วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555

“จาก 6 ตุลา 19 ถึงรายงานคอป.”


จาตุรนต์ ฉายแสง  

หมายเหตุ  ถอดคำต่อคำ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม 2555  รร.อมารี เอเทรียม

        จาก หัวข้อ “จาก 6 ตุลา 19 ถึงรายงานคอป.” จะเน้นที่รายงานคอป. เรื่องเกี่ยวกับความขัดแย้ง ปรองดอง ยังเป็นเรื่องใหญ่ ปัญหาใหญ่ต่อไปแน่ๆ ไม่ช้าก็เร็วเรื่องนี้จะมีการหยิบยกขึ้นมาอีก แต่ว่าที่มาพูดในวันนี้ ในวันที่ 7 ตุลา เมื่อวานนี้เป็นครบรอบ 36 ปีของเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519  ซึ่งผมก็เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบ ได้รับความเสียหายโดยตรงด้วยคนหนึ่ง   

          ทำให้นึกถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา จึงเห็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับรายงานคอป.ค่อนข้างมาก 

          ขอชี้แจงก่อนว่า การให้ความเห็นในวันนี้ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง วิกฤต การปรองดองและตัวรายงานคอป.เองมีแง่มุมที่ต้องพูดกันอีก ความเห็นวันนี้จึงยังไม่สมบูรณ์ครบถ้วน จะต้องแสดงความเห็นเพิ่มเติม และหวังว่าหลายฝ่ายจะได้แสดงความในเรื่องนี้ต่อไปอีกด้วย 

บท เรียนจาก 6 ตุลา 2519 ในส่วนที่สำคัญ  ทำให้ควรพูดถึงรายงานคอป. คือ การที่ชนชั้นนำใช้ความรุนแรงเข้าจัดการกับประชาชนที่มีความเห็นแตกต่าง  พบว่ายังเกิดขึ้นซ้ำๆ สังคมไทยยังไม่มีข้อสรุป ที่จะทำให้มีการป้องกันไม่ให้เกิดการใช้ความรุนแรงต่อประชาชน

ที่ สำคัญในเหตุการณ์ 6 ตุลา การวางแผนอย่างเป็นระบบ  เพื่อปราบเพื่อฆ่าประชาชนอย่างโหดเหี้ยมและการรัฐประหาร  ได้รับการนิรโทษตัวเองไปหมด ไม่มีการตรวจสอบค้นหาความจริงว่า รัฐได้ทำผิดอย่างไร ใครควรรับผิดชอบ  ใครควรขอโทษประชาชน

อาจ เป็นเพราะว่าฝ่ายต่างๆได้นิรโทษตัวเองไปแล้ว ประชาชนแม้จะได้รับประโยชน์จากการนิรโทษกรรมอยู่บ้าง ก็ไม่ได้รับความยุติธรรม ประชาชนได้โอกาสร่วมอยู่ในสังคมต่อไปก็ต่อเมื่อการต่อสู้ของประชาชนพ่ายแพ้ แล้ว นี่คือบทเรียนจาก 6 ตุลา

จาก บทเรียน 6 ตุลา ทำให้นึกถึงรายงานคอป.ที่จะต้องตั้งคำถามว่า รายงานนี้ จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรง การเข่นฆ่ากันของคนในชาติและการที่ชนชั้นนำปราบปรามเข่นฆ่าประชาชนได้หรือ ไม่  หรือพูดอีกแบบหนึ่งก็คือ รายงานคอป.จะช่วยให้เกิดการปรองดองได้หรือไม่ 

ซึ่ง โดยรวมแล้ว รายงานของคอป.มีข้อดีและเป็นประโยชน์อยู่ไม่น้อย เช่น คอป.ได้รับการสนับสนุนทั้งจากรัฐบาลที่แล้วและรัฐบาลปัจจุบัน โดยไม่ปรากฏแรงบีบคั้นใดๆจากทั้ง 2 รัฐบาลหรือองค์กรอื่นใด  มีการรับฟังข้อมูลและความคิดเห็นจากฝ่ายต่างๆในสังคมไทยอย่างกว้างขวาง ทั้งยังได้รับความร่วมมือจากบุคคลและองค์กรจากต่างประเทศด้วย มีหลักการพอสมควร มีข้อเสนอที่ดีและเป็นประโยชน์อยู่ 

