สับคำวินิจฉัย ตลก. 'โมฆะ' 'นอก รธน.' 'นำสู่ความรุนแรง'
22 มี.ค. 2557 สถาบันพัฒนาประชาธิปไตย จัดเสวนาหัวข้อ "ฤาตุลาการจะทำให้ประเทศแตกแยก" ที่โรงแรมมิราเคิล ถนนวิภาวดี ดำเนินรายการโดย ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระ โดยเรื่องที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงมากที่สุดคือมติศาลรัฐธรรมนูญวานนี้ ที่ระบุว่า พระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) ยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 เฉพาะในส่วนที่กำหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไป ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมานั้น ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรค 2 เนื่องจากไม่สามารถกระทำการเลือกตั้งในวันเดียวกันได้ทั้งราชอาณาจักร
ใบตองแห้งหวั่นนองเลือด
อธึกกิต แสวงสุข หรือ "ใบตองแห้ง" คอลัมนิสต์ชื่อดัง ระบุว่า ปัญหาของการวินิจฉัยครั้งนี้ คือ การเอา 28 เขตที่มีปัญหามาลบล้าง 347 เขต เช่นเดียวกับตอนที่ตัดสินกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการออก พ.ร.บ.สองล้านล้าน ด้วยเหตุผลเรื่องเสียบบัตรแทนกันซึ่งเป็นการกระทำของคนๆ เดียวมาล้มทั้งร่าง เป็นการเอาเสียงที่น้อยมากมาล้มล้างเสียงที่ใหญ่กว่า ที่แย่กว่านั้น 28 เขตเกิดจากเจตนาไม่สุจริตที่ขัดขวางการเลือกตั้ง เจตนาของคน 20 ล้านคนถูกขวางด้วยคนพันกว่าคน ล้มเลือกตั้งได้ทั้งประเทศ
สถิตย์ ไพเราะ ชี้หมดศรัทธาศาลนานแล้ว หลังตัดสินให้ กม.มีผลย้อนหลัง ด้านปิยบุตร ชี้คำวินิจฉัยศาล รธน.ต่างหากที่ "โมฆะ" เพราะไม่มีอำนาจตั้งแต่ต้น คณินจวกคำวินิจฉัย "นอกรัฐธรรมนูญ" ซ้ำกลายเป็นแก้รธน.นอกสภา ใบตองแห้งหวั่นคำตัดสินนำสู่การนองเลือด
22 มี.ค. 2557 สถาบันพัฒนาประชาธิปไตย จัดเสวนาหัวข้อ "ฤาตุลาการจะทำให้ประเทศแตกแยก" ที่โรงแรมมิราเคิล ถนนวิภาวดี ดำเนินรายการโดย ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระ โดยเรื่องที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงมากที่สุดคือมติศาลรัฐธรรมนูญวานนี้ ที่ระบุว่า พระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) ยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 เฉพาะในส่วนที่กำหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไป ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมานั้น ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรค 2 เนื่องจากไม่สามารถกระทำการเลือกตั้งในวันเดียวกันได้ทั้งราชอาณาจักร
