วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554


นักการเมืองคนไหนทำน้ำท่วม กฟผ.ขว้างงูไม่พ้นคอ
แจงเขื่อนภูมิพล-สิริกิติ์ไม่เกี่ยวกลายเป็นหลักฐานมัด


             คนมักวิจารณ์กันว่าใครต้องรับผิดชอบกับการปล่อยน้ำจากเขื่อนมาท่วมบ้านเมือง รัฐบาลเก่าหรือรัฐบาลใหม่? เพื่อโยนผิดให้กัน แต่ทั้ง 2 รัฐบาลต่างก็มีนายธีระ วงศ์สมุทร รมว. เกษตรฯคนเดียวกัน ซึ่งน่ากังขาว่าอาจมีวาระซ่อนเร้นเรื่องหาผลประโยชน์เข้าพรรคจากภัยพิบัติน้ำท่วม และยังอาจหวังผลทางการเมืองด้วย

            อย่าลืมว่าปีกลายก็ท่วม จนกังขากันว่าวัตถุประสงค์ของการก่ออุทกภัยเพื่อจะประกาศเขตภัยพิบัติ ซึ่งมีผลต่อการปรับระเบียบการเบิกจ่ายงบกลาง และงบเงินสะสม มีการหักเปอร์เซ็นต์เงินช่วยเหลือ เพื่อระดมทุนก่อนการหาเสียงเลือกตั้งใหญ่หรือไม่?

           ส่วนคำชี้แจงจากกฟผ.ที่บอกว่าเขื่อนภูมิพลกับเขื่อนสิริกิติ์ไม่เกี่ยวข้องนั้น ผู้รู้ย่อมจะเห็นชัดเจนว่า ได้กลายเป็นหลักฐานมัดคอซะเอง นี่เป็นการ "จงใจ" ให้เกิดอุทกภัยอย่างแน่นอน ตรงไหน เดี๋ยวชี้ให้ดูชัดๆ..

โดย วิศวกรเจอน้ำท่วมซ้ำซ้อน
7 พฤศจิกายน 2554

          ข้อสังเกตจากคำชี้แจง กฟผ. เกี่ยวกับการบริหารจัดการ เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ในสถานการณ์วิกฤตน้ำท่วม : บทเรียนจากอุทกภัยปี ๕๓ มาถึงปี ๕๔

หลังจากมีเสียงวิจารณ์หนักว่าการปล่อยน้ำจากเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ เป็นต้นเหตุซ้ำเติมให้น้ำท่วมใหญ่ในปีนี้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ไำด้จัดทำเอกสารเรื่อง10 คำถาม – คำตอบ เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ในสถานการณ์วิกฤตน้ำท่วม ออกมาชี้แจง กล่าวโดยสรุปก็คือ ปฏิเสธที่จะเป็นผู้รับผิดชอบต่อข้อกล่าวหาโดยสิ้นเชิง



ผู้เขียนเองจบวิศวกรรมศาสตร์ จากจุฬาฯ ศึกษามาทางเรื่องนี้โดยตรง จึงอยากให้ข้อสังเกตเป็นข้อๆดังนี้

1. ถาม การบริหารจัดการน้ำในเขื่อน กฟผ. และพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ทำอย่างไร?

    กฟผ.ตอบ การบริหารจัดการน้ำในเขื่อน กฟผ. ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา การบริหารจัดการน้ำช่วงฤดูน้ำหลากอยู่ในความรับผิดชอบของคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ (กรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร กรมทรัพยากรน้ำ กรมอุทกศาสตร์ สำนักการระบายน้ำ กทม. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และ กฟผ.) ร่วมกันติดตาม-วิเคราะห์สถานการณ์น้ำเพื่อวางแผนการระบายน้ำให้มีความเหมาะสม
- มีแผนการพร่องน้ำในอ่างฯ ในช่วงต้นฤดูฝนเพื่อรองรับน้ำที่คาดว่าจะมีมาตลอดฤดูฝน โดยประสานและวางแผนการพร่องน้ำร่วมกับกรมชลประทาน ตามข้อมูลคาดการณ์สภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา

- ควบคุมระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำด้วยเส้นระดับน้ำควบคุม (Operating Rule Curve)

- ติดตามข้อมูลฝนและระดับน้ำโดยระบบโทรมาตร เพื่อให้มีข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็ว

- มีศูนย์ปฎิบัติการติดตามสถานการณ์น้ำ (War Room) เพื่อประชุมติดตาม แลกเปลี่ยนข้อมูลและผลการวิเคราะห์ ประกอบการตัดสินใจ

- ประสานกับกรมชลประทานทุกสัปดาห์ หรือทุกวัน เพื่อหารือและวางแผนการระบายน้ำที่เหมาะสม

การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนของ กฟผ.

