บัณฑิต อานียา และปีเตอร์ โคเร็ท เพื่อนชาวต่างชาติ (แฟ้มภาพ)
ศาลทหารไต่สวนแพทย์จากสถาบันกัลยาราชนครินทร์ สรุปว่า อาการของบัณฑิต ยึดติดกับความคิดซ้ำๆ เข้าข่ายลักษณะบุคลวิกลจริต ชี้มีโอกาสก่อคดีเพิ่มอีก แต่ยังสามารถสู้คดีต่อไปได้ จึงให้นัดสืบพยานต่อ ในคดีมาตรา 112
12 ก.พ. 2559 หลังจากเดิมที่ศาลทหาร มีนัดไต่สวนแพทย์จากสถาบันกัลยาราชนครินทร์ ผู้ทำการรักษา นายบัณฑิต อานียา นักเขียนวัย 75 ปี จำเลยในคดี 112 แต่เมื่อถึงเวลานัดผู้พิพากษาขึ้นบัลลังก์และแจ้งว่ามีจดหมายจากสถาบันกัลยาฯ แจ้งว่าแพทย์ติดราชการไม่สามารถมาให้การได้ จึงได้เลื่อนนัดหมายเป็นวันที่ 11 ก.พ. แทนนั้น
ล่าสุด 11 ก.พ. ที่ผ่านมา โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) รายงานว่า ที่ศาลทหารกรุงเทพช่วงบ่าย ห้องพิจารณาคดีที่ 1 นัดไต่สวนแพทย์ คดี ของ บัณฑิต หลังบัณฑิตเข้ารับตรวจอาการทางจิตที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ตั้งแต่ต.ค. 2558 กระทั่งศาลนัดไต่สวนความเห็นของแพทย์ โดยแพทย์ที่มาเบิกความคือ "นายแพทย์อภิชาติ" นายแพทย์ชำนาญการจากสถาบันกัลยาฯ และเบิกความถึงอาการของบัณฑิตโดยสรุปว่า บัณฑิตมีร่องรอยความเจ็บปวด ยึดติดกับความคิดซ้ำๆ มีโอกาสก่อคดีเพิ่มอีกแต่ก็สามารถตอบโต้คำถามแบบคนทั่วไปได้
ต่อมาศาลถามนายแพทย์อภิชาติว่า บัณฑิตสามารถต่อสู้คดีได้หรือไม่ นายแพทย์อภิชาติตอบว่าสามารถต่อสู้คดีได้ ทนายของบัณฑิตจึงถามอีกว่า ถ้าจะนิยามอาการของบัณฑิตเป็นจิตเภทหรือวิกลจริตได้หรือไม่ นายแพทย์อภิชาติก็ย้ำว่า อาการของบัณฑิตเข้าข่ายเป็นคนวิกลจริต หลังจากนั้นศาลจึงแถลงว่าคดีนี้บัณฑิตสามารถต่อสู้คดีได้ และจะพิจารณาคดีต่อ โดยให้อัยการและทนายของบัณฑิตนัดวันสืบพยานจนได้ข้อสรุปว่า วันสืบพยานโจทก์กันอีกครั้งวันที่ 4 พ.ค. 2559 เวลา 8.30 น.
