วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554


18 ปี ย้อนรอยโศกนาฏกรรม ร.ร.รอยัลพลาซ่า โคราช



        ถือว่าเป็นอีก หนึ่งประวัติศาสตร์ที่คนไทยต้องจารึกกับ โศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในเมืองไทยกับ เหตุการณ์ตึกถล่มโรงแรมรอยัลพลาซ่า ถ.จอมสุรางค์ยาตร อ.เมือง จ.นครราชสีมา ความเสียหายในครั้งนั้นยังผลให้มีผู้ที่เสียชีวิตทั้งหมดถึง 137 คนบาดเจ็บ 227 คน ไทยรัฐ ออนไลน์ ย้อนรอย 18 ปีนาทีต่อนาที ในวันที่ 13 ส.ค.2536 อีกครั้ง เพื่อย้ำความจดจำและนำมาเป็นบทเรียน ...

          วันที่ 13 ส.ค. 2536 เวลา 10.30 น.เสียงวิทยุ และทีวีประกาศดังลั่น ทำลายความสงบของ ถ.จอมสุราค์-ยาตร ใจความมีอยู่ว่า โรงแรมรอยัลพลาซ่า ตั้งอยู่เลขที่ 547 ถ.จอมสุรางค์-ยาตร อ.เมือง จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นอาคาร 6 ชั้น ประกอบด้วยห้องพัก ห้องอาหาร และแหล่งบันเทิงที่ครบวงจรได้ถล่มทรุดลงมาขณะที่มีพนักงานของโรงแรม แขกที่พักอยู่ตาม ห้องต่างๆ ข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ โครงการพัฒนาบุคลากรสามัญศึกษา พร้อมทั้งพนักงานบริษัทเชลล์ เข้าประชุมสัมมนา ประมาณ 380 คน ทำให้มีผู้เสียชีวิต 137 คน และบาดเจ็บอีก 227 คนยังความตกใจให้กับผู้ที่รับข่าวสารมากมาย

          หลังจากรับแจ้งเหตุ นายดำรง รัตนพานิช ผวจ. นายบุญสม พิรินทร์ยวง นายอำเภอเมือง พร้อมด้วย พล.ต.ต.สิทธิศักดิ์ อินทร์ถมยา ผบก.ภ. 4 พ.ต.อ.เถลิงศักดิ์ สุคนธมาน หน.ตร.นครราชสีมา พ.ต.ท.อำนาจ อันอาตม์งาม สวญ.สภ.อ.เมืองนครราชสีมา และ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเดินทางไปที่เกิดเหตุ

             ภายหลังการสืบค้น ประวัติ โรงแรมรอยัลพลาซ่า พบว่า ขณะนั้นโรงแรมแห่งนี้มีคณะกรรมการ5 คน โดยมี นายเลอพงศ์ พัฒนจิตวิไลเป็นประธาน เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2527 ตามใบอนุญาตเทศบาลเลขที่ 11/2527 ลงวันที่ 24 ต.ค. 2526 ขออนุญาตก่อสร้างเป็นอาคาร 4 ชั้น รวมชั้นใต้ดินมีนายณรงค์ นันทผาสุข เป็นผู้ขออนุญาต มีจำนวนห้องทั้งหมด 62 ห้อง ต่อมาปี 2533 บริษัทรอยัลพลาซ่าโฮเต็ลได้ต่อเติมเป็นอาคาร 6 ชั้นตามใบอนุญาต ที่ 644/2533

            เมื่อวันที่ 20 มิ.ย.2533 มีจำนวนห้องเพิ่ม 134 ห้อง และ ในปี 2536 ซึ่งได้ขออนุญาตก่อสร้างเพิ่มอีก 9 ห้อง ซึ่งกำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่โดยมีนายบำเพ็ญ พันธุ์รัตนะอิสระ เป็นวิศวกรออกแบบและสถาปนิก นายสุวัฒน์ ตัณฑนุข เป็นผู้ช่วยวิศวกร ห้างหุ้นส่วนจำกัด วงษ์สินไทย เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง และขออนุญาตก่อสร้างในสมัยนายนิวัตชัย สุชาดารัตน์ เป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองนครราชสีมา นายประชิต วงษ์มณี เป็นเทศมนตรีเทศบาลเมืองนครราชสีมา ผู้ควบคุมงานกองช่าง เป็นผู้อนุมัติ

            ต่อ มาไม่นาน กระทรวงมหาดไทย แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนนายบำเพ็ญ พันธ์รัตนะอิสระ วิศวกรออกแบบ โดยมีนายเสรี สุธรรมชัย รองอธิบดีกรมโยธาธิการ เป็นประธาน เพื่อให้คณะกรรมการอนุกรรมการดำเนินการไต่สวนตามข้อบังคับ ก.ว. ว่าด้วยการสั่งพักหรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ

ทั้งนี้ พล.ต.ท.วิรุฬท์ ฟื้นแสน ผบช.ภ. 2 ได้ประชุมนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ และแต่งตั้งให้ พล.ต.ต.ประจิตต์ แสงสุบิน รอง ผบช.ภ. 2 รับผิดชอบควบคุมคดี โดยมอบหมายให้ พ.ต.อ.บำรุง สุขพานิช รองผบก.ภ. 4 เป็นหัวหน้าชุดสอบสวน พ.ต.อ. จุฬา ชูเวช รอง หน.ตร.นครราชสีมา เป็นรองหัวหน้าสอบสวน พล.ท.อานุภาพ ทรงสุนทร แม่ทัพภาคที่ 2 พล.ต.ท.วิรุฬท์ ฟื้นแสน ผบช.ภ.2 พล.ต.ต.ประจิตต์ แสงสุบิน รอง ผบช.ภ.2 พล.ต.ต.สิทธิศักดิ์ อินทร์ถมยา ผบก.ภ. 4 นายดำรง รัตนพานิช ผวจ.นครราชสีมา นางชูศรี ศรีวิไลลักษณ์ นายกเทศมนตรี และหัวหน้าส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้ประชุมวางแผนช่วยเหลือผู้รอดชีวิตพร้อมกับได้นำตัวนายเลอพงศ์ พัฒนจิตวิไล นายสัญชัย สุรโชติมงคล นายชาตรี ล้อเลิศรัตนะ และนายวิทยา วงศ์วัชรกาญจน์ มาสอบปากคำที่สภ.อ.เมือง และได้ตั้งข้อหาทั้ง 4 คน ว่า “กระทำ การโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและบาดเจ็บ ซึ่งทั้งหมดให้การปฏิเสธ ส่วยนายเลิศ เอี่ยมวงษ์ศิริกุล และนายซิม แตมสำราญ ยังหลบหนีอยู่”

         นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย รมต.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รมช.กระทรวงมหาดไทย และอธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ อธิบดีกรมการปกครองในขณะนั้น เดินทางไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ

         “จาก เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการละเลยเพิกเฉยในการดูแลการก่อสร้าง และเชื่อว่ายังมีอาคารสภาพดังกล่าวอีกหลายแห่ง เพราะในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังบูม จึงไม่ค่อยสนใจเรื่องของแบบแปลนการก่อสร้าง หรือมีการใช้อิทธิพลในท้องถิ่น โดยนายทุนใช้อิทธิพลกับข้าราชการจึงอยากให้มีการเข้มงวดถึงการเคารพกฎหมาย และหลักเกณฑ์” นายชวนกล่าว

            พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รมว.มหาดไทย สั่งให้จังหวัดนครราชสีมาจัดตั้งกองอำนวยการในบริเวณโรงแรมที่เกิดเหตุ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ นอกจากนี้กระทรวงมหาดไทยกำลังพิจารณา พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร 2522 โดยจะปรับปรุงในบางส่วนเกี่ยวกับการให้หน่วยงานในท้องถิ่นดูแลในเรื่องการ อนุมัติและการกำกับดูแลอาคาร

          เหตุโศกนาฏกรรมในครั้งนี้ส่งผลให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าให้ นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย นำมามอบให้เป็นกำลังใจแก่ผู้รอดชีวิต อีกทั้งสำนักงานประกันสังคมจ.นครราชสีมา ได้ให้การช่วยเหลือด้านค่ารักษาพยาบาลและชดเชยให้แก่ผู้เสียชีวิตหรือพิการ

          นายวิทยา วงศ์วัชรกาญจน์ ผู้จัดการทั่วไปของโรงแรมดังกล่าวออกมาระบุว่าทางบริษัทฯ ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้เสียชีวิต

          ต่อมาเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยและทุกภาคส่วนลงพื้นที่และใช้เครื่องมืออุปกรณ์ขุด เจาะขนาดเล็ก เครื่องเจาะแรงอัดลม เครื่องตัดเหล็กไฟฟ้า ทำการขุดเจาะช่วยเหลือ

            ด้าน พล.ต.ต.ประจิตต์ แสงสุบิน รองผบช.ภ. 2 เชิญตัว นายบำเพ็ญ พันธุ์รัตนะอิสระ วิศวกรและสถาปนิก มาสอบสวน โดยนำเอกสาร และแบบแปลนมาประกอบการสอบสวน ส่วนสาเหตุการถล่มนั้นเบื้องต้นคาดว่าเกิดจากการออกแบบก่อสร้างหรือการ ก่อสร้างไม่ถูกต้องตามแบบแปลน ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวน โดยเฉพาะผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญ ในการออกแบบก่อสร้างมาร่วมเป็นกรรมการ

       ด้านนาย สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ เลขาธิการสภาองค์การครู กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ใช่อุบัติเหตุแต่เป็นอุบัติการณ์ทางสังคมไทย เห็นว่าควรจะต้องมีการตรวจสอบสภาพของอาคารที่มีการต่อเติมทั่วประเทศ โดยเฉพาะที่เป็นเมืองหลัก

         น.พ.วิฑูร แสงสิงแก้ว อธิบดีกรมการแพทย์ ได้สั่งให้แพทย์เคลื่อนที่พร้อมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย ศัลยแพทย์ และพยาบาล จำนวน 3 ทีม เข้าช่วยเหลือ

           ต่อมาพบนางพรรณี วีสะเพ็ญ หญิงมีครรภ์รายหนึ่งที่แพทย์จำเป็นต้องทำคลอดก่อนกำหนดเนื่องจากท่อนแขนซ้าย ถูกของหนักทับอาการสาหัส ปรากฏว่าเด็กที่คลอดเป็นเพศชาย ชื่อ ด.ช.ปาฏิหาริย์ วีสะเพ็ญ มีชีวิตได้เพียง 9 วัน ก็เสียชีวิต

            วันที่ 15 ส.ค. 2536 นายกรัฐมนตรี เดินทางมายังศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอีกครั้ง เพื่อติดตามดูแลการช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในซากอาคาร จากนั้นเดินทางไปเยี่ยมผู้บาดเจ็บที่รพ.มหาราช พร้อมทั้งนำกระเช้าดอกไม้และมอบเงินช่วยเหลือและได้มอบหมายให้นายเอกสิทธิ์ ลิ้มสุวรรณ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาวิศวกรรมโครงสร้างคณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยช่วยพิจารณาสาเหตุการถล่มของโรงแรมดังกล่าว ส่วนเรื่องที่ผู้รับเหมามักจะสมยอมกันในการประกวดราคาการก่อสร้างของทาง ราชการ

        ครม.ได้มีมติให้กำชับดูแลในเรื่องราคาก่อสร้าง ซึ่งผู้ตรวจรับงานไม่ควรปล่อยปละละเลยให้ผู้รับเหมาใช้ของไม่ตรงตามข้อกำหนด เพราะผลของการอนุมัติอาจจะไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่จะต่อเนื่องถึงอนาคต

        ด้าน นายไสว พราหมณี อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ อดีตผู้ว่าฯ นครราชสีมา กล่าวถึงกรณีที่ตนมีส่วนในการพิจารณาอนุมัติการต่อเติมอาคารโรงแรมดังกล่าว ว่า ตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งการขออนุญาตก่อสร้างและต่อเติมอาคารเป็นเรื่องของ เทศบาลเมือง และการขอก็มีใบอนุญาตประกอบการโรงแรม เรื่องดังกล่าวเป็นของคณะกรรมการส่วนจังหวัด

       พล.ต.ต.ประจิตต์ แสงสุบิน รอง ผบช.ภ. 2 กล่าวว่าด้านการดำเนินคดีขณะนี้ได้แจ้งข้อหากับ นายเลอพงศ์ พัฒนจิตวิไล ประธานกรรมการ และพวกในข้อหาร่วมกันกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บและเสีย ชีวิต แต่ผู้ต้องหาทั้งหมดให้การปฏิเสธ ควบคุมตัวไว้ที่ สภ.อ.เมืองนครราชสีมา

        ส่วน นายเลิศ เอี่ยมวงษ์ศิริกุล และนายซิม แตมสำราญ กรรมการบริษัท กำลังติดต่อขอมอบตัวกับพนักงานสอบสวนอยู่ สำหรับนายบำเพ็ญ พันธุ์รัตนะอิสระ วิศวกรและสถาปนิก กับนายสุวัฒน์ ตัณฑนุข ผู้ช่วยวิศวกร ต่างยืนยันว่าได้ออกแบบแปลนการก่อสร้างถูกต้องตามหลักวิชาการทุกอย่าง และพนักงานสอบสวนก็ยังไม่ได้แจ้งข้อหากับบุคคลทั้ง 2 ทั้งนี้ต้องตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ก่อน