             เขื่อนของ กฟผ.เป็นเขื่อนเอนกประสงค์ มีหน้าที่กักเก็บน้ำไว้เพื่อใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรกรรม การอุปโภคบริโภค การอุตสาหกรรมและการบรรเทาอุทกภัยเป็นหลัก ส่วนการผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นเพียงผลพลอยได้จากการปล่อยน้ำผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้าตามปริมาณ เพื่อการใช้ประโยชน์ที่กล่าวข้างต้น
            ทั้งนี้ การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนของ กฟผ. ตามหลักการจะพยายามควบคุมให้ระดับน้ำ อยู่ในกรอบของ “เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำ” (Rule Curve) ซึ่งมีอยู่ 2 เกณฑ์ คือ “เกณฑ์ควบคุมน้ำตัวล่าง” (Lower Rule Curve) และ “เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวบน” (Upper Rule Curve)

            • Lower Rule Curve จะทำหน้าที่บอกให้ทราบว่า หากเก็บน้ำไว้ต่ำกว่าระดับนี้ จะมีความเสี่ยงเรื่องการขาดแคลนน้ำในปีหน้า

            • ส่วน Upper Rule Curve จะทำหน้าที่บอกให้ทราบว่า หากเก็บน้ำไว้สูงกว่าระดับนี้จะมีความเสี่ยงเรื่อง น้ำล้นเขื่อนจนอาจต้องเปิดประตูระบายน้ำล้น (Spillway)

            ในสภาวการณ์ปกติ เขื่อนจะพยายามควบคุมไม่ให้ระดับน้ำต่ำกว่า Lower Rule Curve ในช่วงฤดูแล้ง และช่วงฤดูฝน เขื่อนก็จะพยายามระบายน้ำเพื่อไม่ให้ระดับน้ำสูงเกิน Upper Rule Curve ดังนั้น Rule Curve จึงเปรียบเสมือนเกณฑ์ที่คอยควบคุมระดับน้ำในเขื่อนให้มีปริมาณน้ำเก็บกักที่เหมาะสมเทียบกับช่วงเวลาของฤดูกาล เพื่อให้มีน้ำไว้ใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในภาพรวมตลอดทั้งปี

            อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนให้อยู่ภายในกรอบของ Rule Curve ดังกล่าวนั้น ในทางปฏิบัติ อาจมีข้อจำกัดที่ทำให้ไม่สามารถบริหารจัดการได้ตามแผนงานปกติ อาทิ การคาดการณ์สภาวะอากาศ ปริมาณน้ำฝน/น้ำท่าในลุ่มน้ำ ปรากฎการณ์เอลนินโญ่ หรือลานินญ่า การมีมรสุมที่ทำให้เกิดฝนตกหนักมากเป็นประวัติการณ์ หรือข้อจำกัดที่พื้นที่ท้ายน้ำของเขื่อนอยู่ระหว่างการเก็บเกี่ยวพืชผล หรือกำลังเกิดปัญหาอุทกภัย เป็นต้น เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนต้องปรับเปลี่ยนไปจากแนวปฏิบัติ

ข้อสังเกตของผู้เขียน -ตรงนี้กฟผ.พยายามจะ establish false authority ให้ผู้อ่านยึดมั่นถือมั่นเอา lower rule curve เป็นหลัก

           แต่ถ้าเป็นนักวิชาการ ดูแล้วจะเห็นว่ าไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริง curve นี้ถูกใช้เป็นจำเลยในการคำนวณทุกปี มีลักษณะความห่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปีคือ 20 เมตร (linear)
เป็น curve ที่ถูกเขียนขึ้นตั้งแต่ตอนออกแบบเขื่อน กว่าครึ่งศตวรรษมาแล้ว

          การทำ control curve ที่ถูกต้อง ต้องมีการคำนวณถึงความน่าจะเป็น ประมาณการณ์พายุของปีนั้น ซึ่งจะมีรายงานของกรมอุตุฯ ไทย ฮ่องกง (GCACIC) ญีปุ่น (JMA) และสหรัฐ (JTWC) ประมาณการณ์ ไว้อย่างชัดเจน ช่วงประมาณเดือน เมษายน ตัวอย่างเช่น ปีนี้http://en.wikipedia.org/wiki/2011_Pacific_typhoon_season#Seasonal_forecasts  และควรอยู่ในรูปแบบ non linear เช่นในช่วงต้นปี ซึ่งยังไม่แน่นอน จะต้องขยายกว้างกว่าช่วงปลายปี

