วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

หมีหน้าฮ๊าาาาาาาก แนะทุกฝ่ายควรเคารพกติกา ลดเผชิญหน้าปมถอดถอน


อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ที่มา: เพจ Abhisit Vejjajiva/แฟ้มภาพ)
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หน.ปชป. เผยผ่านรายการวิทยุ อยากเห็นทุกฝ่ายเคารพกติกา ย้ำปมถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองควรว่ากันตามหลักการกฎหมาย ส่วนการร่าง รธน. ฉบับใหม่ ต้องบรรจุเรื่องการตรวจสอบถ่วงดุล จำกัดอำนาจไม่ให้รัฐบาลเอื้อประโยชน์ตัวเอง
เมื่อวันที่ 5 พ.ย. ที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการวิทยุ 101 องศาข่าว หลังจากที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เผยว่า ยังมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตรา 44  ซึ่งให้อำนาจ คสช. สามารถปราบปรามการชุมนุมทางการเมืองที่อาจเกิดขึ้นจากปมเรื่องพิจารณาถอดถอนอดีตผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
อภิสิทธิ์กล่าวว่า กระบวนการในการพิจารณาถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ยิ่งตอนนี้ทำในช่วงเวลาหลังการรัฐประหารยิ่งมีความละเอียดอ่อนมากขึ้นไปอีก เพราะมีมุมมองจากมวลชนทั้งสองฝ่าย ซึ่งต่างก็มองกันคนละมุม ฝ่ายนึงก็มีความรู้สึกว่า ถ้าเกิดเรื่องนี้ไม่เดินหน้าทำอย่างจริงจัง ก็มีความรู้สึกค้างคาใจ อีกฝ่ายหนึ่งก็มองว่า เมื่อเกิดรัฐประหารขึ้นแล้ว องค์กรที่มาทำหน้าที่วุฒิสภา ไม่ใช่เป็นวุฒิสภา เขาก็มีความค้างคาใจเขาเหมือนกัน
"ดีที่สุดมันไม่ควรจะมีการเคลื่อนไหวของมวลชน แต่ สนช. นั้นก็ต้องว่ากันไปตามข้อกฎหมาย ว่าไปตามเนื้อผ้า อะไรเป็นอะไรก็เดินหน้าไปตามข้อเท็จจริง ตามข้อกฎหมาย และฝ่ายต่างๆ ก็ต้องได้รับความเป็นธรรม แล้วก็กระบวนการมันก็จะมีการ ผมเข้าใจว่าก็คงจะมีความพยายามให้เกิดการตรวจสอบ ถ่วงดุล เหมือนจะมีการร้องขอความเป็นธรรมบ้าง มีการขู่ว่าจะฟ้องศาลบ้าง ในที่สุดมันก็ต้องมีข้อยุติออกมา ซึ่งก็อยากให้ทุกฝ่ายยอมรับในข้อยุตินะครับ ถ้ากระบวนการทุกอย่างมันเดินไปตามหลักของมัน" อภิสิทธิ์กล่าว
ขณะเดียวกันอภิสิทธิ์ยังได้กล่าวถึงสิ่งที่เป็นวาระเร่งด่วนซึ่งควรบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยอภิสิทธิ์มองว่าโจทย์ที่สำคัญที่สุดคือ เรื่องของการตรวจสอบถ่วงดุล จะทำอย่างไรให้รัฐบาลที่เข้ามาแล้วมีอำนาจอย่างจำกัด ไม่ใช่ใช้อำนาจนั้นไปในทางที่เอื้อประโยชน์ให้ตัวเอง ไปในทางที่เพิ่มอำนาจให้ตัวเอง จนไม่สามารถทำให้คนอื่นในสังคมเข้ามาตรวจสอบถ่วงดุลได้
อภิสิทธิ์ยังกล่าวถึงเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่อาจเกิดในอนาคตอีกด้วยว่า "การแก้กติกาในบางเรื่องก็คงทำได้ แต่ต้องไม่ใช่การแก้เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับตัวเอง เพื่อไปทำลายความสมดุลของระบบที่มันเกิดขึ้นเท่านั้นเอง อันนี้ความจริงก็เป็นหลักที่พยายามจะพูดกันอยู่มาก่อนหน้านี้ คือผมเองนั้นอยากจะบอกด้วยว่า จริงๆ ตอนเกิดรัฐประหารนั้น ผมว่าทั้งคนทำ และคนดู ก็ไม่ได้มองว่ารัฐธรรมนูญปี 50 คือตัวปัญหานะ เราไปกังวลกับปัญหาที่มันเกิดขึ้นบนข้อเท็จจริงของความขัดแย้ง ของการประท้วงมากกว่า แต่ว่าพอรัฐประหารแล้วมันจะโดยเทคนิคทางกฎหมายหรืออะไรก็ตาม มันต้องยกเลิกรัฐธรรมนูญ แต่ว่าสิ่งที่เป็นปัญหาจริงๆ อาจจะไม่ใช่ตัวบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญก็ได้ ก็ต้องไปดูให้ดี”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น