30 มี.ค.2558 เว็บสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส Thai PBS รายงานว่า นายสมบัติ ลีลาพตะ รักษาการรองเลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้พิจารณาการออกอากาศรายการโทรทัศน์ช่องทีวี 24 (ช่องเอเชีย อัพเดท เดิม) ตามที่คณะอนุกรรมการพิจารณาผังรายการที่ตรวจสอบเนื้อหาเห็นว่า เนื้อหารายการเข้าข่ายให้ข้อมูลข่าวสารยั่วยุ ปลุกปั่น ขัดต่อประกาศ คสช.ฉบับ 97 และ 103 โดยที่ประชุมมีมติเสียงข้างมาก 4 ต่อ 1 เห็นด้วยตามที่คณะอนุกรรมการเสนอฯและหน่วยงานความมั่นคงส่งมาว่า ขัดประกาศ คสช.จริง จึงมีมติให้พักใช้ใบอนุญาตการออกอากาศช่องดังกล่าว เป็นเวลา 7 วัน นับตั้งแต่วันได้รับหนังสือแจ้งคำสั่ง และให้มีหนังสือแจ้งผู้ให้บริการโครงข่ายทีวีดาวเทียมไทยคม เพื่อระงับการออกอากาศ
สำหรับรายการที่ออกอากาศ ขัดประกาศ คสช.ได้แก่ รายการ Awakened ออกอากาศ วันที่ 2, 5 และ 10 มี.ค. 2558, รายการ News Room ออกอากาศ 28 ก.พ. 2558 , วันที่ 2 และ 10 มี.ค. 2558 และ รายการ The Clear ออกอากาศ เมื่อวันที่ 7 มี.ค.2558
ที่ประชุมยังมีมติให้พักใช้ใบอนุญาตช่อง Peace TV (ช่อง DNN เดิม) เป็นเวลา 7 วัน หลังหน่วยงานความมั่นคงส่งความเห็นมาว่า มีเนื้อหาขัดประกาศ คสช. โดยที่ประชุมเสียงข้างมาก มีมติว่า การออกอากาศดังกล่าว มีเนื้อหายั่วยุปลุกปั่น ขัดต่อประกาศ คสช.ตามที่ผู้รับใบอนุญาตเคยทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันกับ สำนักงาน กสทช. ตามที่คณะอนุกรรมการพิจารณาผังรายการเสนอ
ที่ประชุมยังมีมติให้พักใช้ใบอนุญาตช่อง Peace TV (ช่อง DNN เดิม) เป็นเวลา 7 วัน หลังหน่วยงานความมั่นคงส่งความเห็นมาว่า มีเนื้อหาขัดประกาศ คสช. โดยที่ประชุมเสียงข้างมาก มีมติว่า การออกอากาศดังกล่าว มีเนื้อหายั่วยุปลุกปั่น ขัดต่อประกาศ คสช.ตามที่ผู้รับใบอนุญาตเคยทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันกับ สำนักงาน กสทช. ตามที่คณะอนุกรรมการพิจารณาผังรายการเสนอ
สำหรับรายการที่มีเนื้อหาขัดต่อ ประกาศ คสช. ได้แก่ รายการมองไกล ออกอากาศ 28 ก.พ.2558 และ 7 มี.ค. 2558 รายการคิดรอบด้าน ออกอากาศ 4 และ 5 มี.ค.2558 รายการเดินหน้าต่อไปออกอากาศ 4 - 6 มี.ค. 2558 และรายการเข้าใจตรงกัน ออกอากาศ 4 -5 มี.ค.2558
สุภิญญาชี้ลงโทษเกินกว่าเหตุ แนะควรลงโทษตามลำดับขั้น ไม่ใช่ลัดขั้นตอน
ด้าน สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสท. แสดงความเห็นผ่านทวิตเตอร์ว่า กรณีการพักใช้ใบอนุญาต 7 วัน ช่อง TV 24 มติ กสท. 3:2 และช่อง PeaceTV มติ กสท. 4:1 ตนเองอยู่ฝ่ายเสียงข้างน้อยทั้งสองกรณี
ด้าน สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสท. แสดงความเห็นผ่านทวิตเตอร์ว่า กรณีการพักใช้ใบอนุญาต 7 วัน ช่อง TV 24 มติ กสท. 3:2 และช่อง PeaceTV มติ กสท. 4:1 ตนเองอยู่ฝ่ายเสียงข้างน้อยทั้งสองกรณี
"ดิฉันอยู่ฝ่ายเสียงข้างน้อย เพราะเห็นว่ารายการดังกล่าวของ 2 ช่อง เป็นการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์การเมือง แม้เลือกข้าง แต่ยังไม่ถึงขั้นปลุกปั่น อีกทั้งถ้าบางรายการของช่อง 24TV และ PeaceTV มีปัญหาสุ่มเสี่ยง แต่การให้พักใช้ใบอนุญาตทั้งสถานี อาจเข้าข่ายลงโทษเกินกว่าเหตุได้" สุภิญญาระบุและว่า "มากไปกว่านั้นดิฉันเห็นว่า กสท. ควรพิจารณาความผิดบนฐานกฏกติกาของ กสทช.เองก่อนจะใช้คำสั่ง หรืออิงประกาศฯ คสช."
