วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

วิษณุแจงใช้คำสั่งทางปกครองกับยิ่งลักษณ์ ปมจำนำข้าว ทำตามกฎหมาย


12 ต.ค. 2558 จากกรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เขียนจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)  ให้ทบทวนและยุติการดำเนินการใด ๆ ที่ฝ่ายกฎหมายของรัฐบาล เตรียมออกคำสั่งเพื่อยึดทรัพย์ และชำระหนี้ความเสียหายในโครงการรับจำนำข้าว และ เรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการเรียกเก็บเงินจำนำข้าวด้วยการฟ้องศาล แทนการออกคำสั่งทางการปกครอง พร้อมทั้งระบุด้วยว่านายกฯ ขณะนี้เป็นประธานกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว ที่ต้องรับผิดชอบในการแก้ปัญหาในเรื่องข้าวในขณะนี้ ซึ่งอาจเห็นแตกต่างกันในเชิงนโยบายและกลไกในการบริหารนโยบายในเรื่องข้าวในอดีต ส่งผลให้ไม่อาจถือว่ารัฐบาลนี้เป็นกลาง แต่ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียด้วย (อ่านรายละเอียด)
โดยสำนักข่าวไทย รายงานว่า นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ตนเข้าใจว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะให้คนมายื่นหนังสือต่อพล.อ.ประยุทธ์ ในวันที่ 13 ต.ค. ซึ่งนายกรัฐมนตรี อาจจะส่งมาให้ตนดูรายละเอียด จะได้รู้ว่าร้องเรียนอะไร
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การดำเนินคดีทั่วไป รัฐจะเป็นผู้ฟ้องร้อง แต่เนื่องจากมี พระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ.2539  ที่บัญญัติไว้ว่า หากเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกกล่าวหาว่ากระทำละเมิด และการกระทำนั้นเป็นการประมาทเลินเล่อ ไม่ร้ายแรง ให้ฟ้องร้องหน่วยงาน ไม่ฟ้องร้องตัวบุคคล แต่หากเป็นการกระทำละเมิด และจงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ต้องฟ้องที่ตัวบุคคล ไม่ให้ฟ้องรัฐ ซึ่งการดำเนินการออกคำสั่งทางปกครองต้องทำภายในระยะเวลา 2 ปี ซึ่งจะครบกำหนด เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 แต่หากไม่พอใจสามารถยื่นฟ้องศาลปกครองให้ยกเลิกคำสั่งดังกล่าวได้
“วิธีที่รัฐบาลจะดำเนินการเป็นกระบวนการปกติ และประเด็นอยู่ที่กรณีนี้ เข้าข่ายตามกฎหมายหรือไม่ เมื่อมีการรายงานว่าเข้าข่าย เพราะผู้กระทำผิดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำละเมิด และเป็นการกระทำที่จงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ตามที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ส่งเรื่องมา จึงต้องนำไปสู่กระบวนการออกคำสั่งทางปกครอง” นายวิษณุ กล่าว
ส่วนที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตั้งข้อสังเกตว่า การออกคำสั่งทางปกครองเป็นการหลีกเลี่ยงการดำเนินการทางศาล เพราะต้องวางเงินประกันศาลนั้น  นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ใช่เป็นการหลีกเลี่ยง แต่รัฐไม่สามารถใช้กระบวนการอื่นได้ เพราะกฎหมายสร้างกระบวนการนี้ไว้ และไม่ใช่มีวิธีเลือกสองทางแล้วมาเลือกทางนี้ แต่ไม่มีวิธีอื่นให้เลือกอีกเลย
“ประเด็นคือมี 2 กระบวนการสำหรับการดำเนินคดี ซึ่งไม่ใช่เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง หากเข้าล็อกอย่างนี้ต้องใช้กระบวนการ ก. คือฟ้องปกติ หากอีกอย่างหนึ่งต้องใช้กระบวนการ ข. คือการใช้กฎหมายความรับผิดทางละเมิด ไม่ใช่เลือกว่า ก.หรือ ข.ก็ได้ การจะใช้กระบวนการ  ก.หรือ ข. หากผู้กระทำผิดกระทำโดยไม่จงใจ ไม่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ต้องใช้กระบวนการ ก. แต่ถ้าจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ต้องใช้กระบวนการ ข.เท่านั้น วันนี้เมื่อ ป.ป.ช.บอกเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ก็ต้องใช้กระบวนการ ข. หากไม่พอใจไปฟ้องศาล ก็มีสิทธิ์จะยกว่าเรื่องนี้ไม่ควรใช้กระบวนการ ข. เพราะไม่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ก็คือต้องเถียงกับป.ป.ช. ไม่ใช่รัฐบาล” นายวิษณุ กล่าว
เมื่อถามว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องการให้การดำเนินคดีอาญาเสร็จสิ้นก่อน นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ได้ เพราะอายุความมีเพียง 2  ปี หากเลย 2 ปีไปแล้วไม่สามารถออกคำสั่งได้อีก และหากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตัดสินออกมาอีกแบบหนึ่ง ก็ไม่เป็นไร หากมีการร้องคัดค้านคำสั่งต่อศาลปกครอง การพิจารณาอาจใช้เวลานาน คำพิพากษาในคดีอาญาออกมาว่าอย่างไร ศาลปกครองก็คงฟัง ไม่ได้ชิงตัดสินอยู่แล้ว
“รัฐบาลต้องรีบออกคำสั่ง เพราะหากรอคดีอาญาซึ่งไม่รู้ว่าจะกี่ปีแล้วจะทำอย่างไร หากปล่อยให้อายุความขาด รัฐก็จะกลายเป็นจำเลย” นายวิษณุ กล่าว
เมื่อถามว่า รายงานของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของกระทรวงการคลัง และกระทรวงพาณิชย์ที่ส่งมา 1 ชุดแล้ว ชุดที่สองมีการส่งเข้ามาแล้วหรือยัง นายวิษณุ กล่าวว่า ยังไม่มีการยื่นเข้ามา และชุดแรกที่ตนได้รับก่อนหน้านั้น ตนยังไม่ส่งให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาแต่อย่างใด และ ทั้งสองเรื่องไม่สามารถนำมารวมกันได้ ตอนนี้มีเพียงวิธีการคำนวณค่าเสียหายเท่านั้น
นายวิษณุ ปฏิเสธตอบคำถามกรณีที่เนื้อหาในจดหมายเปิดผนึก ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ระบุว่า 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น