3 เม.ย.56 เว็บไซต์
ประเทศไทย Robert Amsterdam รายงานความคืบหน้ามติขององค์กรรัฐสภาสากล (ไอพียู) เมื่อวันที่ 23 มี.ค.ที่ผ่านมา เกี่ยวกับกรณีของการตัดสิทธิ์นายจตุพร พรหมพันธุ์ จากการเป็นส.ส.
ในมติที่ TH/183 ระบุว่า การที่นายจตุพรถูกตัดสิทธิ์ถือ “เป็นการละเมิดพันธกรณีของประเทศไทยที่มีต่อสิทธิมนุษยชนโดยตรง” ในขณะเดียวก็ย้ำถึงความกังวลเรื่องการจับกุมนายจตุพรซึ่งเกิดขึ้นภายใต้การใช้อำนาจฉุกเฉินอันมิชอบด้วยกฎหมายของรัฐบาลที่แล้ว รวมถึงข้อหาก่อการร้ายซึ่งมีเหตุจูงใจจากเรื่องทางการเมือง
นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่า ที่นั่งในรัฐสภาของนายจตุพรถูกเพิกถอนในเวลาที่ “มิได้มีการพิสูจน์ว่าเขากระทำความผิดใด” และรายละเอียดคำปราศรัยปรากฏว่า “เป็นการใช้สิทธิในเสรีภาพการแสดงออก” ซึ่งการยับยั้งสิทธิการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของบุคคลผู้ถูกกล่าวหาทางอาญาถือเป็น “ข้อจำกัดอันมิสมเหตุสมผล” โดยเฉพาะตามบทบัญญัติของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมืองซึ่งรับรองสิทธิของบุคคลผู้ถูกกล่าวหาทางอาญาในการให้ถูกสันนิษฐานว่า เป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะได้รับการพิสูจน์เป็นอย่างอื่น
ไอพียูกล่าวถึงความกังวลเกี่ยวกับหลักสำคัญทางกฎหมายและเหตุผลเบื้องหลัง การถอนประกันและคุมขังนายจตุพร โดยร้องขอสำเนารายละเอียดข้อหาของนายจตุพร ในขณะเดียวกันก็ร้องขอให้สำนักงานเลขาธิการใหญ่เดินทางไปเยือนประเทศไทยเพื่อหยิบยกประเด็นดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่รัฐสภา รัฐบาลและตุลาการผู้มีประสิทธิภาพ รวมถึงมองหาถึงความเป็นไปได้ที่จะให้ความช่วยเหลือในเรื่องดังกล่าว
ทั้งนี้ ไอพียู (Inter-Parliamentary Union) เป็นองค์กรที่มีสถานะเป็นผู้สังเกตการณ์ถาวรในยูเอ็น มีสมาชิกทั้ง 162 ประเทศ และรัฐสภาไทยเป็นสมาชิกในปี 2010 ในลำดับที่ 122
======
คำแปลบางส่วนของมติไอพียู
1.ไอพียูขอขอบคุณสำนักงานเลขาธิการใหญ่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสำหรับจดหมายและความร่วมมือ
2.ไอพียูยืนยันว่าจดหมายดังกล่าวมิได้ทำให้ไอพียูคลายความกังวลใจกรณีที่นายจตุพรถูกตัดสิทธิ์ด้วยเหตุผลซึ่งขัดต่อพันธกรณีที่ประเทศไทยมีต่อมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากลโดยตรง
3.เมื่อพิจารณาว่า แม้ว่ารัฐธรรมนูญไทยจะบัญญัติไว้โดยเฉพาะถึงเรื่องการตัดสิทธิ์ทางการเมืองของบุคคลที่ “ถูกคุมขังโดยคำสั่งทางกฎหมาย” ในวันเลือกตั้ง โดยยับยั้งมิให้บุคคลผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทางอาญาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ซึ่งขัดกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมือง ในมาตรา 25 ที่รับรองสิทธิในการ “เข้าร่วมทำกิจกรรมสาธารณะ” รวมถึงการ “ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและลงสมัครรับเลือกตั้ง” โดยปราศจากการ “ข้อจำกัดอันไม่สมเหตุสมผล”
