|
แฉแผน "ดราม่า" ช่อง3 เล่นงานรัฐบาล ที่แท้ "ขัดผลประโยชน์" สัมปทานพันล้าน!
พบแผนตุกติก หลังช่อง3 สร้างเรื่อง "ดราม่า" ให้คนด่ารัฐบาล ที่แท้ ส่งสัญญาณไม่อยากให้ DSI "ขุดคุ้ย" ผลประโยชน์สัมปทานพันล้าน
หลังจากเกิดเหตุ "ดราม่า" การแบนละคร "เหนือเมฆ2" ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง3 ได้พบว่า เหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจาก กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI รับพิจารณาข้อเท็จจริงกรณีการต่อสัญญาสัมปทานดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สีระหว่างบริษัทอสมท จำกัด (มหาชน) กับบริษัทบางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด หรือช่อง3 ระหว่างเวลา 10 ปี เมื่อปี 2553 โดยไม่มีการเปิดประมูลแข่งขันราคาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ 2535 และมีการกระทำผิดเงื่อนไขสัญญาสัมปทานฉบันเดิม จึงไม่มีสิทธิ์ต่อสัญญาสัมปทานฉบับใหม่
กรณี อสมท กับช่อง 3 ได้ต่อสัญญาสัมปทานดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สีออกไปอีก 10 ปี เมื่อปี 2535 ซึ่งในการต่อสัญญาดังกล่าวทางชมรมนักกฎหมายพิทักษ์ผลประโยชน์รัฐ ได้พิจารณาแล้วว่ามีพฤติกรรมไม่ชอบมาพากลหรือไม่โปร่งใส เพราะในการต่อสัญญาสัมปทานฉบับล่าสุดปี 2553 ปรากฏว่าขณะนั้นประธานกรรมการใหญ่อสมท ได้เสนอความเห็นไปทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ว่าการต่อสัญญาสัมปทานระหว่างช่อง 3 กับ อสมทดำเนินการได้หรือไม่ ก่อนที่ สคร.จะมีความเห็นกลับมาว่าควรปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน พ.ศ.2535 ที่กำหนดให้โครงการที่มีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาทต้องเปิดประมูลแข่งขันราคา อีกทั้งใน ขณะนั้น อสมท ได้มีการเสนอขอความเห็นไปยังกระทรวงการคลัง ก่อนกระทรวงการคลังจะมีความเห็นตอบกลับมาว่าอสมท ต้องปฏิบัติตามความเห็นของ สคร.
แต่ปรากฏว่าในการต่อสัญญาสัมปทานระหว่าง อสมท กับช่อง 3 เมื่อเดือน มี.ค.53 มีการเสนอเพิ่มผลตอบแทนให้รัฐในการต่อสัญญาสัมปทานระยะเวลา 10 ปี มูลค่า 2,405 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียง 405 ล้าน เพราะในการต่อสัญญาสัมปทานครั้งที่ 3 ปี 2532 ได้กำหนดออปชั่นไว้ว่า การต่อสัญญาสัมปทานจะต้องจ่ายผลตอบแทนให้รัญไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้าน กรณีที่เพิ่มผลตอบแทนให้รัฐในสัญญาสัมปทานปี 2553 อีก 405 ล้านบาท ถือว่าต่ำมากเพราะยังคิดมูลค่าเงินเมื่อกว่า 20 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งไม่น่าจะกระทำได้
|
ฉากคนมีรัศมีต้นเหตุให้แบนละครเหนือเมฆ2 |
ในขณะทำสัญญาสัมปทานปี 2532 ยังไม่มีกฎหมายพ.ร.บ.ร่วมทุน 2535 แต่ระหว่างอายุสัญญามีการประกาศใช้พ.ร.บ.ร่วมทุน 2535 มาแล้ว ของอสมท ในโครงการที่มีมูลค่าโครงการเกิน 1,000 ล้านบาท จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2535 คือจะต้องมีการตั้งคณะกรรมการประกวดซองราคา เพื่อจะหาผู้รับสัมปทาน ที่เสนอผลประโยชน์ให้แก่รัฐมากที่สุด
ล่าสุด กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI ได้มีหนังสือเชิญนายวิชัย มาลีนนท์ กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ฯ เข้าให้ถ้อยคำในวันที่ 16 ม.ค.นี้ เวลา 09.30 น.. และนายสุรพล นิติไกรพจน์ และอดีตประธานกรรมการ บริษัท อสมท. มาให้ถ้อยคำวันเดียวกัน เวลา 13.30น.
นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับแชมป์ตระกูลเศรษฐีหุ้นไทยปี 2555 ได้แก่ ตระกูลมาลีนนท์ ซึ่งเป็นการครองแชมป์ที่ต่อเนื่องและยาวนานที่สุด โดยยึดตำแหน่งตระกูลเศรษฐีหุ้นไทยติดต่อกันเป็นปีที่ 14 แล้ว โดยเฉพาะในปีนี้ที่ราคาหุ้น บมจ.บีอีซี เวิลด์ (BEC) ปรับเพิ่มขึ้นมาถึง 108.16% ส่งผลให้มูลค่าความมั่งคั่งของตระกูลมาลีนนท์พุ่งขึ้นไปแตะ 70,262.43 ล้านบาท โดยมั่งคั่งเพิ่มขึ้น 36,456.96 ล้านบาท หรือ 107.84%
|
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น