         เวลา 17.00 น. นายเลอพงศ์ พัฒนจิตวิไล ประธานกรรมการโรงแรมรอยัลพลาซ่าและพวกอีก 4 คนได้มอบตัวพร้อมกับให้การปฏิเสธ

         วัน ที่ 16 ส.ค.2536 ผบช.ภ. 2 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อหาสาเหตุและตรวจ สอบแบบแปลนว่าถูกต้องหรือไม่ ต่อมานายเลอพงศ์ พัฒนจิตวิไล นายชาตรี ล้อเลิศรัตนะ นายสัญชัย สุรโชติมงคล และนายวิทยา วงศ์วัชรกาญจน์ ได้รับการประกันตัวจาก พล.ต.ท.วิรุฬ ฟื้นแสน ผบช.ภ. 2 ในวงเงินคนละ 2 ล้านบาท

         ทีมงามสอบสวนพบสาเหตุการทรุดของโรงแรมมาจากฐานรากระหว่างรอย ต่ออาคารเก่า กับส่วนใหม่ที่ต่อเติม ทำให้ทรุดตัวกะทันหัน และ จากการตรวจสอบพบน้ำใต้ดินที่ไหลสู่ฐานราก เจ้าของโรงแรมแก้ปัญหาโดยทำบ่อแล้วสูบน้ำใต้ดินออก ทำให้ฐานรากลดขีดสมรรถภาพในการรับน้ำหนัก เพราะน้ำที่ซึมถูกดูดออกไปเป็นดินด้วย โดยทำติดต่อกัน 2 ปี จึงทำให้เกิดโพรงเมื่อความหนาแน่นของดินใต้ฐานรากของแนวต่ออาคารเก่ากับใหม่ มีความหนาแน่นน้อย ฐานรากจึงรับน้ำหนักไม่ไหว

       บริษัทกรุงเทพประกัน ภัยชี้แจงว่า ทางโรงแรมจะไม่ได้รับเงินชดเชยจำนวน 125 ล้านบาท เนื่องจากกรมธรรม์ระบุว่าประกันเฉพาะอัคคีภัยเท่านั้น

          ด้าน พล.ต.อ.สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ อ.ตร. แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาสาเหตุอาคารถล่มจำนวน 29 คน ทำการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานดำเนินคดีกับผู้ กระทำผิดพ.ต.ต.สำเริง แสงวิรุฬ ผู้ช่วยผบช.ภ. 2 ได้ตรวจพบว่ามีการใช้วัสดุก่อสร้างอื่นแทนแบบที่กำหนดเอาไว้ ซึ่งเป็นโครงเหล็กรองรับน้ำหนัก ส่วนที่ต่อเติมทั้งหมดและจากการตรวจแบบที่ก่อสร้างอาคารครั้งแรก ไม่มีการลงเสาเข็ม ต่อมาผู้เชี่ยวชาญได้เสนอมาตรการตรวจสอบความปลอดภัยของอาคารและสิ่งก่อสร้าง โดยมาตรการระยะสั้น คณะวิศวกรรมศาสตร์เสนอตัวร่วมกับ มหาวิทยาลัยของรัฐและวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยเปิดบริการตรวจสอบหรือเรียก ตรวจสอบแบบและข้อมูลของอาคารต่างๆ และมาตรการระยะยาวจะมีการประชุมประสานงานระหว่างกระทรวงมหาดไทย คณะกรรมการควบคุมอาคารและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อหาวิธีดำเนินการ ที่จะเกิดผลทางปฏิบัติ

         เวลา 18.00 น. นายซิม แตมสำราญ อายุ 55 ปี กรรมการบริษัทเข้ามอบตัวกับ พ.ต.ท.สังวรณ์ ภู่ไพจิตรกุล สวส.สภ.อ.เมืองนครราชสีมา เจ้าหน้าที่แจ้งข้อหากระทำการประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และบาดเจ็บสาหัส ผู้ต้องหาให้การปฏิเสธ

        พล.ต.ต.สิทธิศักดิ์ อินทร์ถมยา ผบก.ภ. 4 ชี้แจงว่า อาคารดังกล่าวมีความบกพร่องโดยเกิดรอยร้าวบริเวณพื้นที่ชั้นล่างของอาคาร จากการสอบสวนวิศวกรพบว่าการต่อเติมครั้งหลังสุดทำให้ตัวอาคารไม่สามารถรับ น้ำหนักได้เนื่องจากผิดแบบ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำเรื่องเสนอ ผวจ.นครราชสีมา เพื่อขออนุมัติจับกุม นายบำเพ็ญ พันธ์รัตนะอิสระ วิศวกรและสถาปนิกโรงแรมรอยัลพลาซ่านอกจากนี้ยังพบว่าโรงแรมดังกล่าวมีการขุด บริเวณด้านล่างเพื่อสร้างห้องใต้ดิน และฐานรากขนาด 4 คูณ 4 ที่ก่อสร้างไปนั้นสามารถรับน้ำหนักได้เพียง 12 ตัน แต่จากคำให้การเบื้องต้นของนายบำเพ็ญ อ้างว่าสามารถรับน้ำหนักได้ 20 ตัน ซึ่งผิดกับข้อเท็จจริงในการสร้างอาคาร

           เวลา 10.00 น. นายเลิศ เอี่ยมวงษ์ศิริกุล กรรมการบริษัท เดินทางเข้ามอบตัวกับพ.ต.ท.อำนาจ อันอาตม์งาม สวญ.สภ.อ.เมืองนครราชสีมา และปฏิเสธข้อกล่าวหา ต่อมา นายซิม แตมสำราญ กรรมการบริษัท เข้ามอบตัวกับ พ.ต.ท.อำนาจ อันอาตม์งาม สวญ.สภ.อ.เมืองนครราชสีมา และได้รับการประกันตัว

         วันที่ 18 ส.ค.2536 หลังจากเกิดเหตุ พล.ต.ต.สิทธิศักดิ์ อินทร์ถมยา ผบก.ภ. 4 ได้ตรวจพบหลักฐานการประชุมเมื่อปี 2530 ระบุว่าได้เกิดรอยร้าวตามฝาผนัง ซึ่งกรรมการบริหารทราบดี แต่ปกปิดและโบกปูนปิดไว้ กระทั่งปี 2534 ได้ต่อเติมห้องพักบนชั้น 5-6 เพื่อให้ทันกับการประชุมไลออนส์แห่งประเทศต่อมาก็มีรอยร้าวที่บันไดขยายวง กว้างขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจที่จะแก้ไข

