แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล วิพากษ์การตัดสินลงโทษและสั่งจำคุกนักธุรกิจไทย 25 ปี ฐานวิจารณ์ราชวงศ์ผ่านเฟซบุ๊ก เป็นคำตัดสินที่ไม่ปรกติ ชี้ไทยจำเป็นต้องแก้ไข กม.หมิ่นที่ล้าสมัย
2 เม.ย. 2558 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 31 มี.ค. เรื่อง "บทลงโทษจำคุก 25 ปีที่ไม่ปรกติสำหรับการวิจารณ์ราชวงศ์ ท่ามกลางแผนการยกเลิกกฎอัยการศึก"
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลระบุว่า การตัดสินลงโทษและสั่งจำคุกนักธุรกิจไทยในเช้าวันที่ 31 มีนาคม 2558 เป็นเวลา 25 ปี ฐานการวิพากษ์วิจารณ์ราชวงศ์ผ่านข้อความในเฟซบุ๊ก เป็นคำตัดสินที่ไม่ปรกติ และแสดงให้เห็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ประเทศไทยต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ล้าสมัย
ศาลทหารของไทยมีความเห็นว่า นายเธียรสุธรรม (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 58 ปี มีความผิดห้ากระทงฐานโพสต์ข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงพฤศจิกายน 2557
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลชี้ว่า ในวันเดียวกับที่มีการตัดสินคดีนี้ นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชามีคำขอพระบรมราชโองการเพื่อประกาศยกเลิกกฎอัยการศึก รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวมอบอำนาจที่ปราศจากการตรวจสอบให้นายกรัฐมนตรีที่จะประกาศใช้กฎหมายใหม่แทนกฎอัยการศึก โดยอ้างว่าเพื่อรักษาความมั่นคงของชาติ
นับแต่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึกในไทยเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 ประชาชนหลายร้อยคนได้ถูกควบคุมตัวโดยพลการ และอีกหลายสิบคนต้องเข้ารับการไต่สวนในศาลทหาร เนื่องจากใช้สิทธิการชุมนุมและการแสดงออกอย่างสงบ
รูเพิร์ต แอ็บบอตต์ (Rupert Abbott) รองผู้อำนวยการงานวิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเปิดเผยว่า การยกเลิกกฎอัยการศึกจะไม่ช่วยให้สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในไทยดีขึ้น หากมีการนำกฎหมายที่กดขี่ปราบปรามฉบับนี้มาใช้ แทนที่จะทำเช่นนั้น รัฐบาลไทยควรฟื้นฟูหลักนิติธรรมและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้ถูกทำลายไปอย่างสิ้นเชิงเนื่องจากรัฐประหารเมื่อปี 2557
“การตัดสินลงโทษนายเธียรสุธรรมครั้งนี้ เป็นหนึ่งในบทลงโทษรุนแรงที่สุดที่ทางเราได้เห็นมา แสดงถึงสัญญาณที่น่ากังวลว่าทางการไทยมุ่งปราบปรามบุคคลที่แสดงความเห็นต่าง”
“เป็นเรื่องน่าเศร้าใจที่ในศตวรรษที่ 21 นี้ยังมีการคุมขังบุคคลเป็นเวลาหลายทศวรรษเพียงเพราะการวิจารณ์สถาบันกษัตริย์ การแสดงความเห็นอย่างสงบไม่ใช่อาชญากรรม นายเธียรสุธรรมต้องได้รับการปล่อยตัวทันที และต้องมีการยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีสิทธิมนุษยชนของไทย”
ศาลทหารตัดสินลงโทษจำคุกนายเธียรสุธรรม 50 ปี แต่ลดโทษลงกึ่งหนึ่งเนื่องจากรับสารภาพผิด เขาไม่มีสิทธิอุทธรณ์คดีนี้
ทั้งนี้ แถลงการณ์ระบุด้วยว่า นักธุรกิจคนดังกล่าวได้ถูกทหารควบคุมตัวเป็นเวลาห้าวันโดยไม่มีการตั้งข้อหา แต่เป็นการอ้างอำนาจตามกฎอัยการศึก เขาถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวโดยพลการและสอบปากคำจนกระทั่งเขายอมรับสารภาพต่อความผิดตามข้อกล่าวหา ในระหว่างนั้นเขาไม่ได้รับอนุญาตให้พบกับทนายความหรือครอบครัว
