วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

จับพิรุธข้าวเน่า "ศิริโชค" คล้ายจัดฉากจงใจใส่ร้ายทางการเมือง

         ตั้งใจจะเขียนเรื่อง "ข้าวเน่า" ที่คุณศิริโชค โสภา ได้นำมาเผยแพร่ไว้ในเฟสบุ้คส่วนตัว

         ขอวิเคราะห์แบบคนมีความรู้ด้านธุรกิจหน่อย  คุณศิริโชคไม่เคยทำธุรกิจ เรียนจบกลับมาก็มาเป็นเลขาฯ ให้คุณชวน หลีกภัย คงไม่ทราบจริงๆ ว่าข้าวถุงที่มาทิ้งนั้นล้วนมีพิรุธ โดยมีข้อสังเกตดังนี้

        ที่อ้างว่าเป็นข้าวเน่า จึงนำมาทิ้ง เหตุผลนี้มัน "ลอยๆ ไร้น้ำหนัก" เพราะปกติการค้าขายสินค้านั้น สินค้าจะอยู่ในมือของฝ่ายต่างๆ ไม่เกิน 3 ฝ่ายคือ ฝ่ายผู้ผลิต-กระจายสินค้า  ฝ่ายร้านค้า  และ ลูกค้า

  • 1. กรณีฝ่ายผู้ผลิต-กระจายสินค้า
        กรณีสินค้าเน่าเสีย โดยปกติ  หากมีสินค้าหมดอายุเน่าเสีย หีบห่อฉีกขาดเสียหาย ทั้งผู้ผลิตและผู้กระจายสินค้า  จะมีระบบในการตรวจนับอายุวันหมดอายุ หากสินค้าใดใกล้หมดอายุไม่เกิน 3-6 เดือน ผู้ผลิตจะไม่ขายสินค้า แต่ก็จะไม่ทิ้งสินค้านั้น จะมีโกดังพิเศษ ไว้เก็บแยกของเน่าเสียโดยเฉพาะ

          เหตุผลที่ผู้ผลิตจะเก็บสินค้านั้นไว้เพราะ  ผู้ผลิตสามารถนำหีบห่อสินค้าที่ค้างสต็อคทั้งหมด ไปหักลบกับสินค้าคงเหลือ เคลมภาษีต่างๆคืน จากกรมสรรพพากร ซึ่งบริษัท โรงงานขนาดใหญ่รู้ดี และต้องเชิญกรมสรรพากร ไปตรวจสอบโกดังโรงงานทุกสิ้นปี และนัดหมายวันตรวจนับ "สินค้าเน่า" ให้สรรพากรได้ดู ตรวจนับ เพื่อเป็นหลักฐานขอคืนภาษีในส่วนสินค้าที่จ่ายไปก่อนแล้วไม่ได้ขาย

         ดังนั้น ในฝ่ายผู้ผลิต จึงเป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ผลิตจะนำสินค้าเน่าเสียของตนมาแอบทิ้ง เพราะเท่ากับ "ทิ้งเงินสดๆ" ของตัวเอง

  • 2. กรณีผู้ขายร้านค้า
       กรณีสินค้าเน่าเสีย ในขณะที่อยู่ร้านค้า โดยปกติ บริษัททุกแห่งจะมีระบบการแลกคืน เปลี่ยนคืนสินค้าเน่าเสีย โดยร้านค้าจะต้องเก็บสินค้านั้นไว้ พอเซลล์มาทุกรอบเดือน ก็จะส่งมอบสินค้าเน่าเสียกลับไปเพื่อแลกสินค้าใหม่กลับมาวางขาย เป็นปกติ  โดยเฉลี่ยการรับสินค้าเสียคืนทางธุรกิจ มักอยู่ประมาณไม่เกิน 1-2% ของปริมาณสินค้าทั้งหมดที่ขายต่อปี  อีกทั้งปัจจุบัน มีระบบการตรวจสอบสินค้าเน่าเสีย หมดอายุของ อย.เข้มงวด สินค้าทุกหีบห่อ จะถูกตรวจสอบวันหมดอายุก่อนออกจากโรงงาน และตอนร้านค้ารับสินค้าเข้าร้านตัวเอง  ก็มีระบบนับวันหมดอายุและสุ่มตรวจ (เช่นห้างใหญ่ทุกแห่ง จะไม่รับสินค้าที่มีอายุเหลือไม่ถึง 6 เดือน เป็นต้น)  อีกทั้ง เมื่อสินค้าวางขายแล้ว หากไกล้หมดอายุ จะมีระบบเตือนด้วยคอมพิวเตอร์ สั่งให้เก็บสินค้าคงเหลือนั้นขึ้น เพื่อส่งคืนหรือแลกเปลี่ยนกับผู้ผลิตโดยอัตโนมัติ

       ดังนั้น ในฝ่ายร้านค้า โอกาสที่จะมีข้าวเน่า จากทางร้านค้าออกมาแทบจะเป็นศูนย์
  • 3. กรณีผู้บริโภค 
       ปกติทุกคน หากซื้อสินค้า-อาหาร อะไรก็ตามแล้วมีความผิดปกติ (ไม่จำเป็นต้องเน่าเละตามภาพ) ทุกคนจะเอาสินค้านั้น "กลับไปคืน หรือแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าชิ้นใหม่" พร้อม "ก่นด่าห้าง-ร้านค้าที่ตัวเองไปซื้อ"  เป็นธรรมชาติของผู้ซื้อ  และห้าง-ร้านค้าทุกแห่ง (โดยเฉพาะห้างสรรพสินค้า) จะมีระบบ รีฟัน Refund คือแผนกรับแลก-คืนสินค้า  แม้สินค้าจะแทบไม่เป็นอะไรเลย แต่ห้างไม่ต้องการให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ก็จะรับ Refund สินค้าคืนหมดเพราะสามารถนำไปคืนเจ้าของสินค้าได้อยู่แล้วเป็นปกติ 