            สรุปว่าทำ control curve ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ การดึงเอาสิ่งที่ "ผิด" มาอ้างว่าเป็น "เกณฑ์" ก็จะทำให้หลักคิด และผลลัพธ์ทุกอย่างผิดตามไปหมด ลองอ่านข้อ 2 และข้อ 2 ที่จะได้อ่ารต่อไปมาประกอบจะยิ่งเห็นภาพชัดเจน

2. ถาม ทำไมเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์จึงไม่ระบายน้ำออกมาก่อนในช่วงต้นฤดูฝน

    กฟผ.ตอบ ช่วงต้นฤดูฝน ณ วันที่ 1 พ.ค. เขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำเก็บกัก 6,076 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 45.1 ของความจุ เขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำเก็บกัก 4,784 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 50.3 ซึ่งเมื่อเทียบกับระดับน้ำควบคุม (Rule Curve) ที่ใช้เป็นกรอบในการปฏิบัติการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนแล้วถือว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก

       จากข้อมูลข้างต้นทั้งสอง เขื่อนมีปริมาณน้ำเก็บกักค่อนข้างน้อยในช่วงต้นฤดูฝน ซึ่งตามแนวปฏิบัติของการบริหารจัดการน้ำตามสถิติข้อมูลที่ใช้อ้างอิง จะต้องเก็บกักน้ำไว้ เพื่อให้สามารถมีน้ำไว้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในภาพรวมตลอดทั้งปี ดังนั้นการระบายน้ำออกจากเขื่อนในช่วงนี้ จึงทำผ่านการผลิตไฟฟ้า ตามปริมาณน้ำที่ต้องการใช้เพื่อการเกษตรกรรมและสาธารณูปโภคเป็นหลัก

        แต่ต่อมาปีนี้ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากพายุหลายลูก ได้แก่ ไหหม่า (ปลาย มิ.ย. ถึงต้น ก.ค.) และนกเตน (ปลาย ก.ค. ถึงต้น ส.ค.) จึงมีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนมากกว่าเกณฑ์เฉลี่ยปกติมาก ทั้งนี้ มากที่สุดตั้งแต่สร้างเขื่อนภูมิพลมา (กว่า 40 ปี) และเกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมีนาคม

        ปริมาณน้ำฝนที่ตกในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย 30 ปี ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนตั้งแต่ช่วงต้นเดือนสิงหาคมเป็นต้นมา เป็นเหตุให้ไม่สามารถระบายน้ำออกจากเขื่อนได้ เนื่องจากจะไปซ้ำเติมปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน ในช่วงเดือน ส.ค. – ก.ย.

        และต่อมาในช่วงปลายเดือน ก.ย. มีฝนตกหนักในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางตอนบน จากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “ไห่ถาง” และ “เนสาด” ทำให้ปัญหาน้ำท่วมทวีความรุนแรงมากขึ้น

ข้อสังเกตของผู้เขียน ข้อนี้ กฟผ. อธิบายว่าวันที่ ๑ พค. ๕๔ ระดับน้ำ ๖ กิ๊ก ซึ่งต่ำกว่า rule curve ถือว่าอยู่ใน "เกณฑ์ที่ต่ำมาก"


         ขอให้พิจารณากราฟของ กฟผ.นะครับ ปี 2010 (๒๕๕๓) เส้นสีน้ำเงินอยู่ที่ระดับ ๕ กิ๊กเองครับ  นอกจากจะไม่กลัวว่าต่ำมากยังแถมลดระดับลงไปเหลือ ๔ กิ๊ก ในเดือนสิงหาคม ๕๓ ซึ่งถ้ายังยืนยันว่าระดับ ๔ กิ๊ก เดือนสิงหาคม "ต่ำมาก" อยู่อีก ก็ต้องขอให้อธิบายว่าที่ระดับ ๔ กิ๊ก ในเดือนสิงหาคม ๕๓ ยังไม่สามารถป้องกันน้ำท่วมปี ๕๓ ได้ คุณยังจะเรียกว่า "ต่ำมาก" อีกหรือ

3. ถาม ทำไมเขื่อนต้องระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำล้น (Spillway) เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการผลิตกระแสไฟฟ้า

   กฟผ.ตอบ เขื่อนสิริกิติ์มีการระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำล้น ระหว่างวันที่ 25 ส.ค. – 11 ก.ย. 54  เขื่อนภูมิพลมีการระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำล้น ระหว่างวันที่ 5 – 13 ต.ค. 54 และ 18 – 20 ต.ค. 54