แต่ รายงานคอป.เมื่อศึกษาแล้วพบว่ามีข้อจำกัด มีข้อผิดพลาดในสาระสำคัญอยู่หลายประการ จนทำให้รายงานคอป.นี้ไม่อาจนำพาประเทศไปสู่การปรองดองได้ 

ทั้ง นี้ เนื่องจากคอป.ไม่ได้ค้นพบ  ความจริงต้องบอกว่า ไม่ได้ค้นหาความจริงที่จำเป็นต่อการสรุปบทเรียนของสังคม ไม่สามารถเสนอให้เห็นสาเหตุ  รากเหง้าของความขัดแย้งที่ตรงประเด็น  ที่เป็นปัญหาใจกลางของวิกฤต 

ที่สำคัญที่สุด คือ ปัญหาความไม่เป็นประชาธิปไตยนั่งเอง 

รายงานของคอป.ชิ้นนี้ จึงไม่ใช่ชิ้นสุดท้ายที่สังคมจะสามารถฝากความหวังว่า จะทำให้เกิดการปรองดอง   

          ผมขอขยายความดังนี้ ข้อจำกัดของรายงานคอป. การสอบถามข้อมูลและความเห็นยังไม่ครอบคลุมในหลายๆส่วน  เสียงสะท้อนจากผู้ที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ ผู้เสียหายในเหตุการณ์ ก็สะท้อนอย่างนี้อยู่ 

ข้อ เท็จจริงและความคิดเห็นจำนวนมากไม่ถูกเปิดเผย ไม่มีช่องทางให้คนเข้าถึง ทำให้สังคมได้รับข้อมูลเพียงบางส่วน ที่คอป.เลือกมาให้รับรู้ ทั้งข้อเท็จจริงและความเห็น

ใน ส่วนที่เกี่ยวกับการตรวจสอบและค้นหาความจริงเกี่ยวกับความรุนแรง คอป.ไม่ได้ค้นหาความจริงที่สำคัญ  จำเป็นต่อการให้เกิดความยุติธรรม  การสรุปบทเรียน  การป้องกันความรุนแรง  การใช้ความรุนแรงของรัฐประชาชน  การขอโทษ  การให้อภัย 

ถ้า เทียบกับ 6 ตุลา  คอป.ทำการค้นหาความจริง โดยได้งดเว้นที่จะหาความจริงสำคัญๆเหล่านี้ เหมือนกับว่า กรณีเหตุการณ์ความรุนแรง เมื่อเมษา-พฤษภา 2553 ได้มีการนิรโทษกันไปหมดแล้ว โดยไม่จำเป็นต้องหาว่า ใครผิดอีกต่อไป

ความ จริงประเด็นสำคัญ ที่ไม่ได้มีการค้นหา คือ  ความรุนแรงเกิดจากใคร  ใครผิดมากผิดน้อย การใช้มาตรการรุนแรงของรัฐ  เกินกว่าเหตุ หรือไม่ เป็นไปตามหลักสากลหรือไม่ ซึ่งความจริงลักษณะนี้เป็นประเด็นมาตรฐานทั่วไป ควรจะต้องมีการค้นหาในกรณีที่รัฐเข้าไปในกรณีของความรุนแรงและเกิดเป็นความ สูญเสียของชีวิตประชาชนขึ้นจำนวนมาก 

รายงาน นี้จึงไม่ได้ตอบสิ่งที่เรียกว่า ประเด็นข้อสงสัยที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งคำนี้เป็นถ้อยคำที่อยู่ในคำสั่งตั้งตั้งคอป. เป็นเหตุให้มีการตั้งคอป.  ประเด็นข้อสงสัยที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ต่างๆ ปรากฏว่าประเด็นเหล่านี้ ไม่มีคำตอบ คอป.ไม่ได้ค้น เพราะคอป.ไปทำน้อยกว่าที่ได้รับมอบหมาย  น้อยกว่าวัตถุประสงค์ของการตั้งคอป. โดยให้เหตุผลว่า ไม่ต้องการหาว่าใครผิด    

แต่ ก็มีความขัดแย้งในตัวเอง คอป.บอกว่า ไม่ต้องการหาว่าใครผิด   แต่คอป.กลับบันทึกไว้ในรายงานและจากคำแถลงข่าวของคอป. กลับเน้น “ชายชุดดำ” โดยไม่ได้บอกว่า คือใคร อยู่ฝ่ายไหนกันแน่และใช้ความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน แต่การพูดถึงชายชุดดำ เสนอข้อมูลเกี่ยวกับชายชุดดำ โดยให้น้ำหนักอย่างมาก มีผลเท่ากับลดความชอบธรรมการชุมนุมของประชาชน  และเพิ่มความชอบธรรมให้กับรัฐ  ในการจัดการกับผู้ชุมนุม