สถิตย์ ไพเราะ อดีตรองประธานศาลฎีกา กล่าวว่า เมื่อพูดถึงความแตกแยก สังคมไทยก่อน 2475 ก็มีความแตกแยก แต่ไม่ใช่ความแตกแยกในระบบปกครอง โดยเห็นตรงกันว่าจะเป็นสมบูรณาญาสิทธิราช แต่เถียงกันว่าจะเอาใครมาเป็นพระมหากษัตริย์เท่านั้น พอมาหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีการแตกแยกออกเป็นสองฝ่ายระหว่างฝ่ายสมบูรณาญาสิทธิราชแบบเดิมกับฝ่ายประชาธิปไตย และสู้กันมาจนบัดนี้ ยันกันเรื่อยมาจนตอนหลังฝ่ายเผด็จการมีการใช้ตุลาการเข้ามา ซึ่งสิ่งที่ตุลาการทำนั้นไม่มีใครยอมรับได้
อดีตรองประธานศาลฎีกา กล่าวว่า ส่วนตัวเลิกนับถือศาลมาตั้งแต่ปี 51 ที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าออกกฎหมายย้อนหลังเป็นโทษได้ เพราะการวินิจฉัยเช่นนี้เป็นการทำลายเสรีภาพ ซึ่งเป็นหัวใจของระบอบประชาธิปไตย
ทั้งนี้ เขามองว่าศาลไทยนั้นเกิดจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ไม่ได้มาจากฝ่ายประชาธิปไตย สิ่งที่ศาลตัดสินครั้งนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลก แต่เป็นเรื่องธรรมชาติ พร้อมเล่าว่า คุณสมบัติผู้พิพากษานั้นกำหนดว่า ต้องเลื่อมใสในระบอบประชาธิปไตย แต่จากที่อยู่ในวงการนี้มา 40 ปี ก็พบว่าไม่เคยมีการสอบถามเรื่องนี้เลย
ปิยบุตร ชี้คำวินิจฉัยศาลรธน.ต่างหากที่ "โมฆะ"
ปิยบุตร แสงกนกกุล นักวิชาการคณะนิติราษฎร์ เริ่มด้วยการวิจารณ์กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่ออกมานั่งอ่านคำวินิจฉัยเต็ม แต่ให้โฆษกออกมาอ่านใบแถลงข่าวว่า เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง และทำเช่นนี้หลายครั้งในระยะหลัง กับคดีสำคัญหลายคดีที่ผ่านมา ทั้งนี้ เมื่ออ่านใบแถลงข่าว แล้ว เห็นว่าไม่มีตรงไหนที่บอกว่าการเลือกตั้ง 2 ก.พ. เป็นโมฆะ หรือถูกเพิกถอนไป แต่เนื่องจากทั้งฝ่ายสนับสนุน และต่อต้านต่างก็มีอารมณ์ร่วมเหมือนกันหมดว่าการเลือกตั้งจะโมฆะแน่นอน จึงตีความกันไปเช่นนั้น
ปิยบุตร แสงกนกกุล นักวิชาการคณะนิติราษฎร์ เริ่มด้วยการวิจารณ์กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่ออกมานั่งอ่านคำวินิจฉัยเต็ม แต่ให้โฆษกออกมาอ่านใบแถลงข่าวว่า เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง และทำเช่นนี้หลายครั้งในระยะหลัง กับคดีสำคัญหลายคดีที่ผ่านมา ทั้งนี้ เมื่ออ่านใบแถลงข่าว แล้ว เห็นว่าไม่มีตรงไหนที่บอกว่าการเลือกตั้ง 2 ก.พ. เป็นโมฆะ หรือถูกเพิกถอนไป แต่เนื่องจากทั้งฝ่ายสนับสนุน และต่อต้านต่างก็มีอารมณ์ร่วมเหมือนกันหมดว่าการเลือกตั้งจะโมฆะแน่นอน จึงตีความกันไปเช่นนั้น