        เวลา 17.00 น.นายบำเพ็ญ พันธุ์รัตนะอิสระ วิศวกรและสถาปนิกเข้ามอบตัวกับ พล.ต.ต.ประจิตต์ แสงสุบิน รอง ผบช.ภ. 2 โดยแจ้งข้อหาร่วมกันกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บและเสีย ชีวิต ผู้ต้องหาให้การปฏิเสธ ควบคุมตัวไว้ที่ สภ.อ.เมืองนครราชสีมา และไม่อนุญาตให้ประกันตัว จากนั้นนายวิทยา วงศ์วัชรกาญจน์ ได้เข้ามอบตัวอีกครั้ง

          ร.ต.เบญจกุล มะกะระธัช รองปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่าในมาตรการการแก้ไขเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารได้เสนอแก้พรบ.ผู้ ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมบางเรื่อง รวมไปถึงพ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องในเรื่องกฎระเบียบกระทรวงและพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ให้มีขอบเขตที่จำกัดมากขึ้น โดยเน้นในเรื่องประสบการณ์ของวิศวกรเป็นสำคัญ

        จาก การสอบสวนขออนุญาตสร้างอาคารเพิ่มเป็น 6 ชั้น ทราบว่า เจ้าของโรงแรมได้ขออนุญาตจากผอ.กองช่างเทศบาลเมือง เมื่อปี2533 แต่เมื่อผอ.กองช่างขอดูแบบแปลนเดิมก็แจ้งว่าหาย ผอ.การช่างจึงไม่อนุญาตให้สร้าง ดังนั้นทางโรงแรมได้ติดต่อนายบำเพ็ญ พันธุ์รัตนะอิสระ วิศวกรคนเดิม เขียนคำรับรองว่าตัวอาคารแข็งแรงพอที่จะต่อเติมเป็นอาคาร 6 ชั้นได้ ผอ.กองช่างจึงอนุมัติและผ่านขั้นตอนการขออนุญาตจากเทศมนตรีฝ่ายโยธา และรองปลัดเทศบาลในสมัยนั้น แต่ตามกฎหมายการขออนุญาตต่อเติมต้องมีการแนบแบบแปลนเดิมพร้อมทั้งไปตรวจสอบ อาคารเดิมด้วย ดังนั้นจึงถือว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมายเข้าข่ายร่วมกันโดยประมาทเป็นเหตุให้ ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต

         เจ้าหน้าที่ตำรวจนำตัวนายบำเพ็ญ พันธุ์รัตนะอิสระ วิศวกร อายุ 53 ปี เข้าพบพนักงานสอบสวน พร้อมแจ้งข้อหาดำเนินคดี 2 ข้อหาคือ 1.เป็นผู้มีวิชาชีพในการออกแบบควบคุมหรือก่อสร้างซ่อมแซม หรือรื้อถอนอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างใด ๆ ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ หรือวิธีอันพึงกระทำการนั้น ๆ โดยประการที่น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่น 2.กระทำการประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และบาดเจ็บ ผู้ต้องหาให้การปฏิเสธ

         วันที่ 20 ส.ค. 2536 นายพูนสุข จิตต์สุวรรณ ผอ.กองช่างเทศบาลเมืองนครราชสีมา นำพิมพ์เขียวแบบแปลนเก่าของปี 2526 ทั้งสำเนาและต้นฉบับจำนวน 45 แผ่น มามอบให้กับนายดำรง รัตนพานิช ผวจ.นครราชสีมา โดยแบบแปลนดังกล่าวระบุว่า เริ่มก่อสร้างอาคารเมื่อปี 2526 มีนายเทอดทูน ขำวิไล เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ นายบำเพ็ญ พันธุ์รัตนะอิสระ เป็นวิศวกรโครงสร้าง และนายสำเนียง ชูสกุล เป็นวิศวกรสุขาภิบาล

         ด้าน นายพูนสุข จิตต์สุวรรณ ผอ.กองช่างเทศบาลเมืองนครราชสีมา กล่าวว่า การขออนุญาตต่อเติมอาคารดังกล่าวถูกต้องตามกฎหมายและพ.ร.บ.ควบคุมการ ก่อสร้าง พ.ศ.2522 ม.28 ระบุว่า อำนาจหน้าที่ของเทศบาลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบรายละเอียดด้าน วิศวกร

        จากการสอบพยานรายหนึ่งกล่าวว่า ได้มีการตัดเสาหลายต้นในชั้นล่างซึ่งเป็นค็อฟฟีช็อป เพื่อให้มีพื้นที่กว้าง สำหรับคานในส่วนที่มีการต่อเติมอีก 3 ชั้น พบว่าใช้คานยาว 15 ม.วางพาดกับตึกลิฟต์ที่ก่อสร้างขึ้นมาตอนหลัง เมื่อเสาข้างล่างถูกตัดทำให้เสาที่เหลือรับน้ำหนักไม่ไหว อาคารจึงโยกตัวคานที่พาดไว้จึงหลุดออกมา ส่วนแท็งก์น้ำและเครื่องปรับอากาศไม่ใช่สาเหตุการถล่มในครั้งนี้

          พ.ต.ท. สังวรณ์ ภู่ไพจิตรกุล สวส.สภ.อ.เมืองนครราชสีมา นำตัวนายวิทยา วงศ์วัชรกาญจน์ ไปยังศาลจังหวัดนครราชสีมาเพื่อขออนุญาตฝากขังเป็นครั้งที่ 1 ต่อมานายกิตติ จันทรรวงทอง ยื่นคำร้องขอประกันตัวต่อศาลว่านายวิทยามีความจำเป็นต้องประสานงานกับหน่วย งานในการรื้อถอนซากอาคาร และจ่ายเงินชดเชยแก่พนักงานและญาติผู้ประสบภัย โดยยื่นหลักทรัพย์เป็นโฉนดที่ดิน 3 แปลง ราคาประมาณ 2 ล้านบาท ศาลโดยนายเกษม ควรเจริญ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล อนุญาตให้ประกันตัว

