรโทษกรรม ทั้ง 2
ฉบับนี้
ปี 2546 บัณฑิต อานียา นามแฝงของนักแปลอิสระ ซึ่งปราศรัยในงาน
"กฎหมายพรรคการเมือง: โอกาสและข้อจำกัดในการส่งเสริมและพัฒนาพรรคการเมือง"
ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และนำเอกสาร 2
ฉบับแจกจ่ายให้กับผู้ร่วมงาน ต่อมาเขาถูกกล่าวหาว่า กระทำการละเมิด
ม.112 ผู้เขียนเห็นว่า คดีของเขาถือเป็น "การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"
แต่ไม่อยู่ในช่วงเวลาของ กฎหมายนิรโทษกรรม ทั้ง 2 ฉบับนี้
และไม่มีมูลเหตุมาจากการชุมนุมหรือความขัดแย้งทางการเมืองแต่อย่างใด
ดังนั้นเขาจึงอาจไม่ได้รับการนิรโทษกรรมจาก กฎหมายนิรโทษกรรม ทั้ง 2
ฉบับนี้เช่นเดียวกัน |
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น