ปิยบุตร ชี้ด้วยว่า กรณีนี้ผิดตั้งแต่หัวยันท้าย เพราะผู้ตรวจการแผ่นดินนั้นไม่มีอำนาจเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เนื่องจากตามรัฐธรรมนูญมาตรา 245 บัญญัติว่าผู้ตรวจการแผ่นดินอาจเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองได้ เมื่อเห็นว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ให้เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย โดยที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นหมายถึง พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด ประกาศคณะปฏิวัติ หรือกฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ ขณะที่ผู้ตรวจการฯ ยื่นตีความเรื่องการเลือกตั้ง เท่ากับเรื่องนี้ไม่มีอำนาจตั้งแต่ชั้นผู้ตรวจการฯ ศาลรัฐธรรมนูญไม่ควรรับคำร้อง แต่ก็รับ
ต่อมา ตัวคำวินิจฉัย มาตรา 108 ในรัฐธรรมนูญบอกว่าการยุบสภา ให้ทำเป็น พ.ร.ฏ. ต้องกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไป ให้เป็นวันเดียวทั่วราชอาณาจักร ศาลรัฐธรรมนูญ ระบุว่า พ.ร.ฎ.เฉพาะส่วนกำหนดวันเลือกตั้ง ขัดรัฐธรรมนูญ ถามว่าขัดตรงไหน เพราะก็กำหนดให้เลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ. เหมือนเป็นการให้เหตุผลจากหน้าถอยไปหลัง เนื่องจากเมื่อเลือกตั้งไม่ครบทุกเขต มี 28 เขตที่ไม่สำเร็จ โหว่ไป เท่ากับไม่เกิดพร้อมกันทั่วประเทศ
ปิยบุตร ชี้ว่า ศาลรัฐธรรมนูญบอกว่า พ.ร.ฎ.ไม่ชอบด้วยมาตรา 108 จบ ไม่มีตรงไหนบอกว่าการเลือกตั้งโมฆะ ก็คาไว้แบบนั้น คนที่รับไปปฏิบัติต้องตัดสิน ถ้าบอกว่า พ.ร.ฎ. ในส่วนนั้น ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ถามว่า ตกไปตั้งแต่เมื่อไหร่ ตามประเพณีปฏิบัติของศาลรัฐธรรมนูญไทย กฎหมายสิ้นผลตั้งแต่มีคำวินิจฉัย ถ้าเชื่อตามนี้ ก็ต้องสิ้นตั้งแต่เมื่อวานนี้ แล้วเกี่ยวอะไรกับ 20 ล้านเสียง ศาลก็ไม่ได้บอกว่าย้อนไปถึงไหน เช่นนี้คำตัดสินจึงมีปัญหา
ปิยบุตร กล่าวว่า หากเทียบเคียงกับกรณีเลือกตั้ง 2 เม.ย. 49 คำวินิจฉัยเขียนชัดว่า จัดคูหาไม่ลับ ส่งผลต่อการเลือกตั้งทั่วประเทศ แต่คราวนี้ (2 ก.พ.57) ไม่มีเขียน ถ้าจะโมฆะเลือกตั้งจริง แต่ไม่เขียน มองว่าเป็นเพราะรู้ว่าไม่มีอำนาจแต่แรก เขาจึงมองว่า สิ่งที่เป็นโมฆะคือคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวานต่างหาก ทั้งนี้ เขาเสนอด้วยว่า ควรส่งเรื่องไปร้องศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อถามว่าตัดสินว่าอะไรกันแน่
คณินจวกคำวินิจฉัย "นอกรัฐธรรมนูญ"
คณิน บุญสุวรรณ ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และ อดีต ส.ส.ร. รัฐธรรมนูญ 2540 กล่าวว่า อาจมองได้ว่าเวลานี้ตุลาการทำให้ประเทศไทยแตกแยก ศาลรัฐธรรมนูญคือฝ่ายตุลาการ ทำให้ประเทศไทยแตกแยกเป็นสองเสี่ยง เพราะการไปใช้สิทธิเลือกตั้งของคน 20 กว่าล้านหรือคิดเป็นครึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ กลายเป็นโมฆะ
