11 ก.พ. 2559 ตามที่จะมีการประชุมสุดยอดอาเซี ยน-สหรัฐฯ ระหว่างวันที่ 15-17 ก.พ.นี้ ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจะเข้าร่วมประชุมด้ วยนั้น ล่าสุด กรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาข้ อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์) ระบุว่า ในการประชุมครั้งนี้ ประธานาธิบดีบารัก โอบาม่า ผู้นำสหรัฐฯจะใช้เป็นโอกาสสำคั ญในการโน้มน้าวให้ประเทศอาเซี ยนที่เหลืออีก 7 ชาติ รวมทั้งประเทศไทยให้เข้าร่ วมความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิ จภาคพื้นแปซิฟิค (TPP) เพื่อให้บรรลุนโยบายทางการเมื องระหว่างประเทศของสหรัฐ คือการกลับมาปักหมุดในเอเชี ยและปิดล้อมจีน ขณะเดียวกันเป็นการเพิ่มความแข็ งแกร่งแบบเบ็ดเสร็จให้กับบรรษั ทข้ามชาติซึ่งจำนวนมากมีฐานอยู่ ในสหรัฐ ขณะที่ประโยชน์ที่จะตกกั บประเทศไทยไม่ชัดเจน
“หลังจากที่การเจรจา TPP จบลง ผู้นำสหรัฐฯประกาศว่า นับจากนี้ สหรัฐจะเป็นผู้กำหนดกติกาการค้ าในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งในด้านหนึ่งเป็ นการลดอำนาจของอาเซียนที่เพิ่ งรวมกลุ่มกันเป็นประชาคมเศรษฐกิ จ ขณะเดียวกันนับจากนี้บรรษัทต่ างชาติของสหรัฐจะมีอำนาจเหนือรั ฐบาลในการแสวงหากำไรสูงสุด ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่ อการทำลายระบบหลักประกันสุ ขภาพของประเทศไทย เพราะจะทำให้ค่าใช้จ่ายด้ านยาและค่ารักษาพยาบาลสูงขึ้น จากการผูกขาดตลาดยา การห้ามต่อรองราคายา และจำกัดไม่ให้รั ฐบาลออกนโยบายสาธารณะในการคุ้ มครองผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม เพราะรัฐบาลเกรงว่าจะถูกนักลงทุ นต่างชาติฟ้องร้องล้มนโยบาย-เรี ยกค่าเสียหายจากงบประมาณแผ่นดิ นผ่านกลไกอนุญาโตตุลาการระหว่ างประเทศ ไทยต้องเปิดรับสินค้าจีเอ็มโอ ต้องยอมรับการจดสิทธิบัตรพันธุ์ พืช ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ อีกทั้งเกษตรกรต้องแบกค่าเมล็ ดพันธุ์เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 4-6 เท่าตัว” กรรณิการ์ กล่าว
แม้ว่าขณะนี้มีเสียงเรียกร้ องจากผู้ประกอบการในไทยจำนวนหนึ ่่งในนามคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) และนักลงทุนจากญี่ปุ่นให้ไทยเข้ าร่วมเจรจา แต่ผู้ประสานงานเอฟทีเอ ว็อทช์ ย้ำว่า การตัดสินใจว่าจะเข้าหรือไม่เข้ าร่วม TPP ประเทศไทยต้องใช้ข้อมูลความรู้ และงานวิจัยอย่างละเอี ยดรอบคอบที่สุด ไม่มีความจำเป็นต้องรีบร้อน
“เท่าที่ทราบ งานศึกษาที่สถาบันปัญญาภิวัฒน์ และสถาบันระหว่างประเทศเพื่ อการค้าและการพัฒนา ทำให้กับกระทรวงพาณิชย์ ที่ว่าหากไทยเข้าร่วม TPP จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัว 0.77% และหากไทยเข้าร่วม TPP และมีสมาชิกอาเซียน เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ จะทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวเพิ่ มขึ้น 1.06% ซึ่ง กกร.นำมาอ้างอิงให้รัฐบาลเข้าร่ วมเจรจา TPP นั้น คณะกรรมการตรวจรับส่งให้กลั บไปแก้ไขหลายเรื่ องโดยเฉพาะความไม่สมเหตุ สมผลในหลายจุด ขณะที่ในส่วนราชการต่างๆ กำลั งเร่งศึกษาข้อบทและวิเคราะห์ ผลกระทบ จึงอยากให้งานศึกษาต่างๆ เสร็ จสมบูรณ์ ผู้นำรัฐบาลด้านนโยบายเศรษฐกิ จไม่ควรไปกดดันให้เร่งสรุ ปหาทางเยียวยา เพราะนั่นเท่ากับเป็นการตั้ งธงให้ข้าราชการชงข้อมูลที่เป็ นเท็จ” กรรณิการ์ กล่าว