4.เมื่อพิจารณาในแง่ดังกล่าว การปฏิเสธมิให้ ส.ส.ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวจากเรือนจำเพื่อไปใช้สิทธิลง คะแนนเสียงเลือกตั้งตั้งจึงเป็น “ข้อจำกัดอันไม่สมเหตุสมผล” โดยเฉพาะในบทบัญญัติของกติกาที่รับรองว่าบุคคลซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทาง อาญาให้ถือเป็นผู้บริสุทธิ์ (มาตรา 14) และ ให้ได้รับ “การปฏิบัติที่แตกต่างจากบุคคลผู้ถูกตัดสินว่ามีความผิดแล้ว” (มาตรา 10 (2)(a) ); ไอพียูระบุว่าการตัดสิทธิ์ของนายจตุพรยังปรากฏว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญไทยมาตรา 102(4) ซึ่งบัญญัติว่าผู้ที่ถูกตัดสินว่าว่ากระทำความผิดทางอาญาเท่านั้น ที่จะสูญเสียสิทธิในการลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยไม่รวมผู้ถูกกล่าวหาทางอาญา
5.ไม่ต่างจากกรณีที่ความเป็นสมาชิกพรรคการเมืองของนายจตุพรถูกเพิก ถอนในเวลาที่ยังมิได้มีการระบุว่าเขากระทำความผิดใด และในกรณีของคำปราศรัยอันปรากฏว่าเป็นการใช้สิทธิในเสรีภาพการแสดงออก ได้ย้ำเตือนถึงความกังวลว่า ศาลสามารถตัดสินกรณีพิพาทเกี่ยวกับความเป็นสมาชิกพรรคการเมืองซึ่งเป็น เรื่องส่วนบุคคลระหว่างนายจตุพรและพรรคการเมืองนั้นโดยอันที่จริงก็มิได้มี ข้อพิพาทใดระหว่างนายจตุพรและพรรคการเมืองนั้นเลย
6.จากข้อเท็จจริงข้างบน ไอพียูจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เจ้าหน้าที่รัฐไทยจะทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้เพื่อพิจารณาการตัดสิทธิของนายจตุพรอีกครั้งและรับรองว่าบทบัญญัติกฎหมายในปัจจุบันจะมีความสอดคล้องกับ มาตรฐานสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง ทางไอพียูประสงค์ที่จะได้รับแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับผลลัพธ์ของกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้
7.ทางไอพียูยังคงกังวลเกี่ยวกับข้อกล่าวหาทางกฎหมายและข้อเท็จจริงซึ่ง อ้างอิงอันเกี่ยวกับข้อหาของนายจตุพร และความเป็นไปได้ที่ศาลอาจสั่งถอนประกันนายจตุพร ดังนั้นไอพียูจึงประสงค์ที่จะขอสำเนาซึ่งเกี่ยวกับข้อกล่าวหาดังกล่าว และพิจารณาว่า ในกรณีนี้อาจเป็นเป็นประโยชน์ที่จะส่งผู้สังเกตการณ์เพื่อเข้าร่วมการ พิจารณาคดีในศาล และร้องขอให้เลขานุการใหญ่จัดการการนัดหมายที่จำเป็น
8.ความกังวลของไอพียูต่อกรณีที่นายจตุพรถูกสั่งฟ้อง ตัดสินและลงโทษในความผิดหมิ่นประมาท ในกรณีนี้ ความเห็นของผู้ตรวจการพิเศษขององค์การสหประชาชาติระบุว่า ความผิดหมิ่นประมาทมิควรที่จะเป็นความผิดทางอาญา ดังนั้น ไอพียูจึงประสงค์ที่จะเห็นเจ้าหน้าที่รัฐไทยพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้อง และประสงค์ที่จะได้รับสำเนาเกี่ยวกับการพิจารณาดังกล่าว รวมถึงได้รับแจ้งถึงขั้นตอนการอุทธรณ์ในคดีดังกล่าว
9.ทางไอพียูพิจารณาว่า คดีในปัจจุบันมีการแตกกิ่งการสาขานอกเหนือจากกรณีของนายจตุพร และยังเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทางรัฐธรรมนูญและระบบระหว่างสภาผู้แทนราษฎร และศาล ทางไอพียูจึงร้องขอให้เลขาธิการใหญ่เดินทางไปเยือนประเทศไทยเพื่อหยิบยก ประเด็นดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่รัฐสภา รัฐบาลและตุลาการที่ทรงประสิทธิภาพ รวมถึงค้นหาถึงความเป็นไปได้ว่าทางไอพียูจะสามารถช่วยเหลืออะไรได้บ้างใน กรณีดังกล่าว
10.ทางไอพียูร้องขอให้เลขาธิการใหญ่ส่งมตินี้ไปยังเจ้าหน้าที่รัฐที่ทรงประสิทธิภาพและผู้ให้ข้อมูล
11.ทางไอพียูร้องขอให้คณะกรรมาธิการตรวจสอบคดีนี้อย่างต่อเนื่อง และรายงานให้ทางไอพียูทราบต่อไปในระยะเวลาที่เหมาะสม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น