คณิน บุญสุวรรณ ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และ อดีต ส.ส.ร. รัฐธรรมนูญ 2540 กล่าวว่า อาจมองได้ว่าเวลานี้ตุลาการทำให้ประเทศไทยแตกแยก ศาลรัฐธรรมนูญคือฝ่ายตุลาการ ทำให้ประเทศไทยแตกแยกเป็นสองเสี่ยง เพราะการไปใช้สิทธิเลือกตั้งของคน 20 กว่าล้านหรือคิดเป็นครึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ กลายเป็นโมฆะ
คณินตั้งข้อสังเกตว่า ตามกฎหมาย คำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่หลายเรื่องมาแล้ว ที่ยังไม่ปรากฏคำวินิจฉัยในราชกิจจานุเบกษาเลย ทั้งที่ลงมติแล้ว อย่างเมื่อวาน เรื่องที่มีความสำคัญอย่างมาก ก็พิจารณากันลับๆ แล้วมีกระดาษแผ่นหนึ่งออกมาแถลง จนป่านนี้นักกฎหมายยังอ่านคำวินิจฉัยไม่ออกเลย รู้แต่ว่าโมฆะ ทั้งนี้ มองว่า นี่เป็นคำวินิจฉัยนอกรัฐธรรมนูญ เพราะศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัย พ.ร.ฎ. ผู้ตรวจการแผ่นดินก็รับเรื่องไว้โดยไม่มีอำนาจ ทั้งสององค์กรต่างรับไว้ทั้งที่ไม่มีอำนาจเลย
คณิน กล่าวด้วยว่า การตัดสินเช่นนี้เป็นการฉวยโอกาส แก้ไขรัฐธรรมนูญโดยไม่ผ่านกระบวนการทางรัฐสภาอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากมาตรา 108 ระบุว่า ยุบสภาแล้วต้องเลือกตั้งใหม่ใน 60 วัน เปิดประชุมสภาใน 30 วัน แต่กระบวนการเหล่านี้ทำไม่ได้เลย ที่สุดศาลรัฐธรรมนูญ สั่งระงับ โดยหากเพิ่มวรรคใหม่ จากคำวินิจฉัย จะเป็นว่า "การเลือกตั้งทั่วไปตามพ.ร.ฎ.ตามวรรคสอง มาตรา 108 จะกระทำไม่ได้ ถ้าศาลรัฐธรรมนูญไม่ยินยอม" เช่นเดียวกับ พ.ร.บ.สองล้านล้าน กฎหมายบอกว่า ร่าง พ.ร.บ. จะตราเป็นกฎหมายได้ก็ต่อเมื่อได้รับคำแนะนำและความยินยอมของรัฐสภา แต่กลายเป็นว่าร่าง พ.ร.บ. แม้จะได้รับคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภาแล้ว จะนำขึ้นทูลเกล้าไม่ได้ ถ้าศาลรัฐธรรมนูญไม่ยินยอม สุดท้ายแล้วกังวลว่าคำตัดสินเหล่านี้จะนำไปสู่การถอดถอนโดย ป.ป.ช.และนำไปสู่การเปิดทางเสนอชื่อนายกฯ คนกลาง
คณิน กล่าวว่า ผู้ที่ทำให้เกิดความเสียหายคือศาลรัฐธรรมนูญ ที่ผ่านมา การเลือกตั้งไม่สมบูรณ์เพราะ ปชป. ไม่ลง กปปส.ขวาง กกต.ย่อหย่นต่อหน้าที่ ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่มีอำนาจส่ง ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับ และยังสั่งโมฆะด้วย ดังนั้น จึงเสนอให้ประชาชนทั่วประเทศ ซึ่งถือเป็นผู้เสียหาย ดำเนินการฟ้องทั้งทางแพ่งและอาญา กกต. ผู้ตรวจการแผ่นดิน และศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะดีกว่าการชุมนุมประท้วง กดดัน หรือปิดล้อม เพราะจะเข้าทางเขา จะสร้างปัญหาแน่นอน
