ลำดับเหตุการณ์ร่าง รธน. มีชัยตัดสิทธิเรียนฟรี 12 ปี เริ่มนับที่อนุบาลไปไม่ถึง ม.ปลาย จึงถูกค้านหนัก - กระทั่ง พล.อ.ประยุทธ์ ต้องงัด ม.44 ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ประกันเรียนฟรี 15 ปี อนุบาลถึง ม.ปลาย - ด้าน ‘เพนกวิน’ ยังไม่พอใจเพราะสิทธิการศึกษาต้องบรรจุในรัฐธรรมนูญ ใช้.44 ค้ำเรียนฟรีถึง ม.ปลาย เป็นวิธีการไม่ปกติ วันหน้าก็ถูกยกเลิกได้
เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 28/2559 เรื่อง ให้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย และมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. เป็นผู้ลงนาม โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 โดยในคำสั่งระบุให้ยึดแนวทางของรัฐบาลที่ผ่านมาในการให้การศึกษาฟรี 15 ปี ตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึง ม.6 หรือระดับ ปวช. หรือเทียบเท่า เพราะเห็นว่าเป็นนโยบายดังกล่าว สอดคล้องกับนโยบายด้านการศึกษาของ คสช. และนโยบายปฏิรูปการศึกษาของรัฐบาล
จากกรณีดังกล่าว พริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และอดีตเลขาธิการกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท ได้ให้สัมภาษณ์กับประชาไทว่า ในแง่ของการต่อสู้ก็ถือว่าเป็นชัยชนะเล็กๆ ที่อย่างน้อยสิทธิการศึกษาก็ได้รับการรับรองในสิ่งที่ถือเป็นกฎหมายในปัจจุบัน แต่พริษฐ์ก็ยังไม่พอใจกับผลที่ได้รับ เพราะต้องการให้สิทธิการศึกษาถูกระบุในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายแม่ เพราะการออกเป็นเพียงคำสั่งซึ่งเทียบเท่าพระราชบัญญัติ และออกมาโดยใช้อำนาจตาม ม.44 ซึ่งเป็นวิธีการไม่ปกติ ก็อาจทำให้ถูกยกเลิกในภายภาคหน้าได้
“ถ้าจะเปรียบเทียบ ก็เหมือนสิทธิของเราเคยเป็นนกอินทรีย์ มันมีความศักดิ์สิทธิ์และมีอำนาจ กลายเป็นว่ามันถูกพรากไปและเอานกกระจอกมาคืนเราแทน” พริษฐ์กล่าว
พริษฐ์ยังกล่าวอีกว่า การกระทำดังกล่าวตนมองว่าเป็นเพียงการลดแรงเสียดทานเกี่ยวกับข้อวิพากษ์วิจารณ์ในร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น เพราะหากรัฐบาลหรือภาครัฐมีความจริงใจในการรักษาสิทธิทางการศึกษาของประชาชนก็คงจะไม่ตัดสิทธิการเรียนฟรีม.ปลายไปตั้งแต่แรก อีกทั้งเน้นย้ำว่าการศึกษาเป็นสิทธิของประชาชนที่ควรจะได้รับอย่างมีศักดิ์ศรีและเสมอภาค ไม่ควรต้องให้ประชาชนไปร้องขอ เพราะรัฐมีหน้าที่ในการส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาชีวิตของประชาชนอยู่แล้ว
สุดท้าย พริษฐ์ เกรงว่าการเรียนฟรีจะกลายเป็นเพียงนโยบายของแต่ละรัฐบาล ที่ถูกนำไปใช้อ้างเพื่อความชอบธรรมทางการเมือง พร้อมฝากไปถึงผู้เกี่ยวข้องว่าอย่าเอาอนาคตของประชาชนมาเป็นตัวประกัน
“การศึกษาไม่ใช่เรื่องล้อเล่น อย่าเอาการศึกษามาเป็นแต้มต่อรองทางการเมือง เพราะทุกครั้งที่เอาการศึกษามาเป็นตัวประกันทางการเมือง คุณกำลังเอาอนาคตของเด็กหลายล้านคนมาเป็นตัวประกัน พวกเรามีชีวิตจริงๆ พวกเรามีอนาคตที่รอเราอยู่จริงๆ แต่อนาคตที่ว่ามันกำลังจะพัง ถ้าเกิดไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างถาวรจากรัฐบาล” พริษฐ์กล่าว
โดยก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559 คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้มีการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติออกมา โดยระบุว่ารัฐต้องให้การศึกษาฟรีเป็นเวลา 12 ปี โดยเริ่มตั้งแต่อนุบาลถึงชั้น ม.3 ซึ่งลดลงจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้าที่ให้การศึกษาฟรีถึงชั้น ม.ปลาย หรือ เทียบเท่า
