ความรุนแรงที่ปฏิวัติ : โต้พวกเพ้อเจ้อ
โดย ฉลาด แซ่โง่
ใน www.prachatai.com/journal/2012/10/43263 . . Sun, 2012-10-21 21:42
จะใช้ความรุนแรงหรือไม่
ผู้ที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมต้องเลือกให้เหมาะสมกับ กาละ และ เทศะ
เพราะความรุนแรงเป็นวิธีการ,ไม่ใช่จุดหมาย
ในเมื่อจุดหมายคือแค่ให้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง,ได้เป็นรัฐบาล
การใช้ความรุนแรงไม่เพียงแต่จะไม่คุ้มค่าเท่านั้น
แต่อาจจะเสียหายถึงขั้นผู้ใช้ไม่มีแผ่นดินจะอยู่ก็ได้
แต่ถ้าจุดหมายคือการเปลี่ยนแปลงระบอบสังคม,ชนชั้นหนึ่งโค่นล้มอีกชนชั้น
หนึ่ง และเมื่อประเมินตามทัศนะของ แม็กซ์ เวเบอร์
ที่ว่ารัฐเป็นผู้ผูกขาดและใช้ความรุนแรงเหนืออาณาดินแดนหนึ่งๆแล้ว “
ความรุนแรง “
ก็กลายเป็นวิธีการที่ถูกบังคับให้เลือกเพื่อที่จะบรรลุจุดหมายดังกล่าว
นอกเสียจากจะล้มเลิกความมุ่งหมายของตนเสีย
ไม่ว่าใคร,ชนชั้นอะไร หรือ
ยากดีมีจนอย่างไร,ก็ไม่มีใครอยากสูญเสียบาดเจ็บล้มตายทั้งสิ้น
แต่จะชี้ให้เห็นว่า
การพิจารณาเรื่องความรุนแรงนั้นต้องไม่มองความรุนแรงโดดๆเหมือนกันไปหมด
แต่ต้องจำแนกอย่างวิภาษ เมื่อประชาชนเดินขบวนอย่างสันติ
เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลง
แล้วกลับมีการใช้ความรุนแรงที่”ปฏิกริยา”เข้าปราบปรามด้วยทหารตำรวจติดอาวุธ
ก็ชอบธรรมที่อีกฝ่ายจะใช้ความรุนแรงที่”ปฏิวัติ”เข้าต่อต้าน
ในระยะที่ต้องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่ผูกขาดการใช้อำนาจรัฐกดขี่ข่มเหง
ผู้คนทั้วทั้งแผ่นดินไปสู่การมีสิทธิเสรีของประชาชน,การจัดสรรแบ่งปันที่
เป็นธรรมและทั่วถึง นอกจากความรุนแรงแล้ว
จะมีหมอตำแยไหนมาทำคลอดให้สังคมใหม่ ?
