วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

ประเด็นน่ากังวลจากข่าวเขาพระวิหารคือสงคราม

ประเด็นน่ากังวลจากข่าวเขาพระวิหารคือสงคราม

         ตัวแทนสื่อกัมพูชา เปิดใจประเด็นที่คนกัมพูชากังวลคือสงคราม พร้อมยอมรับคำตัดสินเพราะกัมพูชาเป็นฝ่ายยื่นคำร้องต่อศาลโลกเอง ขณะสื่อชายแดนไทย-กัมพูชาเรียกร้องความร่วมมือระหว่างประเทศ

          ซก สุวรรณ ประธานกรรมการสื่อมวลชนกัมพูชา และรองเลขาธิการสหพันธ์สื่อมวลชนอาเซียน กล่าว ในการเสวนาหัวข้อ “ไทย-กัมพูชา-ปราสาทพระวิหาร..รู้ทันข่าว รู้ทันสื่อ” ซึ่งจัดโดยมีเดีย อินไซด์เอาท์ ว่าคนกัมพูชารวมถึงนักข่าวจะติดตามข่าวถ่ายทอดสดจากช่อง 11 ของกัมพูชา และสิ่งที่กังวลคือสงครามมากกว่าเรื่องผลคำตัดสิน ทั้งนี้ฝั่งกัมพูชาเชื่อว่าชนะคดีเพราะกัมพูชาอ้างอิงแผนที่1:200,000 เตามคำตัดสินจากศาลโลก ซึ่งกัมพูชาชนะมา 50 ปีแล้ว

          “นักการเมืองกัมพูชาพูดน้อยในเรื่องนี้ เพราะเขาเห็นว่าอยากตีความคำตัดสินใหม่ให้ชัดเจน ไม่อยากให้เป็นเรื่องซ้ำไปซ้ำมาเกี่ยวกับปราสาทเขาพระวิหารซึ่งต้องการการ พัฒนา”

          “แต่การนำเสนอไม่เหมือนไทย ผมเห็นว่าไทยออกข่าวทุกช่วงเวลาเลย ทั้งช่องสาม ช่อง 11 ผมดูทีวีของไทยสามช่อง”

         สำหรับประเด็นในศาลโลกนั้น สำหรับกัมพูชาเชื่อมั่นว่าต้องชนะนะ เพราะเรามีแผนที่ 1:200,000 เพราะเป็นตัดสินจากศาลโลก ซึ่งกัมพูชาชนะมา 50 ปีแล้ว

         ส่วนความสนใจของประชาชนนั้น ซก สุวรรณกล่าวว่าประชาชนไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ ข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องนี้ส่วนใหญ่ติดตามจากข่าวไทย ส่วนนักข่าวกัมพูชานั้นไปที่กรุงเฮกนั้นมีการรายงานประมาณ 2 ช่วงเท่านั้น คือ  11.00 น. และ 18.00 น.

        “การติดตามข่าวสารของฝั่งกัมพูชา กลัวอย่างเดียวคือกลัวสงคราม ส่วนเรื่องคำตัดสินไม่มีความกังวล” ซก สุวรรณกล่าวและว่าประชาชนกัมพูชาผ่านความขัดแย้งมานานแล้วและไม่ชอบเรื่อง ความขัดแย้ง เมื่อมีความขัดแย้งทางกัมพูชาก็จะถือว่ารัฐบาลเป็นตัวแทนของเขา

        ในส่วนการนำเสนอข่าวสาร เขากล่าวว่า กัมพูชามีเสรีภาพในการเขียน แต่ถ้าทำให้เกิดความเสียหาย อะไรที่ไม่แน่นอนก็ไม่เขียน ประเด็นความขัดแย้งจะเขียนค่อนข้างเบา และระมัดระวัง

        เขาย้ำว่าผลการตัดสินนั้นกัมพูชาต้องยอมรับเพราะคนที่ร้องขอให้ศาลตีความคำตัดสินอีกครั้งเป็นฝ่ายกัมพูชาเอง

          ประสิทธิ์ แสงรุ่งเรือง นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย กล่าว ว่า ปัญหาเรื่องเขาพระวิหาร คนภาคกลางหรือรัฐบาลอาจจะมองอย่างหนึ่ง แตกต่างจากคนกลุมหนึ่งที่อยู่ชายแดนมองต่างกัน สิ่งที่คนชายแดนเป็นห่วงคือความกระทบกระทั่ง คนชายแดนเคยเห็นผู้อพยพกัมพูชาอพยพมายังประทเศไทยเป็นล้าน เห็นคนเวียดนามไหลทะลักเข้ามา ล้มตายนับแสนคน ภาพเหล่านี้ยังประทับอยู่ในใจ

           “อย่างที่คุณ ซก สุวรรณกล่าว คนชายแดนเป็นห่วงเรื่องสงครามจริงๆ ถ้าเกิดความขัดแย้งขึ้นมาเราเสียหาย ตลอดเวลาที่ผ่านมา เวลามีปัญหาด้านสงครามขึ้นมา ประชาชนได้รับความเดือดร้อนมาก ฉะนั้นเมื่อมาพูดถึงเรื่องปัญหาเขาพระวิหาร เรามีความเห็นว่าฝ่ายตุลาการนั้นควรปล่อยให้เขาดำเนินการ ส่วนจะออกเป็นรูปแบบใดก็ตาม เชื่อว่าทุกคนจะหาผลประโยชน์เพื่อตนเองและประเทศชาติ แต่ในฐานะที่พัมูชาเป็นประเทศข้างเคียงกับเรา มีอะไรก็น่าจะได้พูดคุยกันปรึกษาหารือกัน”