iLaw ยังรายงานด้วยว่า เหตุที่ทนายความส่งคำร้องขอส่งตัวบัณฑิตไปตรวจรักษาอาการทางจิต เนื่องจากเขาคยถูกฟ้องคดี 112 ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้เมื่อปี 2548 จากการแสดงความเห็นในงานเสวนาของ กกต. (http://freedom.ilaw.or.th/th/case/69) และศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก 4 ปี แต่ให้รอลงอาญาไว้ เพราะเห็นว่าเขามีอาการป่วยเป็นโรคจิตเภท ซึ่งเป็นอาการป่วยทางจิตเรื้อรัง ความคิดหวาดระแวง การใช้เหตุผลไม่เหมือนคนปกติทั่วไป การแสดงพฤติกรรมออกมามักจะเป็นไปตามอาการผิดปกทางจิต ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่าบีไซด์ (Bizare)
ต่อมาศาลถามนายแพทย์อภิชาติว่า บัณฑิตสามารถต่อสู้คดีได้หรือไม่ นายแพทย์อภิชาติตอบว่าสามารถต่อสู้คดีได้ ทนายของบัณฑิตจึงถามอีกว่า ถ้าจะนิยามอาการของบัณฑิตเป็นจิตเภทหรือวิกลจริตได้หรือไม่ นายแพทย์อภิชาติก็ย้ำว่า อาการของบัณฑิตเข้าข่ายเป็นคนวิกลจริต หลังจากนั้นศาลจึงแถลงว่าคดีนี้บัณฑิตสามารถต่อสู้คดีได้ และจะพิจารณาคดีต่อ โดยให้อัยการและทนายของบัณฑิตนัดวันสืบพยานจนได้ข้อสรุปว่า วันสืบพยานโจทก์กันอีกครั้งวันที่ 4 พ.ค. 2559 เวลา 8.30 น.
iLaw ยังรายงานด้วยว่า เหตุที่ทนายความส่งคำร้องขอส่งตัวบัณฑิตไปตรวจรักษาอาการทางจิต เนื่องจากเขาคยถูกฟ้องคดี 112 ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้เมื่อปี 2548 จากการแสดงความเห็นในงานเสวนาของ กกต. (http://freedom.ilaw.or.th/th/case/69) และศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก 4 ปี แต่ให้รอลงอาญาไว้ เพราะเห็นว่าเขามีอาการป่วยเป็นโรคจิตเภท ซึ่งเป็นอาการป่วยทางจิตเรื้อรัง ความคิดหวาดระแวง การใช้เหตุผลไม่เหมือนคนปกติทั่วไป การแสดงพฤติกรรมออกมามักจะเป็นไปตามอาการผิดปกทางจิต ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่าบีไซด์ (Bizare)
ทั้งนี้ คดีของบัณฑิตมีการสืบพยานโจทก์แล้ว 1 นัด โดยทนายจำเลยยังไม่ได้ซักค้าน จากนั้นทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องของส่งตัวจำเลยไปตรวจอาการจิตเภท เนื่องจากจำเลยมีประวัติป่วยเป็นจิตเภทต่อเนื่อง และคดี 112 ก่อนหน้านี้ศาลฎีกาก็ได้พิพากษาไว้ว่าจำเลยมีอาการดังกล่าวและให้รอการลงโทษ ศาลทหารจึงได้มีคำสั่งให้ออกหมายเรียกแพทย์ที่ทำการรักษาจำเลยมาให้ความเห็นว่าจำเลยมีอาการจริงหรือไม่และได้สามารถต่อสู้คดีได้หรือไม่
คดีนี้เป็นคดีที่ 2 ของนักเขียนวัย 73 ปี โดยเขาเป็นหนึ่งในจำเลยคดี 112 จำนวนน้อยมากที่ได้รับการประกันตัวระหว่างต่อสู้คดี เหตุเกิดจากการที่เขาไปแสดงความคิดเห็นในงานเสวนาที่จัดโดยพรรคนวัตกรรม เมื่อวันที่ 27 พ.ย.2557
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 4 ก.พ.ที่ผ่านมา ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้รายงานด้วยว่า แพทย์จากสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ที่รักษา นายอาทิตย์ (นามสมมติ) ผู้ต้องหาในคดี ม.112 ได้ส่งรายงานการตรวจวินิจฉัยโรคและการประเมินความสามารถในการต่อสู้คดีของนายอาทิตย์ให้แก่พนักงานสอบสวน ซึ่งทนายความได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่สถาบันกัลยาณ์เมื่อเดือน ธ.ค. 2558 เพียงว่า อาทิตย์เป็นผู้วิกลจริตแต่สามารถต่อสู้คดีได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น