โดยธรรมชาติแล้ว ประชาชนไม่มีแนวโน้มที่จะใช้ความรุนแรง
เมื่อพวกเขาตัดสินใจใช้ความรุนแรง
ย่อมเกิดจากเงื่อนไขที่แน่นอนเงื่อนไขหนึ่ง
พรรคคอมมิวนิสต์จีนเริ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองในระยะแรกนั้น
ก็ดำเนินงานอย่างสันติโดยร่วมมือกับพรรคก๊กมิ่นตั่งซึ่งกุมกลไกรัฐทหารตำรวจ
ในขณะนั้นเพื่อปราบขุนศึกภาคเหนือ เมื่อ เจียง ไค เช็ค
หักหลังการปฏิวัติทำรัฐประหาร เปิดฉากเข่นฆ่าบรรดาผู้รักความเป็นธรรม
ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ทำรัฐประหาร 12 เมษายน ค.ศ. 1927 จนถึงวันที่ 31
กรกฏาคม ค.ศ. 1927 ทั่วทั้งประเทศจีนมีผู้ถูกฆ่าตายไปแสนกว่าคน
เฉพาะที่มหานครซั่งไห่แค่วันที่ 12-14 เมษายน มีกรรมกร นักศึกษา
และประชาชนเสียชีวิตไม่ต่ำกว่าห้าพันคน( ประมาณการภายหลังโดย โจว เอิน ไหล )
ในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1927
พรรคคอมมิวนิสต์จีนจึงรวบรวมกำลังที่เหลือจากความเสียหายอย่างหนักหน่วง
ก่อการลุกขึ้นสู้ด้วยอาวุธที่นครหนานชาง มณฑลเจียงซี
วันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1930
ชาวนาหลายพันคนเดินขบวนประท้วงอย่างสงบ ที่เมืองหวิ่น ในเวียดนามภาคกลาง
รัฐบาลเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสในขณะนั้น
ใช้เครื่องบินยิงกราดและทิ้งระเบิดลงใส่ขบวนแถวผู้ชุมนุมที่ปราศจากอาวุธ
มีผู้เสียชีวิตทันที่กว่าสองร้อยคน บาดเจ็บเรือนพัน เฉพาะปี1930 -1931
สองปีนี้มีผู้เสียชีวิตจากการทิ้งระเบิด,ยิงใส่,ตัดหัวเสียบประจานจนถึง
ทรมานจนตาย ไม่ต่ำกว่าหมื่นคน นำไปสู่การจัดตั้งขบวนการ”เวียตมินห์”
ซึ่งขยายตัวไประหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
จนสามารถเอาชนะกองทหารฝรั่งเศสในสมรภูมิ “ เดียน เบียน ฟู “ อันเลื่องลือ
และสถาปนาเวียดนามเหนือเป็นเอกราชได้. ในเวียดนามใต้
การเข่นฆ่าผู้ประท้วงชาวพุทธที่ชุมนุมมือเปล่าบริเวณ เจดีย์” ซาโหล่ย “
สังหารพระและประชาชนกว่าร้อย โดยรัฐบาล โง ดินห์ เดียม,
การกวาดล้างจับกุมตลอดจนการบังคับกวาดต้อนชาวนาในชนบทสิบล้านคนเข้าสู่”
หมู่บ้านยุทธศาสตร์ “ เพื่อแยก “ น้ำ “ ออกจาก “ ปลา “
อันนำมาซึ่งความทุกขเวทนาบ้านแตกสาแหรกขาด โดยรัฐบาล เหงียน วัน เทียว
จนถึงจุดสูงสุดของการเข่นฆ่าปราบปรามด้วยการทิ้งระเบิด” ปูพรม “
โดยฝูงป้อมบินยักษ์ บี 52 ของกองทัพสหรัฐอเมริกา
ลงใส่ฮานอยและเมืองท่าไฮฟอง อย่างต่อเนื่อง
ผลของมันคือการปลดปล่อยเวียดนามใต้และรวมประเทศด้วยกำลังอาวุธ เมื่อวันที่
30 เมษายน ค.ศ. 1975
ในประเทศไทยเราเอง
สิ่งต่างๆเหล่านี้ไม่ใช่จะแตกต่างไปจากประเทศอื่น
