26 มิ.ย.2559 จากเมื่อวันที่ 23 มิ.ย.2559 มีนักกิจกรรมจากกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ (NDM) นักกิจกรรม รามคำแหง และกลุ่มสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ รวม 13 คน ได้ถูกเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจควบคุมตัวตั้งแต่วันนี้ที่หน้านิคมอุตสาหกรรมบางพลี จ.สมุทรปราการ เนื่องจากไปแจกแผ่นพับและเอกสารให้ความรู้เรื่องร่างรัฐธรรมนูญและการลงประชามติ (อ่านข่าวที่นี่) ต่อมาถูกแจ้งข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/58 ข้อ 12 เรื่องชุมนุมทางการเมืองจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป โดยในจำนวนนั้นมีผู้ขอประกันตัว 6 ราย ที่เหลืออีก 7 รายยืนยันว่าไม่ได้ทำสิ่งใดผิดจึงไม่ขอประกันตัว ทั้งหมดถูกเจ้าหน้าที่นำตัวมาศาลทหารเพื่อขออนุญาตฝากขัง โดยที่ 6 ราย ขอประกันตัวและได้รับการปล่อยตัวที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพและ ทัณฑสถานหญิงกลางเมื่อกลางดึกคืนที่ผ่านมา ขณะที่ 7 รายที่ไม่ยืนประกันตัวนั้นถูกฝากขังที่เรือนจำดังกล่าว (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)
ชมรมศึกษาสิทธิฯ มหิดล ขอรัฐยุติดำเนินคดี 13 รณรงค์ประชามติ
ล่าสุดมีองค์กรสิทธิและกิจกรรมทางสังคมออกแถลงการณ์ต่อกรณีดังกล่าว วันนี้ (26 มิ.ย.59) ชมรมศึกษาสิทธิมนุษยชนและสันติภาพมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ออกแถลงการณ์โดยระบุว่า การจับกุมและดำเนินคดีต่อนั กศึกษาและประชาชน ในครั้งนี้เป็นเรื่องไร้ซึ่ งความชอบธรรม เพราะการรณรงค์ให้ความรู้คว ามเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญและ การออกเสียงประชามติไม่ควรถือเป็นความผิด
เนื่องจากการออกเสียงประชาม ติ ในวันที่ 7 ส.ค.นี้ กำลังจะใกล้เข้ามา ทว่าจนบัดนี้ ประชาชนจำนวนมากยังขาดความเ ข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาของร่างรัฐ ธรรมนูญและไม่มีข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจใน การออกเสียงประชามติในครั้งนี้ ทางชมรมศึกษาสิทธิมนุษยชนแล ะสันติภาพ มีข้อเรียกร้อง ดังนี้
1. การรณรงค์ของประชาชนเพื่อชี ้แจงและอธิบายเนื้อหาของร่างรัฐธรร มนูญควรสามารถ ทำได้อย่างเปิดเผย ดังที่ กกต. สมชัย ศรีสุทธิยากร ได้กล่าวในการประชุม Briefing on the 7th August Referendum on the Draft Constitution ว่า "ประชาชนสามารถแสดงความคิดเ ห็นตามสิทธิ เสรีภาพเกี่ยวกับการลงประชา มติ และ กกต. เห็นว่า ทำได้โดยไม่ผิด หากอยู่ภายใต้กฎสามข้อ ใน พ.ร.บ. ประชามติ คือ 1.) ไม่เป็นข้อความที่มีเนื้อหา เป็นเท็จ 2.) ไม่เป็นข้อความหยาบคาย ดูหมิ่น และ 3.) ไม่เป็นข้อความปลุกระดม ให้เกิดความไม่สงบ
2. คณะกรรมการการเลือกตั้งมีหน ้าที่สนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน โดยการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห ็น วิพากษ์วิจารณ์และสามารถรับรู้ข้อมูลในทุก ด้านเกี่ยวกับ ร่างรัฐธรรมนูญและการออกเสี ยงประชามติ
2. คณะกรรมการการเลือกตั้งมีหน
3. ผู้มีอำนาจควรยกเลิกข้อกล่า วหาต่อนักศึกษา และประชาชน ทั้ง 13 คน และปล่อยตัวนักศึกษาทั้ง 7 คนที่ยังถูกคุมขัง โดยทันทีและไม่มีเงื่อนไข
"ทางชมรมศึกษาสิทธิมนุษยชนแล ะสันติภาพ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าประเทศ ไทยจะสามารถจัดการ ออกเสียงประชามติในครั้งนี้ โดยประชาชนสามารถ ใช้สิทธิขั้นพื้นฐานภายใต้ร ะบอบประชาธิปไตย ในการมีส่วนร่วมและแสดงเจตจ ำนงค์ของตนเอง ได้อย่างเสรี รวมไปถึงการยอมรับผลของการอ อกเสียงประชามติอย่างมีอารยะ" แถลงการณ์ ทิ้งท้าย
สถาบันสิทธิฯ มหิดล ขอเลิกตั้งข้อกล่าวหา
เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.ที่ผ่านมา สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล ออกแถลงการณ์ เรื่อง “การรณรงค์ประชามติและเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน สามารถกระทำได้ โดยไม่ควรมีการตั้งข้อหาว่าชุมนุมทางการเมือง” โดยเห็นว่า การจับกุมดังกล่าวจะส่งผลกระทบที่สำคัญต่อบรรยากาศการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ที่ควรเป็นไปอย่างเสรีและเที่ยงธรรม จึงขอให้ฝ่ายความมั่นคงทบทวนการปฏิบัติ ด้วย 4 เหตุผลดังนี้ 1. ประชาชนควรมีสิทธิแสดงออกถกเถียงเกี่ยวกับเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 7 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2559 การรณรงค์ถือเป็นการเผยแพร่ความคิดเห็นรูปแบบหนึ่ง สามารถทำได้ เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย
2. การแจกเอกสาร สวมเสื้อ พูดคุย และวิธีการอื่น โดยมิได้มีการข่มขู่คุกคาม ย่อมไม่ขัดต่อบทบัญญัติตามมาตรา 61 วรรคสอง ของพ.ร.บ.ดังกล่าว 3. การรณรงค์ประชามติไม่ใช่การชุมนุมทางการเมือง เพราะไม่ได้มุ่งหวังลดทอนให้มีการเปลี่ยนแปลงอำนาจ การใช้อำนาจดังกล่าวจึงไม่ตรงกับข้อเท็จจริง กลายเป็นการสร้างบรรยากาศแห่งความกลัว แทนที่จะเป็นการสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ก่อนวันตัดสินใจลงคะแนน และ 4. ผู้รณรงค์ประชามติมีทั้งฝ่ายเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย หากเจ้าหน้าที่เลือกตั้งข้อกล่าวหาที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงกับเฉพาะฝ่ายที่เห็นต่าง ก็จะเป็นการเลือกปฏิบัติและนำไปสู่ความไม่เที่ยงธรรม อย่างไรก็ตาม ทางสถาบันฯขอเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจพิจารณายกเลิกการตั้งข้อหาผู้รณรงค์ประชามติ ฐานขัดคำสั่งคสช. เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง และให้ประกาศอย่างชัดเจนว่า การรณรงค์ประชามติสามารถทำได้ เท่าที่ไม่ขัดกับมาตรา 61 ของ กฎหมายประชามติ
ชุมชนนักกิจกรรมภาคเหนือแถลงประณาม
ชุมชนนักกิจกรรมภาคเหนือ ออกแถลงการณ์ต่อต้านการจับกุมผู้เคลื่อนไหวรณรงค์เรื่องประชามติดังกล่าว พร้อมทั้งชื่นชมความกล้าหาญและเป็นกำลังใจให้กับเพื่อนเราที่ถูกจับกุมในการแสดงสิทธิการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่เป็นของประชาชนทุกคน
"เราขอประณามความอ่อนแอและเย้ยหยันต่อคณะรัฐประหาร ในการทำลายสิทธิการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่เป็นของประชาชนทุกคนและเราจะยืนอยู่ฝ่ายสามัญชน ผู้เชื่อมั่นในอำนาจการกำหนดอนาคตของตนเองโดยประชาชน" ชุมชนนักกิจกรรมภาคเหนือ
เครือข่ายเพื่อการเมืองและความยุติธรรมในอีสาน
เครือข่ายเพื่อการเมืองและความยุติธรรมในอีสาน ได้ออกแถลงการณ์ต่อกรณีดังกล่าว พร้อมทั้งยังระบุถึงเหตุการณ์ในวันที่ 24 มิ.ย.ทีผ่านมา นิสิตกลุ่มเสรีเกษตรศาสตร์และสมาชิกขบวนการประชาธิปไตยใหม่รวม 7 คนได้ถูกเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจจับกุมตัวจากการจัดกิจกรรมทำความสะอาดอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ณ วงเวียนหลักสี่ เขตบางเขน ในขณะเดียวกัน ขบวนการอีสานใหม่ได้ทำกิจกรรม “เดินเพื่อสิทธิชีวิตคนอีสาน” ก็ปรากฏให้เห็นความพยายามที่จะทำให้หยุดการเคลื่อนไหวจากฝ่ายผู้ไม่เห็นด้วย
"ข้อเสนอต่อสถานการณ์ "เหมือนเส้นทางทุกสายมุ่งสู่ประชาธิปไตย" นี้ ว่า แม้ระบอบประชาธิปไตยไม่ได้ยืนยันว่าจะมีใครเข้ามาแก้ปัญหาให้กับประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนเหมือนยาวิเศษ แต่กระบวนการทางการเมืองแบบประชาธิปไตยยังเปิดโอกาสให้กับผู้เดือดร้อนสามารถเรียกร้องได้อย่างปลอดภัยไม่ขมขื่น ดังนั้น เราเสนอให้ผู้ที่ยังมีดวงตาเห็นธรรม โปรดปล่อยให้คนที่เรียกร้องเขามีเสรีภาพที่จะแสดงออก ที่สำคัญเราขอให้ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อความยุติธรรมและผู้มีความหวังทุกคนยืนหยัดและแสวงหาวิธีการให้เส้นทางทุกสายมุ่งสู่ประชาธิปไตย" เครือข่ายเพื่อการเมืองและความยุติธรรมในอีสาน ระบุ
นอกจากนี้ยังมี เครือข่ายสลัม 4 ภาค กลุ่มลูกชาวบ้าน ม.บูรพา บางแสน เป็นต้น ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ยุติการดำเนินคดีต่อนักกิจกรรมและนักสหภาพแรงงานดังกล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น