วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ขอพระราชทานอภัยโทษ ?



           สังคมไทยเดินหน้ามาจนถึงจุดที่เรียกว่าไม่อาจ หันหลังกลับได้อีกแล้วกรณีมาตรา 112 ที่กวาดล้างศัตรูทางการเมืองอย่างเอาเป็นเอาตาย โดยอ้างว่าเพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ จับทุกคนที่พาดพิงถึงสถาบัน ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งเชื่อว่าหากเปิดเผยข้อมูลกันอย่างตรงไปตรงมาและไม่ถูก นักการเมืองนำมาใช้เป็นประโยชน์ทางการเมืองแล้วกลับเป็นการช่วยรักษาสถาบัน ด้วยซ้ำ

        กรณีแรกเกิดจากพรรคการเมืองล้าหลัง กลุ่มคนที่มีธุรกิจผูกขาดและแอบอิงกับระบบราชการและนิติบริกรทั้งหลาย ส่วนกรณีหลังเป็นกลุ่มคนที่หวังดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยสายตาที่ยาว ไกลกว่า เช่น กลุ่มนิติราษฎร์ หรือคนชั้นนำทางปัญญา เช่น ส.ศิวรักษ์ ฯลฯ

       เมื่อกลุ่มสหภาพยุโรปโดยทูตประจำประเทศไทยแสดงความกังวลเรื่องสิทธิ เสรีภาพก็ถูกโจมตีว่ารับเงิน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จนบรรดาทูตต้องบอกอย่างอารมณ์ขันว่า ตอนนี้ยังไม่ได้รับเงิน ยังรออยู่ หรือโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐที่แถลงในนามของรัฐบาลสหรัฐไม่เห็นด้วย กับบทลงโทษที่รุนแรงในกฎหมายมาตรา 112

       แม้กระทั่งการแข่งขันกีฬาฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ที่ผ่านมายังล้อ เลียนการเมืองด้วยการสวมหน้ากากนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข อย่างไม่เกรงกลัว แม้จะถูกห้ามหรืออาจถูกไล่ออกนอกพื้นที่ก็ตาม

        ความจริงสถาบันพระมหากษัตริย์กับประชาชนไทยนั้นมีความสัมพันธ์ที่แน่น แฟ้นและพึ่งพาอาศัยกันและกันมายาวนาน จนกระทั่งมีการแบ่งพวกแยกสี โดยเริ่มจากกลุ่มเสื้อเหลืองที่แอบอ้างพระราชอำนาจมาใช้เป็นเครื่องมือโจมตี ฝ่ายตรงข้ามว่าไม่รักสถาบัน และลามปามไปจนถึงล้มสถาบันหรือล้มเจ้า เพียงเพื่อกำจัดนักการเมืองบางคนบางกลุ่ม โดยอ้างความจงรักภักดี ทั้งที่เป็นการทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องเสื่อมเสียและมัวหมอง

         ที่สำคัญแกนนำคนเสื้อแดงและผู้นำด้านความคิด เช่น นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ถูกกล่าวหาใส่ร้ายต่างๆนานา เพราะนำเสนอข้อมูลและข้อเท็จจริงที่พาดพิงถึงสถาบัน

        ผลที่ตามมาคือ ยิ่งทำให้สถาบันถูกกระทบมากขึ้น ครั้นประชาชนจะให้รัฐบาลแก้ปัญหา รัฐบาลก็วางตัวนิ่งเฉย ส่วนฝ่ายนิติบัญญัติก็ไม่เคลื่อนไหวใดๆ เช่นเดียวกับฝ่ายตุลาการที่ตีความและวินิจฉัยแบบไทยๆ

        ปฏิกิริยาจากนานาชาติที่มีต่อสถาบันเบื้องสูงทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ทั้งทางลับหรือทางแจ้ง ล้วนไม่เป็นผลดีต่อสถาบันเบื้องสูงทั้งสิ้น ทั้งที่เมื่อปี พ.ศ. 2548 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรัสว่า ทรงไม่เห็นด้วยกับกฎหมายที่ทำให้สถาบันเบื้องสูงเกิดปัญหา

        การรีบตัดไฟแต่ต้นลมเพื่อรักษาสถาบันเบื้องสูงให้มั่นคงจึงจำเป็นต้องทำ อย่างการขอพระราชทานอภัยโทษให้กับผู้ต้องคดีหมิ่นในมาตรา 112 หากรัฐบาลและรัฐสภาไม่กล้าดำเนินการ ประชาชนและคนที่จงรักภักดีต่อสถาบันก็อาจรวมตัวกันถวายฎีกาโดยอัญเชิญพระราช ดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นที่ตั้ง

        ผู้ได้รับพระราชทานอภัยโทษก็จะสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และไม่มีใครกล้าเอาสถาบันไปยุ่งเกี่ยวกับการเมืองหรือเอาไปใช้เป็นเครื่อง มือทางการเมืองอีก ประชาคมโลกจะเข้าใจถึงความผูกพันระหว่างสถาบันเบื้องสูงกับประชาชน คนไทยจะเลิกทะเลาะและใส่ร้ายกัน ความสงบสันติก็จะกลับคืนมา

        การพระราชทานอภัยโทษเป็นพระราชอำนาจโดยแท้และเป็นการเฉพาะพระองค์ เป็นพระราชอำนาจเดียวที่อาจกล่าวได้ว่า ฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ไม่ต้องรับสนองก็ได้

        เมื่อปัญหาต่างๆรุมเร้าประเทศไทยเพราะความแตกแยกทางการเมือง และส่งผลถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่องค์กรและสถาบันหลักต่างๆกลับไม่กล้าแก้ปัญหาอย่างจริงจัง จะเพราะเกรงกลัวอำนาจที่มองไม่เห็นหรืออำนาจขององค์กรอิสระที่มาจากการรัฐ ประหารก็ตาม

        ประชาชนจึงต้องออกมาเพื่อให้ความทราบถึงพระเนตรพระกรรณถึงข้อเท็จจริง ซึ่งไม่ใช่การเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรา 112 ที่ถูกใส่ร้ายว่าเป็นการล้มสถาบัน ทั้งที่เป้าหมายที่แท้จริงคือการรักษาไว้ซึ่งพระราชอำนาจและความยั่งยืน สถาพรของสถาบันเบื้องสูงตลอดไป
การขอพระราชทานอภัยโทษจึงเป็นทางออกในการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองด้วยโดยไม่ต้องแก้ไขกฎหมายใดๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น