       การที่ทั้ง 2 เขื่อนจำเป็นต้องระบายน้ำเพิ่มขึ้นผ่านประตูระบายน้ำล้น นอกเหนือจากการระบายน้ำผ่านการผลิตกระแสไฟฟ้า เนื่องจากปริมาณน้ำใกล้เต็มความจุของอ่างเก็บน้ำ และจากการติดตามข้อมูลปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างยังมีแนวโน้มที่มีปริมาณสูงอยู่ จึงจำเป็นต้องระบายน้ำออกเพิ่มมากขึ้น  เพื่อควบคุมไม่ให้ระดับเก็บกักน้ำเกินความจุของอ่าง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของเขื่อนและอาคารประกอบ ทั้งนี้ในระหว่างการระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำล้นก็ได้มีการเฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำที่ไหลเข้าอ่างอย่างใกล้ชิด เมื่อพบว่ามีแนวโน้มลดลงก็ลดปริมาณการระบายน้ำ จนปัจจุบันไม่มีการระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำล้นจากเขื่อนทั้งสอง

ข้อสังเกตของผู้เขียน-ถูกต้องตาม กฟผ.ชี้แจงครับ

4. ถาม เขื่อนต้องการเก็บน้ำไว้มากเพื่อประโยชน์จากการผลิตกระแสไฟฟ้า

    กฟผ.ตอบ การผลิตกระแสไฟฟ้าจากเขื่อนไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของการบริหารจัดการน้ำในเขื่อน  แต่เป็นผลพลอยได้จากการระบายน้ำตามความต้องการใช้น้ำเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ อาทิ เช่น การอุปโภค บริโภค การเกษตรกรรม รวมทั้งการบรรเทาอุทกภัย ซึ่งการบริหารจัดการ เรื่องปริมาณน้ำที่จะต้องระบายออก ในช่วงเวลาใดๆ ในรอบปี อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของคณะกรรมการฯ ที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะกรรมการ โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อพิจารณาตัดสินใจร่วมกันอย่างใกล้ชิด

            นอกจากนี้การเก็บกักน้ำไว้เพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าจะไม่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ในเรื่องรายได้ที่เพิ่มขึ้นต่อ กฟผ. แต่ประการใด ทั้งนี้เนื่องจากในระบบโครงสร้าง อัตราค่าไฟฟ้าปัจจุบัน กฟผ.ได้รับรายได้กลับคืนในรูปแบบ “ผลตอบแทนเงินลงทุน” (ROIC) จึงไม่เกิดแรงจูงใจให้ กฟผ.จะต้องเก็บกักน้ำไว้ในปริมาณมากๆ แต่อย่างใด ดังนั้นปัจจุบันการระบายน้ำของเขื่อนเป็นไปตามความจำเป็นทางด้านเกษตรกรรม การบรรเทาอุทกภัย และสาธารณูปโภคเป็นหลัก

ข้อสังเกตของผู้เขียน-ถูกต้องตาม กฟผ.ชี้แจงครับ

5. ถาม ปัจจุบันเขื่อนลดปริมาณการปล่อยน้ำลงแล้ว แต่ทำไมน้ำยังท่วมอยู่

    กฟผ.ตอบ ปัจจุบัน เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์มีการระบายน้ำออกรวมกันวันละ 70 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นปริมาณน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ประมาณ 800 ลบ.ม.ต่อวินาทีหรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของมวลน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ราว 4,000 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งน้ำที่ผ่านจังหวัดนครสวรรค์มาจากแม่น้ำหลัก 4 สาย คือ ปิง วัง ยม และน่าน
            ขณะที่มีเขื่อนขนาดใหญ่กั้นอยู่เพียง 2 สาย คือ แม่น้ำปิงและน่าน ปริมาณน้ำส่วนที่เหลือจึงมาจากแม่น้ำยมและวัง รวมทั้งน้ำที่ค้างอยู่ตามทุ่งไหลลงมา ซึ่งมีปริมาณรวมถึงร้อยละ 80 ของน้ำที่ผ่าน จ.นครสวรรค์แล้วไหลสู่กรุงเทพฯและปริมณฑลไปรวมกับมวลน้ำที่ยังค้างอยู่ตามไร่นาจากภาวะ น้ำท่วมพื้นที่ภาคกลาง ตั้งแต่ช่วงเดือน ส.ค. – ก.ย. ทำให้มวลน้ำที่กำลังมุ่งสู่กรุงเทพฯ ยังคงมีปริมาณมาก