         นาย ประชิต วงษ์มณี อดีตเทศมนตรีเทศบาลเมืองนครราชสีมา เข้าพบพ.ต.ท.สังวรณ์ ภู่ไพรจิตรกุล สวส.สภ.อ.เมืองนครราชสีมา ที่ห้องสอบสวนเฉพาะกิจ และกล่าวว่าการขออนุญาตต่อเติมอาคารโรงแรมดังกล่าวได้ผ่านขั้นตอนเมื่อวัน ที่ 18 มิ.ย. 33 โดยมีนายสิทธิศักดิ์ ลิ้มเลิศเจริญวนิช เป็นสถาปนิก นายยุทธนา อาจารยานนท์ นายอนุสรณ์ ซ้อนพิมาย เป็นวิศวกร นายมนัส ชัยนิคม หัวหน้าฝ่ายออกแบบ นายพูนสุข จิตต์สุวรรณ ผอ.กองช่างเทศบาลเมืองนครราชสีมา นางยุพยง พรหมพันธ์ ปลัดเทศบาลเป็นผู้ตรวจสอบและอนุญาต ขณะนั้นมีนายนิวัติชัย สุธาดารัตน์ นายกเทศมนตรีเทศบาล มอบหมายให้นายประชิตทำการแทนนายกเทศมนตรี และเซ็นอนุมัติแบบแปลนเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2533 เพราะเห็นว่าแบบแปลนที่ยื่นมานั้นผ่านการตรวจสอบและคำนวณจากกองช่างมาแล้ว โดยไม่มีการทักท้วง

       วันที่ 21 ส.ค. 2536 นายนิตยา พันธุ์รัตนะอิสระ อายุ 45 ปี ภรรยานายบำเพ็ญ พันธุ์รัตนอิสระ เข้าพบ พ.ต.ท.อำนาจ อันอาตม์งาม สวญ.สภ.อ.เมืองนครราชสีมา เพื่อขออนุญาตให้แพทย์ตรวจร่างกายสามี เนื่องจากสามีเป็นโรคความดันโลหิตสูง หลังจากตรวจร่างกายพบว่าความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ

        นายเลอพงศ์ พัฒนจิตวิไล ประธานกรรมการบริหารโรงแรมรอยัลพลาซ่าขอแจ้งปิดกิจการ เพราะอาคารถล่ม และเลิกจ้างพนักงาน เจ้าหน้าที่ ลูกจ้างทุกแผนก โดยบริษัทฯ จะจ่ายค่าชดเชยตามที่กฎหมายระบุไว้

        วันที่ 22 ส.ค. 2536 พ.ต.ท.สังวรณ์ ภู่ไพจิตรกุล สวส.สภ.อ.เมืองนครราชสีมา ได้เรียกตัวนายยุทธนา อาจารยานนท์ วิศวกรตรวจแบบแปลนมาสอบสวน เนื่องจากนายยุทธนามีอำนาจการเสนอความเห็นและเซ็นอนุมัติ การสอบสวนในขั้นนี้จะเน้นหนักไปที่การปฏิบัติหน้าที่ของกองช่างเทศบาล เพื่อชี้ชัดว่าปฏิบัติหน้าที่โดยชอบหรือไม่ และในการสอบสวนมีความยุ่งยากโดยเฉพาะในส่วนของเจ้าพนักงานของรัฐที่มีความ ขัดแย้งกันในส่วนอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐกับสถาปนิก และวิศวกรควบคุมการก่อสร้างโดยหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน กระทรวง ไม่อาจดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ อย่างไรก็ตามได้มีการนำปัญหาไปปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย เพื่อหาข้อยุติว่าสามารถจะเอาผิดเจ้าหน้าที่เทศบาลส่วนนี้ได้หรือไม่

         พล.ต.ท. วินิจ เจริญศิริ ผช.อ.ตร. เผยว่า จากการเปรียบเทียบแบบแปลนปรากฏว่าแบบแปลนเดิมมีขนาดเล็กกว่าแบบแปลนที่ออก ใหม่ จึงเรียกตัวนายสุวัฒน์ ตัณฑนุช และนายส่งเสริม นพรัตน์ สถาปนิกซึ่งร่วมกันลงชื่อรับรองการวางรากฐานในแบบแปลนใหม่มาสอบสวน และทั้ง 2 อาจถูกดำเนินคดีในข้อหารับรองเท็จ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการสอบสวน
24 ส.ค. 2536

          นายบำเพ็ญ พันธุ์รัตนะอิสระ ได้ยื่นหลักทรัพย์เป็นโฉนดที่ดิน ราคาประมาณ 1.5 ล้านบาท เพื่อขอประกันตัว ศาลอนุญาตให้ประกันตัวได้

          เจ้าหน้าที่มูลนิธิร่วมกตัญญูได้ยุติการค้นหา และมอบหน้าที่ให้สมาคมพุทธธรรมการกุศล (ฮุก 31) กับเจ้าหน้าที่หน่วยอื่นรับช่วงค้นหาต่อไป

         วันที่ 26 ส.ค. 2536 พล.ต.ท.วินิจ เจริญศิริ ผช.อ.ตร. สรุปว่าการถล่มของโรงแรมมาจากฐานเสาคอนกรีตเสริมเหล็กเดิม ไม่สามารถรองรับน้ำหนักการต่อเติมได้ เมื่อมีแรงกดดันมากจึงทำให้อาคารถล่ม และถือว่าเป็นความประมาทของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่อนุญาตให้ก่อสร้างเพิ่มเติมโดยไม่ได้ดูแบบแปลนเดิม

            วันที่ 28 ส.ค. 2536 -ทางด้านคดีในเบื้องต้นพนักงานสอบสวนได้ดำเนินคดีกับคณะผู้บริหารโรงแรม 6 คน และดำเนินคดีกับนายบำเพ็ญ พันธุ์รัตนะอิสระ วิศวกรและสถาปนิก ซึ่งทั้งหมดอยู่ระหว่างประกันตัวชั้นศาล ส่วนผู้เกี่ยวข้องซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ 6 คน เจ้าหน้าที่ตำรวจยังไม่ออกหมายจับ

        เวลา 05.00 น. นายดำรง รัตนพานิช ผวจ.นครราชสีมา พร้อมด้วยข้าราชการและประชาชนประมาณ 30 คน ประกอบพิธีบวงสรวงท้าวสุรนารี เวลา

        07.30 น. จัดพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้เสียชีวิต โดยนิมนต์พระญาณวิทยาคมเถร หรือหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด หลวงพ่อฐานิโย วัดป่าสาละวัน หลวงปู่นิล วัดครบุรี หลวงพ่อคง วัดตะกร้อ ตลอดจนเจ้าคณะภาค, จังหวัด และตำบลจำนวน 219 รูป ร่วมสวดแผ่เมตตาบริเวณที่เกิดเหตุ

         วันที่ 29 ส.ค. 2536 พล.ต.ท.วินิจ เจริญศิริ ผช.อ.ตร. กล่าวว่าขณะนี้ยังไม่ได้แจ้งข้อหาใดๆ กับเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เนื่องจากพนักงานสอบสวนกำลังสรุปสาเหตุที่ชัดเจนจากทางคณะกรรมการที่ลงไป ตรวจสอบฐานรากและเสาของตัวอาคาร

