วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

แทรกแซง กกต. เลือกตั้ง ทางตัน เจบีซี
http://easy-surf.appspot.com/u?purl=bG10aC42MDQ5MS
1kYWVyaHQvc3UubW9kZWVyZnRlbnJldG5pLy86cHR0a
A%3D%3D%0A

วิเคราะห์การเมือง ทีมการเมืองแทรกแซง กกต. เลือกตั้ง ทางตัน เจบีซี

แทรกแซงกกต. เลือกตั้งทางตัน

ลุ้นคำตอบเลือกตั้งชี้ "ชะตากรรม" ประเทศไทย

จากปรากฏการณ์ ส.ส.โดดร่ม ทำให้การประชุมสภาล่ม 3 วันติดๆ
ทั้ง ในคิวของการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณารายงานบันทึกผลการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) เมื่อวันที่ 29 มีนาคม

การประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ. การยางแห่งประเทศไทย ในวาระที่ 2 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม และการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 31 มีนาคม องค์ประชุมไม่ครบ สภาล่ม 3 วันซ้อน ประจานพฤติกรรม ส.ส.สันหลังยาว

ทั้งนี้ เมื่อไล่เรียงถึงสาเหตุสภาล่ม ส.ส.ส่วนมากต่างก็อ้างว่าติดภารกิจต้องลงพื้นที่พบปะเยี่ยมเยียนประชาชน

โดย เฉพาะในภาวะที่ภาคใต้กำลังประสบภัยพิบัติน้ำท่วม ดินถล่ม หลายจังหวัดได้รับความเสียหาย ประชาชน ประสบความเดือดร้อนอย่างหนัก เป็นธรรมดาที่ ส.ส. ในพื้นที่ก็ต้องเข้าไปให้ความช่วยเหลือ

ส่วนภาคอื่นๆแม้ไม่ได้เกิดเหตุภัยธรรมชาติ แต่บรรดา ส.ส.ก็วางโปรแกรมลงพื้นที่จัดกิจกรรมพบปะชาวบ้านกันถี่ยิบเพราะทุกคนทุกพรรคต่างก็รู้กันดีว่าเสียงปี่กลองการเลือกตั้งกระชั้นเข้ามาทุกที

ยิ่ง เมื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ออกมาประกาศย้ำแล้วย้ำอีกว่า จะนำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อยุบสภาไม่เกินสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคมนี้
ก็ยิ่งชัดว่าจะต้องมีการเลือกตั้งทั่วไปเกิดขึ้นแน่ๆ ในช่วงปลายเดือนมิถุนายนหรือต้นเดือนกรกฎาคม

ส.ส.ทุกพรรคจึงต้องรีบกลับไปหาชาวบ้านหาเสียงกันตั้งแต่เนิ่นๆ เร่งสร้างคะแนนนิยม เพื่อหวังได้รับเลือกตั้งกลับเข้ามาใหม่เพราะขืนมัวแต่ชักช้า อาจไม่ทันกาล ตกขบวนได้ง่ายๆ

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่นักการเมืองและพรรคการเมือง ต่างเตรียมความพร้อมที่จะเดินไปสู่สนามเลือกตั้งกันอย่างคึกคักแต่ก็มีเสียงถามไถ่กันให้แซดจากทุกวงการของสังคมว่าจะได้เลือกตั้งกันจริงหรือไม่ เพราะในขณะที่นายกฯอภิสิทธิ์และแกนนำรัฐบาลออกมายืนยันว่าจะมีการยุบสภาและมีการเลือ​กตั้งแน่

แต่ก็มีคนบางฝ่ายออกมาปั่นกระแสเรื่องการปฏิวัติรัฐประหาร พยายามชี้นำให้มีการใช้วิธีการนอกระบบ สกัดไม่ให้มีการเลือกตั้งพยายามปล่อยข่าวลือเพื่อชี้นำให้มีการปฏิวัติรัฐประหาร สร้างความสับสนให้กับสังคม จนกระทั่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ต้องออกมาประกาศย้ำอย่างหนักแน่นว่าทหารจะไม่ทำปฏิวัติรัฐประหาร เพราะปัญหาการเมืองต้องแก้ด้วยการเมือง หนทางที่ดีที่สุดของประเทศในปัจจุบัน คือมุ่งไปสู่การเลือกตั้งทหารถือเป็นประชาชนต้องรักษาระเบียบของการเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์​เป็นประมุข