ทั้งๆ ที่โดยหลักการแล้ว แม้มีชายชุดดำจริง ชายชุดดำเป็นใคร ยังไม่ได้ค้นหานะ เรื่องนี้มีคนวิจารณ์เยอะแล้ว แต่หลักการสำคัญคือว่า  แม้มีชายชุดดำจริง  รัฐก็ไม่มีความชอบธรรม ที่จะใช้ความรุนแรงต่อประชาชน แล้วก็เกิดความเสียหายมากอย่างที่เกิดขึ้น 

ใน ส่วนต่อไปที่เป็นปัญหาคือ ชุดความจริงเกี่ยวกับสาเหตุ  รากเหง้าความขัดแย้ง คอป.ได้กล่าวถึงสาเหตุรากเหง้าความขัดแย้ง เน้นปัญหาเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม  ซึ่งเป็นการวิเคราะห์อย่างกว้าง  และไม่ตรงจุด 

     พอพูดถึงระยะความขัดแย้งปรากฏ และระยะความขัดแย้งในระดับการช่วงชิงอำนาจ  คอ ป.ได้ใช้วิธีนำประเด็นมาเรียงต่อกัน  แล้วบอกว่าปัจจัยเหล่านี้มีผลเชื่อมโยงกันแล้วส่งผลกระตุ้นซ้ำกัน ความรุนแรงไม่ได้เกิดจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง ฟังดูเหมือนกับจะเป็นอย่างนั้น แต่ว่าจากการนำมาเรียงกัน แล้วไม่มีข้อสรุปว่าประเด็นไหนสำคัญกว่าประเด็นไหน โดยตัวมันเองได้ลดน้ำหนักเรื่องที่สำคัญ  เพิ่มน้ำหนักเรื่องที่ไม่สำคัญโดยตรง เพราะว่าเอาเรื่องเล็กเรื่องใหญ่มารวมกันหมดแล้วบอกว่า มันเท่าๆกัน กลายเป็นการเพิ่มน้ำหนักบางเรื่องลดน้ำหนักบางเรื่องไปในตัว

     นอกจากนั้นการเพิ่มน้ำหนักลดน้ำหนักในรายงานนี้ ทำให้มีปัญหาอย่างมาก ก็คือ คอป.เน้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการรัฐประหารอย่างหนักแน่น ใช้เนื้อที่ยาวมาก พอมาถึงการรัฐประหาร คอป.พูดถึงเพียงไม่กี่คำ สั้นๆ และที่สำคัญคือ การพูดถึงการรัฐประหารว่า เป็นปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดความรุนแรงเช่นกัน เพราะรัฐประหารเป็นกระบวนการที่อาจขัดขวางการแก้ไขปัญหาตามหลักประชาธิปไตย และขัดต่อหลักนิติรัฐด้วย ข้อความนี้เป็นข้อความที่เบาอย่างมากที่พูดถึงการรัฐประหารได้เบามาก

     พอพูดถึงกระบวนการยุติธรรม พูดถึงตุลาการภิวัฒน์ว่า ฝ่ายตุลาการเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการถ่วงดุลอำนาจ ทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะการไม่ยอมรับกลไกของกระบวนการยุติธรรม  ทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์หมายความว่า คอป.ไม่ได้เห็นเป็นปัญหาด้วยตัวเอง พูดถึงกระบวนการยุติธรรมมีสองมาตรฐาน ซึ่งคนทั้งสังคมเห็นปัญหานี้ชัดเจนอยู่แล้ว แต่คอป.บอกว่า มีการกล่าวอ้างว่ามีการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม และการทำหน้าที่องค์กรอิสระทำให้มีความเคลือบแคลงต่อหลักนิติธรรม เป็นการลดน้ำหนักเรื่องที่มีน้ำหนัก 

พอ พูดถึงองค์กรอิสระจะพบว่าอธิบายถึงปัญหาองค์กรอิสระ แต่อ่านแล้วจะไม่ทราบว่าหมายถึงช่วงไหนกันแน่ ทั้งๆที่องค์กรอิสระในช่วงหลังการรัฐประหารอยู่ในลักษณะที่ไม่เป็นอิสระเลย ตั้งโดยคณะรัฐประหารหลายคณะ แต่ว่าคอป.พูดถึงองค์กรอิสระแบบคลุมเครือ  ทำให้ไม่เห็นชัดว่า ปัญหาขององค์กรอิสระอยู่ที่ไหน