ข้อสังเกตของผู้เขียน- ข้อที่น่าติดใจสงสัยของคำชี้แจงจาก กฟผ. อยู่ตรงที่

        ๑. ใช้อัตราปล่อยน้ำของวันที่ ๒๙ ตค. ซึ่งน้อยลงมากแล้ว และ 
        ๒. เทียบสัดส่วนของปริมาณน้ำเขื่อนต่อปริมาณน้ำทั้งหมด ที่ถูกต้องคำนวณร้อยละแบบ marginal ครับ เพราะตามธรรมชาติการไหลของน้ำฝน น้ำทุ่ง ประมาณ ๓๐๐๐ ก็ใกล้ระดับตลิ่งอยู่แล้ว ส่วนที่เพิ่มอีกมันก็คือส่วนที่จะทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นจากตลิ่ง ไหลเข้าสู่บ้านเมืองของเรานั่นเองครับ  น้ำ ๒ เขื่อนที่ปล่อยออกมา ณ วันที่ ๒๙ ตค. ๕๔ จำนวน ๕๓ ล้าน ในจำนวนนี้ผู้เขียนประมาณว่า เขื่อนภูมิพลน่าจะประมาณ ๓๐ ล้าน นั่นหมายความว่า ถ้าเขื่อนภูมิพลปล่อยน้ำ ๓๐ ล้าน และเขื่อนอื่นๆเป็นไปตามสัดส่วนนี้ จะทำให้เพิ่มการไหลประมาณ ๖๑๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

         ดังนั้นถ้าการไหลของน้ำปรกติประมาณ ๓๐๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งรักษาระดับน้ำได้ที่ริมตลิ่ง แต่ถ้าเขื่อนภูมิพลเพิ่มการระบายน้ำเป็น ๑๐๐ ล้านต่อวัน ดังที่กระทำในช่วงที่เกิดอุทกภัย มันก็จะเพิ่มการไหลอีก ๑๘๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
6. ถาม เขื่อนเก็บน้ำไว้ตั้งแต่ต้นมากเกินไปหรือไม่
    กฟผ.ตอบ ในช่วงต้นฤดูฝน 2554 ระดับน้ำในเขื่อนภูมิพลยังต่ำกว่าเกณฑ์กักเก็บปกติในปี 2552 และ 2553 แต่เนื่องจากปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำทั้งของเขื่อนภูมิพลและสิริกิติ์ ในช่วงฤดูฝนปี 2554 มีค่ามากกว่าค่าเฉลี่ยถึง 2 เท่า

           ซึ่งจากสถิติน้ำของเขื่อนภูมิพล ตั้งแต่ก่อสร้างและเริ่มเก็บกักน้ำในปี 2507 มีน้ำไหลเข้าเฉลี่ย 5,536 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี แต่ตั้งแต่ต้นปี 2554 ถึงวันที่ 24 ตุลาคม ก็มีน้ำไหลเข้า 11,200 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือมากกว่าเกณฑ์เฉลี่ย 2 เท่าตัว

           ประกอบกับ ปีนี้เป็นปีที่น้ำมามากและมาเร็วตั้งแต่ต้นฤดูฝน และพื้นที่ท้ายเขื่อนประสบอุทกภัยทำให้ไม่สามารถระบายน้ำได้มากนัก จากพายุ ไห่ถัง เนสาด และนาลแก เข้ามาที่ภาคเหนือของประเทศไทยเมื่อต้นเดือนตุลาคม แม้ว่าทั้ง 2 เขื่อนจะมีการระบายน้ำเพิ่มจากแผนการระบายน้ำเดิมแล้วก็ตาม

           อย่างไรก็ตาม คงต้องยอมรับความจริงว่า เราไม่สามารถคาดการณ์สภาพดินฟ้าอากาศล่วงหน้าได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ บางปีก็เป็นไปตามคาดการณ์ บางปีก็ไม่เป็นไปตามคาดการณ์ จึงต้องอาศัยการพยากรณ์และการเก็บสถิติน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำย้อนหลังเป็นเวลาหลายปี มาประมวลจัดทำเป็นเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำ(Rule Curve) ในแต่ละเดือน สัปดาห์ และวัน นอกจากนี้ จะต้องมีการติดตามและปรับแผนการระบายน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริง แบบวันต่อวัน เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาหากเกิดอุทกภัยหรือภัยแล้ง

          ข้อสังเกตของผู้เขียน-กฟผ. ชี้แจงว่าระดับน้ำ ๖ กิ๊กในเดือนพฤษภาคม ๕๔ ถือว่าเป็นเกณฑ์ "ต่ำมาก" แต่จากกราฟปี ๕๓ เส้นสีน้ำเงิน เดือนพฤษภาคมระดับน้ำอยู่ที่ ๕ กิ๊ก และลดระดับลงไปถึง ๔ กิ๊กในเดือนสิงหาคม

