วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554


วิกฤตมหาอุทกภัยกลายเป็นการเมืองอันบ้าคลั่ง
บทความพิเศษโดย : นายฉลาด ยามา ทนายความ
วันที่ 30 ตุลาคม 2554


      ในพื้นที่ภาคกลางตอนบนหรือจะเรียกว่าภาคเหนือตอนล่างหรือจะเรียกว่าเขตติดต่อระหว่างภาคกลางบนหรือภาคเหนือตอนล่างจะเรียกว่าอย่างไรก็ถูกทั้งนั้น

       เขตพื้นที่ที่เรียกได้หลายชื่อนี้ เป็นพื้นที่ที่ผู้เขียนจะปฏิบัติภารกิจอยู่เป็นประจำ และยังล่วงเลยมาทางใต้ เช่น กรุงเทพรวมทั้งปริมณฑลในเขตส่วนตอนบนก็ได้ปฏิบัติภารกิจไปถึงจังหวัดเชียงใหม่  ผู้เขียนในฐานะมีอาชีพเป็นทนายความ ซึ่งเป็นอาชีพเขาสอนให้เป็นคนสงสัยไปทุกเรื่อง ไม่ว่าเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ เพราะทำตนเป็นคนสงสัยนี้เป็นประโยชน์ต่ออาชีพที่ปฏิบัติอยู่เป็นประจำอย่างยิ่ง

         ด้วยเหตุที่เป็นคนที่จะต้องสงสัยไปทุกเรื่องเช่นนี้ ครั้นมีปัญหาเกิดขึ้นคือ ปัญหาอุทกภัยที่ร้ายแรงในรอบหลายทศวรรษ ที่สร้างความเสียหายแก่ประชาชนจำนวนมาก คำนวณค่าเสียหายในวันนี้ยังไม่สามารถที่จะคำนวณได้ จึงทำให้ผู้เขียนจำเป็นต้องค้นหาเหตุ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหานี้ว่า มูลเหตุปัจจัยที่แท้จริงมันเกิดมาจากอะไร ความที่สงสัยดังกล่าวแล้ว ผู้เขียนได้เดินทางไปยังภาคเหนือในจังหวัดต่างๆหลายจังหวัด แต่ละจังหวัดที่ไปก็พยายามหาข้อมูลไปทุกที่ทุกแห่ง ที่จะทำให้ทราบข้อมูลที่แท้จริงได้ สรุปข้อมูลที่สอบถามในหลายจังหวัดนั้นตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ไปถึงจังหวัดตาก ข้อมูลที่ได้รับสรุปเป็นข้อมูลเดียวกันคือ เขื่อนภูมิพลระบายน้ำออกมามากกว่าปกติ เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถอธิบายรายละเอียดได้

          ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องหารายละเอียดการระบายน้ำของเขื่อนภูมิพลให้ได้ จำเป็นต้องหาต้องหาตัวช่วย การหาตัวช่วยในยุคปัจจุบันนี้ไม่มีใครจะตอบได้ดีกว่า Google จึงได้อาศัย Google ช่วยหารายละเอียดในเรื่องนี้ จึงได้รับคำตอบและสามารถอธิบายรายละเอียดได้ ซึ่งผู้เขียนจะทำกราฟระบายน้ำ จะเห็นว่าเขื่อนได้กักเก็บน้ำจนเต็มและระบายน้ำเปรี้ยงตอนเดือนตุลาคม และเหตุนี้แหละครับ ทำให้น้ำก้อนมหึมาไหลแรงมากจนคันกั้นน้ำ ประตูน้ำเอาไม่ไหว ท่วมกันทั้งเมือง ลึก 2 – 3 เมตร นิคมอุตสาหกรรมเสียหายนับเป็นแสนล้าน

นำภาพเขื่อนภูมิพลมาให้ดู เพื่อให้เห็นได้ชัดว่าปล่อยให้น้ำเต็มเขื่อนแบบนี้เพื่ออะไร




ตามภาพปริมาณน้ำฝนมากกว่าปี 2009 – 2010 อย่าเพิ่งสรุปว่ามันมาจากปริมาณน้ำฝน มาดูข้อมูลต่อไปครับ
ปล.ปริมาณน้ำฝนจากกรมอุตุนิยมวิทยา





ปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อน ถ้าเทียบง่ายๆก็คือปริมาณฝนก็ได้ครับ ถ้าน้ำเข้าเยอะส่วนใหญ่ก็มาจากฝนครับ ลองเทียบจากปริมาณน้ำฝน ก็ใกล้เคียงครับ แนวโน้มเดียวกัน


ตัวแปรสำคัญที่เราจะใช้วิเคราะห์ ปริมาณการระบายน้ำจากเขื่อน ภูมิพลครับ ผมเขียนใส่ตารางให้ดูกันเป็นตัวเลขง่ายๆ ตามวันที่สำคัญด้านล่างครับ อีกครั้ง หน่วยเป็น ล้าน ลบ.ม.


ช่วงที่เขื่อน ภูมิพล ปล่อยมาสูงสุดคือ วันที่ 5 - 11 ตุลาคมครับ ปล่อยมา 100 ล้าน ลบ.ม. เป็นเวลา 7 วัน หรือ 1 สัปดาห์ ดูแค่นี้ยังเฉยๆใช่ไหมครับ ใจเย็นๆ เพราะยังไม่รู้ว่า ไอ 100 นี่มันมากแค่ไหน แม่เจ้า ไม่อยากจะเชื่อครับ มาลุยต่อ


เช่นกันครับ ตัวแปรสำคัญ ปริมาณการกักเก็บน้ำปีนี้ เทียบกับปีก่อนๆครับ
ปล. ข้อมูลน้ำในเขื่อนภูมิพล จาก เวป thaiwater
เอาละทีนี้ข้อมูลได้ครบแล้ว มาดูวิเคราะห์กันครับว่าสาเหตุน้ำท่วมรุนแรงนั้นเกิดจาก

           1. ปริมาณน้ำฝน แน่นอนจะปฎิเสธไม่ได้เลย เพราะปริมาณน้ำฝนปีนี้ สูงกว่าปีก่อนๆอยู่ ดังที่เห็น แต่มันมากจนควรจะทำให้ น้ำท่วมรุนแรงแบบที่เป็นอยู่รึเปล่า แรงถึงขนาดที่คันกั้นน้ำ ประตูน้ำพังทลายกันเยอะแยะมากมาย ลองดูต่อครับ

           2. ทีนี้ เรารู้แล้วว่าปริมาณน้ำฝนปีนี้ สูงกว่าปีก่อน กรมชลประทานปฎิเสธไม่ได้นะครับ ว่าไม่รู้ ข้อมูลฝน ถามกรมอุตุก็ได้ครับ น่าจะพอทำนายได้ แต่ลองมาดู กราฟปริมาณกักเก็บน้ำ ดูตามกราฟนะครับ จะเห็นว่า ปีนี้ 2011 กักเก็บน้ำไว้เยอะกว่าปีก่อนๆ ทั้งที่ปริมาณน้ำฝนมากกว่า เอาล่ะสิครับ เดี๋ยวจะมาว่ากันนะครับ ว่าใครเกี่ยวข้องบ้างเรื่องนี้

           3. ลองดูปริมาณ กราฟน้ำไหลเข้าเขื่อนตามกราฟจะเห็นว่า ช่วงแรกๆ ไม่ต่างกันมาก จะมาต่างเอาตอนช่วงเดือน กรกฏาคม ที่ปริมาณน้ำเข้าเขื่อนนั้นเยอะกว่าปีก่อนอย่าง เห็นชัด นั่นแปลว่าเขื่อนภูมิพล รับน้ำมากกว่าปีก่อน ในช่วงเดือน กรกฏาคม เป็นต้นไป เทียบกับข้อ 2 ปริมาณกักน้ำก็เพิ่มขึ้นตาม ปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อน ดูเผินๆ ก็ปกติครับ กราฟแปรผันตรงกัน แต่ลองมาดูข้อต่อไปครับ