พร้อมสั่งกำชับกำลังพลทุกหน่วยให้สนับสนุนและปฏิบัติตามระเบียบของกฎหมายเลือกตั้งโด​ยเคร่งครัด และให้วางตัวเป็นกลางในการเลือกตั้งไม่รับมุกพวกที่ยุให้ปฏิวัติรัฐประหารแม้บิ๊กกองทัพจะออกมาปฏิเสธแนวทางการใช้วิธีการนอกระบบ ไม่เอาด้วยกับการยึดอำนาจ เพราะไม่ใช่ทางออกที่ถูกต้องของประเทศ

แต่ พวกที่ไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้ง โดยเฉพาะแกนนำม็อบเสื้อเหลืองก็ยังไม่ละความพยายามที่จะสกัดขัดขวางไม่ให้มี การเลือกตั้งเกิดขึ้นด้วยการเสนอให้ใช้วิธีการพิเศษที่ไม่เป็นสากล อาทิ เสนอให้ใช้มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ ขอนายกรัฐมนตรีพระราชทานหรือไปไกลถึงขนาดที่เสนอให้มีการงดใช้รัฐธรรมนูญเพื่อนำไปสู่จัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลข​ึ้นมาบริหารประเทศโดย อ้างว่าถึงแม้จะมีการเลือกตั้งก็ไม่ได้แก้ปัญหาวิกฤติของประเทศ จึงควรใช้วิธีการพิเศษเพื่อจัดการให้ทุกอย่างเข้ารูปเข้ารอยเสียก่อน

"ทีม ข่าวการเมืองไทยรัฐ" ได้ติดตามความเคลื่อนไหวของฝ่ายที่ไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้งที่ออกมาเสนอ วิธีการพิเศษต่างๆ เพื่อสกัดไม่ให้มีการเลือกตั้งเราขอชี้ว่า ขบวนการความเคลื่อนไหวเหล่านี้ เป็นการชักใบให้เรือเสีย เป็นมลพิษของระบอบประชาธิปไตยแน่ นอน แม้จะมีผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองประเมินวิเคราะห์ กันว่า ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งแบ่งขั้วแบ่งฝ่ายทางการเมืองที่ยืดเยื้อ เรื้อรังมาหลายปีแม้มีการเลือกตั้งใหม่เกิดขึ้นก็อาจจะไม่ได้แก้ปัญหาวิกฤติความขัดแย้งให้หมดไป บ้านเมืองยังอยู่ในวังวนเดิมๆ

แต่เมื่อเราเลือกเดินในระบอบประชาธิปไตย ก็ต้องให้ประชาชนเจ้าของประเทศเป็นผู้ตัดสินผ่านกระบวนการเลือกตั้งโดยผลของการเลือกตั้งจะให้คำตอบว่าประชาชนต้องการอย่างไร สังคมไทยจะเดินไปทางไหนพูดง่ายๆก็คือการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นตัวชี้วัดจิตวิญญาณประชาธิปไตยของคนไทยทั้ง​ประเทศ

ที่สำคัญ ผลที่ออกมาจะให้คำตอบว่า บ้านเมืองของเราจะเดินไปข้างหน้าต่อไปได้ หรือวิกฤติถึงขั้นแก้ไขกันด้วยการเลือกตั้งไม่ได้แล้ว ส่วน ขบวนการของพวกที่ไม่อยากให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น ออกมาเสนอวิธีพิเศษต่างๆ เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ก็คือเป็นพวกที่รู้ตัวว่าต่อสู้แข่งขันในสนามเลือกตั้งไม่ได้ แต่อยากเข้าไปมีส่วนในอำนาจรัฐ ก็เลยต้องพยายามหาทางลัด เพื่อให้ตัวเองมีโอกาสได้แทรกเข้าไป หวังเสพอำนาจ เสพผลประโยชน์ ก็เท่านั้นเอง

ฉะนั้น ไม่ว่าสถานการณ์การเมืองจะเป็นอย่างไร แต่เมื่อประเทศไทยยังปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขทีมของเราก็ยังยืนยันว่า การเลือกตั้งจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด

แต่ก่อนจะเดินไปถึงการเลือกตั้ง องค์กรที่ถูกจับตาเป็นพิเศษก็หนีไม่พ้นผู้คุมกฎการเลือกตั้ง นั่นก็คือคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ 5 เสือ กกต. ที่ประกอบด้วย นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. และ กกต. อีก 4 คน ได้แก่ นายประพันธ์ นัยโกวิท นายสมชัย จึงประเสริฐ นางสดศรี สัตยธรรม และนายวิสุทธิ์ โพธิแท่น ที่เป็นด่านแรกในการกลั่นกรองตรวจสอบนักการเมืองก่อนเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร และเข้าสู่อำนาจรัฐ มีหน้าที่โดยตรงในการจัดการเลือกตั้งให้เกิดความบริสุทธิ์และเที่ยงธรรม โดยเฉพาะในสถานการณ์การเมืองที่ประเทศอยู่ในภาวะแตกร้าว เกิดวิกฤติความขัดแย้งเรื้อรังมาหลายปี ผู้คุมกฎเลือกตั้งก็ยิ่งต้องทำหน้าที่ด้วยความเข้มแข็ง และเที่ยงธรรม