           ที่ระดับนี้ยังก่อให้เกิดอุทกภัย ๑๒ จังหวัดภาคกลางในปี ๕๓ เพราะฉะนั้นเกณฑ์ "ต่ำมาก" ของ กฟผ. ที่ระดับ ๖ กิ๊กในเดือนพฤษภาคม ๕๔ นั้นเป็นเกณฑ์ที่ "จงใจ" ให้เกิดอุทกภัยอย่างแน่นอน

ข้อเท็จจริงก็คือ จากเดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายนของทุกปี ประเทศไทยเริ่มเข้าหน้าฝน ปริมาณน้ำมีแต่จะเพิ่มขึ้น ไม่มีลดลงอย่างแน่นอน

7. ถาม เขื่อนภูมิพลช่วยบรรเทาภาวะน้ำท่วมอย่างไร

    กฟผ.ตอบ แม้จะมีน้ำมาก เขื่อนภูมิพลก็ยังสามารถบรรเทาภาวะน้ำท่วมได้ จากข้อมูลการระบายน้ำตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม - 13 ตุลาคม 2554 เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างฯ ทั้งสิ้น 10,281 ล้าน ลบ.ม. ระบายน้ำในช่วง 5 เดือนครึ่งรวมกัน 2,861 ล้าน ลบ.ม. เก็บน้ำไว้ถึงกว่า 7 พันล้าน ลบ.ม. ในขณะที่เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ รวม 9,760 ล้าน ลบ.ม. ระบายน้ำในช่วงเดียวกัน 5,000 ล้าน ลบ.ม. เก็บน้ำไว้เกือบ 5 พันล้าน ลบ.ม.

            จะเห็นว่าตลอดช่วงฤดูฝนเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ได้เก็บน้ำไว้กว่า 12,000 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นปริมาณน้ำราวครึ่งหนึ่งของมวลน้ำที่ท่วมภาคเหนือตอนบนและภาคกลาง ที่คาดว่าจะมวลน้ำท่วมมากถึง 20,000 ล้าน ลบ.ม  แม้ในช่วงระหว่างวันที่ 1 – 24 ตุลาคม 2554 ที่เขื่อนภูมิพลมีน้ำเกือบเต็มความจุอ่าง ก็ได้ระบายน้ำผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและประตูระบายน้ำฉุกเฉินรวมราว 1,600 ล้านลูกบาศก์เมตร น้อยกว่าปริมาณน้ำไหลเข้าที่มีมากถึง 2,500 ล้านลูกบาศก์เมตร

ข้อสังเกตของผู้เขียน-ถูกต้องตาม กฟผ.ชี้แจงครับ
     8. ถาม ทำไมไม่เร่งระบายน้ำแบบเดียวกับปี 2553 เพราะมีข้อมูลว่า เดือนเมษายน 2554 ปริมาณน้ำในเขื่อน 50.21% แต่กลับปล่อยน้ำออกเพียง 7.0 ล้านลบม. ในขณะที่ปี 2553 ปริมาณน้ำ 37.95% ระบายน้ำถึง 12 ล้านลบ.ม. พฤษภาคม 2554 ปริมาณน้ำในเขื่อน 52.63% แต่กลับปล่อยน้ำออกเพียง 7.5 ล้าน ลบ.ม. ในขณะที่ปี 2553 ปริมาณน้ำ 36.90% ระบายน้ำถึง 8.3 ล้าน ลบ.ม. มิถุนายน 2554 ปริมาณน้ำในเขื่อน 60.27% แต่กลับปล่อยน้ำออกเพียง 0.0 ล้าน ลบ.ม. ในขณะที่ปี 2553 ปริมาณน้ำ 34.10% ระบายน้ำถึง 11.0 ล้าน ลบ.ม. พอเริ่มปล่อยน้ำออกมาก็พอดีกันกับที่ฝนตกชุก พอน้ำจากเขื่อนสิริกิติ์ปล่อยลงสู่แม่น้ำน่านก็ส่งผลให้เกิดน้ำท่วม