          วันที่ 30 ส.ค. 2536 นายประกอบ วิโรจน์กูล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ขอนแก่น พบว่าการถล่มของอาคารน่าจะเกิดจากรากฐานของตึกเดิมที่ไม่สามารถรับน้ำหนัก ได้ จากการสอบถามวิศวกรออกแบบกล่าวว่าการใช้เสาขนาด 4 คูณ 4 ม. จะสามารถรับน้ำหนักได้ 6 ชั้น แต่การตรวจสอบเสาของโรงแรมพบว่าใช้เสาขนาด 3.2 คูณ 3.2 ม. เท่านั้น

          สำหรับการช่วยเหลือ สำนักงานประสงเคราะห์จังหวัด ช่วยเหลือไปแล้ว 1,825,000 บาท สำนักงานประกันสังคมจังหวัดจ่ายให้ผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ จำนวน 9,849,840 บาท จ่ายค่ารักษาพยาบาล, ค่าทดแทนที่บาดเจ็บ จำนวน 727,070 บาท จ่ายประกันการทำงานให้ลูกจ้างที่มีสิทธิ์ 391 ราย จำนวน 5,905,005 บาท เงินสงเคราะห์จากภาคเอกชน และเงินช่วยของโรงแรมจำนวน 4,235,000 บาท มูลนิธิคุณากรและมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จำนวน 644,000 บาท รวมทั้งสิ้น 22,531,975 บาท จังหวัดได้รับบริจาคอีก 11,700,000 บาท
31 ส.ค. 2536

         จากผลการตรวจพิสูจน์ของฝ่ายโยธาธิการกรมตำรวจพบว่า ฐานเสาคอนกรีตบริเวณชั้นล่างสุดระหว่างห้องอาหารซึ่งเป็นหมู่เสาซี มีขนาดเล็กกว่าแบบแปลนที่กำหนดจากที่ระบุไว้ ขนาด 4 คูณ 4 ม. แต่พบจริงมีขนาดแค่ 3.2 คูณ 3.2 ม. และยังพบโคลนดำผสมน้ำกระจายอยู่รอบเสาฐาน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพื้นดินชั้นล่างมีน้ำไหลซึมออกมาตลอดเวลา ทางโรงแรมคงใช้วิธีสูบน้ำทิ้งทำให้ชั้นใต้ดินเป็นโพรงจึงเกิดการถล่ม นอกจากนี้ยังขุดต่อไปยังบริเวณหมู่เสาดี เพื่อตรวจสอบเสาฐานของอาคารให้ละเอียดชี้ชัดอีกครั้ง

         นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้มอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยแก่ผู้เสียชีวิต และพิการรายละ 200,000 บาท รวมทั้งสิ้น 27,200,000 บาท เงินช่วยเหลือการศึกษาของบุตรผู้ประสบภัย จำนวน 37,600,000 บาท รวมทั้งหมด 64 ล้านบาท

          พล.ต.ต.ประจิตต์ แสงสุบิน รอง ผบช.ภ.2 ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนได้ประชุมคณะกรรมการสอบสวนที่ได้รับการแต่งตั้ง จาก อ.ตร. ประกอบด้วย พล.ต.ต.บุญชอบ พุ่มวิจิตร ผช.ผบช.ภ. พล.ต.ต.สิทธิศักดิ์ อินทร์ถมยา ผบก.ภ.4 พ.ต.อ.บำรุง สุขพานิช รอง ผบก.ภ.4 พ.ต.อ.วันชัย ศรีนวลนัด รอง ผบก.คด.กรมตำรวจ พ.ต.อ.เถลิงศักดิ์ สุคนธมาน หน.ตร.นครราชสีมา พ.ต.ท.สุมทร เลิศทวีศิลป์ รอง ผกก.โยธาธิการกรมตำรวจ พ.ต.ท.อำนาจ อันอาตม์งาม สวญ.สภ.อ.เมืองนครราชสีมา รวมทั้งพนักงานสอบสวนอื่น ๆ อีก 29 ราย ณ ห้องปฏิบัติการ สภ.อ.เมืองนครราชสีมา การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมใหญ่ของคณะกรรมการสอบสวนซึ่งแบ่งการดำเนิน คดีผู้เกี่ยวข้องเป็น 3 กลุ่มคือ 1.กลุ่มผู้บริหารโรงแรม 2.กลุ่มวิศวกร 3 กลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐ

          อย่างไรก็ดี ขณะนี้ยอดผู้เสียชีวิตที่พบแล้ว 133 ราย เป็นชาย 68 ราย หญิง 65 ราย ข้าราชการครูสังกัดกรมสามัญศึกษา 47 ราย พนักงานบริษัทเชลล์ 24 ราย พนักงานโรงแรม 37 ราย ผู้เข้าพักอื่น ๆ 25 ราย หาไม่พบอีก 3 ราย ผู้บาดเจ็บ 227 ราย

           นายวิทยา วงศ์วัชรกาญจน์ ผู้จัดการทั่วไป กล่าวว่าหากหน่วยงานใดสามารถขุดค้นพบศพที่เหลือ บริษัทฯ จะจ่ายเงินรางวัลให้ศพละ 10,000 บาท โดยการค้นหาในวันนี้นับเป็นวันที่ 19 จากวันเกิดเหตุ

        เวลา 13.30 น. พ.ต.ท.สมหมาย กองวิสัยสุข หน.สายสืบเฉพาะกิจได้นำตัวนายชำเพียง ชูสกุล อาจารย์สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา ซึ่งได้รับมอบหมายจากบริษัทรอยัลพลาซ่าโฮเต็ลให้ควบคุมการก่อสร้างอาคาร เมื่อปี 2527 ไปมอบให้กับ พ.ต.ท.สังวร ภู่ไพจิตรกุล สว.สส. ดำเนินการสอบสวนหารายละเอียดเพิ่มเติม และนำตัวนายสัญชัย สุรโชติมงคล รองประธานคณะผู้บริหาร ซึ่งอยู่ระหว่างประกันตัวมามอบให้กับ พล.ต.ต.บุญชอบ พุ่มวิจิตร ผช.ผบช.ภ. สอบสวน นำตัวนายอนันต์ สกุลภิญโญ อดีตกรรมการผู้จัดการมามอบให้กับ พ.ต.ต.พงศ์เดช พรหมวิจิตร สว.ธุรการ มาสอบสวนที่ห้องของ พ.ต.ท.อำนาจ อันอาตม์งาม สวญ.สภ.อ.เมืองนครราชสีมา