         “ทางที่ดีที่สุดคือพยายามที่จะอย่าเสนอความคิดเห็นที่เป็นความขัดแย้งแต่ ต้น ผมไม่อยากให้เป็นอย่างนั้นถึงแม้ว่าเขาจะพิพากษาว่าอย่างไรก็ตาม แต่ที่มองโดยเฉพาะอย่างยิ่งผมเป็นคนที่อยู่ที่นั่นและทำข่าวสู้รบชายแดนมา นาน ผมเห็นว่าปัญหานี้น่าจะได้พูดคุยกันและตกลงกันให้ได้ แต่ถ้าตกลงเรื่องเส้นเขตแดนไม่ได้ก็น่าจะใช้พื้นที่นี้ร่วมกันไปเลย แต่เท่าที่มองถ้าหากว่าเราต่างฝ่ายต่างรักชาติ ต่างฝ่ายต่างระดมความคิดเห็น ในที่สุดเราจะไม่สารรถรอมชอมกันได้”

         ประสิทธิ์กล่าวว่า ประเทศในภูมิภาคอาเซียนเป็นประเทศเล็กๆ ที่ร่ำรวยทางทรัพยากร ถ้าขัดแยน้งกันมาก ปัญหาในอดีตอาจจะกลับมาคือประเทศมหาอำนาจอาจจะกลับเข้ามาอีกครั้งหยนึ่ง ปัญหาที่เกิดขึ้นมาทั้งหมดนั้น เป็นเพราะประเทศอาเซียนสร้างขึ้นและไปเชื้อเชิญมหาอำนาจจากภายนอกเข้ามาเอง

        เขาเท้าความถึงกรณีเผาสถานทูตไทยในกัมพูชาที่เกิดขึ้นเพราะปัญหาการสื่อ สาร สื่อมวลชนชายแดนจึงตั้งสมาคมขึ้นมา และอยากให้เอาความจริงมาพูดและพยายามแก้ไขปัญหา รวมทั้งอยากให้กลุ่มประเทศอาเซียนอยู่ด้วยกันและมีความร่วมมือระหว่างกัน

           สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี บรรณาธิการข่าวต่างประเทศ เดอะเนชั่น กล่าว วา คนทั่วไปอาจจะอยากให้นักข่าวประเมิน หรือชั่งน้ำหนักว่าใครมีน้ำหนักมากกว่ากัน แต่เขาคิดว่านักข่าวไม่ควรตอบในเชิงสร้างความคาดหวังต่อประเด็นความขัดแย้ง นี้

         “ผมตอบว่า ประการแรกผมไม่มีความรู้ด้านกฎหมายระหว่างประเทศมากพอ และทำไมผมจึงไม่พยายามจะบอกอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะถ้าพูดโดยทั่วไป ผมคิดว่าผมไม่ควรจะตอบให้เกิดความคาดหวังใดๆ

        “ผมทำข่าวเรื่องนี้ตื่นเต้นน้อยกว่าการทำข่าวเขาพระวิหารที่คณะกรรมการ มรดกโลก เพราะประเด็นเป็นเรื่องทางการเมืองและหาประโยชน์จากความเพลี่ยงพล้ำ ในประเด็นนี้เขาเห็นว่าเมื่อคดีขึ้นสู่ศาล ความขัดแย้งให้อยู่ในศาล แต่รัฐบาลต่อรัฐบาลไม่เกลียดกัน ประชาชนต่อประชาชนไม่เกลียดกัน พื้นที่ต่อให้เสีย 4.6 ตารางกิโลเมตร หรือ 2875 ไร่ ถ้าเทียบกับทั้งหมดในไทยนั้นน้อยมาก เมื่อเทียบกับการใช้พื้นที่ฉบับเดียวกันแล้วไทยได้พื้นที่จากลาวจำนวนมาก นั้น มากกว่า”

      “ความลำบากในฐานะสื่อมวลชน คือการเอาตัวเองถอยออกมาจากเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นพลเมืองของชาติทั้งเป็นผู้ต้านหรือสนับสนุนรัฐบาลก็ตาม แต่ผมคิดว่าเราสามารถแยกแยะได้”

       “เขาพระวิหารเป็นต้นไม้หนึ่งต้นในป่าทั้งป่าของความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา คนไทยรู้สึกกับมันมากเกินเหตุ ผมรู้สึกกับกรณีนี้ ต่างกับกรณีขึ้นทะเบียนมรดกโลก เพราะตอนนั้นคนไทย emotional เกินเหตุ” สุภลักษณ์กล่าวพร้อมตั้งคำถามว่าถ้าเราได้พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรแล้วเรายอมเสียความสัมพันธ์กับกัมพูชา เสียอะไรอีกหลายๆ อย่าง เราจะยอมเสียอย่างนั้นหรือ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น