เรื่อง รัฐธรรมนูญ ฉบับ 2550  พบว่า คอป.ไม่ได้เห็นรัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นปัญหาอะไร  โดยบอกว่า รัฐธรรมนูญและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เนื่องจากคนบางส่วนยังให้ความสำคัญกับรธน.แห่งราชอาณาจักรไทยฉบับ 2540 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน จึงมีทัศนคติทางลบกับรัฐธรรมนูญปี 2550 คือ ไม่ได้วิเคราะห์เลยว่า รัฐธรรมนูญปี 2550 มีปัญหาอย่างไร

การ ที่คอป.มีความเห็นไปอย่างหนึ่ง ไม่เห็นตรงกับสิ่งที่ผมพูด ไม่ได้เป็นปัญหา เพราะถือว่ามีสิทธิคิดอย่างนั้น เพียงแต่ว่า คอป.ได้ใช้วิธีไปเน้น ไปให้น้ำหนักอย่างที่ตนต้องการ แล้วก็ไม่ได้กล่าวถึงความเห็นของฝ่ายต่างๆ ถ้าบอกว่าต้องการเป็นกลางจริงๆ แต่ก็ไม่ได้ยกเอาความเห็นของฝ่ายต่างๆมานำเสนอ 

คอ ป.บอกว่า ต้องการเป็นกลางจึงไม่ต้องการสรุป  แต่การลดน้ำหนักเพิ่มน้ำหนักอย่างที่ผมกล่าวไป กลายเป็นคล้ายกับสรุป  อาจจะพูดได้ว่า เอียงไปทางใดทางหนึ่งอย่างมาก ทำให้สิ่งที่เรียกว่าชุดความจริงเกี่ยวกับสาเหตุ รากเหง้าความขัดแย้ง ไม่ใช่ชุดความจริงร่วมกันอย่างที่คอป.บอกว่าจะทำ

คอ ป.บอกว่ามีชุดความจริงได้หลายชุด  คอป.ต้องการทำชุดความจริงร่วมกัน แต่ปรากฏว่าชุดความจริงนี้ ในที่สุดก็เป็นชุดความจริงที่ค่อนข้างจะคล้ายกัน หรือสอดคล้องกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไป และชุดความจริงนี้ จึงไม่ควรจะเรียกว่า ชุดความจริง ควรจะเรียกว่า ชุดข้อมูลที่ประกอบด้วยข้อเท็จจริงและความเห็น ซึ่งไม่เพียงพอที่จะทำให้เห็นพ้องต้องกันของสังคม              
 
 สิ่ง ที่เป็นปัญหาสำคัญที่สุด ในการนำเอาเหตุการณ์ต่างมาเรียงกัน คือ ในการมองปัญหาของคอป. ไม่มีเส้นแบ่งประชาธิปไตยกับเผด็จการ ไม่มีเส้นแบ่ง ไม่เห็นความต่างระหว่างระบอบประชาธิปไตยที่มีปัญหา แต่สามารถแก้ไขในระบบและตรวจสอบได้กับการรัฐประหารและระบบที่ต่อเนื่องจาก การรัฐประหาร ซึ่งขัดกับหลักประชาธิปไตย ขัดหลักนิติธรรมและตรวจสอบไม่ได้

 เมื่อ ไม่เห็นความแตกต่างนี้ ไม่ทำให้เห็นความแตกต่างอันนี้ ทำให้เป็นปัญหาใหญ่ปัญหาสำคัญในการวิเคราะห์ของคอป. การไม่เห็นความแตกต่างนี้ไปสะท้อนที่ความเห็นประธานคอป.ที่ว่า..... “แม้ถึงว่าข้าพเจ้าจะไม่เห็นพ้องด้วยกับการยึดอำนาจรัฐไม่ว่าในครั้งใด แต่เผด็จการทางรัฐสภากับเผด็จการทหารดูจะไม่แตกต่างกัน ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าเผด็จการทั้งสองรูปแบบต่างทำลายการพัฒนาประชาธิปไตยด้วย กันทั้งสิ้น” 

