เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 59 นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวว่า ไม่ได้เขียนบทเฉพาะกาลเพื่อสืบทอดอำนาจ แต่เพื่อให้รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) สามารถทำงานต่อไปได้จนกว่าจะมีการเลือกตั้ง เพราะไม่มีใครทราบว่าระหว่างทางจะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นหรือไม่ จึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือดูแลความเรียบร้อย ดังนั้นนายกรัฐมนตรีและคสช. ยังมีอำนาจเต็มและสามารถใช้มาตรา 44 ได้ตามปกติ เพราะไม่มีช่องทางใดให้ตัดอำนาจในส่วนนี้
“คนเราถ้ายอมให้ใช้อำนาจคุณจะไม่ไว้วางใจเขาเลยหรือ ต้องวางใจ อย่างน้อยที่ผ่านมาเขาไม่ได้ใช้อำนาจอะไร มันไม่รู้ว่าในอนาคตก่อนการเลือกตั้งจะเกิดอะไรขึ้น ก่อนรัฐบาลใหม่จะมา แล้วคุณไปตัดมือตัดเท้าเขาจะทำงานได้อย่างไร เป็นอำนาจเดิมไม่ได้ลดทอน แล้วจะไปลดตรงไหน คนต่อต้านไม่ว่าจะทำอะไรเขาก็ต่อต้านอยู่แล้ว พวกคุณอย่าไปต่อต้านด้วยแล้วกัน อันนี้เป็นกลไกตามปกติ” นายมีชัย กล่าว
“เชื่อว่ารัฐบาลและคสช.ไม่ใช้อำนาจเกินขอบเขตตามที่หลายฝ่ายกังวลว่าจะเข้ามาแทรกแซงการเลือกตั้ง เนื่องจากที่ผ่านมาไม่เคยทำเช่นนั้น ขณะเดียวกันยังมีสื่อมวลชนคอยตรวจสอบอยู่ ส่วนระยะเวลา 8 เดือนในการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญถือว่าเป็นระยะเวลาที่น้อยมากสำหรับการยกร่างกฎหมายกว่า 10 ฉบับ โดยเมื่อร่างเสร็จแล้วก็จะทยอยเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) พิจารณาทันที ซึ่งไม่ถือเป็นการถ่วงเวลาของโรดแมป และยังอยู่ในวิสัยที่จะให้มีการเลือกตั้งได้ในปี 2560 แต่อาจจะเลื่อนไปเป็นปลายปี” ประธานกรธ. กล่าว
ประยุทธ์ ห่วงร่าง รธน. แง้มมีแผนสำรอง แต่เปิดเผยไม่ได้ เพราะจะถือเป็นคำสั่ง ขออย่าใจร้อน
ขณะที่ เมื่อวันที่ 27 ม.ค. ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. กล่วยอมรับว่า มีความเป็นห่วงเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ และมีแผนสำรองไว้แล้ว แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะถ้าเปิดเผยออกไปจะถือเป็นคำสั่ง พร้อมขอว่าอย่าใจร้อน
ส่วนข้อกังวลการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวในประเด็นการทำประชามตินั้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ขณะนี้กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ยังไม่มีการปรึกษาตน สำหรับประเด็นที่อยากให้มีการแก้ไขโดยเฉพาะเรื่องการใช้สิทธิ์ลงคะแนนประชามติ ตนเห็นว่าที่ยังคงเนื้หานี้ไว้ เพราะต้องการให้คนออกมาใช้สิทธิ์จำนวนมาก
'วิษณุ' เผยอ่าน ร่างแรกของ กมธ. แล้ว ระบุดีกว่าเดิมและเชื่อว่าน่าจะผ่านประชามติ
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกของ กรธ.แล้ว ซึ่งได้ให้ความเห็นไปก่อนหน้านี้ว่าเป็นร่างที่ดีกว่าเดิมและเชื่อว่าน่าจะผ่านประชามติ
เมื่อถามย้ำว่าหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติจะทำอย่างไร นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ทราบว่าแผนของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นอย่างไร แต่ยืนยันว่าไม่มีร่างสำรอง เพียงแต่ถึงอย่างไรต้องแก้ปัญหาให้ได้ แต่ปัญหาเป็นในส่วนใดบ้างไม่ทราบ ส่วนเรื่องความชัดเจนการออกเสียงประชามติว่าจะใช้เสียงข้างมากของผู้มีสิทธิ์หรือผู้มาใช้สิทธิ์ ต้องพิจารณาว่าจะแก้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 ให้เกิดความชัดเจนด้วยหรือไม่ แต่ยังไม่จำเป็นต้องแก้ในขณะนี้ ขอให้มีความชัดเจนก่อน ไม่ควรพูดรายวัน
สปท.ส่ง 4 ตัวแทนซักถาม กรธ.ร่าง รธน.ร่างแรก 3 ก.พ.นี้
นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (วิป สปท.) เปิดเผยถึงการชี้แจงร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกของกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ต่อ สปท.และสภานิติบัญญัติ (สนช.) ในวันที่ 3 ก.พ. นี้ ว่า สมาชิก สปท.ได้กำหนดตัวแทนในการซักถาม จำนวน 4 คน ประกอบด้วย นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ,นายเสรี สุวรรณภานนท์ ,นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร และนางนินนาท ชลิตานนท์ แต่ยังไม่ได้กำหนดจำนวนคำถามเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งวิป สปท.จะเปิดรับคำถามจากคณะกรรมาธิการทั้ง 12 คณะก่อนคัดเลือกคำถามในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ เพื่อให้ตัวแทนทั้ง 4 คนเป็นผู้ซักถาม กรธ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น