"มาตรา 54 รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
รัฐต้องดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษา ตามวรรคหนึ่ง เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย โดยส่งเสริม และสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย
รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และจัดให้มีการร่วมมือกันระหว่างรัฐ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนในการจัดการศึกษาทุกระดับ โดยรัฐมีหน้าที่ดำเนินการ กำกับ ส่งเสริม และสนับสนุนให้การจัดการศึกษาดังกล่าวมีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติซึ่งอย่างน้อยต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ และการดำเนินการและตรวจสอบการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการศึกษาแห่งชาติด้วย
การศึกษาทั้งปวงต้องมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ สามารถเชี่ยวชาญได้ตามความถนัดของตน และมีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ"
ร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีการแก้ไขจากเดิมที่ระบุในมาตรา 49 รัฐธรรมนูญ 2550 ว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย" โดยในมาตรา 54 ร่างรัฐธรรมนูญ 2559 แม้จะระบุให้เรียนฟรีสิบสองปี แต่กำหนดช่วงเวลาเริ่มต้นไว้ที่การศึกษาระดับ “ก่อนวัยเรียน” ทำให้ระยะเวลาเรียนฟรีตามที่กำหนดไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ 2559 สิ้นสุดที่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเท่านั้น ในขณะที่ตามรัฐธรรมนูญ 2550 เริ่มต้นการศึกษาภาคบังคับตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ทำให้ครอบคลุมระยะเวลาจนถึงชั้น ม.6
ต่อมา นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. ได้ชี้แจงว่า สาเหตุที่ตัดสิทธิการเรียนฟรีถึง ม.6 เพราะระบบการศึกษาปัจจุบันไม่ทัดเทียมกัน เด็กจะสามารถพัฒนาได้ในช่วงอายุ 2-5 ขวบ แต่มีเพียงคนมีเงินเท่านั้นที่ได้รับการพัฒนา ส่วนคนจนไม่ได้รับ ดังนั้นจึงร่นระยะเวลาลงมาเป็น 12 ปี และเริ่มตั้งแต่ช่วงอนุบาลเพื่อรองรับคนจน และพอถึง ม.ปลายก็จะมีกองทุนเพื่อช่วยเหลือการศึกษาของผู้ยากไร้อีกด้วย
หลังจากนั้น พริษฐ์ ได้ออกมาตอบโต้มีชัยผ่านเฟสบุคส่วนตัวว่า การให้ความสำคัญกับพัฒนาการของเด็กในช่วงอายุ 2-5 ปี นั้นมีความสำคัญ แต่การศึกษาในระดับชั้น ม.ปลาย และสายอาชีพก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน อีกทั้งยังมองว่ากองทุนการศึกษาที่ช่วยเหลือผู้ยากไร้นั้นจะเกิดปัญหา เพราะเป็นการเพิ่มภาระให้นักเรียนและผู้ปกครองที่จะต้องมาพิสูจน์ความจนของตัวเอง และยังเพิ่มภาระให้คนทั่วไปที่ไม่ได้ยากไร้แต่ก็ไม่ได้ร่ำรวยในการแบกรับค่าเล่าเรียนของบุตรหลานในช่วงม.ปลาย
นอกจากนั้น ในวันที่ 5 เมษายน 2559 พริษฐ์ ยังได้ไปชูป้ายเรียกร้องให้เรียนฟรีถึง ม.ปลาย ในระหว่างที่ มีชัย กำลังกล่าวปาฐกถาหัวข้อ กรอบแนวคิดในการร่างรัฐธรรมนูญของกรธ. เนื่องในวันสัญญาธรรมศักดิ์ ปี 2559 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหลังจากนั้น พริษฐ์ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวลักษณะเสียดสีเปรียบเทียบงบประมาณการศึกษาไทยระดับมัธยมปลายสายสามัญและมีนักเรียนมัธยมปลายสายอาชีวศึกษา กับงบประมาณโครงการอื่นๆ ของรัฐบาลยุคนี้
