สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศของไทย แถลง ม.112 -พ.ร.บ.คอมพ์เป็นอุปสรรคต่อเสรีภาพการแสดงออก
แจงถูกกดดันให้ประณามกรณี 'สมยศ' ` แถลงม. 112 และพรบ. คอมพ์ฯ
เป็นอุปสรรคต่อการรายงานข่าวของสื่อไทยและสื่อเทศโดยเฉพาะความคิดเห็นที่
ต่าง ขณะที่ 'แอนดรูว์ เอ็ม. มาร์แชล'
จี้ให้นักข่าวต่างชาติที่รายงานเรื่องไทยออก "คำประกาศเตือน"
แสดงให้เห็นข้อจำกัดที่ต้องเซ็นเซอร์ตนเอง
7 ก.พ. 56 - สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (Foreign Correspondents' Club of Thailand -FCCT) ได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวเนื่องกับกรณีคำตัดสินของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข
ผ่านทางเฟซบุ๊กและเว็บไซต์เมื่อวันที่ 6 ก.พ. ที่ผ่านมา โดยระบุว่า
"คณะกรรมการได้ถูกกดดันให้ประณามคำตัดสินกรณีสมยศ
และในขณะที่คณะกรรมการมิได้เห็นเป็นเอกฉันท์ในการออกความเห็นในคดีทางกฎหมาย
แต่เราก็เห็นว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์
เป็นอุปสรรคต่อเสรีภาพในการแสดงออก"
เนื่องจากทำให้สื่อทั้งในและต่างประเทศไม่สามารถตีพิมพ์เนื้อหาที่เห็นต่าง
ทางการเมืองได้อย่างเต็มที่
แถลงการณ์ดังกล่าวได้เผยแพร่หลังจากแอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชล
อดีตผู้สื่อข่าวรอยเตอร์ และผู้เขียนหนังสือเรื่อง #Thaistory
ได้เขียนบล็อกใน www.zenjournalist.org
วิพากษ์วิจารณ์สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทยอย่างต่อเนื่องถึง
ท่าทีที่เหมาะสมต่อกรณีสมยศ โดยกล่าวถึงนิรมล โฆษ ประธานสมาคมฯ
และผู้สื่อข่าวนสพ. เสตรทไทมส์ ของสิงคโปร์
ที่ก่อนหน้าที่ได้ชี้แจงสาเหตุที่ไม่ออกแถลงการณ์กรณีสมยศว่า สมาคมฯ
อยู่ในสถานะ "Club" (ชมรม) มากกว่า "Association" (สมาคม)
จึงไม่เหมาะสมที่จะออกแถลงการณ์ในเรื่องที่มีความอ่อนไหว
โดยก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 31 ม.ค. ที่ผ่านมา
ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย ได้จัดงานเสวนาในหัวข้อ
"หมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศไทย กรณีของสมยศ และนัยสำคัญ" โดยมีสุกัญญา
พฤกษาเกษมสุข ภรรยาของนายสมยศ จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท
ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ เครือข่ายพิทักษ์สถาบัน และเดวิด เสตร็กฟัสส์
และก่อนที่วงเสวนาดังกล่าวจะเริ่ม นิรมล โฆษ ในฐานะประธานสมาคมฯ
ได้กล่าวชี้แจงถึงสาเหตุที่สมาคมฯ ไม่ได้ออกแถลงการณ์กรณีนามสมยศ
โดยระบุว่าต้องการให้ FCCT
เป็นพื้นที่ตรงกลางให้เกิดการถกเถียงและพูดคุยในประเด็นเหล่านี้อย่างอิสระ
"พื้นที่ตรงกลาง" vs "หลักการเสรีภาพสื่อ"
แอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชล
ย้ำจุดประสงค์การก่อตั้งของสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทยจากใน
เว็บไซต์ของสมาคมว่า
เพื่อส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของนักข่าวในประเทศไทยและประเทศต่างๆ
ในเอเชีย และยังเป็นสมาคมที่มีบทบาทรณรงค์เรื่องเสรีภาพสื่อ
ในฐานะเสาหลักของภาคประชาสังคมในประเทศที่ประชาธิปไตยกำลังเติบโต
ในฐานะที่สมาคมฯ
เคยออกแถลงการณ์เรื่องการเสียชีวิตของนักข่าวต่างชาติในเหตุการณ์ความรุนแรง
ทางการเมืองเมื่อปี 2553 คือ ฮิโร มูราโมโต ช่างภาพรอยเตอร์ และฟาบิโอ
โปเลญกี ช่างภาพอิสระ มาร์แชลชี้ว่า ในคดีของสมยศ
ก็ควรจะต้องได้รับการปฏิบัติแบบเดียวกัน นอกเสียจากว่าทางสมาคมฯ
จะสามารถพูดอะไรได้เมื่อมีนักข่าวเสียชีวิต
หรือไม่ก็สนใจแต่เฉพาะชาวต่างชาติด้วยกันเท่านั้น
เขาชี้ว่า การไม่ออกแถลงการณ์ในกรณีสมยศ
และการไม่ท้าทายกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพื่อรักษา "พื้นที่ตรงกลาง"
นั้น ไม่มีประโยชน์อะไรกับการรายงานข่าวเกี่ยวกับ "ความจริง" ในการเมืองไทย
ซึ่งอิทธิพลของสถาบันกษัตริย์มีผลต่อประวัติศาสตร์และการเมืองไทยอยู่อย่าง
แน่นแฟ้น
"ไม่มีประเทศอื่นไหนในโลกนี้อีกแล้ว
ที่สื่อต่างประเทศพร้อมใจกันหลีกเลี่ยงข้อเท็จจริงบางอย่างในการรายงานข่าว
ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขาเองก็แน่ใจว่าเป็นจริง
แม้แต่พี่เบิ้มอย่างจีนหรือเกาหลีเหนือที่ว่าโหดในการปิดกั้นการรายงานข่าว
และเสรีภาพในข้อมูลข่าวสาร
ก็ยังเทียบไม่ได้กับความสามารถของชนชั้นนำไทยในการจูงใจนักข่าวต่างชาติให้
เซ็นเซอร์ตัวเอง" เขาระบุ
เสนอออก "คำประกาศเตือน" หากรายงานข่าวที่ต้องเซ็นเซอร์ตนเอง
ในบล็อกดังกล่าว ได้เสนอข้อเสนอว่า FCCT
ควรทำงานร่วมกับองค์กรสื่อใหญ่ๆ เพื่อร่างเป็น "คำประกาศเตือน"
ประกอบการรายข่าวเกี่ยวกับเมืองไทย เพื่อให้การรายงานนั้นมีจริยธรรม
และลดความเสี่ยงในการเผชิญม. 112 โดยอาจจะออกเป็นคำเตือนในลักษณะว่า
"การรายงานข่าวนี้
รวบรวมภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของไทย
ซึ่งทำให้การพูดคุยเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ที่เปิดเผยเป็นอาชญากรรม"
แนวปฏิบัติดังกล่าว
ถือว่าเป็นมาตรฐานสำหรับองค์กรสื่อบางแห่งที่รายงานจากซีเรียหรือเกาหลี
เหนือ โดยเฉพาะในยุคข้อมูลข่าวสารออนไลน์
ที่ผู้บริโภคต้องการความโปร่งใสในการรายงานข่าวอย่างเต็มที่
และเป็นการประกาศถึงผลกระทบจากการเซ็นเซอร์ของรัฐ มาร์แชลระบุ
หมายเหตุ: ประชาไทแก้ไขเนื้อหาในส่วนของพาดหัวข่าว และย่อหน้่าแรก ตามข้อท้วงติงของผู้อ่าน เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 8 ม.ค. 56
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น