Tue, 2014-10-14 14:51
จรัล พูดถึงคนตุลาจุดยืนเปลี่ยนไป, วิเคราะห์ถึงขบวนการคนเสื้อแดงหลังรัฐประหาร และเมื่อไหร่เราจะมีการเลือกตั้ง
เนื่องในโอกาสครบรอบ 41 ปี 14 ตุลา ประชาไท คุยกับ จรัล ดิษฐาอภิชัย คนเดือนตุลาคนหนึ่ง แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และขณะนี้เป็นผู้ประสานงาน องค์กรเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนเพื่อประชาธิปไตย ณ ยุโรป จรัลลี้ภัยไปต่างประเทศ หลังจากการรัฐประหาร
เมื่อปี 2556 จรัลเป็นประธานจัดงานครบรอบ 40 ปี 14 ตุลา ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งในงานมีการแสดงละคร “เจ้าสาวหมาป่า” ที่ทำให้ ปติวัติ และ ภรณ์ทิพย์ ถูกจับกุมและถูกตั้งข้อหามาตรา 112 ซึ่งทำให้จรัลมีแนวโน้มจะถูกตั้งข้อหามาตรา 112 ไปด้วย
ประชาไทถามไถ่สารทุกข์สุกดิบของจรัล เขามองผลของการเคลื่อนไหว 14 ตุลาต่อการเมืองในปัจจุบันอย่างไร และอนาคตของขบวนการคนเสื้อแดง
จรัลบอกว่า ตอนนี้พรรคพวกคนเดือนตุลาจำนวนมาก ก็ได้รับแต่งตั้งเป็น สมาชิก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เช่น ประสาน มฤคพิทักษ์ และ เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ซึ่งพวกเขาเหล่านี้เคยต่อต้านเผด็จการทหารมาก่อน กลัมาร่วมกับเผด็จการทหาร จรัลใช้โอกาสครบรอบ 41 ปีครั้งนี้ ประณามบุคคลเหล่านี้ และเสริมว่า จริงๆ ก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ เพราะก็มีการแบ่งฝ่ายแบบนี้มานานแล้ว
จรัลยังได้กล่าวถึงสิ่งที่เรียกว่า “ผีเดือนตุลา” ซึ่งหมายถึง คนเดือนตุลาด้วยกัน หลอกหลอนกันเอง ซึ่งหมายถึง การที่คนเดือนตุลา มากกว่า 70 เปอร์เซนต์ เลือกที่จะไปอยู่ฝั่งชนชั้นนำเก่า ฝ่ายเสื้อเหลือง ฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และที่เหลือ ไม่ถึง 30 เปอร์เซนต์ ที่อยู่ฝั่งคนเสื้อแดง
“คนเดือนตุลาเป็นคนรุ่นเดียว ที่สามสิบปีมานี้ยังมีฐานะและบทบาททางการเมืองอย่างสูง และไปร่วมกับทั้งสองฝ่าย ดังที่เคยมีคนบอกว่า สาเหตุที่ประเทศไทยวุ่นวาย ก็เพราะคนเดือนตุลานี่แหละ เพราะคนพวกนี้ไปไหนก็ไปเสนอความคิด ยุทธวิธีทางการเมือง ก็คือคนเดือนตุลายังมีฐานที่ครอบงำการเมืองไทยอยู่ไม่เสื่อมคลาย
“ผีคนเดือนตุลา หลอกหลอนกันเอง หลอกหลอนคนเดือนตุลาด้วยกัน คนเดือนตุลา เลือกข้างไปอยู่ำกับ พธม เสื้อเหลือง ประมาณ 70 เปอร์เซนต์ คน 70 เปอร์เซนต์ ก็หลอกคน 30 เปอเร์ซนต์ที่เหลือ (ซึ่งจริงๆ น่าจะน้อยกว่านี้ ) ช่วงแรก บอกว่าไปต่อต้าน เผด็จการรัฐสภา (ยุคทักษิณ) แต่พอรัฐบาลทักษิณล้มไปแล้ว เขาก็ยังเดินหน้าต่อ
“คนเดือนตุลาเป็นคนรุ่นเดียว ที่สามสิบปีมานี้ยังมีฐานะและบทบาททางการเมืองอย่างสูง และไปร่วมกับทั้งสองฝ่าย ดังที่เคยมีคนบอกว่า สาเหตุที่ประเทศไทยวุ่นวาย ก็เพราะคนเดือนตุลานี่แหละ เพราะคนพวกนี้ไปไหนก็ไปเสนอความคิด ยุทธวิธีทางการเมือง ก็คือคนเดือนตุลายังมีฐานที่ครอบงำการเมืองไทยอยู่ไม่เสื่อมคลาย