ต่อมาวันที่ 6 มิถุนายน 2559 รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ยังไม่ได้ลงนามในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพราะต้องแก้ไขในรายละเอียด อีกทั้งยังกล่าวว่าอาจจะต้องออกเป็นกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับคำสั่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ให้ ศธ. ไปทำความเข้าใจและสร้างความเชื่อมั่นกับประชาชนในเรื่องการเรียนฟรี 15 ปี โดยหากต้องการให้เกิดกฎหมายโดยเร็วก็ต้องใช้ ม. 44 หรืออย่างช้าก็แก้ไขตามกระบวนการปกติ คือการแก้ไข พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ที่กำลังแก้ไขกันอยู่ในเวลานี้
ด้านพริษฐ์ ก็ได้ทวงถามไปถึงนายกรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า เดิมทีสิทธิเรียนฟรีดังกล่าว ได้รับประกันในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ อยู่แล้ว ทำไมไม่ดำเนินการให้รับประกันสิทธิการศึกษาในตัวร่างรัฐธรรมนูญเสียตั้งแต่แรกเพื่อความมั่นคงของอนาคตเด็กไทย
"รัฐธรรมนูญนั้นเป็นแม่ของกฎหมายทั้งปวง เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ จะแก้ไขบิดเบือนใด ๆ ก็เป็นการยาก หากรัฐบาลใดคิดจะริดรอนสิทธิดังกล่าวของปวงชน ก็จะต้องพบอุปสรรคมากมาย เมื่อเป็นเช่นนี้ ชะตาชีวิตของเด็กไทยจึงมีความมั่นคงมากขึ้น หากลดฐานะการคุ้มครองจากระดับรัฐธรรมนูญ เป็นเพียงระดับพระราชบัญญัติซึ่งแก้ไขได้ง่ายกว่า ความมั่นคงของอนาคตเด็กไทยนับล้านย่อมสั่นคลอน" พริษฐ์ กล่าว ถึงกรณีการลดการคุ้มครองสิทธิการเรียนฟรีจากระบุไว้รัฐธรรมนูญ เปลี่ยนมาอยู่ใน พ.ร.บ.แทน
และต่อมาวันที่ 15 มิถุนายน 2559 คสช. จึงใช้วิธีออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 28/2559 เรื่อง ให้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายแทน
ลำดับเหตุการณ์ร่าง รธน. มีชัยตัดสิทธิเรียนฟรี 12 ปี เริ่มนับที่อนุบาลไปไม่ถึง ม.ปลาย จึงถูกค้านหนัก - กระทั่ง พล.อ.ประยุทธ์ ต้องงัด ม.44 ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ประกันเรียนฟรี 15 ปี อนุบาลถึง ม.ปลาย - ด้าน ‘เพนกวิน’ ยังไม่พอใจเพราะสิทธิการศึกษาต้องบรรจุในรัฐธรรมนูญ ใช้.44 ค้ำเรียนฟรีถึง ม.ปลาย เป็นวิธีการไม่ปกติ วันหน้าก็ถูกยกเลิกได้
เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 28/2559 เรื่อง ให้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย และมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. เป็นผู้ลงนาม โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 โดยในคำสั่งระบุให้ยึดแนวทางของรัฐบาลที่ผ่านมาในการให้การศึกษาฟรี 15 ปี ตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึง ม.6 หรือระดับ ปวช. หรือเทียบเท่า เพราะเห็นว่าเป็นนโยบายดังกล่าว สอดคล้องกับนโยบายด้านการศึกษาของ คสช. และนโยบายปฏิรูปการศึกษาของรัฐบาล
จากกรณีดังกล่าว พริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และอดีตเลขาธิการกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท ได้ให้สัมภาษณ์กับประชาไทว่า ในแง่ของการต่อสู้ก็ถือว่าเป็นชัยชนะเล็กๆ ที่อย่างน้อยสิทธิการศึกษาก็ได้รับการรับรองในสิ่งที่ถือเป็นกฎหมายในปัจจุบัน แต่พริษฐ์ก็ยังไม่พอใจกับผลที่ได้รับ เพราะต้องการให้สิทธิการศึกษาถูกระบุในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายแม่ เพราะการออกเป็นเพียงคำสั่งซึ่งเทียบเท่าพระราชบัญญัติ และออกมาโดยใช้อำนาจตาม ม.44 ซึ่งเป็นวิธีการไม่ปกติ ก็อาจทำให้ถูกยกเลิกในภายภาคหน้าได้