สุภิญญา ระบุว่า การลงโทษผู้รับใบอนุญาตควรเป็นไปตามลำดับขั้นตอน เช่น เตือน ปรับ พักใช้ เพิกถอน เหมือนกรณีความผิดอื่นๆ ไม่ใช่การเมืองแล้วใช้โทษทางลัด
"กสท.ควรใช้ดุลยพินิจว่า การวิพากษ์การทำงานรัฐบาล สนช. สปช. หรือ แม้แต่ คสช. ยังไม่ใช่ความผิดฐานขัดความมั่นคงในตัวของมันเอง ต้องดูสาระด้วย" สุภิญญากล่าว
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๗ / ๒๕๕๗
เรื่อง การให้ความร่วมมือต่อการปฎิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ เพื่อให้การปฎิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นไปได้ความเรียบร้อย และเพื่อให้การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปสู่ประชาชนเป็นไปด้วยความถูกต้อง ปราศจากการบิดเบือนและความเข้าใจผิด อันจะส่งผลกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ (๑) ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๔/๒๕๕๗ เรื่อง ห้ามสร้างความขัดแย้งหรือต่อต้านการปฎิบัติงานของประกาศคณะรักษาความสงบแห่ง ชาติ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ (๒) ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๘/๒๕๕๗ เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ข้อ ๒ ห้ามมิให้บุคคลใด รวมทั้งบรรณาธิการ พิธีกร สื่อมวลชน และเจ้าของกิจการสื่อสิ่งพิมพ์ รายการวิทยุโทรทัศน์ และรายการวิทยุกระจายเสียง เชิญบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เป็นนักวิชาการ หรือผู้ที่เคยเป็นข้าราชการ รวมทั้งผู้ที่เคยปฏิบัติงานในศาลและกระบวนการยุติธรรม ตลอดจนองค์กรอิสระ มาให้สัมภาษณ์หรือแสดงความคิดเห็นในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดหรือขยายความขัด แย้ง บิดเบือน และสร้างความสับสนให้กับสังคม รวมทั้งอาจนำไปสู่การใช้ความรุนแรง ข้อ ๓ ผู้ประกอบกิจการและผู้ให้บริการด้านสื่อมวลชนทุกประเภท ทั้งที่เป็นของราชการและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เคเบิล โทรทัศน์ระบบดิจิตอลและโทรทัศน์อินเตอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ วารสาร หรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ รวมทั้งผู้บริการด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภทอันรวมถึงการสื่อสารทาง สังคมสื่อออนไลน์ มีหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารตามที่ได้รับแจ้งจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ทั้งนี้ ให้บุคคลดังกล่าวรวมทั้งบุคคลอื่นใดงดเว้นการนำเสนอข้อมูลข่าวสารในลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ข้อความอันเป็นเท็จ หรือที่ส่งไปในทางหมิ่นประมาท หรือสร้างความเกลียดชังต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ องค์รัชทายาท และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ (๒) ข่าวสารที่จะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ รวมทั้งหมิ่นประมาทบุคคลอื่น (๓) การวิพากษ์ วิจารณ์การปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เจ้าหน้าที่ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง (๔) ข้อมูลเสียง ภาพ วีดิทัศน์ ความลับของการปฏิบัติงานของหน่วยราชการต่างๆ (๕) ข้อมูลข่าวสารที่ส่อให้เกิดความสับสน ยั่วยุ ปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง หรือสร้างให้เกิดความแตกแยกในราชอาณาจักร (๖) การชักชวน ซ่องสุม ให้มีการรวมกลุ่มก่อการอันเกิดการต่อต้านเจ้าหน้าที่และบุคคลที่เกี่ยวข้องของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (๗) การขู่จะประทุษร้ายหรือทำร้ายบุคคล อันนำไปสู่ความตื่นตระหนก หวาดกลัวแก่ประชาชน ข้อ ๔ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย ตลอดจนผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ระงับการชุมนุมหรือกิจกรรมที่ต่อต้านการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่ง ชาติในโอกาสแรก ทั้งนี้ หากเกินขีดความสามารถให้รายงานให้ผู้บังคับหน่วยทหารในพื้นที่ใกล้เคียงทราบ เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ข้อ ๕ ในกรณีที่ปรากฎว่าบุคคลใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ ๒ หรือข้อ ๓ ให้ระงับการจำหน่าย จ่าย แจก หรือเผยแพร่สื่อพิมพ์ รวมทั้งการออกอากาศของรายการดังกล่าวโดยทันที และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายที่กำหนดความผิดฐานนั้นดำเนินการตาม กฎหมาย ข้อ ๖ การกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๔/๒๕๕๗ เรื่อง ห้ามสร้างความขัดแย้งหรือต่อต้านการปฎิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๘/๒๕๕๗ เรื่องการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งได้กระทำก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับและยังคงอยู่ระหว่างการดำเนินการ ตามกฎหมายในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ยังคงเป็นความผิดและดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
(ประยุทธ์ จันทร์โอชา) หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ |
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐๓ / ๒๕๕๗ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๗/๒๕๕๗ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะ รักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๗/๒๕๕๗ เรื่อง การให้ความร่วมมือต่อการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและการเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ลงวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เพื่อให้การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปสู่ประชาชนเป็นไปด้วยความถูกต้อง ปราศจากการบิดเบือน และความเข้าใจผิด อันจะส่งผลกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของข้อ ๒ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๗/๒๕๕๗ เรื่อง การให้ความร่วมมือต่อการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและการเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ลงวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๓) การวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยมีเจตนาไม่ สุจริตเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของคณะรักษาความสงบแห่งชาติด้วยข้อมูลอัน เป็นเท็จ” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๗/๒๕๕๗ เรื่อง การให้ความร่วมมือต่อการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและการเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ลงวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ข้อ ๕ ในกรณีที่ปรากฏว่าบุคคลใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ ๒ หรือข้อ ๓ พนักงานเจ้าหน้าที่อาจส่งเรื่องให้องค์กรวิชาชีพที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกดำเนิน การสอบสวนทางจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพ” ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (ประยุทธ์ จันทร์โอชา) หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น