        พล.ต.ต. ประจิตต์ แสงสุบิน รอง ผบช.ภ.2 กล่าวว่าสาเหตุที่โรงแรมถล่มเกิดจากรากฐานเสา 3 ต้นรับน้ำหนักของอาคารไม่ไหว และฐานรากสร้างผิดแบบ ซึ่งผู้กระทำผิดมีโทษถึงจำคุกตลอดชีวิต

วันที่ 2 ก.ย. 2536 ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมได้ตรวจพิสูจน์ฐานรากอีกครั้งพบว่า สาเหตุเกิดจากเสาตอม่อที่ติดกับคานคอดินไม่สามารถรับน้ำหนักของตัวอาคารที่ ก่อสร้างเพิ่มเติมจาก 3 ชั้น เป็น 6 ชั้นได้จึงทำให้ถล่ม


       พนักงาน สอบสวนได้รวบรวมพยานหลักฐานอย่างละเอียดและออกหมายจับเจ้าหน้าที่ ของรัฐ 6 คน คือ 1.นายพูนสุข จิตต์สุวรรณ ผอ.กองช่างเทศบาลเมืองนครราชสีมา 2.นายมนัส ชัยนิคม หัวหน้าฝ่ายแบบแปลน 3.นายยุทธนา อาจารยานนท์ หัวหน้าวิศวกรตรวจสอบแบบแปลน 4.นายอนุสรณ์ ซ้อนพิมาย ผู้ช่วยวิศวกร 5.นางยุพยง พรหมพันธ์ ปลัดเทศบาล 6.นายประชิต วงษ์มณี อดีตเทศมนตรีเทศบาลเมืองนครราชสีมา ในข้อหากระทำผิดฐานเป็นพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติโดยมิชอบทำให้ เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต หรือกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาม ได้รับบาดเจ็บสาหัสและได้รับบาดเจ็บ การออกหมายจับดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากนายดำรง รัตนพานิช ผวจ.นครราชสีมา

        เวลา 12.00 น. เจ้าหน้าที่ได้เชิญตัวนายณรงค์ จันทผาสุข อดีตผู้บริหารโรงแรมปี 2527 ที่เคยขออนุญาตต่อเติมอาคารมาสอบสวนเพิ่มเติม เพื่อขยายผลหาผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

        เวลา 14.00 น. นายประชิต วงษ์มณี อดีตเทศมนตรี เทศบาลเมืองนครราชสีมาเข้ามอบตัวกับพนักงานสอบสวน ซึ่งในชั้นการสอบสวนยังไม่ให้ประกันตัว

        พ.ต.ท.สังวรณ์ ภู่ไพจิตรกุล สวส.สภ.อ.เมืองนครราชสีมา ได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอฝากขังนายบำเพ็ญ พันธุ์รัตนะอิสระ วิศวกรและสถาปนิก เป็นครั้งที่ 2 ขณะเดียวกันนางนิตยา พันธุ์รัตนะอิสระ ภรรยาได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอประกันตัว ศาลอนุญาตให้ประกันตัว โดยใช้หลักทรัพย์เป็นโฉนดที่ราคาประมาณ 1.5 ล้านบาท

       วัน ที่ 3 ก.ย. 2536 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานเหรียญกาชาดสรรเสริญในฐานะผู้บำเพ็ญความดีแก่ น.พ.ชนนท์ ถนอมสิงห์ น.พ.สุรชัย ปัญญาพฤทธิพงศ์ น.พ.ไพรัตน์ สุขสโมสร และ พ.ญ.พวงเพ็ญ อ่ำบัว

         พล.ต.ท.วินิจ เจริญศิริ ผช.อ.ตร. ได้เรียกตัวนายบำเพ็ญ พันธุ์รัตนะอิสระ วิศวกรและสถาปนิกมาสอบปากคำเพิ่มเติมอีกครั้ง

        วัน ที่ 5 ก.ย. 2536 พ.ต.ท.อำนาจ อันอาตม์งาม สวญ.สภ.อ.เมืองนครราชสีมา ได้เรียกตัวนายณรงค์ นันทผาสุข อดีตกรรมการบริหารบริษัทรอยัลพลาซ่าโฮเต็ล มาสอบสวนเพิ่มเติมในฐานะพยานโดยนำแบบแปลนการก่อสร้างเพิ่มเติมในปี 2533 มาประกอบการสอบสวน

         วันที่ 6 ก.ย. 2536 นายประชิต วงษ์มณี อดีตเทศมนตรี เทศบาลเมืองนครราชสีมาได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานสอบสวนเพื่อขอประกันตัว โดยใช้หลักทรัพย์เป็นสมุดเงินฝากธนาคาร จำนวน 1 ล้านบาท พนักงานสองสวนอนุญาตให้ประกันตัว เนื่องจากคำนึงถึงด้านสิทธิเสรีภาพของประชาชนซึ่งระบุไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ

        ราย งานจากผช.ภ.3 แจ้งว่าขณะนี้พบหลักฐานเพิ่มเติมอีกเป็นจำนวนมากและพนักงานสอบสวนเตรียมที่ จะจับกุมผู้ต้องหาเพิ่มเติมอีกมีทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐและนักธุรกิจภาคเอกชน โดยทั้งหมดมีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างโรงแรม นอกจากนี้การดำเนินคดียังมุ่งประเด็นไปที่ผู้รับเหมาก่อสร้างด้วย

       วัน ที่ 7 ก.ย. 2536 นายพูนสุข จิตต์สุวรรณ ผอ.กองช่าง นายมนัส ชัยนิคม หน.ฝ่ายแบบแปลน นายยุทธนา อาจารยา

*****************************

ภาพความสยดสยองของเหตุการณ์โรงแรม รอยัล พลาซ่า ใจกลางเมืองโคราช ถล่มทับพนักงานโรงแรม และแขกที่เข้าพักจนเสียชีวิตนับร้อยคน เมื่อปีพุทธศักราช 2536 สร้างความสะเทือนใจแก่คนไทยตราบทุกวันนี้

    ความสูญเสียที่มิอาจประเมินค่าอันเกิดจากความ "ชุ่ย" เห็นแก่ตัวของคนบางคน คงจะเป็นอุทาหรณ์แก่คนรุ่นปัจจุบัน

    ปีพุทธศักราช 2536 ยุคก่อนเศรษฐกิจดิ่งเหวไม่กี่ปี จังหวัดนครราชสีมา ในฐานะประตูสู่ภาคอีสาน คลาคล่ำไปด้วยผู้คนที่หนีความวุ่นวายออกไปเสพสุขตามต่างจังหวัด โรงแรมต่าง ๆ ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด หนึ่งในนั้น "โรงแรม รอยัล พลาซ่า" หรือชื่อเดิม "โรงแรม เจ้าพระยาเมืองใหม่" ถือเป็นโรงแรมหรู 1 ใน 5 ของจังหวัด

    ทว่าภาพที่สวยหรูภายนอกกลับแฝงภัยเงียบที่ค่อย ๆ คืบคลาน จนกระทั่งกลืนชีวิตคนที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่นับร้อยคน ในเวลาต่อมา!?