คณิน กล่าวว่า ผู้ที่ทำให้เกิดความเสียหายคือศาลรัฐธรรมนูญ ที่ผ่านมา การเลือกตั้งไม่สมบูรณ์เพราะ ปชป. ไม่ลง กปปส.ขวาง กกต.ย่อหย่นต่อหน้าที่ ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่มีอำนาจส่ง ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับ และยังสั่งโมฆะด้วย ดังนั้น จึงเสนอให้ประชาชนทั่วประเทศ ซึ่งถือเป็นผู้เสียหาย ดำเนินการฟ้องทั้งทางแพ่งและอาญา กกต. ผู้ตรวจการแผ่นดิน และศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะดีกว่าการชุมนุมประท้วง กดดัน หรือปิดล้อม เพราะจะเข้าทางเขา จะสร้างปัญหาแน่นอน
ใบตองแห้งหวั่นนองเลือด
อธึกกิต แสวงสุข หรือ "ใบตองแห้ง" คอลัมนิสต์ชื่อดัง ระบุว่า ปัญหาของการวินิจฉัยครั้งนี้ คือ การเอา 28 เขตที่มีปัญหามาลบล้าง 347 เขต เช่นเดียวกับตอนที่ตัดสินกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการออก พ.ร.บ.สองล้านล้าน ด้วยเหตุผลเรื่องเสียบบัตรแทนกันซึ่งเป็นการกระทำของคนๆ เดียวมาล้มทั้งร่าง เป็นการเอาเสียงที่น้อยมากมาล้มล้างเสียงที่ใหญ่กว่า ที่แย่กว่านั้น 28 เขตเกิดจากเจตนาไม่สุจริตที่ขัดขวางการเลือกตั้ง เจตนาของคน 20 ล้านคนถูกขวางด้วยคนพันกว่าคน ล้มเลือกตั้งได้ทั้งประเทศ
นอกจากนี้ ใบตองแห้งตั้งคำถามว่า เหตุใดจึงตีความว่าพ.ร.ฎ.ในส่วนกำหนดวันเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ กรณีนี้จะโทษ กกต.หรือรัฐบาลก็ได้ แต่การกำหนดวันผิดตรงไหน พอ 28 เขตมีปัญหาจัดการเลือกตั้งไม่ได้ เพราะเหตุสุดวิสัย แล้ว พ.ร.ฎ.ผิดได้อย่างไร
เขาชี้ว่า ตอนที่ กกต.ถามเรื่องเลื่อนเลือกตั้ง ศาลบอกเลื่อนได้ เมื่อมีเหตุจำเป็น แต่เมื่อมีเหตุ กลับบอกเลื่อนไม่ได้ แล้วตัดสินได้อย่างไรให้ พ.ร.ฎ.เหลือครึ่งฉบับ ให้ส่วนยุบสภาได้อยู่ ต่อไปจะมีปัญหามาก เมื่อ พ.ร.ฎ.ลอยอยู่ครึ่งฉบับ จัดเลือกตั้งไม่ได้ ปชป.ไม่ลง กปปส.บอยคอต จะนำไปสู่อะไร ป.ป.ช. ก็จ่อจะชี้มูลนายกฯ ทั้งหมดนี้เป็นปัญหามาก
ใบตองแห้ง กล่าวด้วยว่า จากคำสั่งศาลซึ่งอาจตีความได้ว่าจะเลือกตั้งไม่ได้อีกเลยจนกว่าจะยอมแพ้ จะทำให้ฝ่ายประชาธิปไตยไม่มีทางออก และยิ่งหากนายกฯ ถูกปลดและเกิดการตีความสู่นายกฯ คนกลาง เมื่อถึงจุดนั้น เขาหวั่นว่าจะนำไปสู่ความรุนแรง
อย่างไรก็ตาม เขาเองมองว่าผู้รักประชาธิปไตยจะใช้ความรุนแรงไม่ได้ เพราะ หนึ่ง ไม่มีปืน ศาล ทหาร เมื่อลุกฮือ ก็ติดคุกถูกยิงตาย สอง แนวทางประชาธิปไตยมาโดยความรุนแรงไม่ได้ ในอดีตการใช้ความรุนแรงเพื่อสู้กับเผด็จการ แต่นี่คือความรุนแรงระหว่างประชาชนด้วยกัน จะไล่ฆ่า กปปส. หรือ มันก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย หรือสมมติ ทักษิณทำรัฐประหารขึ้นมา นั่นก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย แต่จะทำให้ประชาธิปไตยไม่มีทางออก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น