“ถ้าจะเปรียบเทียบ ก็เหมือนสิทธิของเราเคยเป็นนกอินทรีย์ มันมีความศักดิ์สิทธิ์และมีอำนาจ กลายเป็นว่ามันถูกพรากไปและเอานกกระจอกมาคืนเราแทน” พริษฐ์กล่าว
พริษฐ์ยังกล่าวอีกว่า การกระทำดังกล่าวตนมองว่าเป็นเพียงการลดแรงเสียดทานเกี่ยวกับข้อวิพากษ์วิจารณ์ในร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น เพราะหากรัฐบาลหรือภาครัฐมีความจริงใจในการรักษาสิทธิทางการศึกษาของประชาชนก็คงจะไม่ตัดสิทธิการเรียนฟรีม.ปลายไปตั้งแต่แรก อีกทั้งเน้นย้ำว่าการศึกษาเป็นสิทธิของประชาชนที่ควรจะได้รับอย่างมีศักดิ์ศรีและเสมอภาค ไม่ควรต้องให้ประชาชนไปร้องขอ เพราะรัฐมีหน้าที่ในการส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาชีวิตของประชาชนอยู่แล้ว
สุดท้าย พริษฐ์ เกรงว่าการเรียนฟรีจะกลายเป็นเพียงนโยบายของแต่ละรัฐบาล ที่ถูกนำไปใช้อ้างเพื่อความชอบธรรมทางการเมือง พร้อมฝากไปถึงผู้เกี่ยวข้องว่าอย่าเอาอนาคตของประชาชนมาเป็นตัวประกัน
“การศึกษาไม่ใช่เรื่องล้อเล่น อย่าเอาการศึกษามาเป็นแต้มต่อรองทางการเมือง เพราะทุกครั้งที่เอาการศึกษามาเป็นตัวประกันทางการเมือง คุณกำลังเอาอนาคตของเด็กหลายล้านคนมาเป็นตัวประกัน พวกเรามีชีวิตจริงๆ พวกเรามีอนาคตที่รอเราอยู่จริงๆ แต่อนาคตที่ว่ามันกำลังจะพัง ถ้าเกิดไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างถาวรจากรัฐบาล” พริษฐ์กล่าว
โดยก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559 คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้มีการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติออกมา โดยระบุว่ารัฐต้องให้การศึกษาฟรีเป็นเวลา 12 ปี โดยเริ่มตั้งแต่อนุบาลถึงชั้น ม.3 ซึ่งลดลงจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้าที่ให้การศึกษาฟรีถึงชั้น ม.ปลาย หรือ เทียบเท่า
"มาตรา 54 รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
รัฐต้องดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษา ตามวรรคหนึ่ง เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย โดยส่งเสริม และสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย
รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และจัดให้มีการร่วมมือกันระหว่างรัฐ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนในการจัดการศึกษาทุกระดับ โดยรัฐมีหน้าที่ดำเนินการ กำกับ ส่งเสริม และสนับสนุนให้การจัดการศึกษาดังกล่าวมีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติซึ่งอย่างน้อยต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ และการดำเนินการและตรวจสอบการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการศึกษาแห่งชาติด้วย
การศึกษาทั้งปวงต้องมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ สามารถเชี่ยวชาญได้ตามความถนัดของตน และมีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ"
ร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีการแก้ไขจากเดิมที่ระบุในมาตรา 49 รัฐธรรมนูญ 2550 ว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย" โดยในมาตรา 54 ร่างรัฐธรรมนูญ 2559 แม้จะระบุให้เรียนฟรีสิบสองปี แต่กำหนดช่วงเวลาเริ่มต้นไว้ที่การศึกษาระดับ “ก่อนวัยเรียน” ทำให้ระยะเวลาเรียนฟรีตามที่กำหนดไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ 2559 สิ้นสุดที่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเท่านั้น ในขณะที่ตามรัฐธรรมนูญ 2550 เริ่มต้นการศึกษาภาคบังคับตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ทำให้ครอบคลุมระยะเวลาจนถึงชั้น ม.6