ดังนั้น ฝ่ายลูกค้า หากซื้อสินค้าไปแล้วมีปัญหา ย่อมแลกคืน หรือเปลี่ยนใหม่ได้

  •  4. การทำลายสินค้า
       ปกติทางการค้า เจ้าของสินค้าทุกยี่ห้อ จะรวบรวมสินค้าเน่าเสีย ฉีกขาด ทั้งหมดไว้เพื่อทำภาษีคืน และจะมีการทำลายสินค้าดังกล่าว (หากเป็นบริษัทใหญ่) จะมี จนท. กรมสรรพากร มาเป็นสักขีพยานในการทำลาย เช่น ที่โรงงานแถบอยุธยา จะมีโรงงานทำลายสินค้า มีเตาเผาขนาดยักษ์ ขนสินค้าที่ผ่านการตรวจนับว่าเน่าเสียแล้ว ไปเข้าเตาเผาโดยมีเอกสารจากกรมสรรพากร มี จนท.มาตรวจนับว่าถูกต้องและทำการทำลายต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ลงลายมือชื่อ ถ่ายภาพไว้เป็นหลักฐานทั้งหมด  

วิเคราะห์ภาพข้าวเน่า

  • จากภาพ  การทิ้งถุงข้าวเน่าในป่า ในปริมาณ 30-40 ถุง
  • ตั้งสมมุติฐานว่า  หากจำนวนข้าวมากถึง 40 ถุง  ถามว่า ใครจะนำมาทิ้ง
  • ผู้ผลิต มีระบบเคลมภาษี เขาก็ไม่ทิ้ง ต้องเก็บไว้ทำภาษีคืน
  • ผู้ขาย มีระบบวันหมดอายุ เขาก็ไม่ทิ้ง ส่งคืนให้เจ้าของสินค้าแลกของใหม่
  • ผู้บริโภค  ปกติซื้อข้าวกินครั้งละ 1 ถุง  คงไม่บ้าซื้อ 40 ถุงแล้วเน่า แต่ไปโยนทิ้งพงหญ้า
  • การทำลายสินค้า  มีกรมสรรพากรมาดู และตรวจสอบทุกขั้นตอน

         คนทิ้งข้าว 40 ถุง คงไม่ใช่ทั้ง ผุ้ผลิต ผู้ขาย และ ผู้บริโภค  เพราะทั้งสามฝ่ายต่างมีส่วนได้เสียกับปริมาณข้าวมูลค่า 4-5000 บาท คงไม่มีใครทิ้งไปเฉยๆ 

        ข้อสังเกต 

  • สถานที่พบข้าวเน่า ในแต่ละแห่ง มักเป็น "ภาคใต้" ทั้งสิ้น 
  • และมักเกิดขึ้นในที่มิดชิดเช่น "ในถุงยังชีพ"  
  • "ในป่าข้างทาง"   
  • โดยปกตินั้น สินค้าหากเน่าจริง ต้องพบได้ทุกแห่งทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเจอในห้างท็อปส์ เซ็นทรัล   หรือเจอในถุงข้าวห้างโลตัสเอ็กเพรส กลางสยามสแควร์  ข้าวเน่าคงไม่ "เน่าเฉพาะแห่ง"

       แต่ในข่าวนั้น มักพบใน "ถุงข้าว" ที่ปิดมิดชิด ผ่านการ "เก็บส่วนตัว" ระยะหนึ่ง หรือมักพบในจุดที่ดูลึกลับ เช่น ผ่านการเก็บไว้ที่ อบต. ก่อนนำแจกจ่าย   และอย่างลืมว่า สามารถสร้างสถานการณ์ข้้าวเน่าได้ เช่น ฉีดน้ำเน่าผ่านเข็มฉีดยา เข้าไปที่ถุงข้าวแล้วทิ้งไว้ไม่เกิน 5 วัน ข้าวเน่าได้  ปกติ แช่ข้าวในน้ำสะอาด ข้ามวันก็เหม็นได้แล้ว

         หากตรวจสอบระยะเวลาจากข่าว ว่ารับข้าวไปเก็บไว้ใน อบต. วันที่ 5 และแจกจ่ายวันที่ 9 ก็ผ่านไป 4 วัน ก็พอดีกับระยะเวลา "ข้าวเน่า" ได้สบายๆ

       ล่าสุด เจอบางภาพมีพิรุธกว่านั้น  ถ่ายจากถุงข้าวมียี่ห้อ สภาพเหมือนวางในห้าง "แต่บรรยากาศรอบภาพ มืดสนิท"  ปกติคนเดินห้างเวลาเปิดบริการ จะเปิดไฟสว่างไสว  หากจะหยิบมือถือถ่ายภาพ ก็จะสว่างชัดเจนไปทั้งภาพ  แต่ข้าวเน่าในถุงที่จงใจถ่าย ความสว่างของสถานที่รอบๆ ภาพนั้น กลับมืดเหมือนแอบถ่ายตอนห้างปิดบริการ ดับไฟ!

ขอร้องว่า อย่าต้องการเอาชนะทางการเมือง โดยการทำลายข้าวไทยเลย!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น