4 ก.ค. 2559 MGR Online และไทยรัฐออนไลน์ รายงานตรงกันว่า โคทม อารียา ที่ปรึกษาสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ระบุว่า ในเวทีโต๊ะกลม หัวข้อ “ถกแถลงสาธารณะ มองไปข้างหน้า หลังประชามติ” ที่จัดขึ้นโดยสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และเครือข่ายได้ตั้งสมมติฐานถ้าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้และคำถามพ่วงไม่ผ่านการประชามติ ดังนั้น รัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ขาดองค์ประกอบของประชาชน จึงขอให้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 เป็นเพียงรัฐธรรมนูญชั่วคราวเพื่อให้มีการเลือกตั้งตามโรดแมปที่วางไว้ และนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ 21 ที่เป็นรัฐธรรมนูญที่ถาวรต่อไป โดยมีทางเลือก 2 ทาง คือ คสช.ยังคงมีบทบาทนำการร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ 21 อยู่ หรือ คสช.ปล่อยมือ เน้นการให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น ด้วยการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มีสมาชิกที่มีที่มาอย่างหลากหลาย เชื่อว่าจะทำให้เป็นที่ยอมรับ และการเมืองจะมีเสถียรภาพทางการเมือง
ด้าน จาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย ระบุว่า ส่วนตัวเชื่อว่าเมื่อประชาชนศึกษาข้อมูลแล้วคงจะออกเสียงประชามติไปในทางเดียวกันทั้งร่างรัฐธรรมนูญ และคำถามพ่วง คือผ่านหรือไม่ผ่านทั้งคู่ แต่ปัญหาคือประชาชนไม่ได้รับข้อมูลที่เพียงพอ เพราะการแสดงความเห็นถูกปิดกั้นมาก หากร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงไม่ผ่านทั้งสองอย่าง ส่วนตัวอยากให้มีการร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม ประเด็นที่เป็นปัญหามาก คือ ถ้ารัฐธรรมนูญผ่านแล้ว คสช.จะไปเร็ว
ขณะที่ ธิดา ถาวรเศรษฐ แกนนำ นปช.เห็นว่า กระบวนการในขณะนี้มีการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพ ดังนั้นประชามติครั้งนี้ไม่สมควรเรียกว่าประชามติ และเชื่อว่าจะมีวิกฤติเกิดขึ้นก่อนวันที่ 7 ส.ค. เพราะ ฮิวแมนไรต์วอตช์ประกาศให้นานาประเทศไม่ควรรับผลประชามติเนื่องจากมีการปิดกั้นความเห็นต่างๆ ดังนั้น สมมติฐานที่ระบุว่าวันที่ 7 ส.ค.จะไม่มีการทำประชามติก็อาจเป็นได้ หรือถ้ามีแล้วร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงผ่านต้องดูว่าจะมีวิกฤตอะไรเกิดขึ้นอีก
ขณะที่ ธิดา ถาวรเศรษฐ แกนนำ นปช.เห็นว่า กระบวนการในขณะนี้มีการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพ ดังนั้นประชามติครั้งนี้ไม่สมควรเรียกว่าประชามติ และเชื่อว่าจะมีวิกฤติเกิดขึ้นก่อนวันที่ 7 ส.ค. เพราะ ฮิวแมนไรต์วอตช์ประกาศให้นานาประเทศไม่ควรรับผลประชามติเนื่องจากมีการปิดกั้นความเห็นต่างๆ ดังนั้น สมมติฐานที่ระบุว่าวันที่ 7 ส.ค.จะไม่มีการทำประชามติก็อาจเป็นได้ หรือถ้ามีแล้วร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงผ่านต้องดูว่าจะมีวิกฤตอะไรเกิดขึ้นอีก
สมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. กล่าวว่า ถ้ารัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงผ่านทั้งคู่กรรมการร่างรัฐธรรมนูญต้องแก้ร่างรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับคำถามพ่วง ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ จะทำให้กระบวนการเลือกตั้งช้าไป 2 เดือน คือ การเลือกตั้งเกิดขึ้นเดือนตุลาคม 2560 แต่หากร่างรัฐธรรมนูญคำถามพ่วงไม่ผ่านจะมีการเลือกตั้งในเดือนสิงหาคม 2560 ตามปกติ หรือหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านแต่คำถามพ่วงผ่าน และทั้งร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงไม่ผ่านการลงประชามติ การเลือกตั้งจะช้าออกไป 3-4 เดือน เพราะต้องร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แต่จะไม่ผ่านกระบวนการออกเสียงประชามติ เพราะรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวไม่ได้กำหนดไว้ ซึ่งยืนยันว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในปี 2560 แน่นอน ส่วนประชาชนจะเลือกแนวทางไหน ขึ้นอยู่กับกระบวนการคิดของประชาชนในสังคม และอยู่ที่ฝ่ายใดจะโน้มน้าวจูงใจคนในสังคมมากกว่ากัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น