    ลางหายนะของโรงแรมแห่งนี้เริ่มปรากฏชัดในปีพุทธศักราช 2533 เมื่อกลุ่มผู้บริหารลงความเห็นว่า ควรมีการต่อเติมอาคารจากเดิม 3 ชั้น เป็น 6 ชั้น เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจท่องเที่ยว จากนั้นโรงแรมแห่งนี้ก็มีการต่อเติม และขยายพื้นที่ของอาคารอย่างผิดหลักวิศวกรเรื่อยมา โดยไม่ใส่ใจถึงความปลอดภัยในชีวิตของพนักงาน และแขกที่เข้ามาพักในโรงแรมแม้แต่น้อย!

    สิ่งที่ทุกคนไม่เคยรู้มาก่อน คือเจ้าของโรงแรมผู้เห็นแก่ได้ ลักลอบต่อเติมอาคารอย่างไม่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะการตัดเสาขนาดใหญ่ตรงกลางห้องอาหารของโรงแรมทิ้ง หวังเพิ่มพื้นที่ใช้สอย และต้องการให้แขกสามารถเห็นนักร้องได้ชัดเจนขึ้น! และแล้วหายนะครั้งร้ายแรงก็อุบัติขึ้นเมื่อเวลาราว 10 โมงเช้า วันที่ 13 สิงหาคม พุทธศักราช2536 ตัวโรงแรมเกิดการทรุดตัวอย่างรุนแรง และถล่มลงมาทั้งอาคารในเวลาไล่เลี่ยกัน โดยตัวโรงแรมเริ่มทรุดตัวจากตอนกลางของอาคารก่อน จากนั้นปีกทั้งสองด้านข้างของอาคารก็พังซ้ำลงมาอีก การทรุดตัวอย่างรุนแรง และรวดเร็วก่อให้เกิดเสียงดังปานฟ้าถล่มดินทลาย ฝุ่นผงจากซากอาคารตลบคลุ้งทั่วบริเวณ





    กองซากปรักหักพังกลบฝังร่างมนุษย์กว่า 500 ชีวิต ทั้งพนักงานโรงแรม และแขกที่เข้าพัก มีเพียงส่วนน้อยที่อยู่ชั้นล่าง และไหวตัวทัน รอดพ้นเงื้อมมือมัจจุราชได้อย่างหวุดหวิด กระนั้นเมื่อมองไปยังซากปรักหักพัง ก็ไม่มีใครสามารถสะกดกลั้นความตื่นตระหนก ต่อประสบการณ์สยองที่เพิ่งประสบสด ๆ ร้อน ๆ ได้

    ซากปรักหักพังที่ทับถมอย่างแน่นหนา ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องระมัดระวังอย่างยิ่งยวด เพราะการเร่งรื้อซากอย่างไม่ระวังอาจหมายถึงการสูญเสียหลายชีวิตที่ยังมีลมหายใจรวยริน ระหว่างการค้นหาเจ้าหน้าที่ประกาศห้ามผู้ไม่มีส่วนเก ี่ยวข้องห้ามเข้ามาในบริเวณ เกรงว่าจะเกิดเหตุชุลมุน ฝ่ายทหารได้นำรถทหารช่างมาช่วยรื้อถอนซากอาคาร และระดมกำลังพลกว่า 200 นาย เพื่อบริจาคเลือดเป็นกรณีเร่งด่วน

    จากนั้น ศพแล้วศพเล่าก็ถูกลำเลียงออกมา บางศพอยู่ในสภาพสมบูรณ์ บางศพกู้ได้เฉพาะอวัยวะที่มีชิ้นส่วนกระจัดกระจายจำเค้าเดิมแทบไม่ได้ โชคยังเข้าข้างที่มีผู้รอดชีวิตหลงเหลืออยู่บ้าง ทำให้ผู้ป่วย ที่เข้ารักษาในพื้นที่แน่นขนัดจนแทบล้นโรงพยาบาล

    เจ้าหน้าที่ต่างทำงานอย่างหามรุ่งหามค่ำ เพื่อเร่งหาผู้ที่รอดชีวิต จนเวลาล่วงเลยไป 6 วัน จึงยกเลิกการค้นหา ผลการค้นหาพบผู้เสียชีวิต 137 ราย และบาดเจ็บกว่า 300 คน

    ตำรวจสรุปสาเหตุของหายนะครั้งนั้นว่า เกิดจากความบกพร่อง ของเจ้าของอาคารที่มีการต่อเติมอาคารผิดจากแบบเดิม ทำให้อาคารไม่สามารถ รองรับน้ำหนักได้ จึงได้แจ้งข้อหาแก่ 6 ผู้บริหารโรงแรม รวมทั้งวิศวกรผู้ออกแบบ ในข้อหากระทำการประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิต ผ่านมากว่า 10 ปี คดีในชั้นศาลจึงสิ้นสุดลง เมื่อศาลฎีกาตัดสินจำคุกนายบำเพ็ญ พันธุ์รัตนอิสระ วิศวกรผู้ออกแบบโรงแรม เป็นเวลา 20 ปี ส่วนผู้บริหารโรงแรมทั้ง 6 ศาลยกฟ้อง

    โดยวินิจฉัยว่า เจ้าของโรงแรมไม่มีความผิด เพราะไม่มีความรู้ด้านก่อสร้าง และทางโรงแรมได้ชดเชยเงินให้กับผู้เสียชีวิตรวม 5 ล้านบาท และเงินที่รับบริจาคอีก 5 แสนบาท เฉลี่ยแล้วผู้เสียชีวิตญาติได้รับเงินรายละ 80,000 บาท และผู้พิการได้รับรายละ 50,000 บาท

http://shockinside.com/forums/thread-204-1-1.html

เหตุเกิดเมื่อ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๓๖

หรือ วันนี้ในอดีตเมื่อ ๑๗ ปีก่อนนั่นเองครับ

ขอไว้อาลัยแด่ดวงวิญญาณของผู้เสียชีวิต และ ขอแสดงความเสียใจกับผู้ที่ได้รับความเสียหายจากครั้งนั้นทุกท่านครับ


 
 




http://redusala.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น