ในวันที่ 22 ธันวาคม 2557 นายเธียรสุธรรมถูกตั้งข้อหาอย่างเป็นทางการว่าละเมิดมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา (กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ) โดยถูกนำตัวไปควบคุมที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และถูกคัดค้านการประกันตัว
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลระบุว่า การตัดสินลงโทษและสั่งจำคุกนักธุรกิจไทยในเช้าวันที่ 31 มีนาคม 2558 เป็นเวลา 25 ปี ฐานการวิพากษ์วิจารณ์ราชวงศ์ผ่านข้อความในเฟซบุ๊ก เป็นคำตัดสินที่ไม่ปรกติ และแสดงให้เห็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ประเทศไทยต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ล้าสมัย
ศาลทหารของไทยมีความเห็นว่า นายเธียรสุธรรม (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 58 ปี มีความผิดห้ากระทงฐานโพสต์ข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงพฤศจิกายน 2557
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลชี้ว่า ในวันเดียวกับที่มีการตัดสินคดีนี้ นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชามีคำขอพระบรมราชโองการเพื่อประกาศยกเลิกกฎอัยการศึก รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวมอบอำนาจที่ปราศจากการตรวจสอบให้นายกรัฐมนตรีที่จะประกาศใช้กฎหมายใหม่แทนกฎอัยการศึก โดยอ้างว่าเพื่อรักษาความมั่นคงของชาติ
นับแต่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึกในไทยเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 ประชาชนหลายร้อยคนได้ถูกควบคุมตัวโดยพลการ และอีกหลายสิบคนต้องเข้ารับการไต่สวนในศาลทหาร เนื่องจากใช้สิทธิการชุมนุมและการแสดงออกอย่างสงบ
รูเพิร์ต แอ็บบอตต์ (Rupert Abbott) รองผู้อำนวยการงานวิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเปิดเผยว่า การยกเลิกกฎอัยการศึกจะไม่ช่วยให้สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในไทยดีขึ้น หากมีการนำกฎหมายที่กดขี่ปราบปรามฉบับนี้มาใช้ แทนที่จะทำเช่นนั้น รัฐบาลไทยควรฟื้นฟูหลักนิติธรรมและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้ถูกทำลายไปอย่างสิ้นเชิงเนื่องจากรัฐประหารเมื่อปี 2557
“การตัดสินลงโทษนายเธียรสุธรรมครั้งนี้ เป็นหนึ่งในบทลงโทษรุนแรงที่สุดที่ทางเราได้เห็นมา แสดงถึงสัญญาณที่น่ากังวลว่าทางการไทยมุ่งปราบปรามบุคคลที่แสดงความเห็นต่าง”
“เป็นเรื่องน่าเศร้าใจที่ในศตวรรษที่ 21 นี้ยังมีการคุมขังบุคคลเป็นเวลาหลายทศวรรษเพียงเพราะการวิจารณ์สถาบันกษัตริย์ การแสดงความเห็นอย่างสงบไม่ใช่อาชญากรรม นายเธียรสุธรรมต้องได้รับการปล่อยตัวทันที และต้องมีการยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีสิทธิมนุษยชนของไทย”
ศาลทหารตัดสินลงโทษจำคุกนายเธียรสุธรรม 50 ปี แต่ลดโทษลงกึ่งหนึ่งเนื่องจากรับสารภาพผิด เขาไม่มีสิทธิอุทธรณ์คดีนี้
ทั้งนี้ แถลงการณ์ระบุด้วยว่า นักธุรกิจคนดังกล่าวได้ถูกทหารควบคุมตัวเป็นเวลาห้าวันโดยไม่มีการตั้งข้อหา แต่เป็นการอ้างอำนาจตามกฎอัยการศึก เขาถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวโดยพลการและสอบปากคำจนกระทั่งเขายอมรับสารภาพต่อความผิดตามข้อกล่าวหา ในระหว่างนั้นเขาไม่ได้รับอนุญาตให้พบกับทนายความหรือครอบครัว
ในวันที่ 22 ธันวาคม 2557 นายเธียรสุธรรมถูกตั้งข้อหาอย่างเป็นทางการว่าละเมิดมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา (กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ) โดยถูกนำตัวไปควบคุมที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และถูกคัดค้านการประกันตัว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น