          กฟผ.ตอบ เนื่องจากปี 2553 มีปัญหาการขาดแคลนน้ำยาวนานจนถึงปลายปี ทำให้เขื่อนต้องวางแผนระบายน้ำเป็นปริมาณมาก โดยในช่วง เม.ย. – มิ.ย. 2553 ระบายรวมทั้งสิ้น 2,150 ล้านลูกบาศก์เมตร แบ่งเป็นเขื่อนภูมิพล 1,200 ล้าน ลบ.ม. และเขื่อนสิริกิติ์ 950 ล้าน ลบ.ม. ขณะที่ปี 2554 ระบายน้ำตามแผนจำนวนทั้งสิ้น 1,330 ล้านลูกบาศก์เมตร แบ่งเป็นเขื่อนภูมิพล 530 ล้าน ลบ.ม. และเขื่อนสิริกิตติ์ 800 ล้าน ลบ.ม. น้อยกว่าปี 2553 จำนวน 150 ล้านลูกบาศก์เมตร
ข้อสังเกตของผู้เขียน- ข้อนี้ กฟผ. ใช้คำว่า "ปี 2553 มีปัญหาการขาดแคลนน้ำยาวนานจนถึงปลายปี" ข้อเท็จจริง คือ ปี ๕๓ เดือนตุลาคม - ธันวาคม เกิด"อุทกภัย" นะครับ ไม่ใช่ "ขาดแคลนน้ำ"
สาเหตุจากการจงใจปล่อยน้ำที่มีปริมาณเพียง ๙ กิ๊กออกมามากๆอย่างรวดเร็ว จนน้ำเหลือน้อยมาก จึงเกิดเหตุภัยแล้งติดตามมาในเดือนมกราคม - มีนาคม ๕๔

           ส่วนตัวเลขปี ๕๓ ระบายน้ำ ๒๑๕๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ปี ๕๔ ระบาย ๑๓๓๐ สรุประบายน้อยกว่าแค่ ๑๕๐ แปลกไหมครับ กฟผ. ลบเลขยังผิด (2150-1330 = 820 ล้านลูกบาศก์เมตร) ดังนั้น ๘๒๐ เม็ก บวกกับน้ำต้นทุนที่ต่ำกว่าอีกมาก เป็นผลให้ระดับน้ำ เดือนสิงหาคม ๕๓ ซึ่งก่อให้เกิดน้ำท่วมอยู่ที่ ๔ กิ๊ก ส่วนเดือนสิงหาคม ๕๔ อยู่ที่ ๘.๕ กิ๊ก ต่างกันมากกว่าเท่าตัว

9. ถาม ทำไมไม่หยุดปล่อยน้ำ ทั้งๆ ที่ไม่มีรายงานฝนตกเหนือเขื่อน
    กฟผ.ตอบ พื้นที่รับน้ำของเขื่อนขนาดใหญ่ มีบริเวณกว้าง แม้จะไม่มีรายงานฝนตก แต่ก็อาจมีฝนตกในบางพื้นที่ รวมทั้งจะมีปริมาณน้ำหลากค้างทุ่งหรือพื้นที่ป่าเขาที่ทะยอยไหลเข้าเขื่อนตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม หากข้อมูลน้ำไหลเข้าเขื่อนลดลง จะมีการประเมินสถานการณ์ เพื่อลดการระบายน้ำทันที
           นอกจากนี้ เพื่อช่วยให้เขื่อนยังสามารถช่วยบรรเทาสถานการณ์ความรุนแรงบางส่วนได้ ตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2554 เป็นต้นมา มีระดับเก็บกักเกินกว่าร้อยละ 99 ที่ระดับเก็บกักดังกล่าวนี้ เขื่อนภูมิพลจะสามารถรับน้ำได้ไม่เกินวันละ 120 ล้านลูกบาศก์เมตร

           การปล่อยน้ำบางส่วน ยังช่วยให้มีพื้นที่รับน้ำได้ดีกว่าการเก็บไว้จนเต็ม 100 เปอร์เซนต์ เช่น ในระหว่างวันที่ 3 - 5 ตุลาคม 2554 มีน้ำไหลเข้าวันละ 213 ถึง 289 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งหากเขื่อนเก็บกักน้ำไว้จนเต็มความจุ 100 เปอร์เซนต์ ก็จะต้องปล่อยน้ำที่เข้ามาในแต่ละวันออกทั้งหมด ซึ่งจะทำให้มีอัตราการไหลของน้ำรุนแรงและไม่สามารถควบคุมได้

ข้อสังเกตของผู้เขียน-ถูกต้องตาม กฟผ.ชี้แจงครับ

10. ถาม ใครเป็นผู้ตัดสินใจสั่งให้หรือไม่ให้ปล่อยน้ำ


       กฟผ.ตอบ ในการวางแผนการระบายน้ำในแต่ละปี คณะทำงานวางแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆกว่า 20 หน่วยงาน ที่รับผิดชอบดูแลการใช้น้ำเพื่อเกษตรกรรม อุปโภค และบริโภค จะกำหนดเป้าหมายความต้องการใช้น้ำตามวัตถุประสงค์ต่างๆ ตลอดช่วงฤดูแล้ง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนของทุกปีเป็นต้นไป โดยจะพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ รวมทั้งต้นทุนน้ำในแต่ละเขื่อน จากนั้นกรมชลประทานและ กฟผ. จึงมาร่วมกันวางแผนการระบายน้ำในรายละเอียดเป็นรายเดือน รายสัปดาห์ และรายวัน ให้สอดคล้องกับความต้องการใช้น้ำ และประกาศให้เกษตรกรทราบ เพื่อวางแผนการใช้น้ำต่อไป
            อย่างไรก็ตาม หากมีเหตุการณ์ผิดปกติ ทั้งภัยแล้ง หรือน้ำท่วม เช่นในปี 2554 กรมชลประทานจะเรียกประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ เพื่อติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิดและพิจารณาปรับแผนการระบายน้ำตามสถานการณ์