เมื่อ พูดถึงเหตุการณ์ก่อนการรัฐประหาร หลังการรัฐประหาร แล้วรวมไปทำให้คนเข้าใจว่า ก่อนการรัฐประหารคือเผด็จการรัฐสภา หลังการรัฐประหารคือเผด็จการทหาร เลยกลายเป็นว่ามีปัญหาเท่าๆกัน

 คอป.แบ่งความแตกต่างทางความเชื่อในเรื่องประชาธิปไตยเป็นสองแบบอย่างไม่ชัดเจน  คือ ประชาธิปไตย แบบเลือกตั้ง ไม่ต้องตรวจสอบ กับแบบ คนดี มีคุณธรรม ตรวจสอบได้ ซึ่งไม่ตรงกับความเข้าใจของฝ่ายต่างๆที่มีการพูดการแสดงความเห็นกันอยู่

 ฉะนั้น ในการวิเคราะห์จึงทำให้ไม่เห็นปัญหาใหญ่ของประเทศ คือ การที่คนไม่เชื่อการเลือกตั้ง  ไม่ เชื่อว่าประชาชนจะปกครองบ้านเมืองได้ และการใช้ความรุนแรงเข้ายึดอำนาจรัฐ ทำลายหลักนิติรัฐ นิติธรรมอย่างต่อเนื่อง คือ ปัญหาใจกลางของวิกฤต

 พอมาถึงข้อเสนอ เมื่อคอป.ไม่เข้าใจปัญหาวิกฤตของประเทศ แม้จะมีข้อเสนอที่ดีหลายๆข้อ  ทำให้ข้อเสนอของคอป.ในส่วนที่สำคัญมากๆ จึงขาดน้ำหนัก ไม่ตรงจุด  

 คอ ป.เสนอได้ชัดเจนว่า จะต้องไม่ทำรัฐประหาร แต่เนื่องจากไม่ได้เน้นความเลวร้ายของการรัฐประหารมาตั้งแต่ต้น ความสำคัญของประเด็นนี้จึงลดน้อยลงไป

 คอป.เสนอว่า ต้องไม่เร่งแก้รัฐธรรมนูญ และเสนอให้เป็นมาตรการระยะยาว ทั้งๆที่ปัญหารัฐธรรมนูญเป็นปัญหาใหญ่มาก  ทำให้เกิดวิกฤตอย่างต่อเนื่อง

 คอป.เสนอให้ปรับกระบวนการยุติธรรม  แต่ในข้อเสนอจะพบว่า ทั้งการวิเคราะห์และข้อเสนอไม่ได้เน้นชัดเจน โดยเฉพาะในส่วนที่พูดถึงตุลาการก็จะเป็นเพียงข้อเรียกร้อง  แต่จะไปเรียกร้องให้ปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับฝ่ายบริหารมากกว่า

 และเมื่อไม่เร่งแก้รัฐธรรมนูญ การจะปรับกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ ก็ไม่ทางเกิดขึ้นได้ เพราะสองเรื่องนี้มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

 นอกจากนั้น ในการกล่าวถึงการคืนความยุติธรรมแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำที่ไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม คอป.พูดถึงอยู่บ้าง  แต่พอถึงบทสรุป  ใน ตารางข้อเสนอต่างๆ ไม่ปรากฏอีก แล้วจะมีการคืนความยุติธรรมแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำที่ไม่เป็นไปตาม หลักนิติธรรมอย่างไร หรือไม่

  แต่คอป.กลับเรียกร้องให้ผู้ได้รับผลกระทบจากการผิดหลักนิติธรรมต้องเสียสละ

          เมื่อ ข้อเสนอคอป.ไม่เพียงพอที่จะทำให้สังคมไทยพ้นจากวิกฤต หรือทำให้เกิดการปรองดองได้ จะทำอย่างไรกับข้อเสนอของคอป. ผมมีความเห็นอย่างนี้ คือ  ข้อเสนอของคอป.จำนวนมาก นำไปปฏิบัติแล้วจะเป็นประโยชน์  แต่ถ้าทำตามคอป.ทุกข้อโดยไม่แยกแยะ  อาจไม่เป็นประโยชน์ หรือเป็นอุปสรรคต่อการปรองดอง หรือทำให้ประเทศพ้นวิกฤต  ผมเห็นว่าผู้เกี่ยวข้องไม่จำเป็นต้องทำตามข้อเสนอคอป.ทุกข้อ  แล้วการปฏิบัติตามเพียงบางส่วน ไม่หมายความว่า ทำไปเพื่อประโยชน์ของตนเอง เพราะว่าผู้เกี่ยวข้องสามารถใช้วิจารณญาน คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมแล้ว ก็ยังสามารถเห็นต่างจากคอป.ได้ เนื่องจากการวิเคราะห์ของคอป.มีข้อจำกัดและจุดผิดพลาดอยู่