ผู้ประสานงานเอฟทีเอ ว็อทช์ ระบุว่า จากงานวิจัยของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชุดโครงการความท้าทายของภาคอุ ตสาหกรรมไทย ซึ่งสนับสนุนโดย สกว. ชี้ว่า แม้ประเทศไทยได้ลงนามข้ อตกลงการค้าเสรี หรือ FTA จำนวนมาก แต่ที่ผ่านมา FTA ไม่ได้กระตุ้นการส่งออกมากนัก หากพิจารณาจากสถานการณ์การส่ งออกในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2558 ตลาดที่ไทยลงนาม FTA ด้วยมักมีอัตราการขยายตัวของมู ลค่าการส่งออกติดลบ นอกจากนั้น อัตราการใช้ประโยชน์จาก FTA ก็ยังมีจำกัด กล่าวคือ มูลค่าการขอใช้สิทธิ FTA (ทุกๆ กรอบรวมกัน) ยังไม่ถึงครึ่งหนึ่งของมูลค่ าการส่งออกรวม (ใช้และไม่ใช้สิทธิ FTA) ตัวเลขการใช้สิทธิ FTA ทางด้านการนำเข้าก็อยู่ในระดั บตํ่า เพียงไม่ถึง 1 ใน 5 ของมูลค่าการนำเข้ารวม ขณะที่การกระตุ้นให้ผู้ ประกอบการใช้สิทธิเพิ่มขึ้ นคงทำได้ไม่มากนัก ส่วนหนึ่งเพราะแต้มต่อภาษีที่ จะได้จาก FTA ไม่มากพอที่จะชดเชยต้นทุนส่ วนเพิ่มจากการปฏิบัติตามกฎว่าด้ วยถิ่นกำเนิด และต้นทุนธุรกรรมในการขอใช้สิ ทธิ
“ดังนั้น เราคงต้องย้อนถามว่า การลงนามในข้อตกลงการค้าเสรีเหล่านี้คุ้มค่าหรือไม่ ทั้งในแง่งบประมาณ บุคลากร และเวลาที่ใช้ไปกับการเจรจา ก่อนที่จะเร่งเดินหน้ าเจรจาและลงนามต่อไป เวลานี้นับเป็นช่วงเวลาที่ดี เพราะขณะนี้ประเทศไทยขาดความพร้ อมที่จะเดินหน้าเจรจา FTA ใหม่ๆ โดยเฉพาะ New Normal FTA อย่าง Trans-Pacific Partnership (TPP) ที่เรียกร้องให้ลดภาษีสินค้า จำนวนมากให้เป็นศูนย์ทันที และการเจรจาต้องครอบคลุมประเด็นอื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษี โดยเฉพาะประเด็นที่ยังไม่ตกผลึ กอย่างข้อตกลงที่เกี่ยวกับการคุ ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาซึ่ งจะส่งผลกระทบต่ออุ ตสาหกรรมภายในประเทศ” งานวิจัยชิ้นดังกล่าวสรุป
ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวของนักลงทุนญี่ปุ่ นที่ขนขบวนเข้ามาโน้มน้าวรั ฐบาลเมื่อสัปดาห์ก่อน ผู้ประสานงานเอฟทีเอ ว็อทช์ มองว่า ล้วนเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ ตนเองทั้งสิ้น ไม่ใช่ผลประโยชน์ของไทย ผู้นำรัฐบาลจึงต้องใช้สติปั ญญาอย่างมากในการพิจารณาแยกแยะ
“หากนักลงทุนญี่ปุ่นจะมีการย้ ายฐานการผลิตจริงดังที่สถาบันวิ จัยบางแห่งกล่าวอ้าง อุตสาหกรรมรถยนต์และเครื่องใช้ ไฟฟ้าคงย้ายไปนานแล้ว เพราะมีความพยายามเป็นระยะ แต่ที่ย้ายไม่ได้เพราะเครือข่ ายโรงงานและห่วงโซ่อุปทานฝั งรากลึกในประเทศไทยและเป็นคลั สเตอร์ที่ใหญ่มาก ดังนั้น สภาพขณะนี้จึงเป็นการช่วยกันตี ปีป ‘กลัวตกขบวน’ ของภาคเอกชนในและต่ างประเทศบางส่วนร่วมกับสถาบันวิ จัยบางแห่งโดยไม่มีความชัดเจนว่ าไทยจะได้ประโยชน์จริงจากการเข้ า TPP ซึ่งมีข้อบทที่ซับซ้อนและปฏิบั ติเพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ ยากมาก แต่ผลกระทบจะเกิดขึ้นจริงกั บประชาชนทั้งประเทศหากไม่มี การพิจารณาอย่างรอบคอบ ที่ผ่านมา รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลลานนท์ เคยหลงเชื่อกับการตีปีบเช่นนี้ จนลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิ จไทย-ญี่ปุ่น หรือ JTEPA เปิดทางให้นำเข้าขยะสารพิษมาทิ้ งที่ประเทศไทยเต็มบ้านเต็มเมือง นี่จึงเป็นบทเรียนที่ต้องจดจำ”
นอกจากนี้ เมื่อวันวันที่ 4 ก.พ.ที่ผ่านมา องค์การหมอไร้พรมแดน (MSF) ได้ส่งจดหมายถึงผู้นำอาเซียน 10 ชาติที่จะไปร่วมการประชุมสุ ดยอดกับผู้นำสหรัฐ ให้ปฏิเสธการเข้าร่วมและให้สั ตยาบันกับความตกลง TPP ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่ อระบบสาธารณสุขทั้งภูมิภาค ขณะที่ทุกรัฐบาลกำลังมุ่งหน้ าเพื่อให้เกิดหลักประกันสุ ขภาพถ้วนหน้าและก้าวเข้าสู่เป้ าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน “หลายล้านชีวิตกำลังตกอยู่ ในความเสี่ยงนี้”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น