“คนเสื้อแดงส่วนใหญ่ไม่ชอบ และไม่อินกับเหตุการณ์ 14 ตุลา แต่จะอินกับเหตุการณ์ 6 ตุลามากกว่า เหตุผลที่คนเสื้อแดงไม่ชอบ 14 ตุลาก็เพราะมองว่า ในที่สุดแล้วคนเข้าร่วมสวนใหญ่กลายไปเป็นเสื้อเหลือง และในที่สุดแล้ว นักศึกษาถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองของศักดินา ซึ่งผมก็เห็นด้วย
“ในส่วนตัวผม ผมยังเห็นว่าเหตุการณ์ 14 ตุลา นั้นมีความสำคัญมาก นั้นยิ่งใหญ่ในแง่เนื้อหา ล้มเผด็จการทหาร มันเป็นครั้งแรกที่นักศึกษาธรรมดาสามารถล้มเผด็จการทหารได้ ถ้าไม่มี 14 ตุลา คนไทยก็ไม่มีเสรีภาพอย่างปัจจุบัน”
จรัลพูดถึงการรัฐประหารในไทยว่า จริงๆ แล้วคสช. เป็นเผด็จการที่รุนแรงน้อยกว่าประเทศอื่น ไม่ได้ฆ่าคนมากมายอย่างเผด็จการประเศอื่น อย่างในละตินอเมริกา ถึงแม้ว่า ที่ผ่านมาจะมีการบาดเจ็บล้มตายในการต่อสู้ แต่เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ก็ยังไม่ถือว่ามาก แต่อย่างไรก็ตาม ในมุมมองสิทธิมนุษยชน แม้ตายคนเดียวก็ถือว่ามากเกินไป ถึงแม้ คสช. ตอนนี้จะมีความเป็นเผด็จการมาก แต่ก็ไม่เหี้ยมโหดเท่าสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
จรัลมองว่า มีปัจจัยสองอย่างที่ทำให้รัฐประหารครั้งนี้ไม่รุนแรงเท่าไหร่ หนึ่ง ลักษณะของคนไทย ที่ไม่นิยมความรุนแรง
สอง ประเทศไทยได้ผ่านบทเรียนมามาก ทหารได้วางแผนมาเป็นปีแล้ว และมีมาตราการที่ถือว่าฉลาดมาก .ซึ่งคือ การให้ไปรายงานตัวแล้วปล่อย เลยทำให้คนบางส่วนตัดสินใจได้ ตัดสินใจไปรายงานตัว โดยเฉพาะคนที่ไม่อยากหนี ก็ไปรายงานตัว ซึ่งผู้นำการต่อสู้กว่า 90 เปอร์เซนต์ก็ไปรายงานตัว จากการวิเคราะห์คือมาตราการเรียกไปรายงานตัวแล้วปล่อย เป็นมาตรการที่ฉลาดมาก ทำให้แกนนำไปรายงานตัว ก็ทำให้เขาสามารรถควบคุมสถานการณ์ได้ ไม่ทำให้สถานการณ์รุนแรง
“ไม่ว่าชนชั้นปกครองยุคไหนก็จะใช้การปราบ อีกอย่างคือการหลอกลวง บางครั้งใช้พร้อมกัน บางครั้งใช้หลอกก่อนแล้วค่อยปราบ เป็นไม้นวมกับไม้แข็ง คสช. ใช้ทั้งสองวิธีพร้อมกันเลย”
แรงกดดันจากต่างชาติ
“หนังสือพิมพ์ระดับโลก นานๆ ทีจะมีข่าวเรื่องไทย เพราะเหตุการณ์ที่ไทยมันไม่สุดๆ มันไม่ได้เกิดอะไรมาก ประชาคมโลก พูดตรงๆ ก็คือเขาซาดิสม์ มันต้องมีคนตายเยอะๆ เขาถึงจะสนใจ ผมพยายาบอกเขาว่า แค่เป็นเผด็การแบบนี้ก็แย่แล้ว ถ้าหากว่า ประชาคมโลกไม่เพิ่มมาตราการกดดัน เขาก็จะอยู่นาน ประชาคมโลกส่วนหนึ่งก็มองโลกแง่ดี ก็มองว่า อีกหนึ่งปีครึ่งก็จะมีการเลือกตั้ง ผมก็บอกว่า เราต้องพูดให้เขาผูกมัดตัวเองว่า จะมีการเลือกตั้ง แต่ในทางความคิด เราอย่าไปเชื่อมัน
“เป้าหมายในการรัฐประหารครั้งนี้ หนึ่งคือทำลายกลุ่มต่อต้านชนชั้นนำเก่า สองคือทำลายพรรคการเมืองและนักการเมือง