             4. มาดู ปริมาณ กราฟระบายน้ำออก ตามกราฟจะเห็นว่า สังเกตดีๆนะครับ ทั้งที่ปริมาณน้ำฝนปีนี้มากกว่าปีก่อนๆ แต่ปริมาณการระบายน้ำกลับน้อยกว่าปีก่อนๆ อย่างเห็นได้ชัด บางคนอาจแก้ตัวว่าต้องกักเก็บน้ำ ไว้เพราะกลัวน้ำแล้ง ดังที่เคยเกิดเมื่อปีที่แล้ว แต่ลองดูข้อ 3 น้ำไหลเข้าเขื่อนมากในช่วง กรกฏาคม แต่กลับระบายน้ำออกมากจริงๆ ในเดือน กันยายนแล้ว และดันไปกักเก็บน้ำมากขึ้นๆ จนเกือบเต็มความจุตอนเดือน ตุลาคม ทำให้ต้องระบายน้ำออกตอนเดือนตุลาคม เป็นจำนวนที่น่าตกใจมาก 

             ทีนี้ ลองมาดูว่าใครจะต้องตอบคำถามนี้บ้าง เริ่มจาก ช่วงต้นปี รัฐบาล อภิสิทธิ์ และ กรมชลประทาน ของ นาย ธีระ วงศ์สมุทร รมว. เกษตรและสหกรณ์ ของคุณ เติ้ง แห่งพรรคปลาไหล ต้องตอบคำถามก่อนว่า ทำไมถึงกักเก็บน้ำไว้เยอะกว่าปีก่อนพอสมควร ทั้งที่ปริมาณน้ำฝนมีแนวโน้มมากขึ้นกว่าปีก่อนๆ

             จากนั้น ที่สำคัญ ช่วงเดือน ก.ค. ที่น้ำไหลเข้าเขื่อนเยอะมาก จนไปถึงเดือนตุลาคม รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ และคนเดิม นาย ธีระ วงสมุทร รมว. เกษตรและสหกรณ์ ของคุณ เติ้ง ที่มีข่าวว่าไม่ปล่อยน้ำไปท่วมสุพรรณนั่นแหละครับ ต้องตอบคำถามว่า เมื่อน้ำมาเยอะมากตั้งแต่ช่วง ก.ค. ไปแล้ว ทำไมต้องเก็บกักน้ำมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกือบเต็มความจุของเขื่อน แล้วพอเต็มความจุก็ปล่อยน้ำเปรี้ยงออกมาทีเดียว ตอนเดือนตุลาคม แทนที่รู้ว่าน้ำฝนมาก จะปล่อยระบายน้ำออกมา ในปริมาณเฉลี่ย ซึ่งจะทำให้ น้ำไม่ไหลบ่าแรงและเข้าท่วมหนักขนาดนี้ สิ่งนี้คือสิ่งที่ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ รมต.เกษตร และ กรมชลประทาน และ นายปลอดประสพ จะต้องตอบคำถามให้ได้ เพราะมีข่าวออกมาหนาหูเหลือเกินว่า

1. มีอำนาจลึกลับบีบบังคับ(อำมาตย์)รัฐมนตรีบางคน ไปกดดัน บังคับ ผอ. เขื่อนต่างๆ ให้กักเก็บน้ำเอาไว้ ส่วนหนึ่งเพื่อให้ ชาวนามีข้าว ไปสนองนโยบายจำนำ

2. มี นักการเมืองบางคน ไปกดดัน ให้กักน้ำไว้ไม่ปล่อยน้ำ เข้าบางจังหวัด เพื่อให้จังหวัดตัวเอง ทำนาได้ น้ำไม่ท่วม จนพวกเดียวกันเองยังออกมาโวย

3. รัฐมนตรีบางคน ออกมายอมรับว่า ประเมินสถานการณ์น้ำผิด นั่นหมายถึงเรื่องกักเก็บน้ำที่เขื่อนหรือไม่

ถ้าสิ่งที่ผมวิเคราะห์นั้นเป็นจริงจะต้องมีคนรับผิดชอบครับ เพราะความเสียหายมันเกินกว่า ที่ใครคนหนึ่งจะมาบอกว่า ประเมินสถานการณ์ผิดพลาด เพราะมันเสียหายเป็นแสนล้าน 300 กว่าชีวิต ที่ต้องสูญเสีย ไม่ใช่เรื่องที่จะมาลอยตัว แล้วบอกว่าประเมินสถานการณ์ผิดครับ แต่มันเป็นวิกฤตมหาอุทกภัยที่กลายเป็นการกระทำจากการเมืองอันบ้าคลั่งนั่นเอง


http://redusala.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น