โดย ยึดกฎหมายเป็นหลักปฏิบัติ โดยเฉพาะถ้าร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเลือกตั้ง 3 ฉบับ คือ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว. ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง และร่าง พ.ร.บ.พรรคการเมือง ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาก็จะเป็นภูมิคุ้มกันในการทำหน้าที่ของ กกต.ได้เป็นอย่างดี

ที่สำคัญ ตัว กกต.เองในฐานะที่เป็นผู้บริหารจัดการเลือกตั้ง ต้องทำตัวให้นิ่ง ไม่ใช่ทำตัวเป็นเครื่องหมายคำถามเสียเอง

อย่างไรก็ตาม ในการทำงานของ กกต.แม้จะมีกฎหมาย ประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ เป็นภูมิคุ้มกันในการทำหน้าที่ มีอำนาจจัดการเลือกตั้งตามกฎหมาย แต่ก็มีบุคลากรของตัวเองไม่เพียงพอที่จะลงไปดูแลการเลือกตั้งได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ท​ั่วประเทศ ยังจำเป็นต้องอาศัยบุคลากรจากหน่วยงานต่างๆ มาช่วยในการจัดการดูแลการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการครู ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย ตำรวจ ทหาร
รวม ไปถึงกระบวนการในการสืบสวนสอบสวนเรื่องร้องเรียนทุจริตในการเลือกตั้ง ก็ต้องดึงบุคลากรจากหน่วยงานอื่นๆ ทั้งตำรวจและอัยการเข้ามาช่วยทำสำนวน
พูดง่ายๆว่า ยังต้องยืมจมูกคนอื่นหายใจ

ตรง จุดนี้ก็อาจทำให้ เกิดปัญหาตามมา เพราะข้าราชการจากหน่วยงานต่างๆที่เข้ามาช่วยงาน กกต. ต่างก็มีสังกัดบังคับบัญชา อยู่ใต้อำนาจของฝ่ายการเมืองหรือแม้ กระทั่งเจ้าหน้าที่ของ กกต.เอง โดยเฉพาะ กกต.เขต และ กกต.จังหวัด ที่มีการคัดเลือกกันเข้ามา ก็อาจมีบางส่วนที่มีความสัมพันธ์โยงใยอยู่กับนักการเมืองในพื้นที่

ปมประเด็นเหล่านี้ ก็อาจเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เกิดปัญหากระทบต่อการทำหน้าที่ให้เกิดความบริสุทธิ์และ​เที่ยงธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่ 5 เสือ กกต.ต้องระมัดระวังและเตรียมการป้องกันเอาไว้ เพราะต้องไม่ลืมว่า การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งครั้งสำคัญในการช่วงชิงอำนาจรัฐ

เหนือ อื่นใด ในการต่อสู้ที่เข้มข้นภายใต้บรรยากาศขัดแย้ง ฝ่ายที่เพลี่ยงพล้ำจ้องที่จะนำปัญหาความไม่ เที่ยงธรรมในการเลือกตั้งมาขยายผลอยู่แล้ว ถ้า กกต.คุมเกมไม่ดี ปล่อยให้มีการแทรกแซง จนเกิดความไม่สุจริตในการเลือกตั้ง ก็อาจกลายเป็นชนวนให้เกิดวิกฤติซ้อนวิกฤติขึ้นมาอีก

ดัง นั้น การที่ กกต.จะฟันฝ่าอุปสรรคไปได้ จึงต้องอาศัยความสุจริตและความเที่ยงธรรมเป็นตัวตั้ง ต้องไม่วอกแวกต่อแรงกดดันจากฝ่ายใดทั้งสิ้น

ที่สำคัญภาคประชาชนเองก็ต้องให้ความร่วมมือกับ กกต. นอกจากออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยไม่ขายสิทธิขายเสียงแล้วก็ต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตาแจ้งเบาะแสการทุจริต เป็นกำแพงพิงหลังให้ กกต. เพราะถ้า กกต. ไปไม่รอด การเลือกตั้งเจอทางตัน

ประชาธิปไตยเมืองไทย ก็คงเดินหน้าไปไม่ได้.

"ทีมการเมือง"

ไทยรัฐออนไลน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น