“ถ้าการต่อต้านในประเทศไม่มาก เขาก็คงยืดเวลาอยู่ในอำนาจไปอีกปีสองปี อีกอย่างคือการผลัดเปลี่ยนราชการ สร้างสภวะทางการเมืองให้ยอมรับการ [กองบรรณาธิการขอเซนเซอร์ตัวเอง] ผมไม่เชื่อหรอกว่า เดือนตุลาปีหน้าจะมีการเลือกตั้ง แรงกดดันจากประชาคมโลกมีผลน้อยมากเลยต่อเรื่องนี้ เพราะผลประโยชน์ในทางการค้าขายระหว่างรัฐมันมาก่อน มันจับต้องได้ ในขณะที่เรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นคุณค่านามธรรม ผลประโยชน์ทางการค้าต้องมาก่อน
“ตอนนี้ในฐานะที่เป็นผู้ประสานงาน องค์กรเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยในยุโรป ก็เขียนจดหมายชี้แจงเรื่องสถานการณ์ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนส่งให้ สมาชิกรัฐสภา หลายๆ ประเทศ และองค์กรสิทธิต่างๆ
“ประชาธิปไตยเป็นกระแสของโลก ยังไงเราอยูฝ่ายประชาธิปไตย ยังไงก็จะชนะ แต่เราก็พูดมาตั้งแต่เดือนตุลา ตั้งแต่อยู่ในป่า คือชนะแน่ๆ แต่เมื่อไหร่ไม่รู้นะ (หัวเราะ) เราไมู่ดว่า การต่อสู้ครั้งสุดท้าย แต่พูดว่า เราต้องต่อสู้ไปเรื่อยๆ
“ตอนนี้ผมอยู่ในประเทศหนึ่งในยุโรป ก็เคลื่อนไหว ให้ข้อมูลข่าวสาร ให้คนไทยและต่างชาติทั้งรัฐและเอกชนให้เข้าใจสถานการณ์การเมืองไทย
“พาสปอร์ตของผมถูกเพิกถอนไปตั้งแต่ 10 ก.ค. ตอนนี้ไม่มีพาสปอร์ต แต่ยังมีวีซ่าแชงเก้น ก็ยังอยู่ได้ อีกหนึ่งปี
“คนเสื้อแดงถูกกระทำเยอะ ถูกจับ ส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกดำเนินคดีอะไร ไม่ได้เป็นความรุนแรงต่อร่างกาย แต่เป็นความรุนแรงต่อจิตใจ ทำให้จิตใจของแกนนำและพี่น้องคนเสื้อแดงรู้สึกทุกข์
“พูดอยางเปรียบเทียบ หลังการสลายการชุมนุมปี 2553 ขบวนการคนเสื้อแดงฟื้นภายในสามเดือน ส่วนเหตุการณ์ในปีนี้ นี่จะห้าเดือนแล้ว ผมว่า น่าจะฟื้นในเก้าเดือนถึงหนึ่งปี ก็ถือเป็นการฟื้นที่เร็วมาก คนเสื้อแดงจิตใจต่อสู้เขาสูง และยังไงก็ยังเกาะกลุ่ม มีการทำกิจกรรม แกนนำส่วนหนึ่งก็เริ่มเคลื่อนไหว มาเปิดทีวี ไปอภิปราย ถ้ายกเลิกกฎอัยการศึก น่าจะฟื้นเร็วขึ้น เขารู้ข้อนี้ ว่าขบวนการประชาชนก็จะฟื้นเร็ว ถ้ายกเลิกกฎอัยการศึก แล้วมีการชุมนุมแล้วเขาจะกล้าปราบไหม ถ้าปราบก็จะมีปัญหากับสากล เขาก็คงจะไม่เลิกกฎอัยการศึก จนกว่าจะแน่ใจจริงๆ
“นอกจากนี้คสช. ต้องบริหารประเทศ ต้องแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาปากท้อง เช่น ปัญหาราคาผลผลิตทางเกษตร ซึ่งถ้าแก้ไม่ได้ ก็จะมีคนไม่พอใจมากขึ้น นอกจากนี้ภายใน คสช. และฝ่ายผู้สนับสนุน ภายหน้าน่าจะมีความขัดแย้งแตกแยกมากขึ้นเรื่อยๆ”
นักต่อต้านเผด็จการผู้โชกโชน
จรัลเล่าว่า ในชีวิตนี้ เคยลี้ภัยการเมืองมาแล้วสามครั้ง ครั้งแรกคือ หนีจากห้องขังเข้าป่าแถวภาคเหนือ ปี 2520 ครั้งที่สอง เดือนพ.ค. 2553 หลังการปราบคนเสื้อแดงที่ราชประสงค์ และนี่คือครั้งที่สาม
ตอนแรกจรัลคิดว่า มีความคิดจะมาอยู่อย่างน้อยสองปี แต่พอมีแนวโน้มจะโดนข้อหา 112 ก็คิดวา คงไม่ได้กลับอีกนาน “จนกว่าประเทศไทยจะมีการปรองดองอย่างจริงจัง หรือจนกว่า ฝ่ายประชาธิปไตยจะชนะเด็ดขาด อาจในสองสามปีก็เป็นได้ ”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น