ข้อสังเกตของผู้เขียน-จะเห็นว่าอนุกรรมการ หรือกรรมการอะไรก็แล้วแต่ สุดท้ายสิทธิ์ขาดจะอยู่ที่กรมชลฯ ที่เดียว

          ในสภาวะปรกติ กรมชลฯ จะส่งแผนระบายน้ำมาอาทิตย์ละครั้ง กฟผ. จะรับแผนไปลงในแต่ละวัน แต่ละชั่วโมง ซึ่งรวมทั้งสัปดาห์แล้วจะต้องไม่มาก หรือน้อยไปจากแผนรายสัปดาห์ของกรมชลฯ เกินกว่าที่กำหนด

ผู้เขียนอยากขอเสริม ๒ ประเด็นเพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำได้กรุณาพิจารณาประกอบ
๑. สถานการณ์น้ำในเขื่อน นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เริ่มดูที่เดือนมกราคม ๕๔ ซึ่งระดับน้ำต่ำมาก ทำให้เกิดข้ออ้างในการเร่งสะสมน้ำเป็นการใหญ่

ที่ถูก ต้องเริ่มพิจารณาสภาพน้ำในเขื่อนตั้งแต่เดือนตุลาคม ๕๓ ระดับน้ำในเขื่อนภูมิพลอยู่ที่ ๙ กิ๊ก สามารถรับน้ำได้อีกถึง ๑๓ กิ๊ก แต่มีคำสั่งให้ปล่อยน้ำจำนวนมากในระยะเวลาสั้นๆ ทำให้เกิดน้ำท่วมใน ๑๒ จังหวัด ปล่อยหนักจนกระทั่งระดับน้ำเดือนมกราคม ๕๔ ถึงต่ำมาก จนกลายเป็นข้ออ้างสำคัญในเวลาต่อมา

วัตถุประสงค์ของการก่ออุทกภัย ตุลาคม - ธันวาคม ๕๓ นั้น อาจน่าสงสัยว่า เพื่อประกาศเขตภัยพิบัติ ซึ่งมีผลต่อการปรับระเบียบการเบิกจ่ายงบกลาง และงบเงินสะสม มีการหักเปอร์เซ็นต์เงินช่วยเหลือ เพื่อระดมทุนก่อนการหาเสียงเลือกตั้งใหญ่

อีกประการหนึ่งเป็นโอกาสในการนำถุงยังชีพออกไปแจกฐานเสียง และจ่าย ๕,๐๐๐ บาทเป็นประชานิยม

๒. หลายคนพูดถึงรัฐบาลเก่า รัฐบาลใหม่ เพื่อโยนผิดให้กัน แท้จริงแล้วทั้ง 2 รัฐบาลต่างก็มีนายธีระ วงศ์สมุทร รมว. เกษตรฯ คนเดียวซึ่งควบตำแหน่งนี้ทั้งปี ๕๓ และปี ๕๔  ส่วนคำถามที่ว่านายธีระจะวางยาตัวเองเพื่ออะไร โดยเฉพาะต้องเร่งกักเก็บน้ำในขณะที่ยังไม่รู้ผลการเลือกตั้ง อันนี้ก็น่ากังขาว่า อาจเป็น

         แผน A ถ้าประชาธิปัตย์ชนะเลือกตั้ง ก็กลับไปเล่นสูตรเดิมแบบปี ๕๓ หักเปอร์เซ็นต์เข้าพรรคแต่ถ้าเพื่อไทยชนะ 
         แผน B ก็คืออาศัยประเด็นนี้เล่นงานรัฐบาล ถ้าดึง สส. เพื่อไทยได้แบบกลุ่มเนวินคราวที่แล้ว ก็มีโอกาสพลิกขั้วกลับมาจัดตั้งรัฐบาล

          โดยลำพังนายธีระเองก็ไม่น่ากลัวหรอกครับ แต่ท่านเป็นนอมินีของใคร มีอิทธิพลมากในหลายๆด้านแค่ไหน ให้ไปหากันเอง
************
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:สุดท้ายชายชุดดำผิดภัยพิบัติน้ำถล่มกรุง
http://redusala.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น