การใช้ความรุนแรงเข้าปราบปรามก็เป็นเหตุให้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
ซึ่งใช้การต่อสู้อย่างสันติมา 23 ปี ตัดสินใจต่อสู้ด้วยอาวุธในปี พ.ศ. 2508
แม้ขบวนการดังกล่าวจะเพลี่ยงพล้ำจนพ่ายแพ้ไปในช่วง 2530
แต่ก็ด้วยสาเหตุที่ประเมินสถานการณ์การเมืองผิดพลาดทั้งในประเทศและทางสากล
มิใช่กำหนดใช้วิธีการที่ผิดพลาด
ข้อเท็จจริงเหล่านี้ถูกเปิดเผยเป็นที่ประจักษ์โดยทั่วไปแล้ว
จึงไม่ต้องกล่าวรายละเอียดในที่นี้
ที่ควรให้ความสนใจคือหลังจากนั้น
ประชาชนเราก็ “ สมาทาน สันติ-อหิงสา “ เสมอมา
ชนชั้นปกครองที่กุมกลไกรัฐใช้ความรุนแรงแต่ฝ่ายเดียวมาโดยตลอด ไม่ว่าใน ปี
2535 ,2552 และ 2553 ประชาชนเรายืนหยัดต่อสู้ด้วยความไม่รุนแรงอย่างอดทน
ต่อสู้แบบยอมเสียเลือดเสียเนื้อบาดเจ็บล้มตายจนกระทั่งลงคะแนนเลือกตั้งได้
เสียงข้างมากในสภา
นำสู่การจัดตั้งรัฐบาลที่พอจะเป็นเครื่องแสดงความต้องการของประชาชนอย่าง
เป็นรูปธรรมเท่านั้น เพียงแค่นี้
ชนชั้นนำที่กุมกลไกรัฐอย่างแท้จริงก็ยังใช้กลไกของพวกเขาพยายามเบียดขับ
รัฐบาลที่คนส่วนใหญ่เลือกมาทั้งๆที่รัฐบาลนี้ก็ประนีประนอมกับชนชั้นนำดัง
กล่าวเป็นด้านหลักด้วยซ้ำ
ความพยายามอย่างต่อเนื่องโดยใช้ทุกกลไกที่ตนมีและโดยไม่เลือกวิธีการของชน
ชั้นนำกลุ่มนี้ที่จะผลักไสประชาชนให้หมดความอดทน เมื่อใดที่
แม้หนทางรัฐสภาซึ่งพวกซ้ายไร้เดียงสา ประณามว่า “ ฉวยโอกาสเอียงขวา “
ก็ไม่มีให้เดินแล้ว เท่ากับว่าพวกเขาบังคับให้ประชาชนเราใช้”วิธีอื่น “
นั่นเอง
สำหรับประชาชนเรานั้น
มิใช่เอะอะอะไรก็จะใช้ความรุนแรงแต่ถ่ายเดียว
ประชาชนเรานั้นรักสันติเสียยิ่งกว่าฝ่ายที่เป็นชนชั้นปกครองเสียอีก
จะใช้ความรุนแรงก็ต่อเมื่อฝ่ายชนชั้นปกครองบีบบังคับเสียจนไม่เหลือทาง
ต่อสู้ใดๆ ,ใช้โดยความจำเป็น
รุนแรง
หรือสันติ เรามองสิ่งเหล่านี้อย่างสัมพัทธ์
เมื่อสังคมก้าวไปข้างหน้าจนถึงระยะที่ไร้ชนชั้น,ไร้การกดขี่ขูดรีด
ทั่วทั้งสังคมมีความเป็นธรรมอย่างสมบูรณ์
มนุษย์ต่อสู้เพียงเพื่อพัฒนาพลังการผลิต(เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์)เมื่อนั้น
ความรุนแรงก็หมดความจำเป็น
วิธี
การอันจำเป็นซึ่งกำเนิดจากเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์นี้
ก็จะดับสลายไปในประวัติศาสตร์เอง ทัศนะต่อความรุนแรงของประชาชนเรา
เรามองมันอย่างคลี่คลายขยายตัว ไม่ใช่โดดเดี่ยวและหยุดนิ่ง เช่นนี้
รุนแรง หรือไม่ กล่าวสำหรับประชาชนแล้ว เป็นไปตาม “ กาละ “
และ “ เทศะ “ อันเป็นเงื่อนไขประวัติศาสตร์
สิ่งเหล่านี้ประชาชนเราคิดและไตร่ตรองอย่างดีจนตกผลึก จึงมีความหมายแน่นอน
มิใช่กล่าวลอยๆเพียงแค่ประดับปากให้ดูสวยงามเท่านั้น
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น