          ข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมขึ้น คือ  

ข้อ เสนอแรก  เมื่อคอป.ยังค้นหาความจริงได้ไม่พอ ควรส่งเสริมให้มีการค้นคว้า ค้นหาความจริงเพิ่มเติมต่อไป ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรง ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับรากเหง้า สาเหตุความขัดแย้งในสังคม การค้นหาความจริงนี้ อาจจะทำเหมือนคอป. แต่เพิ่มเติมข้อมูล ข้อเท็จจริง ข้อเสนอ  หรือทำนองเดียวกับที่ศปช. หรือศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเดือน เม.ย-พ.ค. 53 (ศปช.) ทำมาแล้ว

นอก จากนั้น อาจส่งเสริมให้หลายๆฝ่ายที่สนใจได้ทำการค้นหาความจริงได้ทำมากขึ้น โดยฝ่ายรัฐส่งเสริม สนับสนุน ให้ความร่วมมือ และนำเอาข้อค้นพบ ความจริงที่ค้นพบเหล่านั้นมารวบรวม  รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนรับรู้ 

 ที่ผมเสนออย่างนี้ คือ จะหวังจากรายงานชิ้นเดียว แล้วเป็นข้อสรุปไม่ได้แล้ว  หา คนกลางที่เป็นที่ยอมรับมากๆไม่ได้แล้ว ควรจะเปลี่ยนแนวมาให้หลายฝ่ายค้นหาความจริง แล้วให้สังคมได้ศึกษา เรียนรู้ หากเป็นเรื่องการเมืองก็ให้ประชาชนใช้วิจารณญาน ตัดสินใจ 

 ข้อเสนอที่ 2 ข้อเสนอใดที่เป็นประโยชน์ ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก และมีความเห็นแตกต่างน้อย ควรจะดำเนินการไปเลย  ซึ่งดูจากบทเรียน จากเหตุการณ์ 6 ตุลาแล้ว เพียงประเด็นหนึ่งเท่านั้น นอกนั้นก็ให้ฝ่ายรับผิดชอบพิจารณากันไปเอง คือ การนิรโทษกรรม  ซึ่งผมคิดว่าขณะนี้ ทางคอป.และหลายฝ่ายคงไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมผู้ที่เป็นแกนนำ  ผู้ที่เป็นตัวการสำคัญทั้งหลาย    

แต่สิ่งที่น่าสนใจ คือ จากเหตุการณ์ 6 ตุลา ถึงแม้จะมีการนิรโทษกรรมตัวเองของผู้มีอำนาจ  แต่ผู้ที่ได้รับอานิสงส์ไปด้วย คือ ประชาชนทั่วๆไป  เพราะ ฉะนั้นในขณะนี้ หากจะศึกษาในกรณี 6 ตุลาและนำแง่มุมที่เป็นประโยชน์มาใช้คือ ควรจะมีการนิรโทษประชาชนที่ไม่ใช่แกนนำทุกฝ่ายไปก่อน  ส่วนกระบวนการศึกษาที่จะนิรโทษส่วนอื่นอย่างไร ต้องใช้เวลา

 ข้อ เสนอที่ 3 ในกรณีที่เห็นว่า มีเรื่องที่จำเป็นต้องทำ แต่ยังเห็นแตกต่างกัน เช่น การแก้รัฐธรรมนูญ รวมถึงการปรับปรุงกระบวนการยุติธรรม ปรับปรุงบทบาทองค์กรอิสระ เมื่อยังมีความเห็นต่างกัน  ควรมีกระบวนการรับฟัง แลกเปลี่ยนความเห็น และอาศัยประชามติมาหาข้อยุติ  แต่ ที่ผมเห็นต่างจากคอป.เรื่องที่จำเป็นต้องทำและเห็นต่างกันนี้ ควรจะเร่งดำเนินการให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว ไม่ใช่เรื่องระยะยาว ไม่รู้ว่ากี่ปีจะทำ ซึ่งจะทำให้ความขัดแย้งและวิกฤตปะทุขึ้นมาได้อีก 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น