ต่อมา นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. ได้ชี้แจงว่า สาเหตุที่ตัดสิทธิการเรียนฟรีถึง ม.6 เพราะระบบการศึกษาปัจจุบันไม่ทัดเทียมกัน เด็กจะสามารถพัฒนาได้ในช่วงอายุ 2-5 ขวบ แต่มีเพียงคนมีเงินเท่านั้นที่ได้รับการพัฒนา ส่วนคนจนไม่ได้รับ ดังนั้นจึงร่นระยะเวลาลงมาเป็น 12 ปี และเริ่มตั้งแต่ช่วงอนุบาลเพื่อรองรับคนจน และพอถึง ม.ปลายก็จะมีกองทุนเพื่อช่วยเหลือการศึกษาของผู้ยากไร้อีกด้วย
หลังจากนั้น พริษฐ์ ได้ออกมาตอบโต้มีชัยผ่านเฟสบุคส่วนตัวว่า การให้ความสำคัญกับพัฒนาการของเด็กในช่วงอายุ 2-5 ปี นั้นมีความสำคัญ แต่การศึกษาในระดับชั้น ม.ปลาย และสายอาชีพก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน อีกทั้งยังมองว่ากองทุนการศึกษาที่ช่วยเหลือผู้ยากไร้นั้นจะเกิดปัญหา เพราะเป็นการเพิ่มภาระให้นักเรียนและผู้ปกครองที่จะต้องมาพิสูจน์ความจนของตัวเอง และยังเพิ่มภาระให้คนทั่วไปที่ไม่ได้ยากไร้แต่ก็ไม่ได้ร่ำรวยในการแบกรับค่าเล่าเรียนของบุตรหลานในช่วงม.ปลาย
นอกจากนั้น ในวันที่ 5 เมษายน 2559 พริษฐ์ ยังได้ไปชูป้ายเรียกร้องให้เรียนฟรีถึง ม.ปลาย ในระหว่างที่ มีชัย กำลังกล่าวปาฐกถาหัวข้อ กรอบแนวคิดในการร่างรัฐธรรมนูญของกรธ. เนื่องในวันสัญญาธรรมศักดิ์ ปี 2559 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหลังจากนั้น พริษฐ์ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวลักษณะเสียดสีเปรียบเทียบงบประมาณการศึกษาไทยระดับมัธยมปลายสายสามัญและมีนักเรียนมัธยมปลายสายอาชีวศึกษา กับงบประมาณโครงการอื่นๆ ของรัฐบาลยุคนี้
ต่อมาวันที่ 6 มิถุนายน 2559 รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ยังไม่ได้ลงนามในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพราะต้องแก้ไขในรายละเอียด อีกทั้งยังกล่าวว่าอาจจะต้องออกเป็นกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับคำสั่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ให้ ศธ. ไปทำความเข้าใจและสร้างความเชื่อมั่นกับประชาชนในเรื่องการเรียนฟรี 15 ปี โดยหากต้องการให้เกิดกฎหมายโดยเร็วก็ต้องใช้ ม. 44 หรืออย่างช้าก็แก้ไขตามกระบวนการปกติ คือการแก้ไข พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ที่กำลังแก้ไขกันอยู่ในเวลานี้
ด้านพริษฐ์ ก็ได้ทวงถามไปถึงนายกรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า เดิมทีสิทธิเรียนฟรีดังกล่าว ได้รับประกันในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ อยู่แล้ว ทำไมไม่ดำเนินการให้รับประกันสิทธิการศึกษาในตัวร่างรัฐธรรมนูญเสียตั้งแต่แรกเพื่อความมั่นคงของอนาคตเด็กไทย
"รัฐธรรมนูญนั้นเป็นแม่ของกฎหมายทั้งปวง เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ จะแก้ไขบิดเบือนใด ๆ ก็เป็นการยาก หากรัฐบาลใดคิดจะริดรอนสิทธิดังกล่าวของปวงชน ก็จะต้องพบอุปสรรคมากมาย เมื่อเป็นเช่นนี้ ชะตาชีวิตของเด็กไทยจึงมีความมั่นคงมากขึ้น หากลดฐานะการคุ้มครองจากระดับรัฐธรรมนูญ เป็นเพียงระดับพระราชบัญญัติซึ่งแก้ไขได้ง่ายกว่า ความมั่นคงของอนาคตเด็กไทยนับล้านย่อมสั่นคลอน" พริษฐ์ กล่าว ถึงกรณีการลดการคุ้มครองสิทธิการเรียนฟรีจากระบุไว้รัฐธรรมนูญ เปลี่ยนมาอยู่ใน พ.ร.บ.แทน
และต่อมาวันที่ 15 มิถุนายน 2559 คสช. จึงใช้วิธีออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 28/2559 เรื่อง ให้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายแทน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น